ไปให้กำลังใจทีมงานสร้างคุณอำนวยในศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดง( 2 )


กระบวนการที่เราจัดซึ่งได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของชุมชนจริงๆ

ไปให้กำลังใจทีมงานโรงเรียนสร้างคุณอำนวยที่บ้านนาป่าแดง สำหรับในตอนที่2 นี้ ผมจะขอเล่าถึงกระบวนการที่เราจัดซึ่งได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของชุมชนจริงๆตรงกับความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างคุณอำนวยในชุมชนในศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดง หมู่ 1 บ้านนาป่าแดง ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

 

 

          จากทีมงานของเรา( ผมและอ.สิงห์ป่าสัก )ได้เดินทางไปถึง ณ.ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดง บางครั้งผมก็เรียกสั้นๆว่าศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดง เพราะว่าศูนย์นี้เป็นศูนย์ที่ไม่ตาย ซึ่งมีความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด2-3 ปีแล้ว มีคนจากหลายชุมชน มีนักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครับและเอกชน ต่างก็เข้าไปรับการฝึกอบรมจากศูนย์ปราชญ์แห่งนี้ บางหน่วยงาน องค์กร ก็ไปศึกษาดูงาน มาโดยตลอด วิทยากรเป็นการรวมตัวของปราชญ์ชาวบ้านจริงๆ เขาทำกันจริง เป็นคนที่มีความรู้ความชำนาญ หรือเราจะเรียกว่าเป็นผู้มีองค์ความรู้ออยู่ในตัวจริงๆ เขาทำมากับมือของเขา สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้ เป็นหลักสูตรพิเศษที่ศูนย์นี้ต้องสร้างคุณอำนวยที่อยู่ในชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นอาสาสมัครเกษตรด้านต่างๆ รวมไปถึงอสม. ด้วย รวมทั้งสิ้น 25 คน เขาต้องการสร้างเครือข่ายในและนอกชุมชน โดยเฉพาะการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในครอบครัวและการประกอบอาชีพของคนที่อยู่ในชุมชนครับ

 

 

             ผมจะขอเล่าให้ฟังว่าความจริงแล้วอ.สิงห์ป่าสัก ได้แจ้งให้ผมล่วงหน้ามาแล้วหลายวัน ว่าให้ลองออกแบบกระบวนการที่จะไปจัดเพิ่มเติมให้กับทีมปราชญ์ชาวบ้านของศูนย์บ้านนาป่าแดง รวมทั้งเหล่าคุณอำนวยที่เข้ามารับการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับให้แก่ทีมงาน เมื่อเราไปถึงสถานที่จริงศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดง ก็ได้หารือกันกับทีมวิทยากรของศูนย์ปราชญ์อีกครั้ง เราก็มีการปรับการออกแบบกระบวนการร่วมกันใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจริงๆ เพราะเรารู้ว่าผู้ที่เข้ามารับการฝึกอบรมต่างมากันด้วยใจรักทั้งนั้นเท่าที่ทราบมา ลองมาดูกระบวนการที่เราดำเนินการ

 

 

 

           ขั้นที่ 1. ในช่วงแรกที่อ.สิงห์ป่าสักได้กล่าวคำว่าสวัสดีพี่น้องทุกคนครับ  มีการทักทายกัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย พร้อมกระตุ้นให้อยากจะคุยกันต่อ ก็มีการปรับเก้าอี้ที่เขาจัดไว้ออกให้หมด โดยให้ใช้เสื่อปูพื้นแทน หากท่านใดอยากจะใช้หมอนหนุนนอน หรือบางท่านอยากจะนั่งเก้าอี้ก็เชิญตามสบาย ด้วยเหตุผลที่ว่า เวทีการเรียนรู้ไม่ต้องไปยึดติดรูปแบบใดๆตายตัว ให้ปรับไปตามสถานการณ์ เป้าหมายสำคัญก็ต้องได้ทั้งงานและบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสำคัญ ผมจะขอนำภาพที่เราจัดมาให้ชมกันนะครับ

 

 

 

          ขั้นที่ 2. จากนั้นอ.สิงห์ป่าสัก ก็ปรับการนั่งลงพื้นให้อยู่ระดับเดียวกันกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จากการสังเกต ผมเห็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งมีการนั่งเก้าอี้มาหลายวันแล้วต่างหัวเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส พออกพอใจ ไปตามๆกัน เพราะนานแล้วยังไม่เจอวิทยากรแบบนี้ ซึ่งตรงกับจริตของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาก ผมลองจับประเด็นได้ดังนี้

 

 

 

         ขั้นที่ 3. อ.สิงห์ป่าสัก ก็ได้ใช้คำถามแลกเปลี่ยนชวนคุย เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของคุณอำนวย  รวมไปถึงคุณลิขิต และคุณประสานควบคู่กันไป วัตถุประสงค์เราต้องการจะเติมเต็ม ให้กับบทบาทคุณอำนวย ในการจัดการความรู้ในชุมชนนั่นเองครับ

 

 

 

          ขั้นที่ 4. อ.สิงห์ป่าสัก ได้มอบหมายให้ผมได้ดำเนินการต่อเป็นลำดับต่อไป ผมได้กล่าวทักทายโดยได้นั่งอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม  จากนั้นเราได้ทบทวนความเข้าใจระหว่างคำว่าวิทยากร กับวิทยากรกระบวนการ(คุณอำนวย ) โดยฝึกหรืออมอบหมายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้หาอาสาสมัครออกไปเขียนที่กระดาษฟาง โดยระดมความเห็นร่วมกัน จากนั้นให้เขาสรุปร่วมกันคำว่า วิทยากร กับคุณอำนวยต่างกันอย่างไร

 

 

         ขั้นที่ 5. อ.สิงห์ป่าสัก ได้ฝึกทักษะการใช้เครื่องมือMind Mapping (แผนที่ความคิด ) โดยให้ทุกคน บันทึกลงในกระดาษ A4  ไม่น่าเชื่อ เขาทำได้จริงๆ ต่างยิ้มแย้มแจ่มใส พออกพอใจไปตามๆกัน บางท่านก็นอนเขียน บางท่านก็นั่งเขียน โดยให้บันทึกประวัติของตนเองก่อน

ครบทีมทั้งคุณอำนวย คุณกิจ และคุณลิขิต ที่เป็นเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผลงานการเขียนMind Mapping  โดยเกษตรกรเอง

 

         ขั้นที่ 6. จากนั้น เราให้อาสาสมัครให้มาเล่าเรื่องประวัติและเลือกประเด็นการจัดทำไร่นาสวนผสมตามแนวทฤษฏีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยลงุสังวร จากบ้านลานทองน้อย ตำบลวังควงซึ่งมีอาชีพไร่นาสวนผสมอยู่แล้วมาเล่าให้ฟัง จากนั้นให้คุณลุงเพิ่มทำหน้าที่เป็นผู้ซักถามบางประเด็น พร้อมให้ทำหน้าที่คุณอำนวยไปพร้อมๆกันด้วย ในขณะเดียวกัน ให้อาสาสมัครขึ้นมาทำหน้าที่คุลิขิตโดยใช้เครื่องมือMind Mapping    น่าชื่นชมครับเขาทำได้จริงๆ

 

 

 

          ขั้นที่ 7. ทั้งผมและอ.สิงห์ป่าสัก ได้ทำความเข้า โดยสรุปร่วมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า บทบาทการเป็นคุณอำนวยในชุมชนร่วมกันและเราจะทำงานในชุมชนร่วมกันต่อไปเป็นเครือข่ายแห่งความช่วยเหลือกันต่อไปในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรในชุมชนต่างร่วมกันต่อไป โดยให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านนาป่าแดงเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกันต่อไปนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 260203เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าประทับใจที่เกษตรกรเขียน mindmap ได้
  • พวกเขาน่าจะภูมิใจและเชื่อมั่นตนเองมากขึ้นนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท