การแก้ปัญหา "ด้านเศรษฐกิจ" ฤาสำคัญกว่า การแก้ปัญหา "การศึกษาและสังคม" ?


เมื่อเช้าฟังข่าวแว่ว ๆ มีการให้ความคิดเห็นจากใครสักคนที่ให้สัมภาษณ์ว่า "นโยบายปัจจุบัน รัฐไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา แต่กลับให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจก่อน ถ้าประชาชนไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษาแล้ว การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจะสำเร็จและยั่งยืนได้อย่างไร"

พ่วงด้วยความคิดเห็นของนักการเมืองที่คุมนโยบายให้สัมภาษณ์ว่า "ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาด้านปากท้อง ถ้าคนไม่มีข้าวจะกินจะอยากเรียนหนังสือได้ยังไง"

คำสัมภาษณ์ทั้งสองฝ่าย ทำให้มองเห็นวิธีคิดและการใช้ปรัชญาการบริหารประเทศที่แตกต่างกัน ดังนี้

ปรัชญาแรก ... เลือกการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจก่อน เพราะเชื่อว่า หากแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีแล้ว การแก้ปัญหาด้านอื่นจะได้รับอานิสงค์ตามมา

ปรัชญาที่สอง ... เลือกการแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาและสังคมก่อน เพราะเชื่อว่า หากให้ความรู้กับประชาชาชนแล้ว การแก้ไขปัญหาทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ และความยั่งยืน

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม ควรจะมี "ปรัชญาที่สาม"

"ควรแก้ปัญหาประเทศไปพร้อม ๆ กันทุก ๆ ด้าน" เหมือนระบบกลไกของร่างกายมนุษย์ที่ต้องทำงานไปพร้อม ๆ กัน ส่วนใดส่วนหนึ่งจะหยุดทำงาน หรือเน้นมากไปก็ไม่ได้ เช่น เลือกออกกำลังกายเฉพาะกล้ามเนื้อแขนขวา แขนขวาก็จะโตข้างเดียว มีกล้ามเป็นมัด ๆ ข้างเดียว ข้างซ้ายก็จะลีบ ไม่สมส่วน ไม่สมดุล ถือเป็นการผสมผสานปรัชญาที่หลากหลาย แต่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและธรรมชาติของคนในประเทศเรา

 

รัฐไม่ควรการแก้ไขปัญหาด้านเดียว แต่ควรจะแก้ทุก ๆ ด้านพร้อม ๆ กัน

พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรา "เดินสายกลาง"

ในหลวงสอนให้เรารู้จัก "ความพอดี ความพอเพียง"

 

กัลยาณมิตรทั้งหลาย ท่านมีความคิดเห็นเช่นไรบ้างครับในประเด็นนี้

โปรดเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

ขอบคุณมากครับ :)

 

หมายเลขบันทึก: 231800เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

อรุณสวัสดิ์ค่ะอ.เสือ พันธุ์ ... :)

" เห็นด้วย กับ อ. หนุ่มใหม่ไฟแรง ทุกประการค่ะ

...

และ การศึกษา ยังเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา

รวมถึง การปรับเปลี่ยนความคิดของบัณฑิตด้วยค่ะ

...

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจระดับมหภาค ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก

เพราะน้องๆ เค้าก็บอกว่าระดับรากหญ้า ไม่มีผลกระทบเท่าใดนัก

๕ ๕ ...

และสิ่งสำคัญอย่าลืม ความพอเพียง เริ่มต้นที่หัวงู แล้ว หางจะกระดิก ตามเอง ค่ะ

...

ขอบคุณบันทึกนี้ เมื่อเช้าประเด็นนี้ก็ปุ๊บเข้ามาในสมองเช่นกันค่ะ

 

 

 

ขอบคุณครับ คุณ poo :) ... เฝ้ารอวิธีคิดของผู้บริหารประเทศที่จะเลือกใช้หลักการให้เหมาะสมกับคนไทยและประเทศไทย ครับ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ แวะมาทักทายก่อนทำงานครับ ^ ^ ทำงานสายซะประมาณนี้ อิ อิ
  • เห็นด้วยครับว่าต้องแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กันทุกด้าน มองดูแล้วรัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษานะครับ แต่ผมเห็นด้วยกับการให้น้ำหนักกับการแก้ปัญหาปากท้องก่อน ถ้าไม่แก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนให้ได้ผล ผมว่ารัฐบาลไม่มีโอกาสแก้ปัญหาการศึกษาแน่เลยครับ ตอนนี้ผมว่ารัฐบาลยังไงก็อยู่ได้ด้วยผลงานทางเศรษฐกิจ ถ้าหากทำผลงานได้ดี รัฐบาลจะพูดว่า เราต้องวางรากฐานการศึกษา แบบนี้ๆๆ อีกสิบปีก็จะดี ชาวบ้านอย่างผมที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการศึกษาถึงจะเชื่อละครับ แต่ถ้าแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ได้การวางรากฐานหรือการจะพัฒนาปฏิรูปอะไรก็คงมีอุปสรรคไปหมดนะครับ

จริงๆฐานของทุกเรื่องใน Knowledge society ล้วนแล้วแต่ใช้ ความรู้ เป็นฐาน และการพัฒนาจำเป็นต้องพัฒนาทุกองคมพยพของสังคม โดยใช้ความรู้เป็นฐานเช่นกัน ดังนั้น การศึกษา สำคัญ และการพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญเช่นกัน

วิธิคิดแบบแยกส่วน เกิดจาก การศึกษาหมาหางด้วนที่ผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้.. ดังนั้นประเด็นที่เขียนบันทึก เราพอมองเห็นวิธิติดที่เป็นผลลิตของการศึกษาได้ว่า การศึกษาแบบโรงเรียน แบบตะวันตก(หรือ ฯลฯ)  ทำให้เราคิดเป็นส่วนๆ ไม่เชื่อมโยง  ทำให้มองโลกแบบแยกส่วน ลดรูป และมองทุกอย่างแบบกลไก ฐานคิดที่จำกัดและแบ่งชิ้น การมองแบบมิติเดียวเป็นเส้นตรง ขาดการเชื่อมโยงในมิติอื่นๆ ไม่สามารถบูรณาการหรือมองปัญหาในภาพรวมได้ การพัฒนาทำได้ แต่ ความยั่งยืนอาจไม่มี...

วิธีคิดแบบให้สัมภาษณ์ จึงเป็น วาทกรรมที่น่าเป็นห่วง สำหรับนักคิดระดับนักบริหาร ที่จะต้องนำพาประเทศเราสู่การพลิกฟื้น เยียวยาในขณะนี้ครับ

ผมมองต่างไปจากอาจารย์อีกว่า ในวิถีการพัฒนา บางทีเราใช้ การพัฒนาแบบ ไม่ต้องสมดุลก็ได้ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงประเด็นบางอย่าง แต่ในผลรวมของการพัฒนา เราต่างมุ่งหวังความสมดุล

ไม่แน่ใจว่า งง หรือเปล่านะครับ ในนิยามใหม่ของการพัฒนาที่เรากำลังเดินทางไปถึง กระบวนการพัฒนาที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เหมือน การทำการตลาด รุก - รับ จะนำไปสู่ความสมดุลของผลลัพธ์

เห็นด้วยกับบทสรุปในบันทึกของอาจารย์ครับ

ประเด็นนี้ ในเนื้อหาช่วงกลางๆ(ในกระบวนการพัฒนา)ก่อนที่จะนำไปสู่ "สมดุล" เป็นประเด็นที่ต้องถกกันอีกยาว

ขอบคุณครับ ที่เปิดโอกาสให้ได้คิด...

 

     เรื่องของการศึกษา ก็มีส่วนชวนให้คิดไปอีกครับว่า เราจะจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือ แก้ปัญหาด้านสังคม

     ดูจากทิศทางของการจัดการศึกษา จะมุ่งเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจเสียมากกว่าครับ  เรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม มีเขียนไว้ครับ  แต่ไม่ปฏิบัติกันอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม

     เหมือนการศึกษาหมาหางด้วนอย่างไรไม่รู้ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

- มาเรียนรู้ วิธีคิด และกระบวนการคิดพัฒนาตนค่ะ

- อ่าแก้ที่คนก่อนดีไหมคะ (โดยเฉพาะผู้นำ แล้วใครจะแก้ ถ้าไม่ใช่ตนเอง)

- หนูมองว่า "คน" เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ

ทำอย่างไร คนไทยจึงจะมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการ

พัฒนาประเทศที่อยู่ในสภาวะโลกาภิวัฒน์ทีทมีการเปลี่ยนทางด้านเศรษฐกิจ

และสังคมอย่างรวดเร็ว โดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง

( อันนี้เป็นความเห็นของเด็กน้อยๆคนหนึ่งนะคะ )

มาอ่านแล้วรู้สึกได้ความรู้ ได้เรียนรู้เยอะดีคะ ตั้งแต่

คุณ poo

คุณ U-and-ME

คุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

คุณ small man~natadee

และที่สำคัญ อาจารย์ Wasawat Deemarn

ขอบคุณค่ะที่เปิดประเด็นให้ได้คิด...:)

สัวสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

  • กินข้าวเที่ยงยังคะ...
  • เห็นด้วยค่ะกับความคิดนี้ รัฐไม่ควรการแก้ไขปัญหาด้านเดียว แต่ควรจะแก้ทุก ๆ ด้านพร้อม ๆ กัน
  • ถ้ามองประเทศชาติเป็นองค์รวม (holistic)
  • ผู้บริหารหรือคนควบคุมนโยบาย ก็ควรให้ความสำคัญในทุกด้าน และแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กัน
  • เหมือนคนป่วยที่เราต้องดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
  • ปัญหาของประเทศชาติก็เช่นเดียวกันค่ะ จะเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันไป เหมือนบอกว่าไม่มีจะกินก็เรียนไม่รู้เรื่อง ..หรือเพราะไม่มีความรู้จึงไม่รู้จักทำมาหากิน ..!!!!...อยากทำมาหากิน แต่ไม่มีทุน..อืม...ทำไงดีคะ ..
  • ...............................

    พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรา "เดินสายกลาง"

    ในหลวงสอนให้เรารู้จัก "ความพอดี ความพอเพียง"

  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ U-and-ME  :)

"ปัญหาปากท้อง" เป็นโจทย์ปัญหาอันดับหนึ่ง ... ที่รัฐบาลคิดว่า กำลังจะพิสูจน์ความสามารถให้กับประชาชนได้เห็น (รัฐเลือกเรื่องใกล้ตัว ประชาชนก็เลือกเรื่องใกล้ตัว คือ ปากท้อง)

"ปัญหาการศึกษา" ปล่อยมันไปก่อน เด็กไทยเราควรจะฉลาดให้น้อยกว่านักการเมือง และผู้นำมวลชนที่หาวิธีการมาปั่นสมองคนไทยเล่น หลาย ๆ กลุ่ม

คิดแล้วเศร้า ไม่คิดแล้วครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ฟังทัศนะของคุณเอกครับ ... เฝ้ารอการคิดของผู้นำประเทศชุดใหม่ครับ

สวัสดีครับ ท่านรอง small man :)

ชอบประเด็นนี้ครับ

"เราจะจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หรือ เราจะจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านสังคม"

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สำคัญกว่า แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หรือไม่ :)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ น้องคุณครู เทียนน้อย :)

"เน้นทรัพยากรมนุษย์" นะครับ

สวัสดีครับ คุณพยาบาล สีตะวัน :)

การแก้ปัญหาต้องเชื่อมโยงกันทุกภาคส่วนนะครับ ...

ขอบคุณมากครับ :)

  • ขอขอบคุณค่ะ
  • ได้อ่านแล้วนะคะ

  • แวะมาเยี่ยมยามดึกก่อนกลับรังนอนครับท่านอาจารย์ ตอนนี้ผมกำลังมีความสุขครับกับความเฟ้อฝันถึงรัฐบาลใหม่ที่เข้มแข็งเหมือนรัฐบาลของ”คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” จะได้ยุติความแตกแยกในบ้านเมืองเสียที
  • ถ้าว่ากันเรื่องการศึกษา  จะศึกษาอะไร ศึกษาไปเพื่ออะไร ศึกษาอย่างไรดี ต้องวางรากฐานกันอย่างไรคงต้องอาศัยท่านผู้รู้ในวงการศึกษาอย่างท่านอาจารย์หรืออีกหลายๆท่านนะครับ ที่จะกระตุ้นเตือนรัฐบาล ยิ่งรัฐบาลมีความสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจอำนาจก็จะยิ่งมั่นคง จากนั้นก็อยู่ที่ว่าท่านผู้นั้นหวังดีต่อชาติบ้านเมืองจริงจังหรือเปล่า...
  •  ...เพราะถ้าจะให้ประชาชนส่วนใหญ่อย่างพวกผมใส่ใจในเรื่องนี้คงยากครับ...ครั้งที่ผมย้อนกลับมาเรียนเพื่อนผมหัวเราะว่าเรียนไปทำอะไรแก่ป่านนี้แล้วมาค้าขายของด้วยกันดีกว่าเดี๋ยวหาแผงค้าให้...เรียนไปจบมาจะได้เงินเดือนกี่สตางค์กัน...น้องคนหนึ่งที่เคยทำงานด้วยกันเล่าว่าญาติเขาให้ลูกเรียนแค่ ม.3 แล้วมาเข้าโรงงานทำงานให้ทำโอทีได้เงินก็พอแล้วเรียนไปทำไม และอีกฯลฯ  ...ส่วนคนอีกกลุ่มซึ่งผมรู้จักที่หัวค่อนข้างดีก็มุ่งมั่นที่จะเรียนโดยวางแผนแค่ว่า เรียนอะไรดีที่จบมาแล้วภาคธุรกิจรองรับ จบมาแล้วเงินดีโอกาสก้าวหน้าหาเงินได้เยอะ กี่สิบ k ก็ว่ากันไป
  •  “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” สอนให้นักการเมืองส่วนใหญ่รู้แล้วครับว่าการเมืองคือการตลาด โดยกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้คือภาคส่วนของคนที่ชอบความมั่งคั่ง ผมหวังเพียงแต่ว่ากลุ่มของท่านอาจารย์จะเป็นเสียงของผู้บริโภคส่วนน้อยที่คอยเรียกร้องไม่ให้ รัฐบาลขายแต่นโยบายขนมกรุบกรอบที่อร่อยแต่ไม่มีประโยชน์ต่อประชาชนในระยะยาวเพียงอย่างเดียวนะครับ ด้วยจิตคารวะครับ ^^

     
     
  • จะแยกไปทำไม ว่าอันไหนสำคัญกว่า
  • เมื่อปัญหาเศรษฐกิจรออยู่ข้างหน้า ชาวประชาหน้าเหลือง ตกงานกันเป็นทิวแถว ไม่ทำก็ตายกันหมด
  • การศึกษา เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เพื่อผลระยะยาว
  • ทำไปคู่กันครับ รัฐบาลนี้ก็เน้นทั้งสองอย่าง

 

 

ขอบคุณมากครับที่คุณ U-and-ME แวะมาอีกครั้ง :)

ชอบเรื่อง “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” จังครับ เปรียบเทียบได้เห็นภาพเลย

ตราบใดที่ การเมือง = การตลาด ประเทศชาติคงเหลือแต่กระดูกแล้วล่ะครับ

การศึกษาใช้พัฒนาคน ให้เป็นคนดี มีความรู้ มีคุณธรรม เดี๋ยวนี้ทำยังไงก็ไม่ทราบ มีความรู้ หาช่องโหว่ แล้วโกงเนียน ๆ

เอาแค่ตอนเรียน มันลอกข้อสอบกันได้ นั่นแหละจุดเริ่มต้นของคนโกงชาติ :)

ขอบคุณครับ คุณ  คนโรงงาน ... รัฐเค้าแยกให้เห็น เศรษฐกิจ แก้ระยะสั้น อีกฝ่ายว่า การศึกษาแก้ ระยะยาว ...

กลไกประเทศชาติ เปรียบได้กับ กลไกร่างกายมนุษย์ :)

เดินไปพร้อมหน้าพร้อมตากัน

ขอบคุณครับ คุณ ครูคิม  ... แล้วจะแวะไปเยี่ยมครับ :)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒ ครับ ... น้อง [SPI©Mië™] :)

ขอบคุณครับ

แอมมี่เห็นด้วยกับความคิดของคุณจตุพร ว่า ในวิถีการพัฒนา บางทีเราใช้ การพัฒนาแบบ ไม่ต้องสมดุลก็ได้

แล้วเราจะพัฒนาการศึกษาให้เด็กเรียนเพื่อเตรียมตัวมาทำงานในโรงงานเหมือนที่ผ่านๆมา หรือเราจะพัฒนาให้เค้าสามารถ "คิดเป็น"

การเข้าใจภาพรวมของโลก โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น ที่จริงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำความเข้าใจค่ะ และถ้าเข้าใจมันจริงๆ เราจะสามารถวางนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษาไปพร้อมๆ กันได้ และทันยุคทันสมัย มากกว่าที่เรามองทุกอย่างแบบแยกส่วน และใช้วิธีคิดแบบ นี่มันไม่ใช่เรื่องของฉัน ใครมีหน้าที่ก็ทำไปค่ะ

ฝากไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า

ขอบคุณข้อสงสัยขวางโลก entry นี้นะคะ

ขอบคุณข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของท่าน dr-ammy ครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท