เครื่องไตเทียม (ความรู้เบื้องต้น)


ท่านผู้อ่านบลอกพันคำ ท่านหนึ่งถามว่า

"อยากรู้ว่าการฟอกเเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามเร็วขึ้นหรือไม่" http://gotoknow.org/blog/phankum/335754?page=1
จันทร์ [IP: 124.120.220.27]
เมื่อ ส. 20 ก.พ. 2553 @ 16:09
#1868523

ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า พันคำไม่ใช่แพทย์ และไม่มีความผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าว จึงตอบไม่ได้ในรายละเอียดที่จะถูกต้องเฉพาะรายครับ คุณต้องไปพบแพทย์ที่รักษาและขอความแนะนำครับ

แต่ไหนๆก็อุตสาห์ถามมา พันคำขอแนะนำให้ค้นกูเกิ้ลครับมีบทความภาษาไทยและเทศมากมาย สำหรับบทความต่อไปนี้เกี่ยวกับการทำฮีโมไดอะไลซิสครับ

ฮีโมไดอะไลซิส (ไตเทียม)

บทความนี้เพื่อเสริมความเข้าใจต่อจากบทความทางการแพทย์ที่มีอยู่แล้วในเว็บ พันคำสรุปความบางตอนมาจากสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย

การพัฒนาไดอะไลซิสเพื่อรักษาไตวาย มีพื้นฐานมาตั้งแต่ ค.ศ. 1854 จนไตเทียมเครื่องแรกได้ประดิษฐขึ้นใน ค.ศ. 1913 และมีการทำฮีโมไดอะไลซิสให้ผู้ป่วยครั้งแรกใน ค.ศ.1924  พัฒนาการก็มีมาตลอดจนเกิดเป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ได้ในทางคลินิกโดยนายแพทย์ Kolff ในช่วง ค.ศ. 1943-1945 การพัฒนาระยะต่อๆมาโดย นายแพทย์ Nils Alwall และนายแพทย์ Belding H. Scribner

ฮีโมไดอะไลซิสเป็นวิธีหนึ่งในการให้การรักษาทดแทนการทำหน้าที่ของไต (อีกสองวิธีคือ การปลูกถ่ายไต และการทำไดอะไลซิสที่ช่องท้อง) ฮีโมไดอะไลซิสอาจทำในลักษณะผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก

หลักการ

เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า "ไดอะไลซิส" เป็นวิธีที่แยกสารตัวถูกละลายที่ไม่ต้องการให้ออกไป โดยอาศัยการแพร่ของสารเหล่านี้ให้เคลื่อนที่ผ่านแผ่นเยื่อบางๆที่ยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นผ่านออกไปได้ (semipermeable membrane) สารที่ไม่ต้องการเหล่านั้นจะข้ามเยื่อนี้ไปอยู่อีกด้านหนึ่งของเยื่อ
กรณีที่นำเลือดมาผ่านการไดอะไลซิสส่วนของเลือดจะอยู่ด้านหนึ่งของเยื่อนี้ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นสารละลายที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะช่วยให้สารที่ไม่ต้องการจากเลือดเคลื่อนออกมาอยู่ในสารละลายนี้ สารละลายนี้เรียกว่า "ไดอะไลเสส" สารละลายไดอะไลเสสจะทำให้ถูกไหลในทิศทางสวนกับการไหลของเลือด และการนำพาสารที่ไม่ต้องการนี้ออกไปสู่ภาชนะรองรับ เลือดเมื่อผ่านการไดอะไลซิสจะไม่มีสารของเสียจากร่างกายที่ไม่ต้องการเช่น ยูเรีย ครีเอตินีน โปแตสเซียม ฟอสเฟต หรือน้ำส่วนเกิน

ในสารละลายไดอะไลซิส (หรือไดอะไลเสส) จะมีโซเดียม และคลอไรด์ในปริมาณพอๆกับในพลาสมา ดังนั้นอิเล็กโทรไลต์เหล่านี้จะไม่แพร่ออก นอกจากนี้อาจมีการเติมโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อป้องกันเลือดเป็นกรด และอาจเติมกูลโคสเล็กน้อย

วิธีนี้จะต่างจากการกรองเลือด (ฮีโมฟิลเทรชั่น) ที่ใช้หลักการพาสารที่ถูกละลายผ่านแผ่นเยื่อบางที่ยอมให้สารบางชนิดผ่าน (ไม่ใช้การแพร่) ดังนั้นไม่ใช้สารละลายไดอะไลเสส



ภาพ เลือด (เส้นสีฟ้า) จะถูกปั้มเข้าหลอดไดอะไลเซอร์ (ในภาพถัดไป) ที่มีน้ำยาไดอะไลเสส (เส้นสีเหลือง) จากถังใหม่ (ฝาสีฟ้า) ไหลในเครื่องในทิศทางตรงข้ามกับเลือด แล้วไดอะไลเสสที่รับของเสียจากเลือดแล้วจะลงสู่ถังรับสำหรับไดอะไลเสสที่ใช้แล้ว เลือดที่ผ่านการฟอก (สีแดง) จะถูกควบคุมแรงดันก่อนปล่อยกลับคืนสู่ร่างกาย ในระบบจะมีการให้สารละลายเกลือชดเชยน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งเฮพารินป้องกันแข็งตัวของเลือด



ภาพหลอดไดอะไลเซอร์ (Dialyser)

 

อาการข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้

  1. ถ้าไตเทียมปล่อยน้ำออกจากร่างกายมากเกิน หรือในอัตรารวดเร็วเกิน อาจทำให้เกิดความดันเลือดต่ำ อาการเมื่อยล้า อาการปวดหน้าอก ขาเป็นตะคริว คลื่นไส้ และปวดศีรษะได้ (อาการเหล่านี้เกิดได้ทั้งในขณะทำฮีโมไดอะไลซิสหรืออาจจะคงมีอาการต่อหลังจากทำเสร็จแล้ว ซึ่งเรียกรวมๆว่า "ไดอะไลซิส แฮงโอเวอร์ หรือ ไดอะไลซิส วอชเช๊าท์) ความรุนแรงของอาการเป็นสัดส่วนกับปริมาณและอัตราเร็วของการเสียน้ำไป แต่อย่างไรก็ตามยังขึ้นกับแต่ละคนและแตกต่างกันในบางวันได้ โดยการปรับให้เหมาะสมสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์นี้ได้ เช่น ทำบ่อยครั้งขึ้นและใช้เวลานานขึ้น (ปกติสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 3-4 ชั่วโมง)
  2. การติดเชื้อ สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมและการควบคุมการติดเชื้อที่ดี
  3. การแพ้เฮพาริน ซึ่งพบไม่บ่อย จะทำให้เกร็ดเลือดต่ำ ในผู้ที่แพ้จะเปลี่ยนไปใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดอื่น หรือในบางรายที่มีความเสี่ยงมากต่อการเกิดเลือดออกอาจทำโดยไม่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  4. กลุ่มอาการของการใช้เป็นครั้งแรก (First Use Syndrome) ซึ่งพบน้อยมากแต่อาจรุนแรง อาจเกิดจากสารที่นำมาใช้ทำให้เครื่องมือปราศจากเชื่อที่อาจยังหลงเหลือในอุปกรณ์หรือจากสารที่ใช้ทำเยื่อไดอะไลซิส  ในอาการข้างเคียงนี้ในปัจจุบันลดลงเพราะมีการปรับปรุงวิธีการทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ และวัสดุที่ใช้ทำเยื่อก็ทำให้เกิดการแพ้น้อยลงมากๆ
  5. อาการแทรกซ้อนการทำฮีโมไดอะไลซิสเป็นระยะเวลานาน อาจเกิด การสะสมอย่างผิดปกติของโปรตีนอะมัยลอยด์ในอวัยวะและเนื้อเยื่อ (amyloidosis) อาจทำให้เส้นประสาทผิดปกติ (neuropathy) หรืออาจทำให้เกิดโรคหัวใจ




ข้อมูลข้างต้น พันคำหวังว่าจะมีส่วนทำให้ผู้ที่จำเป็นต้องทำฮีโมไดอะไลซิส มีความเข้าใจมากขึ้น

ดังนั้น โดยหลักการแล้ว จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องหรือทำให้มะเร็งลุกลามมากขึ้น

 

พันคำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้รักษารวมทั้งพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลด้วยครับ

ขอให้โชคดีครับ


http://en.wikipedia.org/wiki/Hemodialysis
http://en.wikipedia.org/wiki/Hemofiltration

คำสำคัญ (Tags): #ไตเทียม
หมายเลขบันทึก: 339103เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับคุณพันคำสำหรับความรุ้ แต่ผมอยากรู้ หลักการทำงานของอินฟิวชั่น pump เพิ่มเติมด้วยครับขอความกรุณาด้วยนะครับ

คุณไพรวัลย์ ผมลองหาข้อมูลและไว้ในบันทึกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/phankam/415314 จัดตามเวลาที่พอมี ไม่ทราบว่าตรงหรือไม่ ก็หวังว่าคงมีประโยชน์บ้าง

แผ่นเยื่อบางๆที่ยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นผ่านออกไปได้ (semipermeable membrane) ที่อาจารย์กล่าวถึง อยู่ในหลอดไดอะไลเซอร์ ใช่มั้ยคะ ?

ขอบคุณค่ะ

ตอบ กมลชนก เข้าใจถูกแล้วครับ ภายในหลอดไดอะไลเซอร์มีเยื่อที่ยอมให้สารบางชนิดผ่านออกแต่ไม่ยอมให้สารโมเลกุลใหญ่หรือเซลล์ผ่านออกไป เลือดจะถูกฉีดจากปั้มเข้าไปตรงกลางท่อไปออกอีกปลายท่อ ส่วนน้ำยาไดอะไลเสทใหม่ๆจะถูกปั้มเข้าจากท่อด้านข้างของหลอดไดอะไลเสทนี้ สารของเสียในเลือดที่ผ่านรูของเยื่อได้จะแพร่ออกมาสะสมในน้ำบาไดอะไลเสท แล้วน้ำยาที่มีร่างกายไม่ต้องการแล้วนี้ก็จะไหลออกมาจากท่อด้านข้างของหลอดนี้ลงถังสำหรับนำไปกำจัด เลือดผู้ป่วยก็จะกลับมาบริสุทธิ์ไม่มีของเสียครับ

ผมเป็นคนเฝ้าคนไข้ที่ ฟอกไตด้วยเครื่อง ผมศึกษา และ สังเกตุ อาการคนไข้ แต่ผมไม่ใช้หมอ และ พยาบาล คนเคยสงสัยหลายอย่างว่า ทำไมคนไข้เดียวกันโน้นเป็นนี้ ทั้งที่เรา ควบคุมการกินของคนไข้ ตลอด แต่ทำไมจะเป็นอีก ผมเลยอยากจะ อ่านค่าและ อยากรู้ความหมาย หน้าจอของเครื่อง ฟอกไต เพราะ ผมกำลังศึกษาอยู่ ถามพยาบาลก็บอกไปโน้นไปนี้ ไม่เหมือนที่ ท่านกูลบอก google บางอย่างก็บอกแบบเลี่ยงไม่บอกตรงๆ ใครพอมีความรู้ในการอ่านค่า หน้าจอเครื่อง ช่วยแนะนำเป็นวิทยาทานให้หน่อยคับ

มีภาพถ่ายหน้าจอเครื่องไตเทียมไหมครับ

เป็นช่างเครื่องไตเทียมครับ

น่าจะอธิบายได้บ้างในบางรายการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท