สมองจะยังคงทำงานต่อ หลังจากที่คุณหยุดคิดไปแล้ว


ดังนั้น ถ้ามีเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ ถ้ามีเวลาใคร่ครวญมากย่อมเลือกการแก้ที่ดีกว่า

พักเที่ยงคุยกับเพื่อนร่วมงาน (คุณ A)

 

ผมก็เอ่ยขึ้นว่า   "สงสัยเป็นรถคุณพยอม"

คุณ A         "มีที่ไหน คุณพยอม  ....เขาชื่อพเยาว์"

ผม            "ฮา...อืม...ใช่จำชื่อผิดอีกแล้ว แย่จัง"

คุณ A         "ชื่อ พยอม มีที่ไหน ผู้ชาย ไม่มีหรอกนะ ชื่อพยอมน่ะ"

ผม            "อืม....ใช่"

 

ตกเย็น เรื่องเหล่านี้ ผมเลิกคิดไปตั้งนานแล้ว

ที่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผมกลับมาถึงห้องพักตอนเย็น

สมองผมส่งคำตอบ มาให้ (มันทำงานเงียบๆไปค้นมาในห้องสมุดสมองผม แล้วมายื่นให้ตรงไหนสักแห่งที่ ความคิดผมจะไปคอยตรวจเช็คแล้วแล้วเอามาใช้) มันบอกมี อย่างน้อย 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของคนไทย

...............

นั่น คือประสบการณ์ว่า

ในขณะที่ คนๆหนึ่งหยุดคิดไปตั้งนานแล้ว สมองมีการจัดการกับข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน อะไรที่เป็นคำถาม อาจมีการ คิดซ้ำทบทวน (หรืออาจเป็นไปได้ว่า แม้เลิกคิดแล้ว คำสั่งค้นหาตัวอย่างชื่ออย่างในกรณีนี้ ยังคงเกิดขึ้นในฉากหลังอย่างเงียบๆ แล้วเมื่อเสร็จกระบวนการแล้ว ก็ส่งคำตอบขึ้นมา)

ดังนั้น ถ้ามีเรื่องสำคัญมากๆที่ต้องตัดสินใจ ถ้ามีเวลาใคร่ครวญมาก ย่อมเลือกการแก้ที่ดีกว่า

 

ข้อมูลเสริม  สมองเกี่ยวกับความจำและความจำ

ความจำ (Memory) [1]

จำแนกได้ อย่างน้อย 3 ชนิด
1. ความจำใช้งาน (working memory)
• ทำงานเหมือนความจำ RAM ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (ความจำ RAM ต้องใช้กระแสไฟในการเก็บข้อมูล ดังนั้นหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ความจำจะหายไป)
• สำคัญสำหรับปฏิบัติการทั่วๆไปบางอย่างในสมอง (เช่น บวกตัวเลข แต่งประโยค ทำตามคำสั่ง เป็นต้น)
• เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ พื้นที่หน่วยความจำนี้จะนำมาใช้ใหม่ทันทีเมื่อเปลี่ยนเรื่อง
• ไม่ต้องใช้ส่วนของ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) น่าจะเป็นส่วนคอร์เท็กซ์


2. ความจำระยะยาว (declarative memory)
• เป็นความจำระยะยาว ที่เก็บ ข้อมูลความจริง (Facts), ตัวเลข (Figures), และชื่อต่างๆ ที่รู้จัก
• รวมทั้ง ประสบการณ์ต่างๆและความจำมีสติรู้ (conscious memory)
• เทียบได้กับ ส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ของคอมพิวเตอร์ (หน่วยความจำหลัก)
• ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ส่วนที่เก็บฐานข้อมูลมหาศาลนี้ อยู่ที่ไหน
• สมองส่วนของ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ทำหน้าที่สำคัญในการจัดเก็บความจำใหม่ๆ

                                                             

ภาพสมองมองจากด้านล่าง แสดงสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (ภาพบน [2]) ภาพล่างแสดงใยประสาทที่เชื่อมต่อของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ทางเข้าของข้อมูลที่สำคัญจากคอร์เท็กซ์ (layer II) มาทางวิถีที่เรียกว่า perforant path และการต่อเชื่อม(synap)ในฮิปโปแคมปัส[3]


    
3. ความจำถาวร (procedural memory)
• น่าจะเป็นความจำรูปที่ถาวรมากที่สุด
• ประกอบด้วย การกระทำ (actions), อุปนิสัย (habits), หรือ ทักษะ (skills) ที่เรียนรู้มาจากการทำ ซ้ำอยู่บ่อยๆ เช่น การเล่นเทนนิส การเล่นเครื่องดนตรี การแก้เกมส์-puzzle เป็นต้น
• สมองส่วนของฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ไม่เกี่ยวข้อง
• สมองส่วน ซีรีเบลลัม มีบทบาทในบางเรื่อง

 ปี ค.ศ. 1953 เคยมีผู้ป่วยผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาโรคลมชัก แพทย์จำเป็นต้องตัดส่วน medial temporal lobes รวมส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ไป  ความสามารถในการจำเปลี่ยนไป เขามีความจำใช้งาน มีความจำระยะยาวสิ่งต่างๆก่อนการผ่าตัด และยังมีความจำถาวร ปรากฏว่าเขาไม่สามารถที่จะจำสิ่งใหม่ๆได้เลย ถ้าให้คนๆหนึ่งเข้าไปพูดคุย จากนั้นออกไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ จะพบว่าเขาจำคนนั้นไม่ได้และเรื่องที่คุยไม่ได้ด้วย

ทัศนะส่วนตัว/ คำถามทิ้งท้าย

ถ้าผู้ป่วยผ่าตัดสมอง ปี ค.ศ. 1953 ดังกล่าว  สมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่ตัดออกไป แล้วไม่สามารถที่จดจำอะไรใหม่ๆแบบระยะยาว (declarative memory) ได้อีกเลย ดังนั้นขณะที่จิตออกจากร่างผู้เสียชีวิต ก็ไม่น่าจะมีความจำอะไรเลย เนื่องจากความจำอยู่ที่เซลประสาท เมื่อเซลตายไป ก็ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ส่วนของจิตน่าจะไปเดี่ยวๆ (บริสุทธิ์) ??????????????????

อ้างอิง
[1]  ฮิปโปแคมปัสและความจำ http://thalamus.wustl.edu/course/limbic.html (28Aug08)

[2] ภาพ http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/db/Hippocampus.png/200px- Hippocampus.png
[3] ภาพที่ 1 กายวิภาคพื้นฐานของฮิปโปแคมปัส                  
   จาก Guilherme Neves, Sam F. Cooke &  Tim V. P. Bliss
   Nature Reviews Neuroscience 9, 65-75 (January 2008)
   http://www.nature.com/nrn/journal/v9/n1/images/nrn2303-f1.jpg

 

คำสำคัญ (Tags): #ความคิด#สมอง
หมายเลขบันทึก: 204067เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2008 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ อาจารย์

แวะมาเยียมได้ทบทวนความรู้และเพ่มเติมความรู้นะคะ

บางครั้งจะมีปัญหาในการจำชื่อคน คิดตั้งนาน คิดไม่ออก แต่พอเขาเดินไปไกล ๆ ก็มีคำตอบให้

ขอบคุณครับ คุณประกาย
ที่แวะเยี่ยม และทักทายด้วย

ที่สำคัญ ยืนยันด้วยว่า สมองจะทำงานต่อ (ไปค้นฐานข้อมูลหาคำตอบ) ถ้าคิดและสั่งให้หาคำตอบแล้ว ยังไงๆก็ต้องได้คำตอบ (และต้องได้ทางออก ถ้าหาทางออก)

วันนี้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ working memory

กำลังจะยืนยันว่า หลังจากใช้เสร็จ ข้อมูลจะหายไปเกือบทันที คือไปซื้อของที่ตลาด ผมมีธนบัตร 20 บาท 2 ใบ ผมซื้อข้าวสวย 1 ถุงราคา 5 บาท ให้ธนบัตรไป 1 ใบ (แม่ค้าไม่สังเกตว่ามีอีกใบ) รับไป เตรียมทอนเงิน นับเหรียญ นิสิตหญิงมาช่วยงาน ทักทาย "สวัสดีค่ะ" "สวัสดี มาแล้วหรือ" แม่ค้า เตรียมยื่นเงินทอนเหรียญที่นับได้แล้วให้ผม ผมยื่นมือรับพร้อมกับธนบัตร 20 บาทอีก 1 ใบที่เหลือ เธอทำท่างง........ผมเข้าใจว่า.......แม่ค้ากำลังคิดว่า ผมจ่ายเงินหรือยัง.....................แม่ค้าไม่ได้ถามครับ (งง เท่านั้น) แต่ผมยืนยันจ่ายแล้ว ผมรอเงินทอน

ชอบตัวอย่างที่อาจารย์ ใช้อธิบาย ทำให้ เข้าใจการทำงานชัดเจน เรื่อง พยอม และ เรื่อง20 บาท 2 ใบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท