ประชุมกัน จันทร์ พฤหัส ศุกร์ วันที่ 30 และ 1 นี้


ขอเปลี่ยนชื่อบันทึกนิดหนึ่งครับ จากเดิม คือ "ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์" ผมคิดไปคิดมา เห็นว่าออกจะไม่น่าสนใจ

วันนี้ขณะที่ผมไปออกกำลัง เดินเร็ววนขวา รอบหอพระเทพรัตน์ ตอนเย็นสักหกโมงกว่าๆ จะมองเห็นดาวศุกร์ (Venus ใกล้โลกที่สุด) และดาวพฤหัสบดี (Jupiter ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด) ส่องสว่างอยู่ใกล้ๆกัน เหนืออาคารคณะทันตแพทยศาสตร์

ปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์โคจรมาอยู่เหมือนใกล้ชิดกัน (planetary conjunction, ในภาพ เหมือนใบหน้าเศร้า/บึ้ง คือเสี้ยวของดวงจันทร์โค้งลง ใต้ดวงตา คือ ดาวทั้งสอง)

                               (image source: Ric Lohman)

วิดีทัศน์นี้ จำลองการเคลื่อน ของดวงจันทร์ ดาวศุกร์และ ดาวพฤหัสบดี ระหว่างวันที่ 20 พ.ย. - 5 ธ.ค. 2551 (วันที่ 30 พ.ย. นี้ ตอนเย็นๆ ดาวทั้งสองจะอยู่ใกล้กัน และ 1 ธ.ค. ตอนเย็นดวงจันทร์จะมาร่วม ทำให้ทั้งสามจะอยู่ใกล้กัน) หมายเหตุ เจ้าของผลงาน คือ AntaresInScorpion (YouTube) ชื่อวิดีทัศน์ Venus, Jupiter, and the Moon--A December Reunion (posted 11th Feb. 2008) แนะว่า เพื่อให้เห็นภาพดีที่สุด ควรดูเต็มจอ คลิกที่ปุ่มในภาพนี้ครับ

 

 

ถ้าไม่ชมครั้งนี้ ดาวทั้งสองจะปรากฏอยู่ใกล้กันอีกใน 16 ก.พ. 2553 แต่จะไม่เห็นเนื่องจากการบกวนจากแสงอาทิตย์ จะต้องรอไปจนถึง 14 มี.ค. 2555 จึงจะสามารถมองเห็นได้

เมื่อ 4 ก.พ. 2551 ดาวทั้งสองและดวงจันทร์ ก็มาปรากฏใกล้กันในลักษณะสามเหลี่ยมพอดี อันนี้วิดีทัศน์ถ่ายจากท้องฟ้าจริงๆ

 

References and more info.
Andrew Fazekas. Planets, Crescent Moon to "Frown" on Skywatches Dec.1. National Geographic News (posted Nov.25, 08)
http://news.nationalgeographic.com/news/2008/11/081125-venus-jupiter-conjunction.html

Images
Ric Lohman Letter: Planetary conjunction in the evening sky. Coastsider. http://coastsider.com/images/uploads/2008/planetary_conjunction_thumb.jpg posted Nov.26, 2008.

ตาราง planetary conjunction เพื่อตรวจดูว่าปรากฏลักษณะนี้มีอีกเมื่อไร จากวิกิพีเดีย(Eng) คลิก

 


 

ภาพถ่าย ด้วยกล้องดิจิตอล ธรรมดา ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  1. ชมภาพ Venus & Jupiter at NU (เสาร์ 29 พ.ย. 51) คลิกเปิด
  2. ติดตาม The Celestial Bodies (My 2nd day อาทิตย์ 30 พ.ย. 51) คลิกเปิด

 

 


 

ตำแหน่งของ ดาว Venus และ Jupiter ในวันอื่นๆของเดือน พฤศจิกายน 2551 ที่มีผู้โพสต์ มี

  1. วันที่ 17 พ.ย. 2551

วิดีทัศน์นี้ ถ่ายที่กรุงปราก ประเทศ เช็ก (Prague, Czech) เมื่อ 17 พ.ย. 2551 โดย beautyintheuniverse, YouTube, posted 19-11-2008

 

 


ข้อมูลเพิ่มเติม ทบทวน

          (Image Source: Wikipedia สีเหลือง=พระอาทิตย์, สีฟ้า=ดาวศุกร์, สีเขียว=โลก )

ดาวศุกร์ (Venus) เทียบกับ โลก (Earth)

  1. ขนาด เล็กกว่า (12104, 12756 km)
  2. มวล น้อยกว่า (4.87x1024 kg = 82% ของมวลโลก)
  3. ความหนาแน่น น้อยกว่า  (5240 kg/m³)
  4. แรงโน้มถ่วง 91% ของโลก
  5. หมุนช้า 1 วัน เท่ากับ 243 วันของโลก
  6. หมุนในทิศตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ถ้าอยู่บนดาวศุกร์ พระอาทิตย์น่าจะขึ้นทางทิศตะวันตก และลับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก (ยังไม่มีใครรู้ว่าทำไม จึงเป็นเช่นนั้น)
  7. วงโคจร ทำมุมเอียง 3.4 องศา กับโลก (ภาพข้างบน, จาก wikipedia)
  8. 1 ปี เท่ากับ 224.7 วันของโลก
  9. อุณหภูมิเฉลี่ย 452 °C (ดาวเคราห์ที่ร้อนสุด ผลจากเมฆซึ่งเป็นกรดซัลฟุริกเคลื่อนตัวเร็วที่ปกคลุมกักความร้อนจากพระอาทิตย์--greenhouse effect)
  10. ชั้นบรรยากาศ เต็มไปด้วย คาร์บอนไดออกไซด์
  11. ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
  12. การสำรวจ : รัสเซีย ส่งยานอวกาศ Venera3 ขึ้น 16 พ.ย. 2508 ถึง 1 มี.ค.2509 พอส่วนแคปซูลที่ติดร่มชูชีพเข้าสู่บรรยากาศของดาวศุกร์ก็เงียบหายไปเลย!

References and more info:

http://www.enchantedlearning.com/subjects/astronomy/planets/venus/

Image: http://en.wikipedia.org/wiki/Transit_of_Venus

 

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เทียบกับ โลก (Earth)


  1. 142800 km ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (11 เท่าของโลก)
  2. มวล 1.87 x 1027 kg (318 เท่า)
  3. โคจรในลำดับที่ 5 ของระบบสุริยะจักรวาล
  4. องค์ประกอบ ไม่มีหินหรือวัตุของแข็ง (จึงเรียกว่า "Gas giant หรือ jovian planet" ซึ่งดาวเคราะห์ที่มีลักษณะแบบนี้อีก 3 ดวงคือ Saturn, Uranus, และ Neptune) ก๊าซที่ดาว Jupiter และ Saturn ส่วนใหญ่เป็นพวก ไฮโดรเจนและฮีเลียม (ส่วนน้อย) และชั้นของบรรยากาศและมวลของดาวไม่แยกจากกันชัดเจน ต่างจาก Uranus และ Neptune² 
  5. หมุนรอบตัวเองเร็วมาก คิดเป็นเวลาของโลกเพียง 9.8 ช.ม. (1 วันที่ดาวนี้สั้นมาก เรียก Jovian day)
  6. จะใช้เวลา 11.86 ปีในการโคจรครบรอบพระอาทิตย์ (เรียก 1 ปีของดาวนี้ว่า Jovian year)
  7. มีพระจันทร์ 39 ดวงเป็นบริวาร และพบมากขึ้นเรื่อยๆ (4 ดวงมีขนาดใหญ่--ชื่อ Io, Europa, Ganymede, และ Callisto ที่เหลือมีขนาดเล็ก)
  8. ลักษณะจำเพาะ (ดูภาพเคลื่อนไหว ข้างบน)
    1. มองเห็นเป็น"แถบๆ"รอบตามแนวละติจูด
    2. จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บ้างว่า เป็น พายุ (storm) ในภาพนี้จะเห็นอยู่ใกล้ตรงกลางภาพ
  9. สนามแม่เหล็กสูงมาก
  10. แรงโน้มถ่วง 254 % ของโลก
  11. แกนของดาวเอียงเพียง 3 องศา จึงไม่มีฤดูกาล
  12. มีวงบางๆสีดำ เป็นเศษหินเล็กๆ และฝุ่นผง ไม่สะท้อนแสงพระอาทิตย์
  13. ความสว่างของดาวเป็นอันดับสาม ถัดจากพระจันทร์และดาวศุกร์ (บางตำแหน่งของการโคจร ดาวอังคารอาจสว่างกว่า)
  14. การสำรวจ ปี พ.ศ. 2516 ยานอวกาศลำแรกชื่อ Pioneer 10 ของนาซา บินผ่าน


References and more info
1. Jupiter http://en.wikipedia.org/wiki/Jupiter
2. Gas giant http://en.wikipedia.org/wiki/Gas_giant
3. http://www.enchantedlearning.com/subjects/astronomy/planets/jupiter/

 

 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 226144เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เจริญพร คุณโยม พันคำ

ขอบใจที่นำสิ่งดีๆ มาฝาก

ได้ความรู้

และน่าสนใจมาก

นมัสการพระคุณเจ้า ครับ

จริงๆเป็นความกรุณาของพระคุณเจ้าที่เยี่ยมชมครับ ผมอ่านพบข่าวนี้โดยบังเอิญครับ

สวัสดียามเช้าค่ะท่านอาจารย์

  • น่าสนใจ ตามที่พระคุณเจ้าเกริ่นจริงๆค่ะ
  • ตอนเด็กๆ มีสนามหญ้าหน้าบ้านพักทหาร  ครูอ้อยชอบปูเสื่อ นอนดูดาวเป็นประจำ  จนคุณพ่อต้องเรียกให้ขึ้นบ้าน เดี๋ยวเป็นปอดบวม
  • พอโตขึ้น ครูพาไปชมท้องฟ้าจำลอง  ครูอ้อยตื่นเต้นมาก  และชื่นชอบมาก  ไม่เข้าห้องน้ำเลย  พอมาถึงโรงเรียน ฉี่ราดกระโปรง...เอิ๊กเอิ๊ก..ยังจำได้เลยค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่นำมาให้ชม...

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ตอนเด็กๆ ชอบเรียนเรื่องดาราศาสตร์ แต่หัวไม่ดีทางวิทยาศาสตร์  โตขึ้นเลยไม่ได้เรียนทางนั้น แต่ยังชอบอยู่
  • หลังห้องที่หอพักจะเห็นรึป่าวไม่รู้ค่ะ ถ้าท้องฟ้าโปร่งจะเห็นดวงแจ่มๆ อยู่ดวงนึง น่าจะเป็นดาวศุกร์  และจะรอดูดาวสามดวงนี้ค่ะ
  • คลิป VDO สวยดี  ปกติชอบมองดูดวงจันทร์ เพราะชื่อแปลว่าพระจันทร์รึป่าวไม่รู้ค่ะ 555
  • ขอบคุณนะคะที่เอาเรื่องนี้มาฝาก
  • ขอบคุณคุณครูอ้อย มากครับ สมัยเป็นนักเรียนคุณครูที่สุพรรณบุรีใจดีจัดรถทัวร์มาดูกันทั้งโรงเรียน แอร์เย็นฉ่ำ ประทับใจมาก เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก (ไม่รู้ว่ามีผลกระทบถึงปัจจุบันไหม คงจะมีแน่เลย) ผลงานท้องฟ้าจำลอง ก็เป็นของท่านอาจารย์นิพนธ์ ทรายเพชรแน่แท้
  • ขอบคุณ คุณ moonlight 
  • ใช่แล้วครับ ชื่อคุณบอกเลยว่า เกี่ยวกับพระจันทร์ ต้องนำเรื่องพระจันทร์มาเขียนบ้างครับจะได้เข้ากับชื่อ
  • ขึ้นอยู่กับว่า หลังห้องอยู่ในทิศเดียวกันกับดาวไหม ตอนนี้ดาวทั้งสองดวงอยู่ระดับมุม 80 องศา (ผมประมาณเอา เพราะใกล้มุมฉากมาก) นั่นคือจะอยู่สูง มักจะสูงกว่าตึกทั่วไป สังเกตได้ง่าย ดาวศุกร์จะสว่างกว่า ดาวพฤหัส ส่วนพระจันทร์ผมไม่ทราบว่าขณะนี้เริ่มเคลื่อนขึ้นหรือยัง แต่ถ้ายังอยู่ระดับเดิมอาจถูกบังจากต้นไม้หรือตึกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท