มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ชีวิตนักศึกษาปริญญาเอก: Committee Meeting


วันนี้มี committee meeting ครั้งสำคัญไปค่ะ โล่งใจเพราะผ่านไปได้ด้วยดี อยากเข้ามาบันทึกประสบการณ์ เผื่อคนที่สนใจอยากเรียนเอกจะได้ประโยชน์บ้่าง

ที่มหาวิทยาลัย British Columbia นี้ เรียกชื่อคณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาแบบเต็มยศว่า Thesis Supervisory Committee (ที่นี่ใช้คำว่า Thesis หมดไม่ว่าจะเรียนโท หรือ เอกค่ะ ถ้าเอกก็เรียกว่า Doctoral Thesis)

นักศึกษาแต่ละคนเมื่อเข้าเรียนเอกปีแรกนั้น ก็จะต้องเริ่มๆคิดหา committee กันแล้ว นกรณีของผู้ขียนนั้น อ.ที่ปรึกษาคนหลักเป็นคนช่วยหาให้ อ. เรียกไปคุยว่าเราสนใจเรื่องอะไร มีโครงการอะไรในใจ เอาให้ได้ข้อมูลคร่าวๆว่าหัวข้อวิจัยที่อยากทำมีอะไรบ้าง

ผู้เขียนสนใจเรื่องการให้บริการทันตกรรมผู้สูงอายุ อ.ที่ปรึกษาเลยไปหา committee มาให้อีก 4 คน เป็น

  1. อ. หมอ MD Geriatrician เชี่ยวชาญเรื่อง Alzheimer's
  2. อ. พยาบาล เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วย dementia และ การดูแลญาติของผู้ป่วยเหล่านั้น นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วย
  3. อ. ทันตแพทย์ เป็นผ.อ. ของศูนย์บริการทันตกรรมผู้สูงอายุของคณะ
  4. อ. สังคมวิทยาที่อยู่คณะ Health care and epidemiology เป็นนักวิเคราะห์นโยบาย และ เชี่ยวชาญด้านการประเมินโครงการต่างๆ

ส่วน Supervisor คนหลักก๋็เป็น อ. ทันตแพทย์เชียวชาญด้าน สาธารณสุข ทันตกรรมประดิษฐ๋ (ฟันปลอม) แล้วก็เป็นคนก่อตั้งคณะวิจัยด้่านทันตกรรมผู้สูงอายุชื่อ ELDERS group ย่อมาจาก Elders' Link to Dental Education, Research, and Service ตัวย่อแปลว่า ผู้สูงอายุได้ด้วย! คนคิดเด็ดจริงๆ นับถือๆ

ทีนี้กลับมาที่เรื่อง meeting... ทางมหาวิทยาลัยมีกฎไว้ว่านักศึกษาป. เอกทุกคนต้องมี committee meeting อย่างน้อยปีละครั้ง 

ครั้งแรกนี่ก็เหมือนมาทำความรู้จักกันแบบตัวเป็นๆ คุยว่าเรามีความสนใจด้านไหน มีหัวข้อวิจัยอะไรที่เราพอสนใจอยู่บ้าง เพราะตอนนั้นเราก็เรียน course work อยู่ ยังไม่มี Thesis proposal อะไรเลย  ผู้เขียนก็นำเสนอว่าเราเป็นใครมาจากไหน ทำงานอะไรมาบ้่าง สนใจอะไร ก่อนกลับเมืองไทยหวังอะไรไว้บ้าง

พอปีที่ 2 เริ่มมีประชุมบ่อยขึ้นค่ะ เฉลี่ยแล้วปีละ 2-3 ครั้ง เรื่อยมาจนตอนนี้จะจบปี 4 ในอีก 2เดือนนี้แล้ว!

ประชุมครั้งที่ 2 นี่เริ่มมี proposal แล้วค่ะ แต่เป็นแค่ outline ก็มาคุยกันว่าใช้ได้ไม๊ กรณีของผู้เขียนคือโครงการใหญ่ไป ให้ลด scope ลงมา อ. สอนไว้จำได้ขึ้นใจเลยค่ะว่า "Don't bite more than you can chew" กัดมาคำโตไปเดี๋ยวจะเคี้ยวไม่ได้ แล้วอ.ก็บอกว่า งาน thesis เป็นจุดเริ่มของงานทั้งชีวิตการทำงานวิชาการของคุณ อย่าคิดว่าคุณจะตอบปัญหาวิจัยได้หมดใน thesis ชิ้นเดียว 

ครั่งที่ 3 นี่เราทำ literature review มาแล้ว ว่า statement of problem คืออะไร มาคุยกันจริงจังว่าตกลงนี่คำถามวิจัยคืออะไรแน่ เอาให้ชัดไปเลย

ก็เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆค่ะ ประชุมแต่ละครั้งก็มีความคืบหน้าไปรายงานเค้า เค้าก็มี feedback กลับมา งานก็เดินไปเรื่อยๆ

วันนี้ ประชุมครั้งที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 4 นำเสนอผลวิจัยทั้งหมด เป็น mini defense เลยก็ว่าได้ แต่ยังไม่ได้เขียนบทสุดท้าย (discussion & concluson) นะคะ เอาผลมาให้ commitee ดูก่อนว่าเค้า OK ไม๊

ก็มีแก้นิดหน่อยค่ะ เป็นเรื่องการเลือกใช้คำ (wording) มากกว่า โดยรวมแล้ว ไชโย happy มาก : ) ทีนี้ก็เหลือแต่ตัวเองที่ต้องเขียนบทสุดท้ายให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ค. จะได้ไป defend ได้ตอน ก.ย. หรือ ต.ค.

อ่อ มีเทคนิคที่อ.แนะนำคือ ส่งทุก chapter ให้อ.ที่ปรึกษาทุกคน พร้อม สารบัญ ( สารบัญ สำคัญมาก) แต่ให้ตกลงกันในที่ประชุมเลยว่าให้อ.เค้ารับผิดชอบอ่านแบบ ละเอียดยิบคนละบทสองบทตามความถนัด 

เช่น method chapter ให้อ. พยาบาลคนที่เก่งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพอ่าน  เป็นต้น แบบนี้มีประโยชน์สองข้อใหญ่ๆคือ เราได้ feedback กลับมาเร็ว  เพราะเค้าอ่านละเอียดแค่บทสองบท แล้วพออีกหน่อยบทไหนได้ตีพิมพ์ เราก็เอาชื่ออ.ท่านที่อ่านบทนั้นละเอียดเป็น co-author  แบ่งกันไป ไม่ต้องให้ co-authorship กับทุกคนทุกบท ตกลงกันไปเลยว่าใครได้บทไหน

ขอจบห้วนๆแบบนี้แหละค่ะ ง่วงแล้ว  : P 

หมายเลขบันทึก: 101483เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ดูมีระบบดีนะครับ  ไม่ใช่ว่าทุกที่จะมีแบบนี้?
  • อาจารย์ครับ
  • ผมคิดว่าเขาทำงานเป็นระบบกว่าบ้านเรามากนะครับ
  • ทำไมเลือกสาขานี้ครับ
  • บริการทันตกรรมผู้สูงอายุ
  • เป็นผมจะเลือก   บริการทันตกรรมเฉพาะสาวๆๆครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆ

บ่าววีร์: ถูกต้องแล้วคร้าบบบบบ ไม่ใช่ทุกที่จะเป็นระบบแบบนี้

  • บางที่นร.ต้องวิ่งทำเองทุกอย่าง ไปหาว่าใครจะเป็น committee
  • บางที่นร.ไม่มีโอกาสคิดว่าจะทำวิจัยอะไร อ.มีโครงการในใจให้ทำแล้ว คือหานร.มาทำให้แค่นั้น
  • บางที่ไม่เคยเจอ committee เป็นปีเลย หรือ ไม่เคยคุยด้วยเลยจนวัน defend 
มัทว่ามีระบบระเบียบไว้เลยก็ดีค่ะ เดี๋ยวจะเขียนบันทึกต่อว่า ที่นี่มีระบบระเบียบอะไรที่มัทเห็นว่าช่วยนร.ได้มากๆ ทำให้ชีวิตเรียนเอกง่ายขึ้น

อ. ขจิต: ตามไปอ่านในประวัติมัทได้ค่ะ ว่าทำไมเลือกสาขานี้ : ) มีจุดพลิกผลันตอนได้พบกับคนไข้ที่เป็นอัลไซเมอร์นี่แหละค่ะ

ตอนนี้ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากๆทั่วโลก วิชานี้เป็นที่ต้องการ มีสอนในระดับป.ตรีด้วย แต่ยังไม่มีใคร (ทันตะ) เรียนสาขานี้แบบเฉพาะทางเลยในเมืองไทย 

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเช่นฉะนี้  : )

อ. ขจิตรออ่านบันทึกต่อไปนะคะ เรื่องระบบเอื้ออำนวยการเรียนป. เอก ที่ทาง UBC มีให้ ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นจริงๆค่ะ 

 

 

Don't bite more than you can chew" ผมชอบนะกับคำนี้ แปลความหมายได้หลายอย่างทำให้ผมได้ idea หลายอย่างมากกว่างานวิจัย

แต่ก็สรุปว่า"รู้จักประมาณตนเองในการทำอะไร"

ยินดีด้วยครับ

          ผมชอบเหมือนคุณหมอโรจน์แฮะ  Don't bite more than you can chew"  คิดต่อได้เลย  ลองปรับเป็น Don't  think  more than you can say"  จะฟังดูดีมั้ยครับ "อย่าได้คิดอะไรให้มากมายเกินกว่าที่คุณจะพูดออกไปได้" 

         ขอบคุณครับที่เล่าเรื่องให้อ่าน

ขอบคุณค่ะ คุณโรจน์ และ mr. สุมิตรชัย

ใช่แล้วค่ะ ต้องรู้จักประมาณตน แล้วก็อย่าหวังสูงไปในช่วงเวลาสั้นๆ หวังสูงได้แต่ให้มองไกลๆ วางแผนค่อยๆทำไปในระยะยาว

ส่วนเรื่อง think กับ say มัทว่าคิดมากกว่าพูดได้ค่ะ แต่อยากพูดมากกว่าทำ

ภาษาอังกฤษเรียกว่า

Don't talk the talk if you can't walk the walk : )
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท