มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (1)


"He doesn't even remember me anymore"

มาถึงวันนี้ก็ กว่าครึ่งปีแล้วที่ได้ฝึกงานในตำแหน่งทันตแพทย์ประจำบ้าน (hospital resident dentist) สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ

นั่งคิดว่ามีเรื่องอยากบันทึกหลายเรื่อง แต่ก็ไม่มีโอกาสได้มานั่งเขียนเรื่องประสบการณ์การทำงานซักที สาเหตุหนึ่งที่ไม่ได้เขียนเพราะกลัวเขียนแล้วไม่สามารถสื่อได้เหมือนที่อยากสื่อ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา บางทีมันอธิบายลำบากค่่ะ คิดคนเดียวบ่อยๆว่าอยากให้มีคนมาตามถ่ายวีดีโอเพราะมันมีอะไรต่อมีอะไรมากมายไปหมดที่เล่าไม่หมด

วันนี้ได้ฤกษ์ ตัดสินใจว่า เอาหล่ะเขียนเลยละกัน สื่อได้ไม่ดีเท่าที่ต้องการแต่ก็ดีกว่าไม่บันทึกไว้เลย

กอปรกับสองสัปดาห์นี้มีเรื่องน่าบันทึกไว้หลายเรื่อง 

ผู้เขียนทำงานทางคลินิกสัปดาห๋ละ 3 วันค่ะ พุธ-ศุกร์ (เวลาที่เหลือทำ thesis)

วันพุธและพฤหัสจะออกนอกสถานที่ไปตามรพ.หรือบ้านพักคนชรา วันศุกร์อยู่ที่ specialty clinic ที่มหาวิทยาลัย 

จะลองเล่าเป็นเรื่องๆเป็นฉากๆไปละกันนะคะ บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกแต่จะมีมาเรื่อยๆค่ะ

---------------------------------------------------------------------- 

เรื่องแรกเอาเรื่องที่น่าสลดใจแต่ก็ทำให้เราทั้งเข้าใจชีวิตมากขึ้นแข็งแกร่งมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้จิตใจอ่อนโยนมากขึ้นด้วย

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทางคลินิกมีหมอสาขาผู้สูงอายุทำงานกัน 2 คน สลับกัน คือ ตัวผู้เขียนเองแล้วก็อาจารย์หมออีกคน ใช้ห้องเดียวกันแล้วแต่ว่าคนไข้ใครมาได้ตอนไหน

http://www.translink.bc.ca/files/section_pics/Transp_Serv/Accessibility/pic-handydart.jpg         http://www.busonline.ca/regions/kel/images/handydart-pass.jpg

[www.translink.bc.ca]               [www.busonline.ca]

ที่แคนาดานี้มีรถรับส่งบริการผู้สูงอายุหรือคนพิการที่นั่งรถเข็นค่ะ ฟรีแต่ก็ต้องเป็นเวลาๆไปคนไข้มาได้กี่โมงก็ขึ้นอยู่กับตารางรถของแต่ละมุมเมือง ส่วนมากเค้าจะใช้บริการรถนี้เพราะ ไม่ต้องอุ้มขึ้นลง ลำบากแถมไม่ปลอดภัยต่อตัวคนไข้ด้วยถ้าท่านไม่มีแรงแล้วทุลักทุเลโดนหิ้วปีกมั่งโดนดันมั่ง ผู้เขียนเคยเห็นรอยฝกชำ้หรือแผลจากการที่คนขับแทกซีี่หรือลูกหลานแท้ๆ หวังดีพยายามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงรถเก๋งแล้วค่ะ ไม่คุ้มเลย รอรถหลวง หรือรถที่มีทียกรถเข็นดีกว่า

ทีนี้ก็เข้าเรื่องค่ะ คนไข้คนนี้มาหาอ.หมอซึ่งผู้เขียนก็ช่วยงานท่านอยู่ เพราะเดี๋ยวอีกไม่ถึงครึ่งชม.คนไข้ตัวเองก็มาแล้ว คนไข้เป็นผู้ชายอายุ 70 ต้นๆ เดินได้ ยังแข็งแรงอยู่ มากับภรรยา ท่านพูดภาษาอิตาเลี่ยนมาทั้งทางจนนั่งลงเก้าอี้ทำฟัน

เราก็ฟังกันไม่ออก ภรรยาท่านอายุยังไม่มากเลยค่ะ 60 ต้นๆได้ แปลให้ฟังว่าสามีคิดว่ามาธนาคาร ถามหาว่าเงินที่จะเบิกอยู่ไหน

ใช่ค่ะ ไม่ผิดแล้วค่ะ ท่านเป็นดีเม็นเชีย (dementia) นั่งในเก้าอี้ทำฟันได้ซักพักก็ลุกขึ้น เดินรอบห้อง เปิดตู้หาของ แล้วก็พูดไม่หยุด 

ผู้ช่วยหมอฟันกับภรรยาก็จูงกลับมาเก้าอี้ทำฟันอีกครั้ง แต่ท่านก็จะลุกท่าเดียว ผู้ช่วยก็พยายามพูด จับมือมาลูบให้ calm ลงก็ไม่ได้ผล คนไข้ผลักผู้ช่วยแล้วก็ข่วนแขนผู้ช่วยจนเลือดออกต้องรีบวิ่งไปทำแผล

ภรรยาท่านก็ขอโทษขอโพยใหญ่

อ.หมอก็อ่านดูใน chart ว่าพยาบาลไม่ได้ให้ยา sedation ที่สั่งไว้ (standing order for 1mg Lorazepam P.O. 1 hour prior to dental appointment)

ุภรรยาของผู้ป่วยก็บอกว่ามียาที่พยาบาลให้มา แต่พอเอามาดูปรากฎว่าเป็นยา dementia อ. เลยตัดสินใจว่า คนไม่ได้ทำอะไรแน่ เพราะนัดนี้ต้องพิมพ์ปากทำฟันปลอมชิ้นล่างที่หายไป (ถ้าฟันปลอมไม่มีชื่อสลักไว้นี่ ในรพ. ที่ผู้ป่วยอยู่นานๆหลายเดือน หรือในบ้านพักคนชรานี่หายได้ง่ายค่ะ โดนกระดาษทิชชูห่อแล้วโดนทิ้งบ้าง ทีตลกแต่จริงมากคือ ประมาณสามเดือนทีจะมีประกาศติดว่า เจอฟันปลอมในเครื่องซักผ้าของรพ.)

ท่านต้องการฟันปลอมเพราะทานข้าวไม่ได้ แล้วน้ำหนักลด

กลับมาที่สถานการณ์ในคลินิก คุณตาท่านก็ยังพูดไม่หยุดค่ะ ถามว่าธนาคารอยู่ไหน ห้องไหนมีเงิน ภรรยาเริ่มหน้ากังวลมาขึ้น เค้าทั้งเกรงใจที่สามีทำให้ผู้ช่วยเลือดออก ทั้งโกรธที่ทำไมพยาบาลไม่ให้ทานยา sedate มา แล้วเค้าก็ขอโทษซ้ำๆอยู่นั่น ที่ทำให้เสียเวลา ทั่งๆที่จริงๆเราคิดว่า มันก็เสียเวลาเค้าเหมือนกัน ผู้เขียน กับอ.ก็บอกว่าไม่เป็นไรๆ ขณะที่อ.เขียนchartอยู่ผู้เขียนก็เดินออกไปส่งที่ lobby

คุณตาก็ไม่วายวกเลี้ยวเข้าห้องฟันห้องอื่นตามทาง ภรรยาเค้าหันมาหาผู้เขียน แล้วก็บอกว่า "he doesn't even remember me anymore"แล้วก็น้ำตาไหลพรูเลยค่ะทีนี้ แล้วก็ยังขอโทษพวกเราต่อที่สามีเค้าเป็นแบบนี้

ผู้เขียนก็ปลอบด้วยการจูงเค้าแล้วลูบแขน ไม่ได้พูดอะไรมาก แต่ก็บอกเค้าว่าจะไม่ต้องกังวล พวกเราเข้าใจ แล้วก็เดินไปส่งที่ lobby

----------------------------------------------------------------------

นี่แหละค่ะ ตัวอย่างเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ณ คลินิกผู้สูงอายุ 

ไว้มาบันทึกใหม่ค่ะ 

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (2)

 

 

หมายเลขบันทึก: 165341เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีด้วยความคิดถึงชะมัดเลยค่ะ อ.มัท

  • พี่แอมป์รีบวิ่งจู๊ดตามบันทึกมาเลย  : )  อยากอ่านอยู่นานแล้ว "วิชาเข้าใจคน"นี่มีค่าที่สุดในโลกเลยค่ะ อ.มัท เพราะอันความป่วยไข้ทางกายนั้น ยังพอจัดการด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ต่างๆได้  แต่ความทุกข์ใจอันเป็นสิ่งที่ทนได้ยากนั้น  ต้องอาศัย"ความเข้าใจ"ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึงที่สำคัญที่สุด 
  • จากนั้นก็เพิ่มการสื่อสารอันละเอียดอ่อน  ที่แสดงถึงความเข้าใจในความทุกข์ของเขาโดยแท้  และหากต่างฝ่ายต่างรับรู้ได้ตรงกันแล้ว ความทุกข์นั้นก็จะคลายลงได้ในไม่ช้า 
  • และนี่คือเคล็ดวิชาต่ออายุอย่างแท้จริง 
  • เข้าใจที่ว่านี่ไม่ใช่แค่เพียงเข้าใจด้วยกลไกวิทยาศาสตร์แบบจิตวิทยานะคะ  แต่พี่แอมป์คิดว่าเกี่ยวข้องกับ  ความเข้าใจด้วยหัวใจจริงๆ  แบบที่สัมผัสทุกข์ของเขาและสื่อสารอย่างละเอียดอ่อน  แสดงออกอย่างอ่อนโยน  เป็นธรรมชาติ( ซึ่งอันนี้สำคัญที่สุด)  ที่จะคลายทุกข์ให้เขาได้จริงๆ  แม้จะเป็นเพียงชั่วขณะ 
  • แต่ชั่วขณะนั้นแหละ  จะทำให้เขามีกำลังใจเข้มแข็งที่จะเผชิญหน้ากับทุกข์ต่อไปอีก 
  • และนั่นก็น่าจะช่วย "ทำให้(ทั้งเขาและ)เราทั้งเข้าใจชีวิตมากขึ้นแข็งแกร่งมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้จิตใจอ่อนโยนมากขึ้นด้วย" แบบที่ อ.มัทว่านะคะ คือว่าพี่แอมป์ขออนุญาตเติมไปอีกหนึ่งวลี   อ่านเองชอบใจเองอะค่ะ 
  • ดีใจจริงๆที่ อ.มัทเขียนบันทึกนี้นะคะ  แม้ อ.มัทอาจจะรู้สึกว่าเก็บปริบทที่อยากสื่อความได้ไม่หมด  แต่ทุกถ้อยคำที่ออกจากใจ อ.มัทอย่างเป็นธรรมชาติ  ก็ทำให้คนอ่านเห็นภาพอีกมุมหนึ่งของชีวิต...จากที่ไกลโพ้นอีกฟากทวีป  
  • และทำให้"เข้าใจชีวิต"  มากขึ้นด้วยนะคะ : )

ขอบคุณมากค่ะพี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล) ที่มาสรุปและเติมวลีให้ประโยคมีความหมายชัดเจนขึ้นมากๆ มัทว่ามัทต้องเชิญพี่มาเป็นอ.พิเศษสอนนักศึกษาที่คณะให้ได้อย่างน้อยซักวันนึงหล่ะน่า!

ถูกใจจริงๆพี่คนนี้ : ) 

  • ได้เห็น tricks ของการทำฟันปลอมที่แคนาดานะคะ ว่า เขามีการสลักชื่อไว้ด้วย
  • มาคิดว่า เราก็เคยทำเน๊าะ ตอนที่ทำโครงการฟันเทียมพระราชทาน อ.ปิยะวัฒน์ ท่านริเริ่มให้ใส่ label ฟันเทียมพระราชทาน ไปใน acrylic เลย

ใช่แล้วค่ะพี่หมอนนท์ จะทำ label ก่อน process acrylic ก็ได้หรือมาทำทีหลังก็ได้ค่ะ ถ้าทำทีหลังนี่เห็นที่นี่ ใช้ยาเคลือบเล็บใสทาทับก็ได้แล้วค่ะ

ไม่งั้นหายง่ายมากค่ะในบ้านพักคนชราเนี่ยะ : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท