มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (11) | ฟังอย่างตั้งใจ


วันนี้ไปออกตรวจที่บ้่านพักผู้สูงอายุที่หนึ่งซึ่งไม่ไกลจากบ้านมากนัก

คนไข้ใหม่เดินเข้ามาในห้องฟัน....อ้าว นี้มันคุณยายคนที่เคยอยู่ตึกเดียวกันนี่นา เราเคยเจอกันบ่อยในลิฟท์บ้าง ที่ล็อบบี้บ้าง เวลาเอาขยะไปทิ้งบ้าง มิน่าไม่เห็นท่านนานแล้ว ย้ายมาอยู่บ้านพักผู้สูงอายุนี่เอง

คุณยายคนนี้มีเอกลักษณ์จำได้ง่ายมากเพราะท่านสั่น (Tremor)

เวลาพูดท่านก็สั่น แล้วเสียงก็เบามาก ต้องคอยฟังให้จบประโยค เดาบ้าง ฟังออกบ้างสลับกันไป

สามีของผู้เขียนยังเคยคุยกันอยู่เลยว่าเวลาคุยกับคุณยายท่านนี้ในลิฟท์จากชั้น 1 ถึงชั้น 6 จะคุยได้ประโยคเดียว เพราะกว่าท่านจะพูดจบประโยคก็ถึงชั้น 6 พอดี : ) แต่เราก็ชินขึ้นเมื่อได้เจอท่านบ่อยๆ เริ่มฟังออกมากขึ้น

อ่านในแฟ้มประวัติเห็นว่าท่านเป็น dementia ด้วย คงอยู่คนเดียวไม่ได้แล้วเลยต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านพักผู้สูงอายุ (ท่านไม่มีลูกหลานค่ะ มีแต่เพื่อนเป็น power of attorney ให้)

สุขภาพช่องปากของท่านดีมากๆ สะอาด ไม่มีรอยโรคใดๆ

วันนี้ตรวจเสร็จก็คุยกันต่อแป๊บนึงแล้วก็ร่ำลากันเป็นปกติ ท่านก็เดินสั่นๆออกจากห้องไป

เราก็ตรวจคนไข้คนต่อๆไปเรื่อยๆ

ปรากฎว่าคุณยายท่านเดินกลับเข้ามา มาจับมือเราไว้แล้วก็บอกแบบสั่นๆว่า "อยากไปโบสถ์ที่อยู่ใกล้บ้านเก่ามาก" เราก็ทวนประโยคทุกครั้งที่ท่านพูด ย้ำว่าเราเข้าใจถูกรึเปล่า เราถามว่า "อยากไปโบสถ์เหรอ จะบอกพยาบาลให้นะคะ"

ท่านบอกว่า "ใช่...แต่ไม่ต้องบอกพยาบาลหรอก ไม่เป็นไรจริงๆเพราะอยากไปโน่นไปนี่หลายที่เลย แต่ไปไม่ได้ เค้าไม่ให้ออกไปไหนถ้าไม่ใช่ที่ที่อยู่ในตารางกิจกรรมของเค้า.."

เห็นยายพูดสั่นๆเสียงเบาๆเค้าคงไม่รู้เรื่องด้วย

"they are nice but they treat me like a child"

"เค้าดีกับยายนะ อาหารดี ดูแลดี แต่เค้าทำเหมือนกับยายเป็นเด็ก เค้ามีตารางให้ยายทำกิจกรรมโน่นนี่แต่ยายอยากไปเดินเล่นแถวบ้านเก่ามากกว่า"

(...... ถึงตอนนี้เราคิดในใจด้วยว่า....ไม่เห็นจะ dementia ตรงไหนเลยนี่น่า คุยรู้เรื่องมากๆ

สงสัยเราจะยังคุยไม่นานพอที่อาการท่านจะออก)

...สงสารก็สงสาร ไม่รู้จะช่วยยังไง ก็ได้แต่ฟังต่อ

แล้วท่านก็บอกว่า "ขอบคุณมากๆนะ ขอบคุณจริงๆ" (เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย แค่ฟังเท่านั้นเอง)

แล้วเราก็เดินไปส่งท่านที่ห้อง....แล้วก็กลับมาตรวจคนไข้คนต่อไป...

ผ่านไป 10 นาที...คุณยายมาอีกแล้ว

เข้ามาจับมืออีก....แล้วก็มาชี้เสื้อกาวน์เราที่มีตรา UBC ปักอยู่...แล้วก็บอกว่า "UBC" แค่เนี้ยะ

แล้วก็บอกว่า "ขอบคุณมากๆ ขอบคุณมากๆ" เราก็งงๆว่าเอ..ท่านจะสื่ออะไร

แล้วท่านก็บอกในที่สุดว่า "ยายอยากให้ staff ที่นี่พยายามฟังยายพูดจนจบประโยคแบบหมอจังเลย"

ยายยิ้มและบีบมือเราแน่น แค่นั้นเอง! ยายเข้ามาพูดแค่นี้แล้วก็หันหลังจะเดินออกจากห้อง

เราก็บอกแค่ไม่เป็นไรค่ะ I hope they listen to you too.

.............

อยากไปรับยายออกมาเที่ยวเลยตอนนี้ แต่ก็คิดว่ายิ่งไปสร้าง bond เดี๋ยวเราไม่อยู่แล้วจะทำไง

คิดได้ว่ามีพี่คนไทยอยากเป็น volunteer เค้าจะอยู่นี่ 2 ปี ให้เค้ามาช่วยด้วยดีกว่า แล้วเราก็จะไปช่วยด้วยอีกแรง

 

หมายเลขบันทึก: 188893เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โอ้คุณมัท เรื่องนี้สะเทือนอารมณ์จริงๆค่ะ ความไม่ละเอียดอ่อนพอของคนใกล้ชิด ที่ไม่ใส่ใจที่จะรับรู้สภาพร่างกายของคนชราที่เปลี่ยนไป ที่พูดเบา สั่นเครือ ฟังยาก แต่กลับไปสรุปว่าเป็นโรคหลงลืม สื่อสารกับผู้คนได้ไม่ปกติ อ่านแล้วเหมือนดูหนังลึกลับที่คนถูกจับให้ไปอยู่ในสถานบำบัดโดยไม่ได้ป่วยทางจิต แล้วเขาพยายามต่อสู้ทำให้คนนอกที่มาใกล็ได้รู้ว่าที่จริงเขาปกติ

สงสารคุณยายจังเลยค่ะ เป็นสภาพที่เราคงไม่อยากให้เกิดกับญาติผู้ใหญ่และตัวเราเองนะคะ

ขออนุโมทนาบุญในสิ่งที่คุณมัทได้ทำให้คุณยายมีความสุข แม้เพียงช่วงสั้นๆ แต่คงเป็นสุขที่ยิ่งใหญ่ของคุณยายค่ะ

  • น่ารัก ... ทั้งคุณหมอ และคุณยายเลยค่ะ

เพียงแค่การฟังใครสักคน มีความหมายต่อเขาได้มากมายจริงๆ นะคะ

อนุโมทนาในกุศลจิต และกุศลกรรมที่น้องหมอปฏิบัติต่อคุณยายค่ะ ^ ^

ขอบคุณมากค่ะ

 

ในรพ.หรือบ้านพักผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีคุณภาพนั้นมีเรื่องทำนองนี้อีกมากค่ะ

เรื่องที่มัทและผู้ช่วยพยายามเข้าใจ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจคือ เรื่องการเรียกให้คนมาช่วยพาเข้าห้องน้ำ

ผู้สูงอายุนี่เรื่องเข้าห้องน้ำไม่ว่าหนักเบานี่เป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตมากๆ บ่อยเหลือเกินที่คุณตาคุณยายเรียกเราให้ช่วยหน่อย พอเราไปเรียกพยาบาลหรือ care-aide หลายๆที่ก็บอกว่า ok ok เดี๋ยวไป แต่ว่าผู้สูงอายุต้องรอนานมากๆๆๆๆๆ

มีอยู่ที่นึงมัทโดน care-aide คนนึงที่อารมณ์ไม่ดีอยู่ตอกกลับว่า "ไหนใครเรียก หมอไม่ต้องไปฟังทุกครั้งหรอก ขึ้นตอบรับทุกคนที่เรียกให้ไปช่วยเข้าห้องน้ำ วันๆก็ไม่ต้องทำอะไรกับพอดี พวกนี้เค้าอยากเข้าห้องน้ำกันทั้งวันแหละ" เค้าพูดมาอย่างนี้ เราก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร ได้แต่พยักหน้าแล้วก็เดินหลบไปหาพยาบาลอีกคน -_-

รพ.หรือบ้านพักดีๆก็มีหลายที่ค่ะ หลายๆที่ของเอกชนดีมากๆน่าอยู่แล้วก็ไม่เหมือน institution เหมือนชุมชนมากกว่า แต่ที่ที่ไม่ค่อยดีคือสถานบริการของรัฐที่งบน้อยๆ คนที่มาอยู่ไม่ต้องจ่ายตังค์เพิ่ม staff ก็เลยน้อย ต้องแก้กันทั้งระบบค่ะ เรื่องยาว เค้าก็พยายามแก้ไขกันอยู่

ทำงานในสถานที่แบบนี้แล้วต้องพยายามมองภาพรวม ไม่งั้นทุกข์จับใจเลยค่ะ

 

 

 

ฟังแล้วสะเทือนใจอ่ะ พี่เป็นคนหนึ่งที่ชอบคุยกะคนสูงอายุนะ อาม่าพี่เป็นพากินสัน สั่นเชคๆๆ หลานๆ บางคนชอบขำ แต่เรารู้ว่าแกเหนื่อยเพราะแค่เห็นก็เหนื่อยแทนแล้ว นี่กินยาคุมเลยไม่สั่น เป็นมาสิบห้าปีแล้วล่ะ พี่เป็นคนที่พาไปหาหมอตลอดตอนช่วงวัยรุ่น รู้ดีว่าแกทรมาน

สำหรับคนสูงอายุบางทีาเขาไม่ได้ต้องการให้เราพูดด้วยเยอะหรอก ไม่ได้ต้องการคนสนทนาตอบโต้ตลอดเวลา ออกความเห็นโน่นนี่ แต่แค่อยากให้เราฟัง มีคนรอที่จะฟังเขาให้จบประโยคโดยไม่พูดแซงบ้าง พี่ไปบ้านหุ้นส่วนคนหนึ่งบ่อย เวลานั่งรอ คุณแม่กะคุณพ่อเขาก็ชอบมานั่งคุยด้วย ทั้งสองท่านแปดสิบกว่าแล้ว คือบางทีคุยกันครึ่งชั่วโมงเราพูดไม่กี่คำเอง ส่วนใหญ่จะเป็น "ค่ะ เหรอคะ อ้อ...ค่ะ ดีนะคะ แล้วยังไงต่อคะ" ประมาณนี้แหล่ะ ไดอะล็อกประจำที่ได้พูด ^ ^ แกแค่อยากเล่าโน่นนี่ บ่นบ้าง เล่าความหลังบ้าง ฟังแล้วก็หนุกดีเหมือนกัน

ขอบคุณค่ะพี่ซูซาน

ดีใจค่ะที่มีคนมีประสบการณ์ตรงมาลปรร.กัน

มัทก็คิดเหมือนพี่เลยว่าคนที่สมองยังทำงานดี รู้เรื่องแต่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างที่คนทั่วไปตีกรอบไว้นี่มัน "ทรมาน" จริงๆ

คิดดูว่าในหัวในใจเค้ารู้หมด แต่แค่ร่างกายมันทำให้เค้าสื่อออกมาได้ยาก คนก็เลยไม่ฟัง....น่าเห็นใจจริงๆค่ะ

ขอบคุณพี่ที่ทำให้ผู้สูงอายุหลายๆคนยิ้มได้นะ! : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท