มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

แนะนำหนังสือ: วิธีการแก้ปัญหาซับซ้อน


Solving Tough Problems: An Open Way of Talking, Listening, and Creating New Realities

ถ้ามองไปทางด้านขวาของบล็อก ผู้อ่านจะเห็นว่ามีหนังสือแนะนำอยู่สองเล่ม วันนี้ผู้เขียนจะมาบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเล่มที่เขียนโดย คุณ อดัม คาเฮน (Adam Kahane) ค่ะ  หนังสือชื่อว่า Solving Tough Problems ปัญหาที่เค้าอ้างถึงนั้นยากจริงๆค่ะ เช่นการทำให้คนผิวขาวและผิวดำในแอฟริกาใต้ หันหน้าเข้าหากัน ร่วมพัฒนาประเทศ เป็นต้น

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะมีกำลังใจค่ะ ว่าปัญหาเรายากก็จริงแต่ไม่สิ้นหวัง ขนาดปัญหาใหญ่กว่ายากกว่ายังมีทางออก

--------------------------------------------------------------------

คุณอดัมสรุปสั้นๆว่า ลักษณะความซับซ้อนของปัญหาที่แก้ยากนั้นมีอยู่ 3 ประการ

  1. Dynamic complexity หมายถึง เหตุปัจจัยและผลมันไม่ไม่ได้มีให้เห็นชัดๆ ว่านี่นะคือ เหตุ นั่นนะคือผล มันไม่ได้เกิดต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรงเสมอไป บางเหตุปัจจัยไม่ทำให้เห็นผล จนว่าเวลาจะผ่านไปตั้งน๊านนาน
  2. Social complexity หมายถึง หลายคนก็หลายความคิดและความต้องการ ผู้ที่เป็นเจ้าของของปัญหานั้นมีหลายคน หลายกลุ่มที่อาจมองเห็นปัญหานั้นต่างจิตต่างใจกันไป
  3. Generative complexity หมายถึง ทุกปัญหามีรายละเอียดที่เปลี่ยนไปเสมอตามสถานการณ์ภายนอก ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา การคาดเดา หรือ ทำนายว่าวิธีแก้ปัญหาที่ใช้จะสำเร็จหรือไม่นั้นทำได้ยาก หรือ อาจทำไม่ได้เลย 

เพราะฉะนั้นหลักการที่เจาะจงจัดการกับ 3 ลักษณะนี้ก็คือ

  1. Systemic approach ต้องวิเคราะห์ทั้งระบบถึงจะเข้าใจเรื่องเหตุปัจจัย
  2. Participatory approach อันนี้เป็นที่ทราบกันดีแล้ว ว่าต้องร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ใช่สั่งแก้มาจากเบื้องบน
  3. Creative approach วิธีแก้แบบเก่าๆมันอาจไม่ทัน ต้องคิดวิธีที่สร้างสรรค์ อย่าติดอยู่ในกรอบเก่าๆ

นอกจากหลักการสามข้อนี้แล้ว หนังสือเล่มนี้ยัง แนะนำ วิธีการเจรจา พูดคุย และ ว่าแผนการแก้ปัญหาร่วมกันด้วย

--------------------------------------------------------------------  
Scenario Game

เทคนิกหลักๆคือ การวางแผนผ่านการเล่าเรื่อง การสื่อสารภาพที่เห็นในใจของแต่ละคนว่า เหตุการณ์ที่ตนเองเห็นว่าจะเกิดได้ นั้นเป็นอย่างไร

สังเกตนะคะว่าในการคุยกัน เค้า(facilitator)จะไม่ถามว่า

"คุณอยากให้เป็นอย่างไร"  แต่เค้าจะถามว่า

"คุณเห็นว่ามันจะคลี่คลายไปอย่างไร"

การถามแบบนี้จะได้คำตอบที่มีความเป็นไปได้สูงกว่า และ ผู้ตอบก็จะไม่เพ้อฝัน จะคิดหาทางออกที่ได้ผ่านการตรึกตรองแล้วว่า มีอะไรเป็นอุปสรรคมีอะไรเป็นตัวช่วย

จุดประสงค์ของการคุยกันนี้ก็ไม่ได้ต้องการให้มีคำตอบเดียว เค้าจะให้แต่ละคนเล่ามาว่าภาพที่เห็นในหัวว่า สถานการณ์จะดำเนินไปอย่างไร แล้วก็มาช่วยกันจัดกลุ่มอีกที่ว่า รวมเรื่องไหนเข้ากับเรื่องไหนได้บ้าง

--------------------------------------------------------------------

จากประสบการณ์คุณอดัมพบว่า จาก 30 คนนั้นเรื่องเล่ามา 30 เรื่อง แต่พอมาดูเนื้อหาจริงๆ เรื่องเหล่านี้สามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกันได้จนเหลือไม่เกิน 10 เรื่อง ที่นำมาถกเถียงกันได้ต่อ

กลุ่มวิทยากรนำการสนทนาก็จะเสนอทางออกในรูปของเรื่องเล่า (story) ที่สรุปมาแล้ว (ประมาณ 6-10 เรื่องก็ว่าไปแล้วแต่งาน)

กฎข้อสำคัญคือ ผู้ฟังทุกคนต้องฟังให้จบ ห้ามขัดออกมาว่า "ไม่มีทางเป็นไปได้"  หรือ "ฉันไม่ต้องการแบบนั้น" ผู้ฟังมีสิทธิยกมือถามได้ว่า "ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น"  หรือ "แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อไป" 

วิทยากรจะถามผู้ร่วมสนทนาว่า 
แล้วแต่ละเรื่องราวนี้มันจะสำเร็จหรือไม่ อย่างไร?
 

วิธีการคือ ต้องการให้ทุกคน

  • ช่วยกันเข็คความเป็นไปได้ของเรื่อง (พอผ่านการกลั่นกรองดูความเป็นไปได้แล้วนั้นก็มักจะ เหลือประมาณ 4 scenario)
  • ให้ทุกคนเห็นภาพชัดเจนว่าเป้าหมายคืออะไร มีเป้าหมายเดียวกันรึเปล่า
  • ให้กลับมาดูตัวเองว่า ถ้าจะทำให้เป้าหมายกลายเป็นจริง ใครต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ใครต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

-------------------------------------------------------------------- 

หมายเหตุ: สุดท้ายแล้ว เกมนี้ก็ไม่ได้ต้องการทำให้เรื่องเล่า 4 เรื่องเหลือเรื่องเดียวนะคะ โดยมากก็จะทิ้งทั้ง 4 เรื่องไว้ เป็นภาพเหตุการณ์ที่ทุกคนยอมรับได้ไม่ว่ามันจะออกมาในรูปแบบไหนใน 4 แบบนี้ (พร้อมกับจัดพิมพ์เป็นเอกสารแจกกลุ่มเป้าหมาย ว่านี่คือ 4 ความเป็นไปได้ของอนาคต บางที่ลงหนังสือพิมพ์ชุมชนด้วย)

แล้วแต่ละคนก็ดำเนินการตามแผนที่ได้คุยกันไว้

ที่นี่ไม่ว่าปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงยังไง ภาพเหตุการณ์ซักเรื่อง (1 ใน 4) มักจะกลายเป็นจริง ก็เป็นอันว่าแก้ปัญหาสำเร็จไป ณ เวลาหนึ่ง 

--------------------------------------------------------------------  

Table of Contents
Foreword by Peter Senge
Introduction: The Problem with Tough Problems
Part I: Tough Problems
1." There Is Only One Right Answer"
2. Seeing the World
3. The Miraculous Option
Part II: Talking
4. Being Stuck
5. Dictating
6. Talking Politely
7. Speaking Up
8. Only Talking
Part III: Listening
9. Openness
10. Reflectiveness
11. Empathy
Part IV: Creating New Realities
12. Cracking Through the Egg Shell
13. Closed Fist, Open Palm
14. The Wound That Wants to Be Whole
Conclusion: An Open Way 

-------------------------------------------------------------------- 

From endorsements for the book Solving Tough Problems:

“It has been my privilege to work with Adam [Kahane] for the past decade, as part of a growing community of intrepid explorers around the world looking for alternative paths to catalyze and sustain profound, systemic changes. Through this time I have come to appreciate Adam as a consummate craftsman, a deeply pragmatic person not given easily to hyperbole or naïve expectations.”
Peter Senge, author, The Fifth Discipline, coauthor, Presence

“Adam Kahane is one of those all too rare ‘warriors for peace’ who is willing to immerse himself totally into our world’s most intractable conflicts.”
Barry Oshry, author of Seeing Systems: Unlocking the Mysteries of Organizational Life and Leading Systems: Lessons from the Power Lab

 ”This generative dialogue approach offers real opportunities for governments to engage with stakeholders to build trust and create exciting new resolutions to multi-faceted social and governance challenges.”
Clare Beckton, Asst. Deputy Attorney General of Canada

“Adam Kahane is one of those rare action-intellectuals who combines a deep theoretical understanding of social change and group process with actual experience in situations of conflict and turmoil, where people are desperate for solutions but unable to secure what they need. Adam brings the catalyst for change.”
Jim Garrison, President of State of the World Forum and author, America as Empire

-------------------------------------------------------------------- 

แหล่งที่มา: Adam Kahane Solving Tough Problems
An Open Way of Talking, Listening, and Creating New Realities

  • Paperback: 149 pages
  • Publisher: Berrett-Koehler (1 Sep 2004)
  • Language English
  • ISBN: 1576752933

 

 


หมายเลขบันทึก: 61951เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 04:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • บันทึกของอาจารย์ทำให้เข้าใจอะไรๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น

ใช้ความเก่ง (เช่น เหตุผล ข้อมูล ฯลฯ) ชนะกัน...

  • อาจจะชนะการรบ ทว่า...แพ้สงคราม ไม่ได้ใจ

ใช้เมตตา...

  • (เช่น การรับฟัง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การยอมถอยเพื่อมิตรภาพ การรู้จักยืดหยุ่น ฯลฯ) อาจจะชนะ หรือแพ้การรบ (เหตุการณ์เฉพาะหน้า) ทว่า... มักจะชนะสงคราม และได้ใจ
น่าสนใจ และน่าเรียนรู้มากเลยค่ะ
  • มาทักทายครับ
  • ไม่ได้แวะมานาน
  • ชอบอันนี้ครับ
  • Systemic approach ต้องวิเคราะห์ทั้งระบบถึงจะเข้าใจเรื่องเหตุปัจจัย
  • Participatory approach อันนี้เป็นที่ทราบกันดีแล้ว ว่าต้องร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ใช่สั่งแก้มาจากเบื้องบน
  • Creative approach วิธีแก้แบบเก่าๆมันอาจไม่ทัน ต้องคิดวิธีที่สร้างสรรค์ อย่าติดอยู่ในกรอบเก่าๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท