มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ทุกคนควรใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบ AED เป็นหรือไม่


วันนี้วันเสาร์ แต่ตื่นตั้งแต่เช้าไปอบรมการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตที่คณะมาค่ะ

เคยเรียน CPR มาสองทีที่เมืองไทย แต่ถ้ามีใครเป็นอะไรไปต่อหน้าจริงๆก็ไม่รู้จะช่วยได้รึเปล่า

วันนี้นี่แหละค่ะ ที่เพิ่งจะกล้าพูดได้เต็มปากว่า ไม่มีความเกร็งและกลัวแล้วค่ะ กล้าช่วยจริงๆ  ต้องชมครูฝึก

ระดับที่เรียนวันนี้เป็นแค่ระดับพื้นฐาน คือระดับ A ของ กาชาด (Canadian Red Cross)

  • Basic Life Support
  • Recovery position
  • Choking (abdominal thrusts)
  • CPR (a cycle = 2 breaths and 30 chest compressions)
  • Barrier device/pocket masks
  • AED (Automated External Defibrillator)

ได้ความรู้ใหม่ๆและ update มากมายค่ะ นอกจากหัวข้อข้างต้นแล้วครูฝึกทำงานประจำเป็นพนักงานดับเพลิง ก็เลยได้แถมความรู้เรื่องการหนีไฟมาเพิ่มด้วย

คงไม่บันทึกสรุปทั้งหมดแต่จะบันทึกคร่าวๆที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ  (defibrillator)

----------------------------------------------------------------------- 

สิ่งที่ครูฝึกสนับสนุนให้ทุกคนมีคือ pocket - maskหน้ากากช่วยหายใจ (ดังรูปข้างล่าง ด้านซ้าย) หรือ filter - แผ่นกรองที่ผูกกับพวงกุญแจได้ (ดังรูปข้างล่าง ด้านขวา) เอาไว้เป็นเครื่องมือช่วยในการเป่าปาก 

  

  • pocket mask ดีตรงที่มัน seal มิด อากาศเข้าไปได้เต็มๆ ไม่ต้องมาบีบจมูกผู้ป่วย และ ทำให้ไม่ติดโรคพวก HepB  วัณโรค หรือ SARs ขนาดก็ประมาณฝ่ามือ มีกล่องใส่ ทนความร้อน วางเก็บไว่ในรถได้ ราคาประมาณ 430 บาท
  • ส่วนแผ่นกรองกับถุงมือ พับแล้วเหลืออันเล็กๆ ใส่ถุงห้อยกับพวงกุญแจได้ แผ่นกรองก็ทำหน้าที่คล้ายๆ mask แต่ไม่ seal ดีเท่า ไม่มีท่อ แต่ก็เป่าผ่านได้ ไม่ต้องกังวลโรคติดต่อ ราคาประมาณ 240 บาท

-----------------------------------------------------------------------

โอกาสที่เราจะเจอผู้ป่วยที่ต้องการ CPR ในชีวิตอาจมีไม่มาก แต่ถ้ามีแล้วเรามีเครื่องมือพื้นฐานง่ายๆอย่างๆนี้ก็น่าสนใจดีนะคะ โดยเฉพาะทันตแพทย์ที่ทำงานในคลินิก น่าจะมีติดห้องไว้ด้วย ของพวกนี้ทนใช้ได้หลายปี ราคาก็ไม่แพงด้วย

เชื่อว่า หน่วยกู้ชีพบ้านเราก็ก้าวหน้าไปมาก แต่บุคคลทั่วไปคงไม่ค่อยได้รับความรู้เรื่องเหล่านี้เท่าไหร่ ไม่ทราบว่าของเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้าน medical supplies ทั่วไปรึเปล่า?

-----------------------------------------------------------------------

เรื่องต่อมาคือการฝึกใช้เครื่องกระตุกหัวใจ

สารภาพว่าตอนก่อนไปเข้าอบรม ในหัวคิดภาพถึงเครื่องปั๊มที่ต้องถือไว้ ข้างละมือ แล้วใช้ช๊อคหน้าอกผู้ป่วย ปรากฎว่า เชยมากค่ะ รุ่นที่เค้าใช้กันในปัจจุบันนี่เดิ้นมาก เครื่องก็เล็ก ไม่เทอะทะ มี เครื่องอ่าน EKG ในตัวด้วย ใช้แผ่นกาวติดตัวผู้ป่วยแทน ใช่ง่ายมากๆ เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ มีเสียงผู้หญิงพากษ์ตลอดว่าให้ทำอะไรบ้าง (ดังรูป) 

http://www.medical.philips.com/main/products/resuscitation/assets/images/FR2_index.jpghttp://www.defibtech.com/site_images/product_small.jpg     

 เครื่อง AED สองยี่ห้อที่ครูฝึกแนะนำ ว่าใช้ง่าย แบตเตอรี่ทนนาน  (5 ปี) และใช้ระบบเมมโมรี่การ์ดดาวน์โหลดโปรแกรม update ได้เอง

http://www.jrc.or.jp/safety/kinkyu/images/il_aed_02.gif

 ตำแหน่งแปะแผ่นกาว

-----------------------------------------------------------------------

ที่นี่เรื่องที่น่าสนใจคือ เครื่องมือที่ใช้ง่ายๆ และ ช่วยชีวิตคนได้แบบนี้ ควรให้ทีมงานแพทย์ใช้เท่านั้น หรือ ควรมีให้บุคคลทั่วไปใช้ได้ด้วย 

ตอนนี้แต่ละประเทศก็มีกฎหมายเรื่องนี้ต่างกัน บางที่ไม่ยอม บางที่ส่งเสริม เช่นในอเมริกา เครื่องนี้มีแทบทุกที่ที่เป็นสถานที่สาธารณะ สนามบิน สถานีรถไฟ โรงเรียน ศูนย์กิจกรรมชุมชน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 

เบื้องหลังโครงการ คือ  สถิติผู้เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายในแต่ละปี นั้นสูงมากในอเมริกา ประกอบกับข้อมูล สถิติโอกาสรอดชีวิตถ้าได้รับการช่วยเหลือด้วยเครื่องนี้โดยบุคคลทั่วไปนั้นสูงขึ้น มาก (70% ถ้าใช้ภายใน 3 นาทีหลังจากที่หัวใจหยุดเต้น) เพราะคนใช้อยู่ในสถานที่เกิดเหตุก่อน หน่วยกู้ชีพหลายนาที แต่ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้มีใช้กันง่ายๆในอเมริกา คือ คนผ่านกฎหมายค่ะ เขาคนนั้นก็คือ ประธานาธิบดี คลินตัน ที่เคยผ่านประสบการณ์หัวใจวายมาแล้วด้วยตัวเองนั่นเอง)  

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ed/AED_Oimachi_06z1399sv.jpg   http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0a/Street-defibrillator.jpg

ที่สถานีรถไฟในญี่ปุ่น                    ที่โมนาโค

ที่แคนาดานี้ใครก็ใช้เครื่องนี้ได้ค่ะ ถ้าผ่านการอบรบขั้นพื้นฐานแบบที่ผู้เขียนไปฝึกมาวันนี้ 4 ชม. เท่านั้นเอง (นร. 8 คน ได้ฝึกกับหุ่น และเครื่องมือทุกอย่าง) พอจบการอบรมก็จะได้การ์ดเล็กๆ ขนาดเท่านามบัตร เก็บใส่กระเป๋าตังค์ไว้ เป็น certificate จาก กาชาดว่า "หนูทำได้"

แต่ที่แคนาดายังล้าหลังกว่าอีกหลายๆประเทศเพราะเครื่องมือนี้ ยังหายากกว่าที่อื่น มีแค่ตาม โรงแรมใหญ่ๆ ห้างสองสามห้าง โรงเรียนเอกชนบางที่ สนามกีฬา แล้วก็สนามบิน

ที่คณะทันตฯ ที่ UBC ก็มีอยู่ชั้นละเครื่อง ในคลีนิกนักเรียนเครื่องนึง คลินิกพิเศษของอาจารย์อีกเครื่อง

ตอนนี้ราคาเครื่องแบบนี้อยู่ที่ประมาณ 56,000 - 90,000 บาท แต่ครูฝึกบอกว่า กฎหมายในหลายๆที่กำลังเปลี่ยนไป รับรองว่าราคาจะถูกลงเพราะคนสั่งจะเยอะมากขึ้นมากในปีสองปีนี้

หลายๆยี่ห้อกำลังทำรุ่นที่ให้เก็บไว้ที่บ้านด้วย สำหรับคนไข้โรคหัวใจ (ตอนนี้มีแค่ ยี่ห้อเดียว และ ยังแพงอยู่)

เครื่องนี้เป็นเครื่องอ่านการทำงานของหัวใจด้วย มันจะบอกเราหมดว่าให้ทำอะไร แต่ถ้าใครไม่เชื่อคอมก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะมันจะไม่ปล่อยกระแสไฟ จนกว่าเราจะเป็นคนกดปุ่ม "shock" เราก็ยังคงต้องมีหน้าที่ประเมินสถานการณ์อยู่ด้วย แล้วก็ต้องทำ CPR หลังจาก shock แรกต่อด้วย 

-----------------------------------------------------------------------

ผู้เขียนคิดข้อดีได้มากกว่าข้อเสียในบริบทของที่นี่ แต่ไม่ทราบว่าบ้านเรา  ถึงแม้รถติดในเมือง และ ชาวบ้านในหมู่บ้านก็เดินทางลำบาก แต่หน่วยกู้ชีพเราดีหว่าเค้ารึเปล่า ไปถึงที่ได้เร็วแค่ไหน หรือ สถิติผู้ป่วยหัวใจวาย เรามากแค่ไหน งบประมาณเรามีมากน้อยแค่ไหน เทียบกับเงินที่เอาไปใช้ด้านอื่น ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันจะเหมาะกับบ้านเรารึเปล่า

รบกวนถามผู้รู้เรื่องนี้ในบริบทประเทศไทยหน่อยค่ะ ว่า

  • กฎหมายบ้านเราเป็นอย่างไร
  • แล้วนอกจากตามสถานพยาบาลแล้ว มีเครื่องกระตุกหัวใจเก็บไปที่ไหนอีกรึเปล่าค่ะ 
  • ที่สถานีอนามัยมีรึเปล่าค่ะ
  • แล้วมีแต่แบบที่ใช้ในโรงพยาบาล ที่เป็นเครื่องใหญ่ หลายๆปุ่มเต็มไปหมด หรือมีแบบเครื่อง AED ฉบับใช้ง่ายๆที่ไหนบ้าง  สนามบินสุวรรณภูมิก็น่าจะมีรึเปล่า?
  • แล้วนอกจาก แพทย์ พยาบาล และ หน่วยกู้ชีพแล้ว ใครสามารถใช้เครื่องกระตุกหัวใจได้ตามกฎหมายบ้าง เช่น OT, respiratory therapist, หรือ ทันตแพทย์
  • มีคนซื้อไปเก็บไว้ที่บ้านรึเปล่า ค่ะ ถ้ามี ผิดกฎหมายรึเปล่า

-----------------------------------------------------------------------

เขียนมานาน เป็นไปได้รึเปล่าว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน จริงๆบ้านเราก้าวหน้ากว่าที่นี่?

ทราบแต่ว่า ผู้เขียนดีใจมากที่ได้ไปอบรมมาวันนี้ มั่นใจขึ้นเยอะมากๆค่ะ ยิ่งต้องดูแลรักษาผู้ป่วยผู้สูงอายุด้วย เป็น competency ที่สำคัญมากอย่างนึงทีเดียว

ท่านผู้อ่านเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ยังไงก็ แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ 

-----------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ: ดูแหล่งที่มาของภาพทั้งหมดได้ด้วยการ นำเมาส์วางบนภาพนั้นๆ ไม่ต้องกดคลิกใดๆทั้งสิ้นนะคะ ข้อมูลจะปรากฎขึ้นมาเองค่ะ 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 63344เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • ขอขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ และความรู้-สาระมากมาย
  • ผมไม่ทราบแนวโน้มเรื่องนี้ในไทย
  • เมืองไทยนี่... ดูเหมือนเรื่องการห้ามโฆษณาเหล้า + การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ ฯลฯ จะเป็นเรื่องเร่งด่วนในสังคมเหมือนกัน

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาประจำสม่ำเสมอ 

อ. วัลลภ ตอบตรงกับที่หนูสงสัยเลยค่ะ (เรื่องการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน) 

matna ไม่ได้ติดต่อกันนานเลย เป็นอย่างไรบ้าง? ขอบคุณที่อีเมล์ลิ้งค์นี้มาให้ :-D เราจะตอบเป็นข้อดังนี้  
  • กฎหมายบ้านเราเป็นอย่างไร
  • กฎหมายขณะนี้ผู้ใช้เครื่อง AED จะต้องเป็นแพทย์เท่านั้น หรือได้รับมอบหมายจากแพทย์ เช่น บุคลากรกู้ชีพไม่ว่าจะเป็น Paramedic Nurse หรือ EMT-I (Emergency Medical Technician - Intermidiate) การมอบหมายจากแพทย์นั้นรวมถึงแบบ online คือติดต่อกับแพทย์โดยตรงทางโทรศ้พท์/วิทยุ และแบบ offline คือมีการเขียนไว้เป็น protocol / procedure สำหรับหน่วยปฏิบัติการนั้นๆ อย่างที่หน่วยกู้ชีพนเรนทรที่ทำอยู่ จะสามารถ shock คนไข้ได้ และทำมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่การที่บุคคลทั่วไปนำมาใช้นั้นยังไม่สามารถทำได้ และผิดกฎหมายครับ แต่แนวโน้มอนาคตคงจะมีการปรับเปลี่ยนไปแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อ อุปกรณ์มีความแพร่หลายมากขึ้นและราคาถูกลงกว่านี้

  • แล้วนอกจากตามสถานพยาบาลแล้ว มีเครื่องกระตุกหัวใจเก็บไปที่ไหนอีกรึเปล่าค่ะ 
  • ก็มีในรถพยาบาลระดับสูง (advanced life support ambulance) ที่ใช้ในภารกิจ "บริการการแพทย์ฉุกเฉิน" หรือที่เรียกว่าหน่วยกู้ชีพ จะประจำอยู่ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขจะกำหนดไว้ชัดเจนว่าหน่วยรถพยาบาลระดับสูงที่เข้าระบบกับสำนักบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 3,000 คันทั่วประเทศ (รับคำสั่งจากศูนย์นเรนทร ออกไปช่วยชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ) จะต้องมี defibbrillator อยู่ด้วย แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็น AED เท่านั้นครับ ส่วนสถานที่อื่นยังไม่มี โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิที่น่าจะมี แต่ก็ยังไม่มี ส่วนหนึ่งน่าจะติดที่กฎหมายไทยด้วยครับ ถ้ามีการแก้กฎหมายก็อาจมีให้ใช้กัน

  • ที่สถานีอนามัยมีรึเปล่าค่ะ
  • ยังไม่เคยเห็นว่ามีครับ 

  • แล้วมีแต่แบบที่ใช้ในโรงพยาบาล ที่เป็นเครื่องใหญ่ หลายๆปุ่มเต็มไปหมด หรือมีแบบเครื่อง AED ฉบับใช้ง่ายๆที่ไหนบ้าง  สนามบินสุวรรณภูมิก็น่าจะมีรึเปล่า?
  • ที่ใช้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็น EKG / Defibbrillator แบบ manual ครับ ส่วน AED ยังไม่เคยเห็นใช้ในโรงพยาบาลครับ ที่เจอจะอยู่ในรถพยาบาลของหน่วยกู้ชีพ อย่างที่เคยทำงานอยู่ รถพยาบาลของหน่วยกู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี มี AED ของ Physio Control ใช้อยู่ครับ EMT-B ที่เป็นแค่ระดับ basic ก็ยังได้อบรมหมด ได้ shock ของจริงกับหุ่น แต่ก็อย่างที่บอก ถ้าอุปกรณ์แพร่หลายขึ้น และมีการแก้ไขกฎหมาย ก็แน่นอนว่าคงได้เห็นเครื่องนี้ใช้มากขึ้นตามที่สาธารณะครับ ตัวอย่างเช่นที่ญี่ปุ่น ที่แพทย์ที่นั่นค่อนข้างหวงวิชามาก ขนาด paramedic ที่เรียนกันมาเป็นปี ยังต้องติดต่อขออนุญาตแพทย์ทุกครั้งก่อนทำ advanced life support อย่างการใส่ท่อช่วยหายใจ ปัจจุบันแพทย์กลับเปิดกว้างมากขึ้น เมื่อต้นปีที่ไปญี่ปุ่นมาก็เห็น AED ในดิสนีย์แลนด์ด้วย

  • แล้วนอกจาก แพทย์ พยาบาล และ หน่วยกู้ชีพแล้ว ใครสามารถใช้เครื่องกระตุกหัวใจได้ตามกฎหมายบ้าง เช่น OT, respiratory therapist, หรือ ทันตแพทย์
  • อันนี้ขออภัย ไม่ทราบครับ แต่เห็น James Bond ใช้ใน 007 Casino Royale ครับ อิ.. อิ.... (ไปดูกับคุณพ่อคุณแม่)

  • มีคนซื้อไปเก็บไว้ที่บ้านรึเปล่า ค่ะ ถ้ามี ผิดกฎหมายรึเปล่า
  • ถ้ามีคงไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าใช้คงจะผิดถ้าผู้ใช้ไม่ใช่แพทย์น่ะครับ อย่างไรก็ตามการช่วยชีวิตคนอื่นน่าจะสำคัญกว่านะครับ กรณีเพื่อนบ้านหัวใจวาย เรามี AED จะไม่เอาไปช่วยก็ยังไงอยู่ แม้ว่าจะมีโอกาสที่ช่วยแล้วเสียชีวิต ญาติเขาอาจมาฟ้องเราทีหลัง แต่โอกาสอย่างนี้คงจะต่ำมากๆๆๆๆๆๆ น่ะครับ ฝากอีกเรื่องนึงการมี AED ควรจะต้องไป update ตัว software ในเครื่องบ้างนะครับ เพราะถ้ายึดตาม American Heart Association ในส่วนของ ALS นั้น protocol มีการเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น จะ shock กี่ครั้ง ครั้งละกี่จูลส์ แม้แต่ BLS protocol ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนเป็นกดหน้าอกชุดละ 30 ครั้ง

    ขอบคุณมากคุณ กอล์ฟ แห่ง หน่วยกู้ชีพนเรนทร

    เราว่าแล้วว่ากอล์ฟต้องตอบได้ : )

    ใช่แล้ว protocol ที่เราเรียนก็สอนให้กดหน้าอก 30 ที เ่ป่าปาก 2 ที ใน 1 ชุด

    ส่วนไฟ shock นี่ 150 จูลส์ สม่ำเสมอ ไม่เพิ่ม

    แต่ครูฝึกบอกว่าก็ยังมี AED ในตลาดหลายยี่ห้อที่ shock ครั้งแรก 150 แล้วครั้งที่ 2 เพิ่มเป็น 200 แล้วไป max ที่ 300 แต่เค้าบอกว่า อีกหน่อยคงเปลี่ยนเป็น 150 ทุก shock หมดในไม่ช้า

    ขอบคุณอีกทีที่แวะมาตอบนะ 

    บังเอิญผ่านมาค่ะ  เจอความรู้เยอะมาก  เคยอบรม AED. มา ครั้งนึง  แต่ไม่เคยใช้จริงซักที

    สวัสดีปีใหม่2551 ด้วยค่ะ

    เพิ่งมาเห็นข้อความอ. จันทวรรณ กับ คุณ va - prasaeng

    สวัสดีปีใหม่แบบ late มากๆละกันนะคะ : P

    เพิ่งได้เข้ามาอ่าน จากการ search google ได้ข้อมูลและความเห็นในแวดวงวิชาชีพตัวเองที่นอกเหนือจากกลุ่มคนในหน่วยงานได้มากทีเดียวค่ะ ตอนนี้กำลังจัดทำ competency CPR สำหรับพยาบาลวิชาชีพ ไม่ทราบว่ามีท่านใดพอจะ share ความรู้ได้บ้างคะ

    ผมอยู่บริษัทที่ขายและ ซ่อมเครื่อง AED ครับ ของยี่ห้อ Phillips เครื่องรุ่นนี้ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายมากๆ เพราะตัวเครื่องจะทำการวิเคราะห์สัญญาณ EKG ว่าสมควรจะ ช็อค หรือไม่ หรือให้ทำ CPR หรือ ไม่ควรทำ CPR

    เครื่องรุ่นนี้จะมีเสียงพูดคอยบอกด้วยนะครับ ว่าควรทำอะไรต่อไป

    ไม่เข้าใจ ทำไมในประเทศไทย แพทย์และพยาบาล ต้องกั๊กความรู้ไว้ด้วย ทั้งๆที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป และเป็นวินาทีชีวิตที่จะสามารถช่วยชีวิตคนได้ ทำไมถึงไม่ยอมสอนให้ประชาชนที่ไม่รู้ได้รู้ในวงกว้างบ้าง และเครื่อง AED นี้ ก็มีคำแนะนำและมีเสียงบอกขั้นตอนที่ถูกต้องและปลอดภัยอยู่แล้ว น่าจะเหมาะสมกับกู้ชีพระดับ Basic ที่ส่วนใหญ่ต้องเจอเคส CPR ก่อนที่ ระดับ Advance จะถึง ซึ่งบางครั้งกว่าจะรอAdvance มาถึง ก็อาจจะสายไป เช่น ผู้ป่วยหมดสติ หัวใจหยุดเต้นตอนเวลาประมาณ 17.00น. สมมุติว่ามีคนอยู่ด้วยรีบโทรแจ้ง ที่ 1669 ใช้เวลาแจ้งเหตุประมาณ 2 นาที (17.02น.) (ส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีคนที่ CPRเป็น ถ้าไม่ใช่ญาติตนเอง และก็ไม่ค่อยจะยอมช่วยด้วย เพราะกลัวความผิดที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต) (ข้อมูลคลุมเครือไม่แน่ใจว่ามีเหตุจริงหรือไม่) ศูนย์สั่งการแจ้ง FR หรือ Basic ในพื้นที่ตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 8 นาที (17.10น.) (หัวใจหยุดเต้นไม่แล้ว 10 นาที เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองไม่ได้ สมองเริ่มตาย) เมื่อรถ Basic มาแล้ว ตรวจสอบ 1 นาที(17.11น.) เริ่มทำCPR โดยกดหน้าอก+เป่าปาก ขอสนับสนุนรถ Advance กว่ารถ Advanceจะมาถึง ใช้เวลาไม่เกิน 8 นาที (17.19น.) เบ็ดเสร็จแล้วใช้เวลาประมาณ เกือบ 20 นาที ที่ผู้ป่วยอาจจะได้รับการ Shock จากเครื่อง Difib แล้วในการกดหน้าอกแต่ละครั้ง อาจจะกดได้ไม่ถูกต้องหรือน้ำหนักการกดอาจจะผิดพลาดได้ ทำให้ไม่ถูกหัวใจ ซึ่งหากใช้เครื่อง AED จะมีคำแนะนำบอกให้ แล้วการใช้กระแสไฟฟ้าช่วยกระตุกหัวใจ นั้นจะทำให้หัวใจมีโอกาสกลับมาเต้นอีก ได้ดีกว่า และเร็วกว่า การกดหน้าอก เพียงอย่างเดียว ขอเปิดโอกาสทางการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ผู้ที่เกียวข้องกับระบบ EMS ตั้งแต่ ระดับ FR หรือ Basic ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มทีและมีประสิทธิภาพที่สุดบ้างจะได้มั๊ย เพราะนั่นคือวินาทีของชีวิต ที่คนคนหนึ่งจะรอดหรือไม่ อย่าลืมว่า จรรยาบรรณแพทย์และพยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ ข้อสำคัญที่สุด ก็คือ การช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยให้อยู่รอด ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ที่ถูกต้องตามหลักการ และสิ่งหนึ่งก็คือ AED ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือด้วย มีแต่ได้ประโยชน์กับผู้ป่วยอีก ขอให้แพทย์และพยาบาล เปิดใจกว้างยอมรับด้วย อย่าคิดแต่จะอยู่อย่างเดิม อย่าลืม ว่าพวกคุณไม่ใช่ฮีโร่เสมอไป ฉะนั้นไม่ต้องกั๊กข้อมูลหรอก

    ขอบคุณคุณครูทุกท่านครับ ผมได้รับความรู้จากแหล่งความรู้นี้มากมาย ความรู้ ย่อมคู่กับผู้อยากเรียนรู้และค้นหาความรู้ และที่สำคัญมีผู้รู้อย่างทุกท่านเป็นผู้ให้ นับเป็นพรประเสริฐสำหรับคนไทยอย่างเราๆ นะครับ

    ขอบคุณสำหรับหัวข้อหลักกระดานถามตอบนี้  ที่ตั้งไว้ดีมาก
    " ทุกคนควรใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบ AED เป็นหรือไม่ "

    เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillators, AED)

    ผมตอบเชิงเสนอแนะว่า "ประชาชนทุกคนควรใช้เป็น"
    แต่ต้องได้รับการฝึกอบรมการใช้งานที่ถูกต้อง จากผู้สอนที่มีความรู้
    เกิดความรู้ส่งผลต่อการใช้เครื่องกระตุก(ช็อก)หัวใจชนิดอัตโนมัติ
    ที่ประชาชนคนทั่วไปเข้าถึงได้ (Public Access Defibrillator - PAD)

    คุณครูผู้รู้ได้โปรดเสริมแนะนำด้วยเพื่อความรู้เสริมเพื่อการพัฒนาต่อไปด้วยจัดขอบคุณอย่างสูงครับ

    ขอบคุนค่ะสำหรับข้อมูลดีดี

    เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillators, AED) 

    ที่ประชาชนคนทั่วไปเข้าถึงได้ (Public Access Defibrillator - PAD)

    ควรมีและควรใช้

    ประเทศไทย เรามี เครื่อง AED  ในภาคเอกชน หรือประชาชน ที่ใช้ได้สาธารณะ จำนวนเท่าไรภาครัฐมีการติดตั้งเพื่อสนับสนุนการใช้งานได้อย่างชัดเจนหรือยัง รวมถึงการสนับสนุนด้านภาษีขาเข้าของอุปกรณ์ชนิดนี้อย่างไร และ ค่าความเร็วเฉลี่ยของหน่วยกู้ชีพ หรือรถพยาบาลฉุกเฉิน จากหน่วยสถานนี ถึงที่เกิดเหตุ ใช้เวลาเฉลี่ยเท่าใด และสำคัญความรู้ 

    ควรมีและควรใช้อย่างยิ่งยวดแล้ว ใน ขณะนี้
    เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillators, AED)
    ที่ประชาชนคนทั่วไปเข้าถึงได้ (Public Access Defibrillator - PAD)

    เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillators, AED)และหรือเครื่องช่วยชีวิตที่ประชาชนคนทั่วไปเข้าถึงได้ (Public Access Defibrillator - PAD) เป็นเครื่องปฐมพยาบาลที่ประชาชนใช้ได้ทั่วไปแต่ผู้ใช้ต้องได้รับการฝึกอบรมจากผู้สอน ศูนย์ฝึกอบรม ที่มีบัตรผู้สอนด้านนี้ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ

    ดีใจที่มีหลายๆคนสนใจเรื่องเครื่องกระตุ๊กหัวใจ AED ทำไม AED ต้องเข้าถึงได้ในทุกที่ เพราะภาวะหยุดเต้นของหัวใจหยุดเต้นฉบับพลัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา โอกาสรอดชีวิต ของผู้ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันจะลดลง10% ในทุกๆนาทีที่ผ่านไป ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการช็อคด้วยกระแสไฟฟ้าทันที เพื่อทำการฟื้นคืนคลื่นหัวใจให้ใจเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใน 3-5 นาทีแรกของการเกิดเหตุ ปล. สนใจเครื่อง AED สามารติดต่อ บริษัทฯเราได้ครับ เราจำหน่ายเครื่อง AED นำเข้าจากประเทศ เยอรมัน ( มีเวอร์ชั่นภาษาไทย ) ใช้งานง่าย อัตโนมัต มีการแนะนำการใช้งานอย่างถูกวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามที่สำนักงาน โทร 092-254-7253 หรือโทร 087-0399191


    สวัสดีครับ ปัจจุบันเมืองไทย ได้รับการยอมรับบ้างในเครื่องอุปกรณ์การแพทย์ AED/DEA/PAD นี้ ด้านกฏหมายคุ้มครองเปิดทางเล็กน้อยเครืองอุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ปฐมพยาบาล แม้ความรับผิดทางหลังการใช้ยังไม่มีกฏหมายใดๆคุ้มครองประชาชนตรงๆ  ผู้ใช้งานต้องได้รับการฝึกอบรมให้ได้ใบหรือบัตรความรู้รับรอง

    สวัสดีครับสมาชิกท่านใดสนใจฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตCPR,AED and First Aid Training Courseหลักสูตรในประเทศ : National Courseหลักสูตรนานาชาติ : International Courseขอความกรุณาติดต่อได้ที่ สนใจสินค้าและหรือการให้บริการกรุณาติดต่อคุณสันท้าย เรืองสุข (สัน)ผู้ฝึกผู้สอน ผู้สอน วิทยากร โค๊ช : ปฐมพยาบาลASHI and MEDIC First Aid Instructor Trainer Instructor-Led Training First Aid&CPR,AEDจำหน่ายสินค้าเพื่อความปลอดภัยและให้การฝึกอบรมปฐมพยาบาลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 0836269306 ไอดีไลน์แอ็ด LINEat (LINE@)ID: @lvp1706zเวบไซต์ www.readyplan.net

    ด้วยปัจจุบัน เครื่องช่วยชีวิต เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า(AED)สำหรับประชาชน(PAD) มีความหลากหลายตรารุ่น ให้เลือกมากหมายเป็นทางเลือก ระดับราคา คุณภาพ ความเชื่อถือ อย่างไรก็ตามความหลากหลายเหล่านี้ ต้องไม่ลืมพื้นฐานของการ ช่วยชีวิต ด้วยวิธี CPR.(การนวดหัวใจเป่าปอด)เป็นสาระสำคัญก่อนเครื่องช่วยชีวิตเหล่านั้นมาถึง ผู้รู้โปรดช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท