มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เทคนิกการค้นหาเอกสารอ้างอิงทางวิชาการจากฐานข้อมูลอีเลคทรอนิก (1)


"วิธี browse subject term" เพื่อหาคำสำคัญที่โดนใจ

ไปอ่านบันทึกของครูอ้อย เรื่องการเข้าห้องสมุดค้นหาเอกสารอ้างอิงแล้ว ครูอ้อยเขียนเรื่อง "คำสำคัญ" ผู้เขียนเลยได้แรงบัลดาลใจ มาเขียนบันทึกนี้ค่ะ

ผู้เขียนหวังว่าบันทึกนี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกๆคนที่ใช้ ฐานข้อมูลอีเลคทรอนิกในการหาบทความวิชาการ ไม่ว่าจะเป็น  MEDLINE, Academic Search Premier,  CINAHL, PsycINFO, Sociologial Abstract ฯลฯ

 

เทคนิกนี้จะทำให้อะไรๆง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ

ผู้เขียนมีโอกาสได้เรียนเรื่องการทำ systematic reivew และ เป็น ผู้ช่วยวิจัยงาน scoping review and research synthesis  เลยได้เข้า workshop เรียนและฝึกเรื่องการค้นหาเอกสารค่อนข้างมาก จะบันทึกหลายครั้งถ้าสนใจ คอยติดตามนะคะ

วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องการเลือกและการใช้ คำสำคัญ คะ

ไม่ว่าจะเป็น  ฐานข้อมูล ไหนก็ตาม การค้นหาแบ่งได้สองแบบใหญ่ๆ คือ

  • การใช้ คำสำคัญ ที่เราคิดขึ้นมาเอง (Keyword, Text word) กับ
  • การใช้ คำสำคัญที่ทางฐานข้อมูลคิดไว้ให้ จัดไว้ให้เป็นหมวดหมู่ (Indexed Subject, Subject term หรือ Subject Heading ชื่อจะต่างกันแล้วแต่ฐานข้อมูลค่ะ)

การค้นหาที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดคือใช้ทั้ง 2 แบบ แต่ให้เริ่มจากแบบหลังก่อนนะคะ ให้ใช้ Subject Term หรือ Subject Heading ทุกครั้งที่ทำการค้นหาค่ะ

 

วิธีง่ายสุด คือ mapping คำสำคัญ (MeSH) ส่วนมากคนจะใช้วิธีนี้เป็น (อ่านได้ที่นี่ค่ะ)  แต่วันนี้จะมาแนะนำอีกวิธีค่ะ

---------------------------------------------------------------------------------------

แนะนำให้ลองเริ่มจากการใช้วิธี browse subject term แทนค่ะ (รับรองไม่พลาด งานนี้)

ทุกๆฐานข้อมูลจะมีfunctionนี้ค่ะ ถ้าใช้ OVID จะดีมากเพราะให้มาทั้ง tree เลยค่ะ เห็นหมดเลยว่า จัดหมวดหมู่คำสำคัญไว้ยังไง อะไรเป็น subset อะไร

จากภาพด้านบน เห็นกล่องแดงๆไม๊ค่ะ ที่เขียนว่า Search Tool ให้คลิกอันนั้นแหละค่ะ แล้วเลือก tree พิมพ์คำที่ต้องการ แล้วกด perform search>>


 

ผลที่ได้เป็นดังภาำพข้างล่างนี้ค่ะ 

พอมาที่หน้า tree นี้แล้วก็กดดูเล่นได้เลยค่ะ กดเครื่องหมาย บวก ตรงหน้าคำต่างๆ ดูว่ามีคำอะไรเป็น subset บ้าง แล้วก็เลือกตามใจชอบ พร้อมแล้วก็ คลิก continue ทางด้านบน มันก็จะกลับไปที่หน้า main search page ให้ค่ะ 

ภาพทั้งหมดจาก: http://gateway.ut.ovid.com/gw1/ovidweb.cgi?S=&HC=tree 

[คลิกดูตัวอย่าง tree ทั้งต้นได้ที่นี่ค่ะ]

--------------------------------------------------------------------------------------- 

ส่วนของทางสายศิลป์ หรือ สายสังคมศาสตร ์ และ CINHAL ของ พยาบาลนั้น มักจะใช้ EBSCOHOST มีให้ browse ได้ แต่ไม่มีืัเป็น tree ให้เห็น ตัวอย่างข้างล่างนี้ค่ะ


 ภาพจาก: http://newterra.chemeketa.edu/library/instruction/EBSCOhost.htm

พอทางฐานข้อมูลให้ list คำมาให้เลือก เราก็เลือกที่เราถูกใจ แล้วก็ติ๊กหน้าคำนั้นๆ แล้วค่อยกด "search" เพื่อค้นหาบทความที่มีคำนั้นๆเป็นคำสำคัญ

------------------------------------------------------------------------

แล้วก็อย่าลืมติ๊กช่อง "explode" นะคะ ถ้าอยากได้ทุกคำสำคัญที่อยู่ใน subset ของคำนั้น พูดง่ายๆคือถ้าอยากให้มีผลการค้นหาออกมาเยอะๆก็ติ๊ก explode ค่ะ

------------------------------------------------------------------------

โอ้ย เพิ่งรู้ตัวว่า สอนทางบันทึก blog นี่ยากค่ะ เอาเป็นว่าวันนี้แค่นี้ก่อนนะคะ เขียนไม่ clear เท่าไหร่แต่อยากให้อย่างน้อยลองไปคลิกๆเล่นดูให้คุ้นเคย ใครมีคำถามเฉพาะอะไรถามมาได้นะคะ หรือถามคุณบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัยก็ได้ค่ะ ถ้ารอไม่ไหว

 

 

หมายเลขบันทึก: 65137เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ไม่มีคำถามครับ แต่แวะมาหาความรู้ ขอบคุณมากครับผม

ครูอ้อยน่าจะเข้าใจนะคะ  ต้องขอเวลาศึกษา  ตอนนี้ขอบคุณไว้ก่อนค่ะ  ถ้ามีคำถามจะถาม  ได้ไหมคะ  คุณมัทนา

เห็นด้วยว่าเขียนอธิบายยากกว่า face-2-face เยอะเลย มีประโยช์นมากเลยครับแต่ส่วนใหญ่ผมใช้ emerald, proquest และ sciencedirect เพราะเป็นด้าน business นะครับ

  • ถามได้เลยค่ะ ครูอ้อย หรือครูอ้อยจะเล่าให้มัทฟังคร่าวๆว่าหัวข้อวิจัยคืออะไร แล้ว มัทช่วยหาคำสำคัญใ้ห้่ก็ได้ค่ะ ไม่ต้องเกรงใจ
  • Aj. Kae - ขอบคุณมากที่แวะมาทักทายในหลายๆบันทึกค่ะ ใช่แล้วค่ะ F2F ง่ายกว่าเยอะเลย กว่าจะเขียนบันทึกนี้เสร็จนี่ พลังหมดค่ะ วันนี้ขอไปนอนก่อนดีกว่า
  • อ. ขจิตค่ะ มัทไม่ค่อยลงความเห็นเวลาอ่านบันทึกอ. แต่ก็ยังแวะไปเรื่อยๆนะคะ : )

มีอีกเทคนิกนึงที่ห้องสมุดที่นี่สอน

คือใช้เทคนิก PICO

ช่วยในการค้นให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ลองดูในนี้ครับ

http://www.uic.edu/depts/lib/lhsp/resources/pico.shtml

ทุกวันนี้ผมใช้เทคนิกนี้เลือกจนได้ผลการค้นที่พอใจ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การตามผลงานใหม่ โดยไม่ต้องค้นอีก ลองใช้วิธีสมัครสมาชิก (เช่นจากเวป Pubmed) แล้วสั่งให้เวป แจ้งเราทาง email ทุกครั้งที่มีงานใหม่ใน keyword ที่เราต้องการครับ

เป็นประโยชน์มากครับ อาจารย์มัทนา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท