ซาโยนาระ : ลาก่อนแม่ดอกซากุระที่แสนสวย ญี่ปุ่น - ดินแดนแห่งอาทิตย์บูรพา


7 วันในญี่ปุ่นช่างมีค่ายิ่งสำหรับเรา...ซาโยนาระ ญี่ปุ่นที่แสนสวยงาม

            ความเดิมจากตอนที่แล้ว เรายังอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทนริครับ ตอนต่อไปนี้เป็นตอนสุดท้ายก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย  เราจะล่ำลา ซาโยนาระ กับดอกซากุระ ที่ใครเห็นก็ต้องหลงใหลในความงามที่แสนจะโรแมนติกของเธอ 

.......................................................................

           ย้อนกลับมาพูดถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทนริ ครับ 

           มหาวิทยาลัยก่อตั้งภาควิชาไทยศึกษา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535  หรือ 23 ปีมาแล้ว สำหรับหลักสูตรภาษาไทยฉบับปัจจุบันนี้เพิ่งใช้ได้เพียงปีเดียว โดยมีโครงสร้างดังนี้ 

 

 

ตารางแสดงโครงสร้างหลักสูตรภาษาไทยของมหาวิทยาลัยเทนริ  2547
1.วิชาพื้นฐานการศึกษา
    22  หน่วยกิต
1.1    ศาสนาเทนริเคียว
   4   นก.
บังคับทุกเอก
1.2    ภาษาอังกฤษ
   4  นก.
1.3    สัมมนาพื้นฐานการใช้ภาษาญี่ปุ่น
    2  นก.
1.4    พื้นฐานทั่วไป
    8  นก.
1.5    พื้นฐานเลือก
    4  นก.
2.วิชาเอกของคณะ
คณะเอเซียศึกษา
    6 นก.
3.วิชาเอกภาษาไทย
บังคับเอก
   48 นก.
4.วิชาเลือก
เลือกจากวิชาเอก
   20 นก.
5. วิชาเลือกเสรี
เลือกตามน้ำหนักของศาสตร์ที่เรียน
   32 นก.
             รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า
 128 นก.

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             ดูจากโครงสร้างหลักสูตรแล้ว ก็ถือว่าจัดได้ดี  เนื้อหาวิชาเอกอยู่ในสัดส่วน 1 ใน 3 แต่ก็สามารถเลือกวิชาเพิ่มเติมได้อีกจากวิชาเลือกและวิชาเลือกเสรี  รวมถึงการไปศึกษาวิชาเลือกต่างๆ ในประเทศไทยและใช้วิธีการโอนหน่วยกิตได้ ทำให้บัณฑิตภาษาไทยของเทนริมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น  ซึ่งในปีหน้าจะมีนักศึกษา 2 คนมาเรียนภาษาไทยเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสอง โดยคนหนึ่ง ชื่อ คุณมัสสึดะ อายุ 52 ปี  กำลังเรียนชั้นปีที่ 3 อีกคนหนึ่งชื่อ จุนโกะ อยู่ชั้นปีที่ 1 ทั้งสองคนนี้จะมาเรียนเพิ่มเติม 1 ปี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     ข้อสังเกต อีกประการหนึ่งคือ การเรียนภาษาอังกฤษ กำหนดไว้เพียง 4  หน่วยกิตเท่านั้น เราถามอาจารย์โนสุว่า การกำหนดไว้น้อยเช่นนี้จะเพียงพอต่อการนำไปใช้หรือไม่  อาจารย์โนสุกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาเอง ถ้าเขาเห็นความจำเป็นก็สามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมได้ ไม่จำเป็นต้องบังคับ   ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วย เพราะถ้าหากบังคับเรียนถึง 12  หน่วยกิต คนที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษก็จะรู้สึกกดดันมาก  แทนที่จะเป็นผลดีกลับกลายเป็นการการทรมาน  นักศึกษาก็จะเรียนอย่างไม่มีความสุข และไม่ประสบความสำเร็จ  บางคนอาจท้อแท้และลาออกเลิกเรียนไปเลยก็ได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     ถัดจากการบรรยายของอาจารย์โนสุ  ต่อไปก็เป็นการบรรยายสรุปเกี่ยวกับกิจการนักศึกษา ของอาจารย์อิวาตะ  ผู้ดูแลรับผิดชอบงานด้านกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     อาจารย์อิวาตะ กล่าวถึงกิจกรรมหลักของมหาวิทยาลัยได้แก่ ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่  กิจกรรมชมรม (แบบงานเปิดโลกกิจกรรมของเรา)  ซึ่งมีประมาณ  50  ชมรม  กิจกรรมกีฬาภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดให้แต่ละภาควิชาเป็นหนึ่งทีม  รวมทั้งหมด 20 ทีม ในช่วง เดือนมิถุนายน จะมีกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษานานาชาติ ซึ่งมีนักศึกษาทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศกว่า 150 คนเข้าร่วมกิจกรรม  เดือนพฤศจิกายนเป็นงานแสดงนิทรรศการทางวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีกิจกรรมสัมมนา จัดบอร์ด การแสดง การจำหน่ายสินค้า ฯลฯ คล้ายๆกับงานนิทรรศการวิชาการประจำปีของเรา  ในเดือนนี้ยังมีกิจกรรมประชุมสมัชชา  เลือกตั้งหัวหน้านักศึกษา และกรรมการประมาณ 30 คน และถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่ง   ในเดือนกุมภาพันธ์มีกิจกรรมค่ายผู้นำนักศึกษา ได้แก่หัวหน้านักศึกษาในแต่ละภาควิชา หัวหน้าชมรม เป็นต้น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     มหาวิทยาลัยเทนริ ให้ความสำคัญแก่กิจกรรมนักศึกษามาก โดยจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้ ประมาณ 29 ล้านเยนต่อปี ( ประมาณ 10 ล้านบาท) และเรียกเก็บจากนักศึกษาอีก  12,000  เยน ต่อคน/ปี  (ประมาณ 4,500 บาท)  นักศึกษาทุกคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรม  โดยบังคับกิจกรรมของคณะ แต่กิจกรรมมหาวิทยาลัยนั้นไม่บังคับ  เท่าที่ผ่านมามีนักศึกษาจำนวนน้อยที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่นักศึกษาเห็นประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรม   สำหรับในส่วนของอาจารย์ จะไม่เข้าไปมีบทบาทในการจัดกิจกรรม  เป็นเรื่องของนักศึกษาที่จะต้องจัดกันเอง อาจารย์เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษากิจกรรมเท่านั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>                 </p><p></p>           หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อาจารย์โนสุและอาจารย์โยชิดะได้พาพวกเราไปดูดอกซากุระบานที่บริเวณใกล้จิบะ ซึ่งมีต้นซากุระปลูกเรียงรายถึง 23 ต้น ทำให้เกิดความงดงามมาก  อาจารย์โนสุบอกว่า  ซากุระที่บานอยู่นี้เป็นซากุระพันธุ์บานเร็ว  ยังมีซากุระพันธุ์บานช้า ที่จะบานในช่วงเดือนหน้า จนถึงพฤษภาคม อีก ซึ่งในเมืองเทนริจะมีต้นซากุระปลูกอยู่มากมายจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมือง  และในเดือนหน้านี้เทศบาลเมืองเทนริก็จะจัดงานวันดอกซากุระบานด้วย น่าเสียดายที่เราไม่สามารถอยู่ร่วมงานวันนั้นได้   แต่ถ้าถึงวันนั้นจริงๆ ก็คงจินตนาการได้ใกล้เคียงว่า ดอกซากุระเวลาบานสะพรั่งเรียงรายเป็นทิวแถวริมสองข้างถนน และบริเวณต่างๆ ของเมืองเทนริ คงจะสร้างบรรยากาศอันแสนจะโรแมนติก สวยงามน่าอภิรมย์ เพราะขนาดบานเพียง 23 ต้น ก็สวยงามเหลือเกิน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p align="center">                 ซากุระ เรียงราย ชมพูสวย</p> <p align="center">                แดดอุ่นด้วย อุ่นไอ ด้วยวัยสาว</p> <p align="center">                 ใต้ร่มดอก ซากุระ  ที่เพริศพราว   </p> <p align="center">               แม้ไอหนาว ก็มิได้ โลมไล้ทรวง </p> <p align="center">   </p> <p align="center">              เจ้าช่างงาม แสนงาม ยิ่งงามนัก  </p> <p align="center">              จะชื่นชม ฝากรัก เจ้าของหวง  </p> <p align="center">              ต้องจำลา "ซาโยนาระ" ชมพูพวง   </p> <p align="center">             ยามเจ้าร่วง พี่ก็ช้ำ ระกำใจ  </p> <p align="center"> </p>

 

ชมวัด "ฮอร์ยูจิ" : มรดกโลกแห่งเมืองนารา

  </span></span> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         ชื่นชมความงดงามของซากุระได้ไม่นานนัก เราก็ต้องรีบเดินทางไปเมืองนารา เมืองหลวงเก่าในอดีตของญี่ปุ่น ซึ่งความจริงเราไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 20 เพื่อไปดูวัดโทไดจิ  แต่บ่ายนี้เราจะชมวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่ง คือวัดฮอร์ยูจิ วัดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกโลก   บ่ายนี้เราเตรียมร่มกันฝนและเสื้อกันหนาวไปด้วย เพราะกรมอุตุฯ พยากรณ์ว่าจะมีฝนตกลมแรง และอากาศหนาวประมาณ 2 - 5 องศาเซลเซียส</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

                   รถบัสใช้เวลาวิ่งจากเมืองเทนริถึงนาราประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ถึงวัดฮอร์ยูจิ (Horyuji)   วัดนี้ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีอาคารทำด้วยไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือมีอายุประมาณกว่า 1300 ปี  อยู่ในช่วงยุคอาสุกะ  วัดนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าชาย Shotoku  Taishi   ศาสนสถานที่เด่นและสง่างามที่สุดภายในวัดก็คือ เจดีย์ห้าชั้น (Goju-no-to) ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้ตามแบบสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาในญี่ปุ่น และหอแห่งความคิดและจินตนาการ (Yumedono)  นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานสำคัญคือ วิหารกลาง (Kondo)   อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระพุทธสาวกซ้าย-ขวา   ภายในบริเวณวัดฮอร์ยูจิจัดตกแต่งต้นไม้และสวนญี่ปุ่นไว้สวยงาม ร่มรื่น มีมุมสงบให้เรารู้สึกนิ่งและสบาย ปัจจุบันยังมีพุทธศาสนิกชนเข้ามากราบไหว้และทำกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนาอยู่ตลอดทั้งปี  ในปีค.ศ.1993 วัดฮอร์ยูจิได้รับการพิจารณาจากองค์การ UNESCO ให้เป็นมรดกโลก

                     ภายนอกวัดสองฝั่งทางเข้าวัดมีร้านรวงเรียงรายอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ละร้านจัดตกแต่งหน้าร้านและภายในร้านไว้อย่างสวยงาม น่ารัก  ตามสไตล์ญี่ปุ่น เราต้องยกย่องชาวญี่ปุ่นในเรื่องศิลปะการออกแบบตกแต่งสิ่งต่างๆ แทบทุกเรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นการจัดตกแต่งร้าน  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สินค้าต่างๆ  การจักตกแต่งบ้าน สวน แม้แต่การตกแต่งถนนหนทางต่างๆ ดูเป็นระเบียบสวยงามน่ารักและเป็นธรรมชาติ   ผู้เขียนเดินชมสินค้าแล้วก็ได้แต่ชม ไม่ได้ซื้ออะไรมาทั้งๆ ที่อยากได้เหมือนกัน แต่เนื่องจากสินค้ามีราคาแพงมาก ก็จำต้องตัดใจให้เงิน 10,000 เยนสุดท้ายนอนรอในกระเป๋าต่อไป เพราะยังมีอีกหนึ่งวันที่จำเป็นต้องใช้เงินอยู่</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p>                      วันสุดท้ายแล้วครับ  มหาวิทยาลัยเทนริจัดรถไปส่งพวกเราถึงสนามบินคันไซ เพื่อเดินทางกลับไทย  พวกเราร่ำลาอาจารย์โนสุและอาจารย์โยชิดะที่ด่านศุลกากรซึ่งท่านดูแลพวกเราจนถึงวินาทีสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับเรา พวกเราซาบซึ้งน้ำใจของอาจารย์ทั้งสองท่านมากที่ดูแลเราเป็นอย่างดีตลอดเวลาที่พักอยู่ในเทนริ นี่คือน้ำใจของเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่มอบให้แก่เรา เชื่อว่าเราคงมีโอกาสตอบแทนน้ำใจอันดีต่อเขาในโอกาสข้างหน้า</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">11.10 นาฬิกา เที่ยวบิน TG 623  ของสายการบินไทย ก็พาคณะของเรากลับประเทศไทย </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       7 วัน ในญี่ปุ่นช่างมีค่ายิ่งสำหรับเรา </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ประสบการณ์ ความประทับใจในสิ่งต่างๆ เราคงจดจำอย่างไม่รู้ลืม  ทั้งภูเขาฟูจียามา  ดอกซากุระ ประสบการณ์การศึกษาดูงานและน้ำใจของเพื่อนชาวญี่ปุ่น ....ซาโยนาระ  ญี่ปุ่นที่แสนสวยงาม</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">……………………………………………………………..</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สุดท้ายแห่งเรื่องเล่าจากญี่ปุ่น  ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านบันทึกตั้งแต่ต้นจนถึงบันทึกสุดท้าย  สิ่งใดที่เล่าไปและอาจเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างผมก็ดีใจครับ  เพราะความทรงจำ และประสบการณ์ของคนๆ หนึ่ง คงไม่กว้างขวางมากนัก หากท่านทั้งหลายจะได้นำประสบการณ์มาเล่าเพิ่มเติมไว้บ้าง ก็จะช่วยขยายมุมมองให้กว้างและเป็นประโยชน์ต่อไปอย่างไม่รู้จบสิ้น  ขอบคุณด้วยใจจริงครับ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                  กรเพชร  เพชรรุ่ง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>         </span>

หมายเลขบันทึก: 127133เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีคะอาจารย์
  • มาเฉลยรูปห้องน้ำคราวที่แล้วคะ
  • ห้องน้ำเคลื่อนที่...ที่ต้องเข้าเกียร์เป็นที่ออสเตรเลียคะ
  • ตอนนี้ ฉันเขียนเรื่องห้องแห่งความสุข แล้วคะ
  • เชิญอาจารย์เข้าไปใช้ได้ฟรีคะ..อิอิ
  • อาจารย์ขา ...ในบันทึก...ฉันทำลิ้งมาที่บันทึกของอาจารย์เรื่อง ส้วมไฮเทค..กับพูดจาประสาส้วมด้วยคะ(ขออนุญาตย้อนหลังเลยนะคะอาจารย์)

คุณ naree suwan  ครับ

            ต่อไปนี้ G2K เราจะกลายเป็นแหล่งรวมเรื่องส้วมมากที่สุดนะครับ

            ขอบอกกล่าวเพื่อนพ้องน้องพี่  ใครมีเรื่องดี เรื่องส้วมหรือภาพส้วมไม่ว่าของไทยหรือนานาประเทศ เรามาช่วยลิงค์กันไว้อย่างคุณ naree  นี่นะครับ คราวนี้ผู้ใดสนใจเรื่องส้วม อยากรู้ลึก รู้กว้าง ก็ต้องมาที่นี่ 

           ขอบคุณมากนะครับ  ทำให้ผมรู้เรื่องส้วมมากขึ้นอีกแยะเลยครับ

          ขอฝากบทกลอนส่งท้ายครับ

          สุขา...อยู่หนไหน  เจ้าคะ

          มามะ ช่วยบอก อย่าหลอกเล่น

           ข้าศึก ประชิดอยู่ หนูลำเค็ญ

           วิกฤติแท้ เห็นๆ อยู่ครงนี้

          จะคิดอ่าน อย่างไร คิดไม่ออก

          แต่ของเก่า สำรอก มาถึงที่

          บอกหน่อยจ้า กรุณา plese help me

         เพราะว่า... คำเดียว ทุกข์เชียวคุณ

                         (ขอบคุณค่ะ)

  • ตามมาขอบคุณอีกครั้งคะอาจารย์
  • รูปที่มีอยู่เก็บไว้นานแล้ว
  • ตอนแรกตั้งใจเก็บไว้ดูเล่นคนเดียว
  • พอได้อ่านเรื่องของอาจารย์แล้วจุดประกายคะ
  • ขอบคุณสำหรับบทกลอนด้วยคะ...ขออนุญาตนำบทกลอนที่อาจารย์แต่งใหม่...ไปเพิ่มเติมบนบันทึกนะคะ
  • ให้ผู้เข้ามาอ่านทีหลังได้อ่านด้วย
  • แล้วจะทำลิ้งมาที่หน้าบันทึกนี้ด้วยนะคะ
ดอกซากุระสวยจริงๆ เสียดายอาจารย์ไม่มีโอกาสนั่งปิกนิกใต้ต้นซากุระ ไม่งั้นคงจะมีความสุขมากโขทีเดียว (สาวน้อยที่ยืนข้างๆ นี่ลูกศิษย์หรือเปล่าคะ ^ ^ ถ่ายรูปกับสาวๆ ไม่ต้องเขินก็ได้ค่ะ อิ อิ)
We really love your story but we think it a bit stupid and dull Uhh...sth non-sense you know. You are pretty good teacher but you have to change your spoken, some time it mad and out spoken!! Don't complain because it ture. Change now ok? ( before it will be late)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท