แผนที่ภาษาชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ภาพรวมของภาษาที่หลากหลาย


ในประเทศไทยมีกลุ่มชนที่พูดภาษาแตกต่างกันถึง 70 กลุ่ม

แผนที่ภาษาชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ภาพรวมของภาษาที่หลากหลาย

๐จากสาระคำบรรยายของ ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์  สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท  (มหาวิทยาลัยมหิดล) 28 ก.ย.50 ,เชียงใหม่  

 

 

       ผมนั่งฟังคำบรรยายของ ศ.ดร.สุวิไล  เปรมศรีรัตน์  ด้วยอาการตื่นเต้น   ที่ตื่นเต้นก็เพราะ  แผนที่ภาษาชาติพันธุ์ที่ท่านทำไว้ระบุข้อมูลว่า 

       ในประเทศไทยมีกลุ่มชนที่พูดภาษาแตกต่างกันถึง  70 กลุ่ม

 

     มีผู้พูดภาษาไทยกลางมากที่สุดถึง ร้อยละ 37 

     รองลงมาคือ ภาษาลาวอีสาน ร้อยละ 28 

     ภาษาคำเมือง(ภาษาเหนือ) ร้อยละ 10 

     ภาษาปักษ์ใต้ ร้อยละ  9 

     ภาษาเขมรถิ่นไทย  ร้อยละ 3 

     ภาษามลายูถิ่น  ร้อยละ 2 

    ภาษาไทยโคราช ,ผู้ไทย , กูย(ส่วย) , ญ้อ , ไทยเลย , ลาวหล่ม , กะเหรี่ยง , ภาษาร้อยละ 1 

    และภาษาอื่นๆ ภาษาละไม่ถึงร้อยละ 1

     ฟังต่อไปก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่พบความหลากหลายของภาษาในประเทศไทย เพราะ  

       ประเทศไทยตั้งอยู่ในใจกลางแผ่นดินใหญ่ของเอเชียอาคเนย์ซึ่งเป็นดินแดนที่มี ประชากรต่างชาติพันธุ์และภาษาปะปนกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  

        ศ.ดร.สุวิไล  ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงเชื้อสายหรือตระกูลภาษาในประเทศไทยว่า แบ่งเป็น 5 ตระกูลใหญ่ ดังนี้ 

 

ภาษาตระกูลไท Tai  language  family             24  กลุ่มภาษา

 1.กะเลิง            kaloeng           2. คำเมือง/ยวน    khammuang/yuan  

 3.โซ่ง/ไทดำ     Tai Dam           4. ญ้อ                Nyaw  

5.ไทขึน           Tai Khun           6. ไทยกลาง       Gentral Thai  

7.ไทยโคราช     Thai Korat        8. ไทยตากใบ      Thai Takbai  

9. ไทยเลย        Thai Loei         10. ไทลื้อ            Thai Lu 

11. ไทหย่า         Thai Ya            12. ไทใหญ่         Thai Yai,Shan 

13. ปักษ์ใต้         Southern Thai   14. ผู้ไท             Phu Thai 

 15. พวน          Phuan                16. ยอง              Yong 

17. โย้ย          yoy                      18. ลาวครั่ง         Lao khrang 

19. ลาวแง้ว     Lao Ngaew            20. ลาวตี้            Lao Ti 

21. ลาวเวียง    Lao Wiang             22. ลาวหล่ม        Lao Lom 

23. ลาวอีสาน  Lao Isan                24. แสก              Saek  

            

ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก  Austroasiatic  language  family    22  กลุ่มภาษา

1.กะซอง            Kasong               2. กูย-กวย(ส่วย)    Kuy,kuay  

3. ขมุ                Khmu                 4. เขมรถิ่นไทย      Thailand  khmea  

5. ชอง               chong                6. ซะโอจ(ชุอุง)      Sa-oc(Chung)  

7. ซาไก(เกนชิว)  saki (kensiw)      8. ซัมเร                Samre  

9. โซ่                So                    10. โซ่(ทะวึง)         So (thavueng) 

11. ญัฮกุร(ชาวบน) Nyah Kur        12. เญอ                Nyoe 

13. บรู/ข่า            Bru                 14. ปลัง (สามเต้า,ลัวะ)  Plang(Samtao,Lua) 

15.ปะหล่อง(ดาละอัง) Palaung(Dala3ang) 16.มอญ         Mon 

17. มัล-ปรัย(ลัวะ/ถิ่น) Mal-Pray(Lua/ถิ่น)   18. มลาบี(ตองเหลือง) Mlabri(Togluang)

 19. ละเม็ด(ลัวะ)     Lamet(Lua)         20. ละเวือะ(ละว้า/ลัวะ) Lavua/Lawa/Lua) 

21. ว้า (ลัวะ)         Wa (Lua)            22. เวียดนาม(ญวน/แกว)  Vietnamese     

              

ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต    Sino-Tibetan language family         21  กลุ่มภาษา                      

  กลุ่มภาษาจีน 

 1.กวางตุ้ง             Cantonese              2. แคะ(ฮักกะ)      Hakka 

3.แต้จิ๋ว                Teochiu                  4. แมนดาริน/จีนกลาง   Mandarin 

 5.ไหหลำ              Hinanese               6. ฮกเกี้ยน           Hokkian 

7. ฮ่อ                  Yunnanese (Western  Mandarin)  

กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า  

1.กะยา               Kaya                         2.กะยอ               Kayq 

3.จิงโพ/คะฉิ่น      Jingpaw/Kachin          4.บเว                 Bwe 

5. บิซู                Bisu                           6.ปะกายอ           Sgaw Karen 

7. ปะด่อง           Padaung                     8. โปว               Pwo Karen 

9. พม่า              Burmese                    10. ละหู่/มูเซอร์    Lahu 

11. ละว้า(ก๋อง)     Lawa(Gong)               12. ลิซู               Lisu 

13. อะข่า            Akha                          14. อึมปี             Mpi   

                   

ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน  หรือ มลายาโยโพลีเนเชียน  Austronesian or Malayo-Polynesian  language family                                                3  กลุ่มภาษา 

 1. มลายู/นายู              Melayu / Nayu/Yawi 

2. มอเก็น/มอเกล็น         Moken/ Moklen 

3. อูรักละโวย                Urak Lawoy

 

ภาษาตระกูลม้ง-เมี่ยน (แม้ว-เย้า)        Hmong-Mien  or  Miao-Yao  language family                                                                                        2 กลุ่มภาษา 

 1.ม้ง/แม้ว (ม้งดำ,ม้งขาว)   Hmong / Miao 

2. เมี่ยน / เย้า                 Mien/ Yao 

                

   สำหรับในเขตภาคเหนือนั้น   มีความซับซ้อนในกลุ่มภาษาต่างๆ มาก  เนื่องจากมีเขตติดต่อกับลาว พม่า จีน ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายอพยพมาสู่ดินแดนแถบนี้  ปัจจุบันพบว่ามีคนพูดภาษาต่างๆ กว่า 34 ภาษา ใน 4 ตระกูลใหญ่  คือ ตระกูลไท 12 กลุ่มภาษา  ตระกูลจีน-ทิเบต 11 กลุ่มภาษา  ตระกูลม้ง-เมี่ยน 2 กลุ่มภาษาและตระกูลออสโตรเอเชียติก 9 กลุ่มภาษา 

         ในกลุ่มภาษา 4 ตระกูลนั้น

        มีผู้พูดในกลุ่มภาษาตระกูลไทถึงร้อยละ 92

        รองลงมาร้อยละ 5 คือตระกูลจีน-ทิเบต

        และตระกูลม้ง-เมี่ยนและออสโตรเอเชียติกตามลำดับ 

        ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดก็คือ  ภาษาคำเมือง  เกือบร้อยละ 50   เนื่องจากเป็นภาษากลางของเขตล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและมีผู้พูดภาษาไทยกลางเกือบร้อยละ 27 เนื่องจากเป็นภาษากลางของเขตภาคเหนือตอนล่าง

        การศึกษาภาษาเพื่อทำแผนที่ทำให้เรามองเห็นปัญหาหลายประการ เช่น การใช้ภาษาไทยกลางหรือไทยมาตรฐานที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ภาษาไทยถิ่น ภาษาพื้นบ้านลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ ด้วยอิทธิพลด้านการศึกษาและสื่อมวลชน  อีกประการหนึ่งคือการตาย การย้ายภาษา การเปลี่ยนแปลงภาษาทำให้ภาษาประมาณ 14 ภาษา ใกล้สูญ  เช่น  ญัฮกุร  โซ่(ทะวึง)  ชอง  กะชอง ซัมเร ฯ เป็นต้น 

         ในท้ายสุดท่านจบด้วยคำประกาศ ขององค์การยูเนสโกว่า

 กลุ่มชนหนึ่งๆ มีสิทธิที่จะเรียนรู้หนังสือโดยผ่านภาษาแม่ของตน และ มีสิทธิที่จะพัฒนาภาษาของตนให้ดำรงอยู่ได้

          น่าคิดมากครับ  ผมก็ขอเรียนฝากนักวิจัย นักวัฒนธรรมทุกท่านไว้ครับว่า  ข้อมูลแผนที่ภาษาที่เห็นนี้มีความสมบูรณ์มองเห็นการกระจายภาษาต่างๆ 70 กลุ่มภาษาไปทั่วประเทศไทย ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตามรอยวัฒนธรรม และการเข้าถึงในข้อมูลเรื่องอื่นๆ ต่อไปอีกมากครับ  หากใครสนใจในรายละเอียดเรื่องนี้  ก็หาหนังสือรายงานผลการวิจัยของศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ (โรงพิมพ์คุรุสภา/กทม.2544)  เรื่อง นี้  ได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 133744เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะอาจารย์

 เหลือเชื่อจริงๆนะคะ เราเป็นคนไม่รู้ภาษา ที่มีขนาดนี้เชียว แล้วอักษรล่ะคะ ใช้แบบไหน

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ได้ข้อมูลเพิ่มในเรื่องตระกูลภาษาอย่างดีเลยคะอาจารย์ ขอบคุณอาจารย์นะค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

เป็นความรู้มากๆค่ะ

และภาษาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีการกลายพันธ์หรือวิวัฒนาการกันไปมากแค่ไหนคะ เช่นภาษากลางที่พุดกันในกรุงเทพฯก็มีการคิอคำใหม่ๆขึ้นมาเยอะ โดยมากมาจากวัยรุ่น และเราก็เอามาใช้ตามๆกันก็มีค่ะ

  • แวะมาบอกว่าเป็นคน ลาวพวน คะอาจารย์มี การศึกษาเรื่องลาวพวน (ตามลิ้งไปดูได้ทั้ง 2 ที่นะคะ)
  • มีภาษาพูด และวัฒนธรรมที่แข้มแข็งจนถึงปัจจุบันคะ จังหวัดที่เป็นแกนนำ คือ บ้านหมี จ.ลพบุรี และปากพลี จ.นครนายกคะ เขามีงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ทุกปีนะคะ
  • ขอแก้ไขคะพิมพ์ผิด บ้านหมี่ จ.ลพบุรี นะคะ

คุณP

          เรื่องตัวอักษรนี้  บางภาษามี เช่น มอญ เขมร ล้านนา(อักษรธรรม)  แต่บางภาษาไม่มี  เช่น ภาษามูเซอ  เขาใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษถอดเสียงเอา  พวกมิชชันนารีได้ไปทำไว้ให้ครับ  ส่วนตัวอย่างอักษรคงต้องใช้เวลาพอจะหามาให้ดูเป็นตัวอย่างบางภาษา คงไม่สามารถรวบรวมได้ครบ 70 กลุ่มภาษา คงต้องไปศึกษาจากผลงงานวิจัยของ ศ.ดร.สุวิไล ครับ

คุณP

             ขอบคุณครับ ยังมีรายละเอียดอีกมากในเรื่องนี้ ถ้าได้เอกสารรายงานวิจัยเล่มนี้มาคงจะได้นำมาเล่าให้ได้อ่านกันอีกครับ  กำลังตามเอกสารเล่มนี้อยู่ครับ

คุณP

             ทุกภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนไปครับ  ภาษาไทยกลางก็เปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน โดยเฉพาะสื่อมวลชน  วัยรุ่น ที่ชอบใช้ภาษาคะนอง โลดโผน  เช่น คำสแลง (เขียนอย่างนี้ครับ เพราะมาจากภาษาอังกฤษ slang   ไม่เขียนว่า แสลง (สะ-แหลง)  มีคนเขียนผิดกันมาก)  จนราชบัณฑิตต้องเก็บมาทำพจนานุกรมคำสแลง  ซึ่งจะช่วยให้คนทำความเข้าใจสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

คุณP

            ผมมีเชื้อสายมาจากลาวพวนบ้านหมี่ครับ  คุณปู่ของผมท่านอยู่บ้านหมี่ คุณพ่อก็เป็นคนบ้านหมี่ ครับ ญาติพี่น้องทางคุณพ่ออยู่ที่บ้านหมี่มากมาย  เชื้อสายของคนพวนมีหลายสาย  นครนายก ก็มี  ลาวพวนบ้านหนองโดน สระบุรี ก็มี  ผมสืบเชื้อสายมาจาก  "นายฮ้อยเพชร"  ครับ  ตระกูลพี่น้อง จะนามสกุล  เพชรรุ่ง  เพชรใส และอื่นๆ  ดีใจครับที่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน  ถ้าคุณPจำได้   ศศิธร  เพชรรุ่ง  ดาราภาพยนตร์มาจาสายนครนายกครับ  และ  นวลฉวี  เพชรรุ่ง นางพยาบาลในเรื่อง "นวลฉวี" นั้น ก็คือคุณอาของผมครับ  แน่นอนครับ ประวัติชาติพันธุ์ลาวพวนผมได้รวบรวมศึกษาไว้พอสมควร ผมคงลิงค์มาไว้อ่านแน่นอนครับ  ขอบคุณมากครับ

ผมกำลังศึกษาเรื่องราวของชาวบน เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีอยู่ในพื้นที่ของผม คือ ท้องที่ตำบลตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา แต่ภาษาวัฒนธรรมเริ่มตาย คงเหลือแต่คนแก่ ผู้เฒ่า มีความคิดว่าจะอนุรักษ์ไว้

หากท่านใดมีความรู้ ขอคำแนะนำด้วย ผมพอมีรูปถ่ายปัจจุบันอยู่นิดหน่อย

ขอบคุณมากครับ

ภูเด็กแนว ศิลปินเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตสไตล์แนวแนว

ภูมิลำเนา อ.หนองแซง จ.สระบุรี

กับเพลงสาวมัธยมที่กำลังมาแรงกับกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนในขณะนี้

www.poodeknaew.com

หรือเข้าgoogleพิมพ์คำว่า ภูเด็กแนว แล้วค้นหาครับ

ขออนุญาติฝากเว็บไซต์นะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

คุณเผชิญสนใจเรื่องนี้ ผมเองก็สนใจเรื่องนี้มากครับ หากใครมีข้อมูลกรุณาแจ้งข้องฝากไว้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ภูเด็กแนว ศิลปินเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตสไตล์แนวแนว

ภูมิลำเนา อ.หนองแซง จ.สระบุรี

www.poodeknaew.com

หรือเข้าgoogleพิมพ์คำว่า ภูเด็กแนว แล้วค้นหาครับ

ขออนุญาติฝากเว็บไซต์นะครับ ขอบคุณครับ

เรียน คุณกรเพชร

อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ได้จัดงานเฉลิมฉลอง 100ปี ปักธงชัย (อายุครบ100ปี) ซึ่งเริ่มงานระหว่างวันที่ 2 - 8 ธค.51 และเมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2551 หน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลตำบลตะขบ เทศบาลตำบลบ่อปลาทอง เทศบาลตำบลลำนางแก้ว และ องค์การบริหารส่วนตำบลตะขบ ได้จัดการแสดงวิถีชีวิตชาวบน เป็นที่น่าสนใจยิ่ง โดยจัดการแสดงตั้งแต่ชีิวิตความเป็นอยู่ทั้งหมดของชาวบน ตั้งแต่เกิด จนตาย มาแสดงบนเวที

ทั้งนี้มีคณะนักเรียน ครูมาจาก รร.บ้านวังอ้ายคง อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ ซึึ่งมีชาวบนปัจจุบันอาศัยอยู่หนาแน่น มาร่วมแสดง และเป็นพิธีกรในรายการแสดงด้วย

รายละเอียดข่าวดูจากเวบของเทศบาลตำบลตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

http://www.nmt.or.th/korat/takhob/

มีข้อมูลเพิ่มเติมขอด้วยครับเชิญที่เวบบอร์ดได้เลย

โกหกชัดๆที่ว่ามีคนพูดภาษไทยกลางมากกว่าภาษาอิสาน ถ้าเป็นการวิจัยก็คงเจตนาใช้เครื่องมือให้ออกมาเป็นแบบนี้ 555 ตลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท