เรื่องนี้ท่าจะยาว...มั้ง (2): The Check-In (สมบูรณ์)


 The Check-In

 

การ check-in เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่วงสุนทรียสนทนา "ฉวยโอกาส" ในการเตรียมตัวทั้งกระบวนกร (facilitator) และคนเข้ากระบวน ให้พรักพร้อม รวบรวมสมาธิ สะสางปรับสภาวะจิตให้แน่วแน่ เพื่อการเรียนรู้ถึงที่สุด รวมทั้งการเรียนรู้ได้แม้แต่ในสิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง คาดหมาย หรือหวังแม้แต่น้อย สภาวะจิตตื่นรู้ที่เตรียมมาเป็นอย่างดี ก็จะรับได้ เรียนได้ รู้ได้

 

เพื่อความเป็นขั้นตอนที่ง่ายสำหรับคนอ่าน ขอเอาอารัมภบทหลักสูตรตอนกลางคืนมาขึ้นก่อน คือเป็นแผนที่ (เขาวงกต)

 

ในหกคืนเจ็ดวันนี้ โยดาจะนำพวกเราศึกษาดังนี้

  1. State of consciousness หรือสภาวะจิต พลังสภาวะ จิตตื่นรู้

  2. Shadow การทำงานกับ "เงา"

  3. Stage of consciousness ระดับจิตร่วม หรือ จิตร่วม

ทั้งสามหัวข้อเป็นการขอยืมกรอบมาจากแนวคิดของ Ken Wilber นักคิดร่วมสมัยผู้ได้มีผลงานจำนวนมากมายเกินนับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง เรื่องของ integral psychology และ spirituality ทั้งสามหัวข้อก็จะสานสนปนเปกันไป แบ่งเป็นหัวข้อละสองวันสองคืน ผนวกกับอะไรก็ไม่รู้อีกหนึ่งวันสุดท้าย (แล้วแต่ญานทัศนะ)

 

check-in

 

ปรากฏว่าตอนนี้สมาชิกยังไม่ครบองค์ที่จะมา ขาดกำลังจากเชียงใหม่ ซึ่งจะไปปฏิบัติกิจที่แพร่ก่อน ค่อยตามมาในคืนวันที่ 29 พฤษภาคม ตอนนี้ก็มองๆไป รู้สึกคุ้นหน้าตาพอสมควร จากหาดใหญ่มาสามคน คือผมเอง คุณแย และอ.อาภรณ์ ก็เป็นมาจากสงขลานครินทร์ล้วนๆ มองไป อ้อ มีพี่หมู เป็นผู้ช่วยกระบวนกรด้วย จากใต้ก็มีพลพรรคจาก รพ.สมเด็จพระยุพราช ฉวาง มาด้วย ข่าวว่าขวัญเมืองลงไปเจิมขวัญมาบ้างแล้ว ผอ. เป็นหมอจบศิริราช รุ่น "ไล่ๆหลัง" ไม่ห่างกันจนเกินไป (ทุกคนโปรดยืนยันในประเด็นนี้ เข้าใจ๋) มีวิสัยทัศน์เห็นว่าสุนทรียสนทนาน่าจะมีอะไรดีๆให้ ก็เลยพาน้องนุ่งใน รพ. มาร่วมกิจกรรมด้วย

 

มีหนุ่มสุวิทย์มาจาก IBM อื้อ หือ คราวนี้ดีจริงๆ มีเสริมมานอกเหนือวงการสาธารณสุข ที่ดูเหมือนจะเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ (เท่าที่ผมได้มาร่วม) ของ workshop สุนทรียสนทนา

 

แล้วก็ขาประจำ สปร. (สวรรค์ประชารักษ์) นครสวรรค์ ที่เคยพบหน้าตาบ้างแล้วในงานนำเสนอผลงานสุนทรียสนทนาที่ National Forum เมื่อเดือนมีนาคม (แสดงถึงความเป็นแฟนพันธุ์แท้อันเหนียวแน่น) แล้วก็ทราบข่าวว่าคุณนา ผอ.กระทิงเจ้าน้ำตาของเราจะตามมาในไม่กี่แวบนี้เอง พึ่งเสร็จจากการทำ workshop โรงเรียนพ่อแม่ โดยโยดาลงไปประกอบกิจเอง

 

เมืองน่านก็มีพยาบาลจากปัวมาหลายคน รายงานว่าท่านผอ. กำลังตามมา อืม.... แถวภาคเหนือนี้ ผู้บริหารเขาชอบสนทนากันดีเนอะ (partly judgmental attitude อดมิได้...)

 

จากแพร่แห่ระเบิด ก็เห็นอ.ประสาท เทพกีตาร์ปากกามาร ของเราเดินแผ่รังสีเบิกบานมาแต่ไกลพร้อมหีบกีตาร์คู่ชีพ พี่ยักษ์จากนครพิงค์พาลูกสาวมาด้วย เราก็ทราบว่าวงดนตรีนำเข้าคราวนี้ไม่ธรรมดาแน่นอน สมาชิก สมรรคพรรคพวกของเชียงราย อ.วิศิษฐ์ พี่วิธาน อ.มนตรี คุณน้อง อยู่กันพร้อมหน้า และในระหว่างนี้ก็มีอ.ฌานเดชผลุบเข้าผลุบออกตามวาระอันควร เช่นเดียวกับณัฐฬส ที่พาน้องอ้อเดินเข้าเดินออก เป็นระยะๆ

 

อาจารย์วิศิษฐ์แจ้งและยืนยันข่าวพิเศษหลายประการ

  1. วันที่ 28 เป็นวันคล้ายวันเกิดอาจารย์
  2. วันที่ 30 เราจะมีงานเลี้ยงวันเกิดอาจารย์ ณ Le Petit ดังนั้น workshop ภาคกลางคืนของเราก็จะย้ายไป Le Petit (พร้อมเค้ก เครื่องดื่ม ชาเขียว ฯลฯ ฟรี!!!!)
  3. ในวันเดียวกันเราจะได้พบพี่สมพล ผู้ศึกษา voice dialogue ลง deep และอย่างมี styles จะมาช่วยเสริมวิทยายุทธภาคพิศดาร
  4. Peter Hurst อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนาโรปะ จะมาพร้อมกับภรรยา Loren ที่เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา contemplative psychology เป็น psychotherapist และรั้งตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯด้วย จะมางานของเรา ซึ่งคงจะมีโปรแกรมแลกเปลี่ยนอะไรๆแน่นอน
  5. Special guest อีกท่าน  คือผู้ดูแล Peter Hursrt ก็คือคุณเอเชีย (ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ) ผู้มีวาจาดั่งดวงแก้ว อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ (biology) ม.มหิดล จะมาอยู่กับพวกเราด้วยในช่วงครึ่งหลัง

เนื่องจาก theme เป็นมหกรรมกระบวนกร ดังนั้น basic requirement จะเป็นคนมาร่วมจะเคยผ่านหลักสูตร workshop มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ต้องมีปูพื้นอะไรมากมาย แต่จะลง deep ไปเลย ซึ่งก็สะท้อนได้จากสิ่งที่อยู่ในใจของแต่ละคนที่พกพาความหวังมา

 

ทาง ม.อ. เองพึ่งจัดสุนทรียสนทนาที่สวนสัตว์สงขลา (มหัศจรรย์สังสรรค์สนทนา (1)) และการณ์ก็ปรากฏ (อย่างที่ได้คาดหมาย) ก็คือ คงจะมีการจัดเสริมอีกครั้ง (และอีกครั้งๆ) ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเมื่อไรเท่านั้น hidden agenda ของคนที่มา (ก็คือผมและแย) ก็ไม่ได้ hidden อะไร เล่าให้ฟังว่าเราคงจะมีแผนทำให้เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากที่สุด ดังนั้นใน scale ของ 3000 คนบุคลากร เราน่าจะมีการเตรียม local facilitator ไว้ด้วย ทั้งเพื่อประโยชน์ด้านความครอบคลุม timing, schedule, cost, และ maintenance, sustainability ฯลฯพูดสั้นก็คือ เราจะกลับมาทำอะไรดี เหมือนๆกับเกือบหมดทุกคนนั้นเอง

 

check-in เป็น semi-ritual เพราะคนไม่ครบ บรรยากาศทั่วๆไปผสมๆระหว่าง refreshing เพราะพึ่งเป็นวันแรก กับงงๆนิดๆว่าจะทำอะไรกันดีหว่าตั้งเจ็ดวัน (บางคนก็ใช้ scale อื่น เช่น ตั้งสองหมื่นกว่าบาท!!)

 

กิจกรรมแรก Waldolf Painting

 

ตอนบ่าย หลังเด็กๆตื่นนอน เอ๊ย ไม่ใช่ ทำ bodyscan เสร็จเรียบร้อย พี่หมูก็นำเข้าสู่กิจกรรมรูปแบบใหม่ คือ Waldolf painting สำหรับ Waldolf นี้ บางคนในวงการศึกษาอาจจะเคยได้ยินมา คือ concept ของ Rudolf Steiner นักการศึกษาและนักปรัชญาชาวออสเตรีย ที่คิดว่าอยากจะมีระบบการศึกษาที่สัมฤทธิ์ผลสามอย่างคือ

  • clarity of thought
  • sensitivity of feeling
  • strength of will

กระบวนคิดที่ใสกระจ่าง อารมณ์ความรู้สึกที่ไวไหว และเจตนาญานที่ทรงพลัง

 

ซึ่งปรากฏว่าปาฐกถาของ Steiner โดนใจกลุ่มชาวโรงงานยาสูบที่ Walkdolf-Astoria อย่างมาก ก็เลยเสนอให้ Steiner สร้างโรงเรียนแบบที่ว่านี้ สำเร็จเป็นแห่งแรกที่ Stuttgart ในปี 1919

 

Principles ของ Waldolf
ปรัชญาการศึกษาของ Steiner หรือ Waldolf school นั้น มาจากทฤษฏีการพัฒนาปัญญาสามจังหวะของชีวิต คือ จากแรกเกิดจนถึงเจ็ดขวบ เจ็ดขวบจนถึงสิบสี และสิบสี่ปีจนถึงยี่สิบเอ็ดปี ซึ่งศักยภาพของเด็ก และความต้องการในการพัฒนาแตกต่างกัน จากปรัชฐาเบื้องต้นสามข้อ จะครอบคลุมทั้งด้านความคิดวิเคราะห์ อารมณ์ความรู้สึก และความหวังตั้งใจมั่นเจตนา ในช่วงระยะเริ่มต้นก็จะเป็นการพัฒนาการคิด ความต้องการ (will) ก่อน ต่อมาในระยะที่สองก็จะเป็นการหล่อหลอมอารมณ์ความรู้สึก และในที่สุดระยะสุดท้ายก็จะเป็นการพัฒนาปัญญาฐาน หรือ กระบวนความคิด 
การสอน การเรียน จะไม่มีการบีบบังคับ แต่จะเน้นที่ความปราถนาเรียนรู้ ปกป้องรักษาไว้ซึ่งพลังทางอารมณ์ความรู้สึก และความต้องการพื้นฐาน ซึ่งโรงเรียนทั่วๆไปอาจจะไม่ให้ความสำคัญ เนื่องจากไปเน้นด้าน cognition หรือเนื้อหาปัญญา ความรู้มากเกินไป เด็กๆที่ถูกกดดันฐานปัญญาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะมีความทุกข์ เพราะฐานความต้องการพื้นฐาน (will) และฐานอารมณ์ ความกระตือรือร้นสนใจของเด็กๆไม่ได้ถูกดูแล เป็นผลทำให้บางคนกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ฐานอารมณ์บกพร่อง

ส่วนวิธีการทำนั้น ก็จะประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ได้มีการออกแบบมาให้ตรงกับฐานที่ต้องการพัฒนา อาทิ ในระยะต้น การแสดงตัวอย่าง การเรียนแบบบูรณาการ เชื่อมโยง มากกว่าการเน้นแยกแยะเป็นวิชาๆ หลักสูตรหล่อหลอมเข้าหาเด็ก ไม่ใช่ในทางตรงกันข้าม เด็กๆจะถูกให้เวลาเต็มที่ในการพัฒนาตามจังหวะความเร็วของตนเอง
 

 

ทีนี้เรากลับมาเป็นเด็กกันใหม่ เป็นโอกาสอันงามที่เราจะได้ซ่อมแซมฐานอะไรที่ขาดตกบกพร่องไป หรือถ้าไม่ขาด การได้ย้อนกลับไปหาศักยภาพการเรียนแบบเด็กๆนั้น จะทำให้จินตนาการเราเติบโตได้อีกครั้งหนึ่ง กลับไปสู่บรรยากาศที่ปลอดภัย รับได้ไม่มีขอบเขตจำกัด เปิดโอกาสให้ของใหม่ๆเข้ามาสู่อัตตาของเราได้อีกครั้ง

 

เด็กๆ ก็เริ่มร้องเพลงจากวงใหญ่ ครู (พี่หมู) ก็เดินมาจูงมือเด็กคนแรก ทำสัญญานให้จูงมือคนต่อๆมา ลุกขึ้น เดินตาม ร้องเพลง จนได้แถวที่คนเชื่อมโยงกันร้อยเป็นสาย เดินร้องเพลงในห้อง เดินๆไป ปรากฏว่าพี่หมูเดินทะลุประตูออกไปนอกห้อง (เอ่อ... ไม่ได้ "ทะลุ" แบบนั้นนะครับ) เด็กๆหยีตาลงเล็กน้อย เพราะนั่งอยู่แต่ในห้องมาเกือบทั้งวัน เดินไปตามระเบียง ลงไปในสวน ก็เห็นโต๊ะไม้สี่เหลี่ยม จัดเป็นแถวรออยู่แล้ว โต๊ะตัวแรกวางอุปกรณ์หลายอย่าง มีกระดาษวาดเขียนแผ่นใหญ่ เนื้อแน่น สีขาว แช่น้ำจนชุ่มทั้งแผ่น แก้วสีน้ำหลายแก้ว เห็นสีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง

 

ครูหมูให้แบ่งกลุ่ม 4 คน แต่ละคนมารับกระดาษไปคนละใบ และสีกลุ่มละสี เริ่มต้นจากสีน้ำเงินก่อน แล้วก็บอกให้เราระบายลงไปในกระดาษของเราเอง ของใครของมัน แต่ละคนจะได้พู่กันขนาดใหญ่ (มาก) หนึ่งด้าม ผ้าขนหนูม้วนๆเป็นมัด ไว้ซับน้ำ 1  ผืน

 

จะเริ่มวาด ครูก็สอนให้ไล่น้ำส่วนเกินออกจากกระดาษก่อน โดยกลิ้งผ้าขนหนูบนกระดาษ เตือนให้เด็กๆดูแลน้ำล้างพู่กัน และเช็ดตัวให้น้องพู่กันด้วยเมื่อจำเป็น เสร็จแผ่นแรก ก็ให้เอาไปตากลมริมกำแพง รับแผ่นใหม่มา แต่คราวนี้ใช้สามสีเลย หลังจากนั้นก็ล้อมวงคุยกันว่าเกิดอะไรขึ้น

 

บทสะท้อนบทเรียนระบายสี

 

สีน้ำเมื่อโดนสัมผัสกระดาษชุ่มน้ำ มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด ก็คือ "ซึม" เป็นความจริงที่นักเรียนทุกคนค้นพบอย่างรวดเร็ว เป็นการซึมที่ตอนแรกเหมือนจะไม่มี pattern ซึมแตกแขนงไปตามเยื่อกระดาษ เกิดรูปแบบใหม่ตามอำเภอใจ การตั้งใจจะวาดเป็นรูปที่มีรายละเอียดดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ เพราะปลายภู่กันก็ใหญ่ น้ำก็เยอะ บวกกับการซึมไร้ทิศทางเข้าไป (แถมบางโต๊ะที่ตั้งบนสนาม ยังเอียงด้วย!!)

 

เส้นสีที่ตัดกัน ณ จุดไหน ก็จะมีการเสวนาเกี่ยวพันและเกิดปฏิกิริยากัน ณ จุดนั้นๆด้วย

 

ที่จรงิการระบายสีเดียว ก็ไม่เชิงสีเดียว เพราะเป็นการเล่น contrast กันระหว่างสีน้ำเงินที่เรากำลังระบาย และพื้นสีขาวของกระดาษ ณ ขณะนั้น ผลงานของเรามีสองสี จึงประกอบกันเป็นภาพที่เรามองเห็น

 

พอใช้สามสี คือ แตง เหลือง และน้ำเงิน คราวนี้สนุกมาก สีทั้งสามสี และพื้นสีขาว เริ่มมีบทบาทแบบ chaos หรือ semi-chaos สุดแต่ความพยายามในการควบคุมสีเป็นไปได้สักกี่มากน้อย ไม่เพียงแต่คุณสมบัติเบื้องต้นของสีน้ำที่เราได้ค้นพบตอนระบายสีเดียว แต่เรายังค้นพบบุคลิกภาพส่วนตัวของแต่ละสีด้วย

 

น้ำเงิน อบอุ่น โอบรับ โอบล้อม อุ้มสี

แดง เจิดจ้า แทรงแซง กินพื้นที่ ชัดเจน

เหลือง อ่อนโยน อิงแอบ กลมกลืน

หลายคนบอกว่า ตอนแรกที่เห็นสีวิ่งไปมา ไร้ระเบียบ รู้สึกขุ่นข้อง ไม่ได้ดั่งใจ ก็เกิดพฤติกรรมที่หลากหลายในการแก้ปัญหา

  • บ้างทดลองหาทางควบคุม ซับน้ำให้แห้ง ใช้สีให้น้อย

  • บ้างศึกษาพฤติกรรมของสี ระบายยังไงไปยังไง จะได้ควบคุมดีขึ้น

  • บ้างปล่อยเลยตามเลย ฉันไมคาดหวัง ฉันก็ไม่ผิดหวัง

  • บ้างทดลองผสมจนสีช้ำ

  • บ้างวาดเส้นห่างๆกัน ไม่แตะกัน

  • บ้างมองดูสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ศึกษา สังเกต

  • บ้างแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเป็นเปลาะๆ เกิดอย่างนี้ งั้นฉันทำอย่างนี้

  • หนีปัญหา ศึกษาปัญหา แก้ปัญหา ไม่มีปัญหา ต่างก็เป็นวิธี 

  • การระบายสีได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ พฤติกรรมของสีกลายเป็นพฤติกรรมของลูก ของนักเรียน ของเพื่อนร่วมงาน ศิลปินจำเป็นกลายเป็นผู้นำองค์กร พ่อแม่ ครูอาจารย์ ภู่กัน กระดาษ กลายเป็นสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมองค์กร บ้าน โรงเรียน

    มหัศจรรย์!!

     

    คำสำคัญ (Tags): #check-in#steiner#waldolf
    หมายเลขบันทึก: 100668เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท