The Theory U in Action (Observer's analysis-commentary edition)


The Theory U in Action (Observer's analysis-commentary edition)


ตอนนั่งรถกลับจาก สปร ไปดอนเมืองกับ วฆ เราก็ได้สนทนาฆ่าเวลาไปเรื่อยๆ มีการ review หนังสือกำลังภายในที่เคยอ่านกันมา นักประพันธ์ อาทิ นักเขียนปิศาจโกวเล้ง นักเขียนคงแก่เรียนอย่างกิมย้ง นักเขียนจินตนาการอย่างอึ้งเอ็ง (กระบี่ไร้เทียมทาน พยัคฆ์ลำพอง) บู๊ดุเดือดอย่างลิ่วชั้่งเอี๊ยง (มือปิศาจ หรือ งึ่นงู้กัก เขาวัวเงิน) ไล่เลียงบุคลิกของตัวละคร รู้สึกทึ่งที่นักเขียนอัจฉริยะเหล่านี้เขียนตัวละครได้อย่างมีชีวิตชีวา บรรยายจนกระทั่งเราเองสามารถเดาได้ว่าตัวละครตัวนี้น่าจะทำอะไรต่อเมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้ นั่นเป็นเรา "เข้าใจ" ในตัวละครนี้จริงๆ

เข้าใจได้ในระดับ sensing เลยนะนี่!!

อืม... น่าสนใจ แสดงว่ามี "process" ที่จะช่วยเราให้เข้าใจกระบวนวิถีคิดของผู้อื่น สามารถรู้สึกเสียใจ อึดอัด คับข้องใจ เหมือนลี้คิมฮวงจะยกภรรยา บ้านช่อง ให้เพื่อนสนิท ยินยอมทรมานตนเอง เหล็งฮู้ชงยินยอมทอดทิ้ง mission ขอเพียงได้คำให้อภัยจากงักปุกคุ้ง ยอมถูกกระบี่เสียบอกพ่ายแพ้ เพียงเห็นรอยยิ้มของซือม่วยที่แต่งงานไปกับผู้อื่น เห็นความรู้สึกของอุ้ยเซี่ยวป้อที่ไม่ยอมทรยศต่อคังฮีแต่ก็ไม่อาจทรยศต่อสมาพันธ์นักสู็ได้ มองทะลุตัวละครอย่างตวนอื้อ เจียวฟง และซีจู๋ ในแปดเทพอสูรมังกรฟ้า แต่ก็ยังคลางแคลง ประหลาดใจในหนทางออก ในสิ่งที่คนเหล่านี้ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเอง สามารถสะเทือนใจและรับรู้จิตใหม่ที่ผุดบังเกิดหลังจากการเสียสละแต่ละครั้ง การตัดสินใจแต่ละครั้งได้อย่างลึกลงไปในตัวตนเราเองทีเดียว

น่าจะเป็นเพราะเราผ่อนคลาย ปลอดภัยเต็มที่ขณะอ่านกำลังภายใน เราทุ่มตัวตนของเราเข้าไปอยู่ในวังวนมหาสมุทรอักขระนับหมื่นแสนตัว และ... อา.... ทอดทิ้งตัวตนของเราไปเสีย รับรู้เรื่องราวของตัวละครเสมือนเราเองที่อยู่ในเหตการณ์.... รึเปล่า??



แล้วมันเกี่ยวอะไรด้วยฟะ?

อา... เกี่ยวสิๆ hightlight ของงานนี้คือ momentum ทั้งหมดหมุนเหวี่ยงมาที่บ่ายวันที่สอง ที่แตก routine (คนเข้าร่วมไม่ทราบ เพราะเป็นครั้งแรก หรือไม่ก็ไม่ทราบว่า routine คืออะไร) ที่กระบวนกรเฝ้าสังเกต เฝ้าลุ้น ความสดใหม่ หน้าที่ส่วนหนึ่งของกระบวนกรก็คือ ค้นหา สังเกต เฟืองส่งแรงหมุน ว่าวงไหนเป็น key วงไหนเป็นตัวกระตุ้น ในที่นี้น่าจะพิจารณาบทที่ 21 ของชามเมอร์กันให้ดีๆอีกสักครั้ง

และเอาแค่ co-initiating ก็พอ

บทเรียนชิ้นสำคัญที่ผู้เข้าร่วมของชามเมอร์สรุปไว้คือ listening listening listening เพื่อเข้า seeing และ sensing ให้ได้ สลัดหลุดแม่ประแจที่ล็อก open mind ออกเพื่อจิตตื่นรู้ มองเห็นว่าตัวตนของเราเองที่มีบทบาทในการปรุงแต่งเรื่องราว ในการแปลเรื่องราว มากมายเพียงไร I in me และปลดสลักแม่ประแจตัวที่สอง open heart ออกเพื่อใจกระจ่าง รับรู้ความรู้สึก ความเห็นของ key player ใน field ณ ขณะนั้น I in You

และมาประเด็นสำคัญคือ รอคนถามคำถาม คำถามที่เป็นเสมือนลางสังหรณ์บอกเหตุ เสมือน premonition clues เป็นคำถามที่ซ่อนเร้นอันตัวตนของเราเองนั่นแหละ แอบถามมาหลายต่อหลายครั้ง เพราะเป็นประตูของจุดประสงค์ของเราที่เกิดมา แต่มักจะถูกสลัดท้ิงไป ไม่ตอบ เพราะไม่กล้าตอบ ไม่ปลอดภัย ไม่มีบริบท ไม่มีคำตอบ กลัวว่าไม่มีคำตอบ กลัวว่าจะล้มเหลว กลัวจะสูญเสีย สูญเสียสถานะ ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมอันคุ้นเคยในเดี๋ยวนี้ไป

คนเรากำลังรอคำถามนี้ มาอีกครั้ง ณ เวลาจวบบรรจบที่เหมาะสม

ชามเมอร์บอกว่า ณ เวลานั้น จะปรากฏเพียงชั่วแว่บเดียว เหมือนฟ้าผ่ากลางฤดูแล้ง มาอย่างไม่มีที่มาที่ไป มาเพราะความซับซ้อนสับสนของกรรม (complexity of karma) เหมือนอย่างนิวตันเห็นแอปเปิ้ลตก แต่ถ้าเราตอบสนองต่อ premonition clue นี้ได้ เราจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้ตลอดไป

ก่อนอื่นเราต้องทำให้เขามาหยุดยืนอยู่เบื้องหน้าสถานภาพที่เขาเปี่ยมศักยภาพทีแท้จริงเสียก่อน
คือไม่มีกั๊ก
ไม่มีความกลัว
ไม่มีอะไรที่จะต้องสูญเสีย
หรือมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จะต้องสูญเสีย
เพื่อ absolute vulnerable หรือ ความเปราะบางที่สุด

ทำไม?

มนุษย์ติดกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส จนกระทั่งทอดทิ้ง ลืมเลือน สัมผัสอื่นๆ ถ้าเรามองไปรอบๆตัว จะพบประสาทสัมผัสที่ว่านี้มีอยู่ในสัตว์ที่วิวัฒนาการมาก่อนเรา นั่นคือ สัมผัสแห่งการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ





เป็นระบบสัมผัสที่ทำให้เราเชื่อมโยงกับนิเวศรอบตัวเรา สื่อสารกับข่าวสารสาระต่างๆที่ธรรมชาติจะพูดคุยสนทนากับเรา  มดจึงขนไข่หนีน้ำ นกจึงอพยพนับพันนับหมื่นไมล์ได้โดยไม่หลง ผึ้งจึงอธิบายแหล่งน้ำหวานที่ห่างออกไปนับกิโลได้อย่างแม่นยำ

แต่ทว่ามนุษย์เราปรนเปรอ และหลงติดกับประสาทสมัผัสทั้งห้าอย่างดิ่งลึก เสพย์สุนทรีย์ทางภาพ รส เสียง กลิ่น สัมผัส จนไม่เหลือที่ให้ประสาทสัมผัสกับธรรมชาติได้มีที่เลย ไม่จนกว่าเราจะจำเป็นต้องใช้อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อเราเปราะบางที่สุด

เมื่อเราเปราะบาง เราจะเพิ่มความไวในการรับรู้ความจริงหลายๆประการที่พยายามสื่อสารกับเรามาโดยตลอด ทราบว่าร่างกายเรานั้นออกแบบมาอ่อนนุ่ม เปราะ สลาย ไม่ยั่งยืน ทราบว่าจริงๆเราสามารถรับรู้ความเมตตา กรุณา เพียงคนมายืนอยู่ใกล้ๆ ทราบถึงความ ignorance ที่คนมาเยี่ยมไม่ได้รู้สึกผูกพันอะไรจริงจัง อาจจะมาเพียงแค่ตามหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์แอบแฝง



เพื่อที่เราจะได้ไขว่คว้า จับต้อง ยึดเหนี่ยว ความเมตตากรุณาจากผู้อื่นได้

ถึงตอนนั้นจะเปราะบาง เมื่อเราแวดล้อมด้วยกัลยาณมิตร เราก็พร้อม ความพร้อมนี้เองที่ทำให้เรา "ขานรับ" คำถามสำคัญที่สุดได้ คือ Listen to What Life calls you to do

เนื่องจากการจะให้คำถามนี้ผุดบังเกิดในธรรมชาติ เราจะต้องหน่วง (hold tension) อยู่ ณ จุดนั้นนานพอ ตรงนี้ชามเมอร์บอกว่าต้องแวดล้อมด้วยคนที่มีวาระสอดคล้อมกลมเกลียวกับของเราด้วย สำคัญมากที่จะทำให้ประคับประคอง ทะลุผ่าน

นี่เองคือ "บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร ของเจ้าหน้าที่ PCU ของเราต่อพ่อแม่พี่น้อง"

ผมคิดว่ากระบวนการที่ที่่ผ่านไปที่ สปร ครั้งที่สามนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ต่อตัวผู้ป่วยอย่างมาก แต่สำหรับอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ PCU ไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาสะท้อนไปถึงอะไรได้เกิดขึ้นบ้าง แน่นอน ผมคิดว่าทุกคน "ได้" ในส่วนตัวตนของตนเอง แม้แต่อาสาสมัครเองก็จะเดินเฉียดจุดที่ศักยภาพของตนขึ้นไปสุดยอด แต่พลังสภาวะอาจจะไม่ได้เสริมคำถามสำคัญในฐานะอาสาสมัคร แต่เป็นคำถามสำคัญในฐานะคนๆหนึ่ง เสมือนคนไข้คนหนึ่งเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าอาสาสมัครกำลังทำอย่างที่เราแนะนำไปห้าข้อ คือ unconditional love, safety zone, belief in others, non-judgmental และ for you ในข้อสุดท้้าย เราขอให้อาสาสมัคร "ทำเพื่อเธอ" ที่อยู่เบื้องหน้า ส่งเสริมดันให้พี่ป้าน้าอา เดินทะลุกำแพงไป

ขอเพียงใครสักคนในอาสาสมัคร กลับมาหล่อเลี้ยงพลังสภาวะซึ่งกันและกันต่ออีกหน่อย อย่างต่อเนื่อง เราก็จะเห็นการผุดบังเกิดหมู่ของเหล่าผีเสื้อได้อย่างพร้อมเพรียงกัน

เป็น 15-minute session ที่ วฆ ได้ค้นพบ สวยงาม สวยงามมาก


คำสำคัญ (Tags): #theory u
หมายเลขบันทึก: 138043เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ชอบใจบทความนี้นะคะ เพราะเริ่มต้นก็ดึงดูดใจ เนื่องจากชอบนิยายกำลังภายในเหมือนกัน แล้วยิ่งพูดถึงลี้คิมฮวงแล้วด้วย จะบอกว่าเป็นพระเอกนิยายกำลังภายในที่ตนเองชิงชังมากที่สุด อาจเป็นเพราะเขาเป็นตัวเองที่ได้รับยกย่องจัง ว่าเป็นจอมยุทธวีรบุรุษ ยิ่งคนยกย่องแค่ไหน ก็ยิ่งชิงชังแค่นั้น เพราะรู้สึกว่าเห็นแก่ตัว ..... (เอ๊ะ ชักอินเกินไปมั้ยเนี่ย อิอิ)

และเห็นด้วยว่า หลายครั้งที่เข้านับการอบรม มักบ่อยครั้งที่มีคำถามอยู่ในใจ ที่อยากจะถาม อยากจะร่วมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่เกือบทุกคำถามมักถูกสกัดด้วยความรู้สึกที่ว่า

  • เกรงว่าคนอื่นจะคิดว่าไร้สาระ 
  • เกรงว่าไม่เหมาะสม
  • เขาจะตอบไหม
  • ปลอดภัยไหม
  • จะเสียเวลาไหม เพราะมันหมดเวลาแล้ว
  • ฯลฯ

และบ่อยครั้งที่คำตอบที่ได้ ไม่ค่อยเคลียร์ แต่ถ้าจะถามต่อก็เกรงใจวิทยากร เกรงใจคนอื่นๆ สุดท้ายก็ช่างเถอะ เลยตามเลย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท