พื้นที่อันปลอดภัย


พื้นที่อันปลอดภัย


ในมันดาลา ปัญญาห้าสีสัน คล้ายจะล้อเลียนสี่ทิศ แต่ก็ไม่เหมือน รัตนา ปัทมะ วัชระ กรรมะ และพุทธะ มีห้าสีสัน จะขออนุญาตเชื่อมโยงกับวาระหลัก คือ เด็กน้อย ความจริงแท้ (authentic) วาระแห่งชีวิต และน่าจะเลยไปถึง ห่วยได้ ไม่ยี่หระด้วย (กำลังปั่น rating ครับ ทนหน่อยก็แล้วกันนะ ช่วงนี้ อิ อิ  ยิ้มกว้างๆ แลบลิ้น แลบลิ้น)

พุทธะ หรือ อากาศธาตุ จะเป็น key สำคัญ ธาตุอากาศ คือ space ที่ว่าง ที่ว่างนี่เองที่ทำให้เราสามารถขยับ สามารถจะทำ manoeuvre ได้ เหมือนขับรถเข้าซอย เจอซอยตัน แล้วเราต้่องทำ three-point turn นั้นแหละครับ ถ้าที่ไม่พอ คือไม่มี space เราก็ต้อง "ถอยดะ" ออกมา (เหมือนกับการนั่งรถแอ๊ด ที่วันก่อนก็อุตส่าห์ขับพาไปเจอซอยตันในเชียงรายจนได้ เป็นซอยที่มีลักษณะพิเศษคือ ค่อยๆเรียวลงๆ จนหน้าหม้อรถจ่อรั้วไม่มีที่ข้างๆเหลือเลย จำต้องถอยโลดออกมากว่า 200 เมตร)

ชีวิตคนเราคงจะดีไม่น้อย ถ้าเรามี "เนื้อที่ขยับเนื้อตัว" เพื่อจะทำ manoeuvre ได้ในยามจำเป็น

ผู้นำสิ่ทิศนั้น มีกินพื้นที่คือกระทิง หมี อินทรีย์ ไม่มากก็น้อย คนถูกกินก็จะเป็นหนูซะเยอะ จะว่าไปคนเป็นกระทิงจะสวมวิญญาณกระทิงกลับใจ ก็เขินๆ ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะหุบเก็บเขาอย่างไร นี่ก็เป็นเพราะความเป็นกระทิงของตัวเอง ไม่เหลือพื้นที่ให้กลับตัวกลับใจเหมือนกัน

ถ้าพูดในภาษา voice dialogue ก็น่าจะเป็นว่า หากจะให้ primary selves หรือพี่ใหญ่ตัวโตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นท่านวิจารณ์ ขุนอุดม พี่ระเบียบ  อาสมบูรณ์ อนุญาตให้เฮียอาแวร์ทำงานได้ ก็ต้องเริ่มจาก "หาพื้่นที่" เสียก่อน ทั้งที่ถอยของอาเฮียใหญ่ทั้งหลาย และที่ว่างให้เฮียอาแวร์ เสร็จแล้วก็พื่นที่ปลอดภัยให้เจ้าตัวเล็ก หรือเด็กน้อย ได้ออกมาจากห้องใต้ถุน ออกมาจากเรือนจำ มาสูดอากาศบริสุทธิ์กันบ้าง

พวกเราอาจจะได้เรียนรู้ว่า เมื่อไรก็ตามที่เราไม่เหลือพื้นที่ไว้เลย ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาก็หมดไป เรื่องราวต่างๆเต็มไปด้วยทางตัน ทั้งๆที่มีทางออกเต็มไปหมด แต่สำหรับตัวเราเองนั้นทุกอย่างมืดมน อนนธกาล ไม่มีแสง ไม่มีเนื้อที่ เต็มไปด้วยความทุกข์ถึงที่สุด ณ จุดนั้น เป็นการวัดความตึง ความหย่อนได้ ของจิตสภาวะอย่างยิ่งยวด และจิตของแต่ละปัจเจกก็มีความยืดหยุ่นนี้ไม่เท่ากัน ถ้าจะอธิบายด้วยสี่ทิศ ก็คือ เราเปิดช่องว่างให้ความเป็นไปได้ของทิศอื่นๆมาทำงานมากน้อยแค่ไหน ถ้าอธิบายด้วย voice dialogue ก็คือ เราพัฒนาความยืดหยุ่นของเจ้าตัวโตทั้งแก๊งไว้ได้มากน้อยแค่ไหน หรือไม่ได้เลย เมื่อนั้น demonic energy ก็จะแตกทลายกรงออกมา ปลดปล่อยพลังงานอันยากแก่การควบคุม

พุทธะปัญญาจึงสำคัญยิ่ง มองมุมนี้อาจจะสำคัญที่สุด (รึเปล่า?) เพราะเป็น safety value ที่ทำให้มนุษย์ลองผิด ลองถูก กล้ากระทำ ไว้วางใจได้ ต่อเมื่อเราพัฒนาสภาวะจิตอันรุ่มรวยความเป็นไปได้ (prosperity mentality) ไม่ได้ติดขัดอยู่ในสภาวะจิตขัดสน (poverty mentality) เมื่อนั้นชีวิตอันมีความหมาย เมื่อนั้นจินตนาการ intuition หรือญาณทัศนะ จึงมีพื้นที่ที่ผุดบังเกิดได้ กล้าออกจากไข่แดงไปได้ ขยายวงไข่แดงให้ใหญ่ขึ้นๆ ไม่เกรงกลัวต่อความเป็นไปได้

คำกล่าวที่ว่า "ห่วยได้ ไม่ยี่หระ" ก็เป็นพุทธะปัญญาอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะเนื้่อที่ห่วยได้นี้ ของคนเราในปัจจุบันแทบจะไม่มี สมองตีบตัน สายตาหดสั้นแคบ หายใจเต็มปอดก็ไม่ได้กลัวหายใจออกจะไปกระทบกระทั่งคนอื่น สมองมันก็ขาดเลือด ขาดแรงบันดาลใจ ห่วยได้นี้จะเป็นพื้นที่ผ้าใบสีขาว ที่เราอาจจะแต่งแต้มแรงบันดาลใจ หรือให้เจ้าเด็กน้อยของเราได้ระบายสีสันที่เขาชอบ โดยปราศจากอคติ

พุทธะปัญญายังเป็นพื้นที่ทำให้คนเราจริงใจ (authentic) อีกด้วย คิดดูหากเราจะต้องดูแลเอาใจใส่ว่าคนอื่นเขาจะคิดอย่างไรกับเราตลอดเวลา เราจะเหลือพื้นที่แสดงตัวตนของเราอีกหรือ? โลกใบนี้ก็จะเต็มไปด้วยเสแสร้ง fake หรือ wording swordplay คำสวยๆ งามๆ ที่จดจำเอามาพ่นใส่กันว่ากูเคยได้ยิน กูก็พูดได้ ทำหรือไม่ เชื่อหรือไม่ เป็นอีกนัยยะหนึ่งอย่างสิ้นเชิง การที่คนจะกล้าเดินเปลือยเปล่านั้น จะเกิดการแลกเปลี่ยนสีสันตัวตนที่แท้จริง authenticity จึงมีได้ ใช้ได้จริง
หมายเลขบันทึก: 151794เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ ของจริงไม่ต้องปั่นครับ ถ้าอ่านแล้วไม่รู้ว่าเป็นของจริง ก็ต้องเรียกว่าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายนะครับ

ว่าแล้วผมก็ลิงก์ "ห่วยได้ ไม่ยี่หระ" ทั้งสองตอนไปแล้ว ไม่ได้เข้ากันกับบันทึกของผมได้ตรงๆ หรอกครับ เพียงแต่อยากลิงก์เฉยๆ อ่านแล้วสะใจดี

ลูกสาวผมเขาชอบน้ำป้่นทุกชนิดครับ ไปไหนก็ต้อง "ขอลอง" ไม่งั้นไม่นับว่า "ถึง"

ดีใจครับที่คุณ conductor ให้เกียรติ ยินดีที่่ร่วมสังฆกรรม "ห่วยได้ ไม่ยี่หระ" กำลังรณรงค์เรื่องนี้อยู่ครับ 

ชีวิตคนเราจะอะไรกันนักหนา จะสมบูรณ์ถูกต้อง เก่งไปเสียหมดได้อย่างไรครับ แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือการหลอกตนเอง พยายามจะเป็นในสิ่งที่ไม่ได้เป็น พยายามจะให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่ไม่จริง สร้างภาพ ประชาสัมพันธ์ในสิ่งที่ไม่ใช่ ผมคิดว่าเสียเวลาเปล่าครับ

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์มากเลยครับ อ่านแล้วจึงสะใจมาก ขอบคุณสำหรับบันทึกประเทืองปัญญาตลอดมาเลยนะครับ 

 

บันทีกใดๆ จะมีค่าก็ต่อเมื่อมีคนอ่าน และคนอ่านช่วยกันรับและมอบสิ่งที่มีความหมายให้กันและกัน

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์คะP

อ่านบันทึกของอาจารย์มาตลอด แต่บางทีไม่ได้ฝากรอยไว้

สำหรับบันทึกนี้ อ่านแล้ว ขออนุญาต แสดงความเห็นส่วนตัวเล็กน้อย หากจะต่างจากอาจารย์บ้าง ขออภัยนะคะ

ปกติ ดิฉันเป็นคนจริงใจกับตัวเองมาก จนเกือบจะเรียกว่า มากไปด้วย นั่นคือความเป็นตัวตนแท้ๆ

แต่ ถ้าดิฉันต้องอยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบ ต่อคนอื่นๆมากหลายๆคน ดิฉันอาจต้องแสดงบทบาท ที่ต่างจากตัวตนแท้ๆออกไปค่ะ เพื่อคนอื่นๆ ที่เขาฝากชีวิตไว้กับเรา แม้บางทีไม่ชอบบทบาทใหม่เท่าไร ก็ต้องทำ และต้องทำให้ได้

ในขณะเดียวกัน ตัวเองก็มีเวลา และมุมของตัวเองอยู่แล้ว ที่จะเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง

บางครั้ง เป้าหมายชีวิตที่เรา ตั้งไว้ ทำให้เราต้องทำอะไรๆที่บางที ไม่ใช่ตัวตนของเราจริงๆด้วยซ้ำ แต่ความต้องการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ เป็นแรงผลักอย่างสำคัญ ที่ทำให้ดิฉัน ซ่อนตัวตนจริงๆเอาไว้ภายในได้อย่างไม่ยากเย็นค่ะ และไม่เกิดทุกข์เลย เพราะ

เมื่อมีความสำเร็จส่วนตัวเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องอะไร  ดิฉันจะปลื้มมาก

แล้วดิฉัน จะกลับมาที่ตัวตนของดิฉันใหม่ อย่างสบายใจขึ้นด้วยซ้ำ

แต่การเสแสร้งหรือ fakeอย่างที่ว่า ดิฉันใช้กับธุรกิจเท่านั้นนะคะ เฉพาะในบางสถานการณ์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจจริงๆ

 จะไม่มีการเสแสร้ง กับคนในครอบครัว ญาติๆ ผู้ร่วมงาน   หรือเพื่อนๆในทุกวงการโดยเด็ดขาด และจะรังเกียจคนที่เสแสร้งด้วย จะหนีห่างไปไกลๆเลย

เพราะจริงๆแล้ว ดิฉันเป็นคนจริงใจมากๆ จนสมัยเมื่อเรียนจบใหม่ๆ....มีคนว่าหลายคน ว่าดิฉันเป็นคนไม่มีศิลปะ ในการเข้าสังคม

ในความเป็นจริงของดิฉัน  ตัวเราก็คือตัวเรา ราก็ยังคงเป็นตามที่เราเป็น ยากที่จะเปลี่ยนเช่นเดิมค่ะ

สวัสดีครับ คุณ sasinanda

ยินดีทุกครั้งที่ได้อ่านคำคิดเห็นครับ สำหรับเรื่องแบบนี้ ความแตกต่างนำพาเอาความรุ่มรวยมาให้ ดีกว่ามีสภาวะจิตขัดสน

คำ "ตัวตนที่แท้" อาจจะเป็นแค่ semantic รึเปล่า? และ "อย่างไร" จึงจะเป็นแท้? ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีสัญญา เวทนา จึงเกิดชุมนุมเป็นจำได้หมายรู้ และมีสัญญาอะไรที่เป็น absolute authentic? เมื่อเราเรียกตนเองเป็น พ่อ พี่ น้อง ฉัน ลูก ที่บ้าน หรือ นาย ผม กระผม อั๊ว ที่ทำงาน ที่พักผ่อน? ตอนไหน และคำไหน ที่เป็น authentic?

ประเด็นที่น่าสนใจผมคิดว่า ไม่ว่าจะในบทบาทใดก็ตาม ทุกๆ volitional deeds จะก่อให้เกิด vipaka หรือวิบากกรรม สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำ ณ​ ต่างกรรม ต่างวาระ เป็นเมล็ดแห่งกฏแห่งกรรม ที่จะส่งผลต่อเราและคนรอบข้างในภายภาคหน้า เป็นแน่แท้ ประเด็นอยู่ที่ว่า เราจะกำลังเสแสร้ง หรือกำลังทำจริงก็ตาม กรรมดี กรรมไม่ดี มงคล หรืออัปมงคล ไม่ได้มีข้อยกเว้นในผลที่จะทำให้เราเป็นคนอย่างไรในอนาคตเลย

เราเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้ทำไป ก็คงเท่านั้นกระมัง ที่ไม่เปลี่ยนแน่่ๆ ก็คือ "กฏแห่งกรรม" กระมังครับ? 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท