Changing the Past, then Inviting the Future Self


Changing the past, then Inviting the Future Self

มีคำถามน่าสนใจว่า "จริงๆแล้ว เราเปลี่ยนอดีตได้หรือไม่?" คำถามนี้ inspire ให้คนหลายๆวงการ นักวิทยาศาสตร์ นักไสยศาสตร์ นักแต่งนิยาย นักทำหนัง ทำภาพยนต์ เขียนหนังสือ ฯลฯ ทำให้ผมรู้สึกว่าความคิดเรื่องการเปลี่ยนอดีตนี่ มัน "โดนใจ" คนหลายคนทีเดียว

จริงๆแล้ว ผมกำลังนำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ของการ "เปลี่ยนอดีต" เป็นความเป็นไปได้ที่ไม่ต้องอาศัยฟิสิกส์ อาศัย time machine หรืออาศัยอะไรราคาแพง หายากอะไรเลย 

 เพราะเมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว "อดีต" ที่พวกเราแต่ละคนมีนี่ เป็นอดีตที่ตัวตนเราเป็นคนให้ความหมายเองทั้งสิ้น ทีนี้ เวลาเราพูดว่า "ตัวตนเรา หรือตัวเรา" นั้น เรากำลังหมายถึงใคร? primary self ตัวไหนที่กำลังเป็นผู้กำกับ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เขียนบท? ในทางศาสนาพุทธนั้น "จิต" เรามีถึง 52 เจตสิก ในทาง voice dialogue หรือการสนทนากับเสียงภายในตน แล้วเรามี primary selves หลายตัว เช่น ท่านวิจารณ์ (inner critics) คุณดัน (pusher) คุณสมบูรณ์ (perfectionist) เรายังมี disowned selves อีกหลายแบบ อาทิ เด็กน้อยผู้อ่อนแอ (vulnerable child) วัยรุ่นแหกคอก (rebellion youth) แม่ผู้โอบอ้อม (kind mum) ฯลฯ ซึ่งแต่ละ self แต่ละตัวตนของเรา จะมีการมองเห็นเหตุการณ์ รับรู้ แปลความ ไม่เหมือนกันเลย แล้วขณะที่เรา "สร้างอดีต" แต่ละอดีตนั้น เราสร้างโดย self ตัวไหนกันแน่?

 ในการเขียนโลกภายในตนด้วย self แบบไหนนั้น จะส่งผลกระทบถึงตัวตนในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น ถ้าเป็น perfectionist กำลังเขียนบท "ดูซิ ทำงานได้สมบูรณ์แบบ เราจึงได้ที่หนึ่ง ได้ที่ดีเยี่ยม ได้รับคำชม ทำงานต้องทำให้ได้แบบนี้สิ" ตัวตนที่เป็น lazy boy ก็จะถูกส่งลงไปห้องใต้ถุน (คือก้นบึ้งของจิต ของสติ) อย่าได้เสนอหน้าออกมาอีกเลย  future self ของเราที่เติบโตมาจากอดีตที่วาดแบบนี้ ก็จะไม่สามารถที่จะ "ขี้เกียจก็ได้" ทุกขั้นตอน ทุกส่วนของวิถีชีวิต จะต้องสมบูรณ์แบบ หรือใกล้เคียงกับความสมบูรณ์แบบที่สุด ตัวเองก็จะถูกเคี่ยวกรำอย่างหนัก รวมทั้งคนข้างเคียง ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา เพียงเพราะเราปล่อยให้ท่านสมบูรณ์เป็นคนเขียนอดีตแต่เพียงผู้เดียว

ไม่ได้หมายความว่าการเป็น perfectionist มันไม่ดีอะไร แต่ที่แน่ๆก็คือ มันขาด "ความเป็นไปได้แบบอื่น" ถ้าเรายอมให้อดีตเพียง version ควบคุมเราทั้งชีวิต บางทีชีวิตก็ต้องการทางออกใหม่ๆ วิธีการดำรงชีวิตใหม่ๆ หาความหมายใหม่ๆ เพื่อความสดชื่น สดใส เปลี่ยนแปลงได้้เช่นกัน

และบางที ตัวเราเองก็ใช่ว่าไม่รู้่ว่าต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ตราบใดที่ "อดีต" ยังควบคุมตัวเราอยู่ เช่น "แหม อยากจะพักผ่อน ไปท่องเที่ยว ไปญี่ปุ่นสักอาทิตย์ ไปทะเลสักอาทิตย์" อดีตของเราก็จะบอกว่า "ไม่ได้หรอก เดี๋ยวงานจะคั่งค้าง เสร็จไม่สมบูรณ์แบบตามที่เรา "เคย" ตั้งปณิธานไว้" หรือเดิมอดีตเราเต็มไปด้วยการผลัดวันประกันพรุ่ง พอถึงวาระสำคัญของงาน ของชีวิต ที่ต้องทุ่มเท เราอาจจะคิดว่า "เอาละวะ คราวนี้ ต้องตั้งใจอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบ เพราะจะต้อง entrance ให้ได้" เสียงอดีตเราก็จะบอกว่า "แต่ไปดูหนังสักเรื่องก่อนก็ดีนะ สมองจะได้เบาสบาย แจ่มใส แล้วค่อยกลับมาอ่านหนังสือก็ยังทันถมไปนะ"

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 153090เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะอาจารย์

เสียงอดีต ก็คือธรรมชาติของตัวเราที่ติดตัวมา กับการประพฤติปฎิบัติสิ่งที่เราชอบซ้ำๆจนเป็นนิสัย หรือได้รับการอบรมบ่มเพาะมาจากครอบครัว

ดิฉันยกตัวอย่างตัวเองนะคะ

ดิฉันมีคุณแม่ที่เจ้าระเบียบ ดิฉันกลายเป็นคนค่อนข้างเจ้าระเบียบ นี่ถูกบ่มมาจากครอบครัวล้วนๆ

แต่ดิฉันเป็นkind mum มาจากตัวตนเองล้วนๆ บวกกับมาจากคุณแม่ที่ใจดี รักลูกมาก

ที่ยกมานี่ ไม่เลวร้าย แต่ที่ไม่ดีก็มี และดิฉันรู้ตัว พยายามลบอดีต อยากเปลี่ยนแปลง ซึ่งรู้สึกว่า ลบได้ ไม่ต่ำกว่า 80%ค่ะ

สรุปว่า คนเรา ถ้าตั้งใจลบพฤติกรรมในอดีต ทำได้ค่ะ แต่อาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่บ้าง ก็ต้องเข้าใจ ว่า ไม่ใช่ของง่ายนักค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ หมอครับ

อ่านสองสามรอบ และตามพี่ sasinanda  มาครับ

ปัจจุบันมีที่มาจากอดีต และอดีตคือสิ่งที่ถูกกดทับจากปัจจุบัน

ดังนั้นการแสดงของปัจจุบัน มาจากเงื่อนไขของอดีต

เราพยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แต่นั่นเองต้องใช้พลังสักกี่เท่าเมื่ออดีตเรามี primary selves  ที่เข้มข้นแตกต่างกัน

แต่ผมก็เชื่อว่า การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆทำให้เราเปลี่ยนปัจจุบันให้ห่างจากคราบอดีตได้ ต้องดูที่ว่าประสบการณ์และการเรียนรู้นั้นมันคลิกกับชีวิตเราแค่ไหน

สวัสดีครับอาจารย์

  การเปลี่ยนอดีต  โดยการใช้กระบวนการ  สนทนากับเสียงภายใน  และการเปลี่ยนอดีตในทางพุทธศาสนา  โดยการประพฤติปฏิบัติธรรม  ตามแนวทางของพระตถาคตนั้น(เช่นวิปัสสนากรรมฐาน)  มีความเหมือนและแตกต่าง 

 หรือลึกตื้นต่างกันอย่างไรบ้างครับ 

 แล้วแบบไหนที่จะได้ผลเร็วกว่ากัน 

หรือเข้าถึงได้ง่ายกว่ากันครับ  ..

  ขอโทษครับอาจารย  หากคำถามผมดูสับสนงงๆ ^_^

  ขอบคุณครับ

คุณ sasinanda ครับ

 ก่อนอื่นขอขอบคุณที่กรุณามาเยี่ยมเยียน และยังให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจมากๆ จนต้องขอสานต่อนะครับ

ท่านพุทธทาสให้เราสังเกต สังเกต จะได้เห็น "ธรรมชาติ" รอบๆตัวเรา มองเห็นเหตุ และปัจจัย และยังเรียนรู้จากธรรมชาติเหล่านี้ด้วย เพราะมนุษย์มีสมองที่พัฒนา ไม่ใช้เฉพาะความทรงจำ แต่เราสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ ในภพภูมิทั้งหลายแหล่ เหนือมนุษย์ขึ้นไปเป็นเทพ เป็นพรหม แต่สูงสุดของพรหมยังต้องลงมาเป็นมนุษย์ก่อน จึงจะสามารถตรัสรู้ รู้แจ้งได้ นั่นคือพลังสมอง พลังจิต ของเรา

เราอาจจะไม่ต้อง "ตั้งใจลบ" อดีตรึเปล่าครับ แต่เราเพียงกล้าให้ความหมายใหม่ อธิบายที่มา ตัวตนของเราใหม่ แค่นั้น ก็เป็นการเขียนอดีต version ใหม่แล้ว และเพียงพอที่จะจะเชื้อเชิญ future self ที่เป็นความเป็นไปได้ใหม่ๆให้เกิดขึ้น

เราสามารถมองอดีต ทั้งเศร้า ทั้งหอมหวาน ทั้งซึ้ง ทั้งทุกข์ทรมานด้วยความหมายใหม่ เป็นการมองอย่างอุเบกขา เพราะตัวเรานี้เติบโตขึ้น เปลี่ยนแปลงบริบทไปอย่างมากมาย 

เราไม่ต้องลืมอะไรเลยครับ ตรงกันข้าม จิตที่เติบโต เห็นอะไรมากมาย น่าจะใช้ในการกลับไปพิจารณาประสบการณ์เก่า เรียนรู้ พัฒนา ในอารมณ์ที่เป็นกลางได้ดีกว่า เพราะไม่ได้อยู่ท่ามกลางมรสุมอารมณ์เหมือนในอดีต

รึเปล่าหนอ? :) 

สวัสดีครับ คุณจตุพร

น่าสนใจมากเลยครับ เรื่องพลังงานของ self ที่ว่ามา จริงแหละครับที่ self ของเรานั้น มีหลาย selves และมีพลังงานที่แตกต่างกัน

ว่าแต่พลังงานเหล่านี้มาจากไหน?

จากเราเอง จากภายนอก จากอะไร?

เวลาที่พระอริยเจ้าตรัสรู้ ทะลุทลวง selves ไม่รู้จักกี่ชาตินั้น ท่าน summon พลังมาจากไหนหนอ?

สิ่งหนึ่ง นอกเหนือจาก knowledge contents ที่ได้เติบโตมากับตัวเรา นั้นน่าจะมีส่วนของ "จิต" ที่เติบโต เบิกบาน ผ่องแผ้ว และประภัสสรอยู่ด้วยไหม? บางทีเราอาจจะพร้อม ก็ต่อเมื่อ เรา "คิด" ว่าพร้อมก็เป็นได้ และที่เราไมพร้อมซะที ก็เพราะว่า "เรา" เป็นคนลดทอนพลัง และตัดสินว่าเรายังไม่พร้อมหรอก รออีกหน่อยเถอะ

สวัสดีครับ คุณ kmsabai

คำถามคุณ km ตอบง่ายครับ เพราะผมมั่นใจว่าผม "ไม่ทราบคำตอบ" แม้แต่คำถามเดียวของคุณ km ครับ อันนี้ไม่ได้เล่นลิ้น หรือเล่นตัว เป็นการซื่อตรงถึงที่สุด

 ผมคิดว่า คนเราครองสติได้ไม่ง่ายนักก็จริง แต่ทำได้ครับ และฝึกได้ด้วย แต่เราก็ต้องการแรงบันดาลใจที่แท้จริง ซึ่งตรงนี้จะแปรตามหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ละคนไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าเราเชื่อมโยง value ตรงนี้ของเราไปกับการเติบโตของจิตได้ ก็น่าจะดี น่าจะทรงพลัง และน่าสนใจที่สุด 

เราเกิดมาเพื่ออะไร เพราะอะไร เพื่อใคร เพราะใคร

เป็น the source question ช่วยให้เรามี connection to the source อีกครั้งหนึ่ง ส่วน ยาก ง่าย เร็ว ลึก ตื้นนั้น.....

แฮ่ะๆ บ่ฮู้เจ๊า 

P

Phoenix

 

อาจารย์หมอ สงสัยนิดหนึ่ง...

  • ในทางศาสนาพุทธนั้น "สติิ" เรามีถึง 52 ในทาง

รู้สึกว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน  อาจารย์หมอช่วยขยายความประเด็นนี้ หรือบอกแหล่งที่มาหน่อย....

เจริญพร 

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธครับ

ขอบพระคุณในคำถามครับ

จริงๆผมอาจจะล้ำเส้นไปนิด (เรียกว่า oversimplified ไปหน่อย) และที่ถูกตั้งใจจะเขียนถึงจิต  แต่มันออกมาเป็นสติไป อันว่าจิตประกอบด้วยเจตสิก 52 นั้นมีปรากฏในอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์ครับ ก็เรียกว่าเป็นอีกตำราหนึ่ง ผมไม่มีบารมีพอจะขยายโดยพิศดารมากไปกว่านี้ ที่จริงถ้าจัดอีกแบบ คือ กุศลจิต 21  อกุศลจิต 12  และอัพยากฤต (กลางๆ ไม่กุศล ไม่อกุศล) อีก 56 (แบ่งเป็นวิบากจิต 36 และกิริยาจิต 20) ก็จะรวมเป็น 89 

เอาเป็นว่ามีเยอะน่ะครับ ที่ต้องการจะสื่อ ไม่ได้ตั้งใจจะนำไปสู่ reference ฟันธง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท