The Knight in Rusty Armor


The Knight in Rusty Armor

โดย Robert Fisher

Robert Fisher is a well-known comedy writer who has written for most of the top comedians of our time, including, Groucho Marx, Bob Hope, Red Skelton, George Burns, Jack Benny, Fanny Brice, Alan King, and Lucille Ball. Mr Fisher has written or co-written over 400 raadio shows and nearly 1,000 television shows, among them "Alice," "Good Times," "All in the Family," "The Jeffersons," and "Maude." He has also written numerous Broadway shows and movie scripts with his friend and partner Arthur Marx.

ิfrom back-over Knight in Rusty Armor book 

 คำนิยม (ปกหลัง):

Not since Jonathan Livingston Seagull first enthralled the readng public has there been a story that captivates the imagination so thoroughly as The Knight in Rusty Armor.
It's a lighthearted tale of a desperate knight in search of his true self. His journey reflects our own-filled with hope and despair, belief and disillusionment, laughters and tears.
Anyone who has ever struggled with the meaning of life and love will discover profound wisdom and truth as this delightful fantasy unfolds.
The Knight is an experience that will expand your mind, touch your heart, and nourish your soul. 

ผมได้หนังสือเล่มนี้ ภาคภาษาไทยในชื่อ "สุภาพบุรุษอัศวิน" แปลโดยนรนาท เนรมิตนักรบ จากกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง อ่านรวดเดียวจบ เพราะทั้งสั้น ทั้งมหัศจรรย์ อ่านเสร็จก็กระวนกระวาย อดรนทนมิได้หาต้นฉบับมาอ่านต่อ แล้วก็เลยคิดว่ามีอะไรดีๆน่าจะเอามาเผยแพร่ ทีนี้ปรากฏว่ามันดีไปหมด เขียนไปเขียนมาจะกลายเป็นแปลใหม่ จึงเอามาเป็นวิพากษ์เป็นท่อนๆแทนก็แล้วกัน

เรื่องย่อ

อัศวินท่านหนึ่ง วันๆท่านเอาแต่ใส่เสื้อเกราะ ขี่ม้า เดินทางไปปราบมังกร ช่วยเจ้าหญิง และสู้รบกับ bad guys แต่ครอบครัวก็ไม่ได้ชื่นชม เพราะถูกท่านอัศวินทอดทิ้ง มีวันหนึ่ง ภรรยาท่านอัศวินยื่นคำขาด ให้ถอดเสื้อเกราะออกซะบ้าง เพราะลูกชักจะลืมหน้าพ่อไปแล้ว ปรากฏว่าอัศวินพยายามจะถอดเท่าไหร่ก็ถอดไม่ออก จึงต้องออกเดินทาง พเนจรไปหาเมอร์ลิน ผู้วิเศษ ให้ช่วยหาทางถอดเสื้อเกราะออกให้ได้ ก่อนที่เขาจะติดอยู่ในเกราะนี้ตลอดไป และสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่มี 

บทที่ 1 The Knight's Dilemma

เนื่องจากอัศวินต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลาจะออกรบ ไปฆ่ามังกร ไปช่วยหญิงงาม อัศวินก็เลยสวมใส่ชุดเกราะเขาอยู่ตลอดเวลา ไปๆมาๆ แม้กระทั่งตอนกิน ตอนนอน ไม่มีเวลาใดที่อัศวินถอดเกราะเลย อยู่มาวันหนึ่งคริสโตเฟอร์ลูกชาย ก็ถามแม่จูเลียตว่า "แม่จ๋า พ่อหน้่าตาเป็นยังไงนะ" เพราะแม้แต่หมวกรบที่ปิดหน้าปิดตา มีกระจังป้องกันตาครอบนั้น ก็ถูกสวมตลอดเวลา จูเลียตไม่รู้จะทำยังไงก็เลยต้องพาคริสโตเฟอร์ไปดูรูปของอัศวินที่ติดไว้เหนือเตาผิง "นั่นไงจ๊ะ หน้าตาของพ่อ เป็นยังนี้แหละจ้ะ" พลางถอนใจ

เหลืออดที่จะทนต่อไป จูเลียตเข้าไปพูดกับอัศวิน สามีเธอ "ฉันคิดว่าเธอรักชุดเกราะของเธอมากกว่ารักฉันนะ"

"ไม่จริง"  อัศวินตอบ ขยับตัวดังกล๊องแกล๊งขณะโบกมือไปมา "ฉันน่ะรักเธอมากขนาดไปช่วยเธอออกมาจากมือมังกร แล้วก็พาเธอมาอยู่ที่ปราสาทสุดจ๊าบหลังนี้เชียวนะจ๊ะ"

จูเลียตแก้คำพูดใหม่ "ที่เธอรักนั้นน่ะ มันก็แค่ "ความคิดที่ได้ช่วยฉันท่านั้นแหละ เธอไม่เคยรักตัวฉันเลย ตั้งแต่ไหนแต่รัก จนตอนนี้ก็ตาม"

 

ในโลกของเราทุกคน เราต่่างก็สวม "เกราะอัศวิน" นี้อยู่ทั้งนั้น ได้แก่หน้าที่ การงาน สิ่งที่เรารับผิดชอบต่างๆ เมื่อเสร็จงาน เราก็มักจะ "ถอดเกราะ" นั้นไว้ที่ทำงาน เพราะเรามีบทบาทหน้าที่อย่างอื่น "ที่บ้าน"

แต่บางทีเราก็ติดกับดักที่จะเป็น "อัศวิน" ตลอดเวลา เพราะอะไรก็แล้วแต่ อาจจะเป็นเพราะ glory ชั่วครั้ง ชั่วคราว ขณะที่เราทำงาน ถ้าเป็นหมอ เราก็รู้สึกดีตอนที่ได้ช่วยคนประสบความสำเร็จ ถ้าเราเป็นวิศวะ ก็อาจจะตอนทำงานเสร็จ มองเห็นผลงานอย่างภาคภูมิใจ นายชม ลูกน้องชม ทั้งๆที่การที่คนเหล่านี้ชม อาจจะเป็นเพราะผลประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากชื่นชมในผลงานจริงๆ เรายังมีมิติอื่นๆของชีวิตที่ต้องดูแล นอกเหนือจากงานในชุดเกราะนั้นๆ

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อไรก็ตาม สิ่งที่เรา "อ้าง" กับสิ่งที่เราทำ หรือคิดว่าได้ทำ มันไม่สอดคล้องกันในความเป็นจริง

อัศวิน "อ้างว่า" หรือ "คิดว่า" เขารักภรรยา จึงไปช่วยเธอออกจากมังกร และ "อ้างว่า" หรือ "คิดว่า" การเอาเธอมาอยู่ในปราสาทสุดจ๊าบนี้ ก็เป็นหลักฐานว่าเขารักภรรยา แต่ความรักนี้จริงหรือไม่ และจะมีประโยชน์อะไร ถ้าสิ่งต่างๆที่เขาทำให้นั้น มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ภรรยาต้องการแม้แต่น้อย? ความคิดทั้งหมดว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ภรรยามีความสุข ล้วนแล้วแต่เป็น "ข้ออ้าง" ที่อัศวินจินตนาการขึ้นมา

แล้วทำไมอัศวินจึงทำอย่างนี้

เพราะอัศวินที่แท้ก็ "รู้สึกดี" จริงๆ แต่ไม่ได้รู้สึกดีกับความรักภรรยา แต่อย่างที่จูเลียตบอก ที่เขารู้สึกดี ก็คือ การที่ได้ไปช่วยผู้หญิงจากมังกรดุร้าย แสดงถึงความเก่งกล้า สามารถ แข็งแรงของเขา การที่มีปราสาทสุดจ๊าบ แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยของเขา

ถ้าจากบทความ งาม ดี จริง หรือ Beauty Good Truth ที่ผมเคยเขียนไว้ สิ่งที่ผลักดันให้อัศวินทำงานนั้น เป็นเพียงแค่ "เพื่อฉัน" คือเป็น "ความงาม" ของตนเองเท่านั้น เพราะเขายังไม่ได้ทำ "เพื่อเธอ" อย่างแท้จริง 

พวกเราบางคนหอบงานกลับไปทำต่อที่บ้าน ทำ OT ทำงานอย่างหนัก นายก็ชม แต่สิ่งที่นายชมนั้น ก็คือผลประโยชน์ที่บริษัทได้เพิ่มมากขึ้น จะมีนายสักกี่คนที่ถามไถ่ถึงความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ถามถึงเวลาที่เราใช้กับครอบครัวว่าเพียงพอหรือไม่?

จนบางที บางวาระ บางโอกาส ลูกก็สะท้อนให้ฟัง เช่น "แม่ไม่เห็นเคยพูดจาดีๆ ไพเราะอ่อนหวาน อย่างทีแม่ทำที่ทำงานเลย พูดกับหนูยังกะยักษ์ กะมาร!!"

แล้วแม่ก็โกรธ

"หนูว่านายแม่เห็นหน้าแม่มากกว่าหนูอีก ทำนอกเวลาตลอดเวลาเลย"

แม่ก็โกรธ

คิดว่า "....... แหมฉันอุตส่าห์ทำงานหาเงินเข้าบ้าน มาเลี้ยวพวกแก ทำไม ไม่เห็นความดีของฉันบ้าง?.....

บางทีลูกก็เห็นความดีของแม่อยู่หรอก แต่นั้นไม่ใช่ทั้งหมดของ "ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์" เลย บางที quality time นั้น ไม่ได้เป็นตอนที่เราหอบของขวัญราคาแพงมาให้ครอบครัว เป็นครั้งเป็นคราว บางทีอาจจะเป็นตอนที่เราสอนการบ้านประวัติศาสตร์ให้ลูก ที่ลูกๆจะรู้สึกว่า "นี่แหละ ที่เราเป็นครอบครัวกันจริงๆ" ไม่ใช่ตอนที่เรากำลังทำงานงกๆนอกเวลา หรือตอนที่เราหอบงานมาทำต่อที่บ้านจนดึกจนดื่น

ถอดเกราะเสียบ้าง ก่อนที่จะสายเกินไป!!! 

ในที่สุดจูเลียตก็ยื่นคำขาดให้อัศวินถอดเกราะออก ก่อนที่คริสโตเฟอร์จะลืมหน้าพ่อไปจริงๆจังๆ อัศวินอย่างเสียไม่ได้ก็ยินยอม

ปรากฏว่าสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น !!!

อัศวินไม่สามารถถอดเกราะออกมาได้ มันติด !!!

ด้วยความ panic อัศวินขี่ม้าไปหาช่างตีเหล็ก ซึ่งเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดในหมู่บ้าน ปรากฏว่าแม้แต่ช่างเหล็กพยายามแล้วพยายามเล่า ก็ไม่สามารถจะแกะเกราะอันสวยงามนี้ออกจากอัศวิน แม้แต่พยายามใช้ค้อนเหล็กทุบ ฟาด อัศวินนอกเหนือจากจะยังติดอยู่ในเกราะแล้ว ยังไม่รู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่าถูกค้อนเหล็กฟาด !!

 

เกราะพวกนี้นอกจากจะหลุดยากมาก ไม่ยอมหลุดแล้ว ยังป้องกันไม่ให้เราเกิด "ความรู้สึกใดๆ" อย่างที่คนอื่นเขารู้สึกอีกด้วย

เพราะเราได้ติดอยู่ในโลกภายในเกราะนี้เรียบร้อยแล้ว มองออกไปก็เพียงแต่ผ่านช่องกระจังเล็กๆ เห็นแต่สิ่งที่เราเองมองหา ไม่เห็นส่ิงที่คนอื่นมองเห็น รู้สึกแต่สิ่งที่เราเองคิดว่าเรารู้สึก ไม่รู้สึกในสิ่งที่คนทั่วๆไปเขารู้สึก

เราเอาแต่คิดว่า คนอื่นน่าจะ OK กับสิ่งที่เราทำ หญิงงามน่าจะรอคอยด้วยความหวังที่จะให้เราไปช่วยเหลือ มังกรรอเราไปฆ่า ทุกสิ่งทุกอย่างดูจะ make perfect sense แต่ก็โดย logic ของเราเองทั้งสิ้น แม้ว่าบางทีคนรอบข้างพยายามจะบอกเล่า พยายามจะบอกเป็นนัย หรือบอกตรงๆแบบค้อนเหล็กของช่างตีเหล็ก แต่ด้วยความที่เกราะของเรามันหนาเกิน มันสมบูรณ์เกิน เราก็ไม่ได้รู้สึก ไม่ได้ยินอะไรทั้งสิ้น

ลูกของเราอาจจะพยายามเรียกร้องความสนใจในรูปแบบต่างๆ ตามกำลัง ตามความสามารถจินตนาการ รวมไปถึงการทำตัวให้เกิดปัญหา เพราะเคยพบว่าถ้าทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเดือดร้อน พ่อแม่ก็มักจะหันมาสนใจ การเรียกร้องแบบนี้ก็อาจจะเริ่มมาในรูปของการเรียนตกลง เริ่มคบเพื่อน เริ่มมีเสียงเรียก ฟ้อง จากครู จากโรงเรียน จากเพื่อนๆ เพราะทุกครั้งที่มีเรื่องแบบนี้ พ่อแม่ก็จะหันมาสนใจสักทีหนึ่ง ยอมถอดเกราะที่สวมไว้ชั่วครั้ง ช่ัวคราว

แต่เสน่ห์มนต์ขลังของเกราะนั้นมันมากเหลือเกิน

ปัญหาธรรมดาๆเริ่มไม่สามารถจะดึงความสนใจได้อีกต่อไป ปัญหาจึงเริ่มใหญ่ขึ้นๆ เร่ิมมีการหนีโรงเรียน ไปเที่ยว กินเหล้า จนในที่สุดอาจจะติดยาเสพติด

มนต์สะกดของเกราะก็ยังทำงานอยู่

นายเรายังพอใจเราอยู่ (ตราบใดที่เราหอบงานทั้งหมดไปทำต่อที่บ้าน และยังทำ OT ให้บริษัท) ลูกน้องยังชมเรา (ตราบใดที่เราเป็นหนังหน้าเสื่อให้) เราเองก็ภาคภูมิใจที่เราช่างเป็นคนที่เสียสละเสียนี่กระไร (แต่ทำไมเราต้องบอกตัวเองแบบนี้ บ่อยขึ้นๆ บ่อยขึ้นเรื่อยๆหนอ?) 

อัศวินออกเดินทางไปหาวิธีถอดเกราะ จนกระทั่งมาเจอกับตัวตลกหลวง ที่ทำหน้าที่ทำความรื่นรมย์ ขบขัน แก่พระราชาและคนในราชสำนัก ตลกหลวงก็ทำหน้าที่ตามปกติ คือแซวอัศวิน แต่ด้วยใจความที่น่าสนใจ

อัศวินถามหาพระราชา จะบอกว่าตนเองออกเดินทางไกล ปรากฏว่าพระราชาก็ไม่อยู่ อัศวินก็เลยนั่งคอตกอยู่บนหลังม้า (เพราะเกราะช่วยพยุงให้ตัวตรงเอาไว้) เจ้าตลกหลวงก็พูดออกมาว่า

"Well, aren't you a silly sight?

All your might can't solve your plight."

อัศวินหงุดหงิด "ฉันไม่อยู่ในอารมณ์มาฟังกลอนดูถูกฉันจากแกนะเว้ย ทำไมแกไม่ใส่ใจปัญหาคนอื่นอย่างจริงๆจังๆมั่งนะ" 

"Problems never set me a-rockin'.

They're opportunities a-knockin'."

อัศวินยิ่งหงุดหงิด "แกพูดเป็นกลอนตลอดเวลา ทุกคำ ยังกะแกเองที่ติดอยู่ในเกราะ!!!"

"We're all stuck in armor of a kind.

Yours is merely easier to find." 

 

 เกราะทำหน้าที่หลายอย่าง ในที่นี้ แม้แต่ตอนที่อัศวินหมดพลัง หมดเรี่ยวแรง เกราะก็ยังค้ำไว้ไม่ให้ตัวดูไม่ดี หรือไร้สง่าราศี ทั้งๆที่ตัวจริงนั้นอับจนปัญญา

บางคนทำงานจนเหนื่อยสุดๆ งานก็ไม่เคยหมด แต่แรงหมด แต่ด้วย "ศักดิ์ศรี" หรืออะไรก็ไม่ทราบ ก็ยังต้องทำหน้าชื่นไว้ เหมือนฉีดโบทอกซ์ ไม่ยอมเหี่ยว ไม่ยอมสลด ไม่ยอมแก่ เกราะที่ค้ำไว้ก็ยังหลอกตัวเองต่อไป ยังไม่ต้องพักหรอก ยังไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรหรอก ยังไม่ต้องแก้ไขอะไรหรอก เรายัง OK อยู่

ตัวตลกหลวงในที่นี้สะท้อนปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจ

ปกติใครๆก็มักจะดูถูกตลกหลวง และอาจจะเลยไปถึงคิดว่าช่างเป็นคนที่ไร้สาระ ไม่เคยคิดจะทำอะไร หรือคิดอะไรจริงจังเลย อย่างที่อัศวินคิดว่า วันๆ ตลกหลวง เอาแต่พูด คิด แต่งกลอนอะไรก็ไม่รู้ ไม่สนใจปัญหาอะไรเลย 

แต่คนที่เผชิญปัญหาแล้วยังยิ้มได้ ยังหัวเราะได้นั้น นอกเหนือจากอาจจะเป็นคนไม่ serious จริงจัง อาจจะเป็นเพราะอย่างอื่นได้หรือไม่?

ตลกหลวงบอกอัศวินว่า สำหรับเขานั้น "ปัญหาไม่ใช่อุปสรรคอะไรมากมาย แต่เป็นอะไรที่เราจะต้องเผชิญหน้าและแก้ไขเท่านั้นเอง" เขาก็เลยไม่ต้องมานั่งทุกข์ แต่ไม่ได้ไม่แก้ หรือหาหนทางแก้ ที่จริงตลกหลวงตอนหลังก็บอกวิธีที่อาจจะช่วยอัศวินได้ คือ เดินทางไปหาเมอร์ลินผู้วิเศษนั่นเอง 

ประโยคสุดท้ายก็คือทีเด็ด เมื่ออัศวินกระแนะกระแหนตลกหลวงว่าเอาแต่พูดต้องเป็นกลอน เป็นสัมผัส ก็ไม่ต่างอะไรกับติดเกราะเหมือนกันแหละว้่า ตลกหลวงกลับ take comment นี้อย่างจริงจัง แล้วบอกอัศวินว่า เราทุกคนก็มีเกราะกันทั้งนั้น ของตลกหลวงอาจจะเป็นเกราะที่ต้องพูดเป็นกลอน เป็น rhyme เพราะเป็นตลกหลวง

แต่เกราะอย่างของอัศวินนี่สิ เป็นเกราะที่พบบ่อยที่สุด โหลที่สุด

เป็นเกราะอย่างไร? 

หมายเลขบันทึก: 165460เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรื่องนี้ ในมุมหนึ่ง คงเป็นเรื่องของการยึดมั่นถือมั่น  ยึดติด หลงในความสำเร็จ ความมีชื่อเสียง ไม่ยอมปล่อยวาง ไม่ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ แยกตัวเองออกจากครอบครัว

มีความเก่งกล้าหาญ มีชื่อเสียง แต่ไม่มีปัญญาค่ะ

เขียนไม่จบ สงสัยรีบกลับบ้านแหงๆ ใช่ไหมพี่ รู้ว่าใส่เกราะค่อยยังมีทาง ไม่รู้ว่ามีเกราะ ทั้งที่คนอื่นเห็นว่าเกราะเบ้อเร้อติดแน่น แม้แต่ลูกเมียคนใกล้ชิด ก็สัมผัสตัวตนแท้ไม่ได้ ก็ยังจะสรรหาเกราะมาใส่กันเนอะ

อือหือ hot จริงๆ ยังไม่ทันเริ่มเรื่องเลย มีมาแล้ว 2 comments อิ อิ

แถมอีกนิดนึงสำหรับบทแรกนี้ครับ

ตลกหลวงบอกว่าคนๆเดียวที่จะช่วยอัศวินได้ คือพ่อมดเมอร์ลิน อัศวินก็ตกใจ ถามว่าใช่เมอร์ลินคนเดียวกันกับที่สอนคิงอาเธอร์รึเปล่า ตลกหลวงก็บอกว่าใช่ คนเดียวกันนั่นแหละ อัศวินก็ถามว่ามันจะเป็นไปได้ยังไง ถ้าอยู่จนถึงปานนี้ก็ต้องอายุยาวนานหลายร้อยพันปีล่ะสิ

ตลกหลวงยืนยันว่าเมอร์ลินยังอยู่ในป่าใหญ่ ณ ที่ใดที่หนึ่งนั่นแหละ

อัศวินก็อุทาน หา ป่าใหญ่นั่นเหรอ มันใหญ่โตมโหฬารมากเลย แล้วเมื่อไรที่เขาจะหาเมอร์ลินเจอ

ตลกหลวงตอบว่า "One never knows be it days, weeks, or years.

When the pupil is ready, the teacher appears.

ความตอนนี้ผมว่าค่อนข้างจะนามธรรม และเป็น analogy หรืออุปมาอุปมัย ประโยคที่ว่า "When the pupil is ready, the teacher appears." นั่นถูก quote มาบ่อย บ้างก็แปลในทำนอง romantic บ้างก็แปลทำนองปาฏิหาริย์ บ้างก็ co-incident หรือ ของคาร์ล จุง ที่ไม่เชื่อใน "บังเอิญ" ก็จะบอกเป็น synchronicity หรือ  "ธรรมะจัดสรร

หรือมองในอีกแบบหนึ่ง ถ้าหากคำ ready หมายถึงพร้อมจะเรียน ในที่นี้ก็อาจจะแปลว่า ทันทีที่คนๆหนึ่งพร้อมจะเรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะกลายเป็นบทเรียน นิเวศรอบข้างกลายเป็นครู ก็ย่อมได้

นักเรียนบางคนอาจจะร่ำร้องว่า "พร้อมแล้วๆ ไหนล่ะ ที่บอกว่าครูจะปรากฏ" เพราะไปวาดภาพว่าทันทีทันใดจะปรากฏครูเดินมาสอน ปรากฏผู้ทรงศิลปวิทยามาแนะนำ เหมือนหนังกำลังภายใน ก็หามีไม่ ความพร้อมในที่นี้ อาจจะเป็น "ดวงตาแห่งการเรียนรู้" ที่จะต้องผุดบังเกิดเสียก่อน ไม่ทำตัวเป็นชาเต็ม หรือล้นถ้วย จึงจะสามารถเห็น และเรียน อะไรที่อยู่รอบๆตัว ณ ปัจจุบันนั้นได้ทันทีทันใด

อัศวินก็ดีใจมาก ขอบอกขอบใจตลกหลวงที่ให้ความหวังแก่เขาอีกครั้ง ก็จับมือ ปรากฏว่าอัศวินบีบมือตลกหลวงเต็มแรง จากมือที่สวมเกราะอยู่ ตลกหลวงก็ร้องจ๊าก ด้วยความเจ็บปวด อัศวินก็ขอโทษ เสียงอ่อยๆ

ตลกหลวงก็บอกว่า

"When the armor's gone from you,  you'll feel the pain of others too."

เกราะที่เราสวมใส่ บดบังความรู้สึก ความไวในความรู้สึกของเราไปได้โดยง่าย นอกเหนือจากมองเห็นได้แต่มุมมองของเราผ่านกระจังหน้าหมวกเท่านั้น เราอาจจะละเลยความเจ็บปวดของคนรอบข้าง จากการกระทำของเราไปได้ แม้ว่าจะขอโทษขอโพยอย่างไร ก็จะมีโอกาสจะทำอย่างนั้น ซ้้ำแล้ว ซ้ำอีก เพราะมันไม่มีความ sensitive เหลืออยู่เลย

เหมือนคนไข้เบาหวาน ที่พอมีแผลก็จะลุกลามง่าย เพราะประสาทปลายหมดความรู้สึก แผลนั้นก็จะไม่ได้รับการดูแล เป็นมากขึ้นๆ ยังคงไปถูไถ ทำให้แผลเกิดซ้ำเดิม เป็นแล้วเป็นอีก

เกราะที่เราสวมใส่ สวยงาม เป็นประกายเพียงไร ถ้าทำให้เรา insensitive ต่อความรู้สึกของคน เราก็จะมีโอกาสที่ทำร้ายคนรอบข้าง โดยที่เราเองไม่รู้ตัว หรือไม่ตั้งใจได้ตลอดเวลา 

 

Sasinanda    รู้สึกว่าอาจารย์จะพยายาม gear มาที่...Humanized Health Care นะคะ

แพทย์เก่งในด้านวิชาการ เทคนิคการรักษาโรค  ใครๆก็ทราบ และยกย่อง 

แต่แค่นี้ยังไม่พอ ยังต้องมีมิติทางจิตใจและมิติทางสังคมของตัวผู้ป่วยเองหรือของญาติผู้ป่วยด้วย

การเรียนแพทย์  ก็เพื่อไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์   เป็นเรื่องของอุดมการณ์  ซึ่งเป็นมากว่าที่จะเป็นเพียงอาชีพหนึ่ง มากนักค่ะ 

สวัสดีครับ คุณ sasinanda

เรื่อง The Knight นี่ สามารถมองได้หลายมุมมากเลยครับ อย่างที่กล่าวก็คือ เราทุกคน ต่างก็มี "เกราะ" ทั้งสิ้น เกราะนี้ดี มีประโยชน์ ในบริบทใดบริบทหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด เกราะช่วยให้เรา focus งานตรงหน้า เพราะกระจังหน้าหมวกบังคับไว้ แต่ก็บดบังอะไรไปหลายๆอย่างเหมือนกัน

เพียงเรามี insight และถอดเกราะออกบ้าง จะเป็นไรไป

แน่นอนที่สุด วงการแพทย์ ก็ต้องระมัดระวัง อย่าเป็นแบบอัศวิน ที่ช่วยแม้กระทั้งคนที่ไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือ ระวังไม่ได้ติดกับ idea to rescue จนลืมแรงผลักที่แท้จริง ก็คือ well-being ของคนนั้นเอง

ชัดเจน ดีจังเลยค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ นกไฟ

ขออนุญาตทำลิ้งค์ ให้คนในกระดานสนทนาของสมาคมนพลักษณ์ไทยมาอ่านที่นี่นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท