OUTCOME MAPPING Part IV: Vision & Mission OM Style


Vision & Mission OM Style

มาตอนบ่ายวันที่หนึ่ง เราจึงเห็นประโยชน์ของการได้ "ฝึกฝัน" เมืื่อตอนเช้า เพราะเรากำลังจะได้เขียน vision & mission วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของโครงการของแต่ละกลุ่ม แต่ละพวกนั่นเอง

กระบวนกรถามพวกเราว่า "นอกเหนือจากการใช้รูปภาพสื่อความใฝ่ฝัน เราคิดว่าจะใช้วิธีอื่นๆอีกได้ไหม?" และเสริมต่อไปว่า การใช้ภาพ และสี oil pastel นั้นเป็นการ "เบี่ยงสมอง" จากซีกซ้ายที่เราคุ้นเคย ใช้ในการคิด การคำนวณ ไปใช้สมองซีกขวาบ้าง คือ ความรู้สึก อารมณ์ หรือ "เสียงจากหัวใจ" นั่นเอง

วิสัยทัศน์นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ "อยาก" จะเป็นอะไร หรืออยากจะได้อะไรเท่านั้น การเขียนวิสัยทัศน์นั้น เป็นการ "เชื่อมโยง" ตัวตน ณ​ ปัจจุบันและอดีต เข้ากับ "ความหมาย" ของการมีชีวิตอยู่ของทั้งทีม หรือทั้งองค์กร

ความยากอาจจะอยู่ตรงนี้นี่เอง ลำพังความหมายของตนเองคืออะไร เราอยู่ไปเพื่ออะไร ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะ "มองให้ชัด" แต่นี่อะไรล่ะ ถึงจะเป็น "ความหมายร่วม" ของคนทั้งทีม ทั้งกรม ทั้งกอง ทั้งองค์กร? เราจะรู้ได้อย่างไรเราจะขีดเขียนหรือสื่อออกมาได้หรือ?

และข้อสำคัญก็คือ วิสัยทัศน์สไตล์ outcome mapping นั้น ไม่ได้เริ่มจากการเขียน "ตัวเอง" อยากจะเป็นอะไร อยากจะทำอะไรเพียงเท่านั้น กลับเปลี่ยน "ประธาน" เป็น "ผู้รับประโยชน์" แทน ประเด็นนี้อาจจะเป็นอะไรที่ทำให้การเขียนวิสัยทัศน์พันธกิจของ outcome mapping มี "ความแตกต่าง"

ยกตัวอย่าง เราคงจะไม่คาดหวังว่าองค์กรอย่าง WHO หรือ UN จะเขียนวิสัยทัศน์ พันธกิจแบบว่า "เราจะเป็นองค์กรระดับโลก หรือ ระดับ galaxy" etc อะไรทำนองนั้น แต่มันน่าจะออกมาในลักษณะถ้าเป็นฝันก็คือ ฝันว่าประชากรโลกจะอยู่กันอย่างมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง หรือ อยู่กันอย่างมีสันติสุขมากที่สุด ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า หรือสักวันหนึ่ง อะไรทำนองนี้มากกว่า

ฝันเพื่อเธอ

การที่ Outcome Mapping จะเขียนวิสัยทัศน์เพื่อคนอื่นนี้เองที่ "ท้าทาย" อย่างแท้จริง และในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นอะไรที่ noble มากๆ ใครว่าเขียนวิสัยทัศน์ประเภท "ข้าจะครองโลก" นั้นท้าทาย และมีทะเยอทะยาน แต่ก็ยังไม่สู้ประกาศว่า "ข้าจะเป็นข้ารับใช้โลกนี้ และประชาชนบนโลกนี้"

และการทำเพื่อคนอื่นนั้น ในเชิงสังคมศาสตร์ คงจะไม่ได้นับว่า "ทำอะไร" และเป็นผู้รับประโยชน์นั้น "ได้อะไร" มากกว่า สิ่งที่ได้นั้นคือสิ่งที่เขาต้องการ หรือจำเป็นต้องมีจริงๆหรือไม่ ในการเขียนวิสัยทัศน์พันธกิจเชิงoutcome mapping นั้น จะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น ถ้าหากเรา "เข้าใจ" ในผู้รับประโยชน์จริงๆว่าเขาจำเป็นที่จะได้เรื่องนี้ไป ข้อสำคัญคือ การ​ "empowerment" นั้น เราจะไม่ได้เป็น "คนทำให้" ตลอดไป สุดท้าย สังคมจะต้องดำเนินต่อไปได้ด้วยตัวมันเอง ในบริบทที่จะเปลี่ยนไปจากเดิม จะต้องสามารถยืนหยัด ดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าจะพ้น generation ของเราไปแล้วก็ตาม กิจกรรมใดๆก็ตามที่เรากำลังทำเพื่อวิสัยทัศน์ หรือเป็นพันธกิจ จึงต้องทำให้เกิดไม่เพียงแค่ "กิจกรรม" แต่จะต้องเกิด "ศักยภาพ" มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม เชิงความสัมพันธ์ เชิงกระบวนทัศน์ เชิงสมรรถภาพ ในตัวผู้รับประโยชน์ด้วย 

ความสนุกและความมันในการเขียนวิสัยทัศน์ OM เกิดตอนนี้นี่เอง มีผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งสะท้อนออกมาว่า เขียนแบบเดิมๆ ฉันจะเป็นอย่างโน้น องค์กรฉันจะต้องได้รางวัลนี้ โรงงานผมจะต้องอยู่แนวหน้าระดับนานาชาติ แผนของผมจะต้องได้เงินทุนเพิ่มสิบล้าน ฯลฯ คนเขียนพาลจะเลี่ยนเอา แต่พอให้เขียนว่าผู้รับประโยชน์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โอ้ โห เขียนได้อย่างลื่นไหล ไม่ติดขัด แถมยังรู้สึก "ปิิติ" ขณะเขียนอีกตะหาก

วิสัยทัศน์ (VISION)

  • ภาพของผู้รับประโยชน์ที่ทีมคุณปราถนาจะเห็น
  • สิ่งที่แผนงาน / โครงการฝันอยากจะให้เกิด
  • เขียนภาพฝันนั้นให้ชัดเจน "ใคร" "ได้รับอะไร" และ "เป็นอย่างไร"
  • ภาพฝันที่มีทั้ง "จินตนาการ + แรงบันดาลใจ"

พันธกิจ (MISSION)

  • เพื่อให้ภาพฝันนั้นเป็นจริง แผนงาน / โครงการต้องทำอะไรบ้าง
  • เป็น "ภารกิจ" ใหญ่ๆ ที่สำคัญ ไม่ใช่กิจกรรมย่อย
  • เป็น "ภารกิจ" ที่แผนงาน / โครงการสามารถทำให้เกิดเป็นจริงได้ ภายในระยะเวลา 1-2 ปี
  • ไม่ใช่ process หรือกลยุทธ์การทำงาน
  • เป็นการบอกว่า "ทำไมต้องมีแผนงาน......"

และตรง "ความชัด" นี่เอง ที่ผมนำเอามาคิด ใคร่ครวญต่ออีกเยอะพอสมควร และยิ่งมาถึง "บางอ้อ" ตอนกิจกรรมกลางคืนนี้ คือ LEGO

ON MISSION

สำหรับผมแล้ว ตัว mission นี้คือ "ความชัดของแผนที่" แต่สำหรับ vision นั้น เป็น "จิตวิญญาณ" ของเป้าหมาย ความสมดุลระหว่างความชัด กับ "แก่นของคุณค่า" เป็นสมดุลระหว่างพันธกิจกับวิสัยทัศน์ทีเดียว การมี mission ที่ชัดเจน กำหนดภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม ทำให้ผู้เดินทางเกิดสติ เกิด awareness และสามารถประเมินตนเองได้ว่า แผนมี / ไม่มีปัญหา อาทิ ถ้ามัน prolong ยืดเวลาออกไปกว่าที่กำหนด แสดงว่าเราอาจจะไม่ได้นึกถึงอุปสรรคทั้งหมด หรือ underestimate ไปบางด้่่าน บางมิติ หรือประเมินตนเองสูงไป และที่พบได้ไม่ยากนักก็คือ การ underestimate ผลกระทบจากภายนอกระบบต่อนิเวศของเรา และผลกระทบจาก internal environment หรือสภาวะภายในของคนในระบบเอง ที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน

การเขียนพันธกิจที่พึงจะต้องทำจริงๆในระยะของกรอบเวลา เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก การไม่ได้เขียนตรงนี้ให้ชัดเจนเพียงพอ ทำให้การคาดการ การกำหนดเวลาที่จะมาประเมินผล ฯลฯ ทำไม่ได้อย่างมีตรรกะที่ดีพอ และถ้าเราเผลอเขียนเป็นกลยุทธแทน ไม่ได้มีความชัดเจน หรือความเป็นรูปธรรมในระดับนี้ จะส่งผลไปถึง direct partners ได้โดยตรง ยิ่งถ้าไม่ได้พูดคุยกันให้ชัดว่าฝ่ายไหน หมายถึงอะไรอยู่ ก็จะเกิด domino effects ไปยัง markers อื่นๆ ได้แก่ strategic partners และ progress markers ได้

Workshop นี้ สคส.ให้เราแบ่งกลุ่มตาม original task พอดีกลุ่ม รร.แพทย์สร้างเสริมสุขภาพมากันครบหลาย levels คือมีตั้งแต่กรรมการกำกับทิศ (พี่กอปรชุษณ์) ผู้ประสานงานของแผน (คุณอุดมศรี หรือพี่แม้วของเรา) และสองตัวแทนจาก boundery partner (ในที่นี้เขาเรียกเป็น direct partner) คือ ผมและหมอหนุ่มจาก มช. ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มเครือข่าย palliative care และกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาแพทย์ เราก็ได้รับแบ่งตัวแทน "ประชาชน" มาจาก มสช. (เอ... หรือว่า สคส.หว่า?) คือน้องวรรณนั่นเอง มาคอยควบคุมบรรดาหมอๆให้ตั้งใจทำงาน คุณอ้อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มเราโดยตลอด (ด้วยความอดทน ขันติ อุเบกขา เมตตา กรุณา อย่างสูง)

หมายเลขบันทึก: 198328เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อ่านเพลิดเพลินรวดเดียว3-4 ตอนเลยค่ะ จะรอตอนต่อๆไปนะคะ

ผมคิดว่า vision เป็นเป้าหมาย ที่จะไป แต่เป้าหมายใน vision จะบรรลุด้วยการมี พันธกิจที่สอดคล้อง แต่ vision ไม่ชัด ไม่specific ผมจึงคิดว่า องค์กรต้องมี Organization goal อีกตัวพื่อให้เห็นแผนที่ ที่จะเดินสู่ vision ได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะ vision จะเป็นเป้าระยะยาว แต่ พันธกิจ เป็นสิ่งที่จะทำให้เป็นจริงได้ใน 1-2 ปี ดังนี้ Organization goal จะเป็นตัววัดผลพันธกิจ และความก้าวหน้าในการบรรลุ vision  ครับ

คุณโอ๋ครับ

ฮา ฮา มีแฟนคลับมาโบกธงอย่างนี้ รับรองไม่นานเกินรอครับผม

คุณขจรศักดิ์ครับ

ยินดีต้อนรับสู่คันฉ่องนกไฟครับผม สำหรับเรื่อง terms ต่างๆที่ใช้ คงจะแล้วแต่ตำรา หรือ school กระมังครับ ขอให้แผนที่มีถนน มีหลักกิโล มีเป้าหมาย พร้อมกับบอก tricks บอกสิ่งแวดล้อมไปด้วย ก็คงจะพอไหว ยินดีที่มาช่วยเติมให้เต็ม ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้นนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์..อ่านแล้ว พอลล่าเข้าใจ OM มากขี้นอีกระดับนึง ค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ

ได้อ่านบันทึกของคุณหมอช่วยทวนในสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ในเรื่องนี้

ให้เข้าใจยิ่งขึ้นครับ จะติดตามงานคุณหมอนะครับ

สมโชค

อาจารย์คะ ได้มีโอกาสอ่านงานชิ้นนี้ผ่านการส่งต่อมาจาก paula อ่านระหว่างที่กำลังรู้สึกเครียดๆ อ่านแล้วนอกจากจะรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ยังรู้สึกดีๆ ที่ได้เรียนรู้ถึงความสมดุลของศาสตร์และศิลป์ การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายและซีกขวา และได้เรียนรู้วิธีคิดที่ดีๆ ทำให้อดไม่ได้ที่จะเขียนสิ่งที่คิดออกมาค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

อาภากร

พอลล่าครับ

ถ้าเข้าใจมากขึ้น น่าจะเป็นเพราะคุณพอลล่าเองแหละครับ แต่ก็ยินดีรับใช้นะครับ

คุณโชคครับ

ขอบคุณครับ และผมก็เชื่อเหมือนกันว่าถ้าพวกเราสะท้อนกันออกมา จะมีเป็นหลายสิบมุมที่เราไม่ได้คิดเหมือนกัน workshop นี้ (หรือไหนๆ)ก็จะยิ่งงอกเงยงดงามมากๆขึ้นไปอีกนะครับ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะอ่านของทุกๆคนเลยทีเดียว

คุณอาภากรครับ

ดีใจครับที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ทำงานเครียดๆนี่ก็หนักนะครับ เอาแค่มีสมาธิ แต่ไม่เครียดน่าจะพอดิบพอดี เพราะเครียดไปงานมันก็ไม่ลื่นไหลมากขึ้นหรอก (รึเปล่าหว่า?) แต่พอไม่เครียดนี่สิ กลับสะดวกโยธินทีเดียว

สวัสดีอาจารย์คะ พี่ต้อยเห็น Mission ของอาจารย์จากคำพุด จากแววตา เชื่อไหมคะ?

แม่ต้อยครับ

สำหรับผมเองไม่ทราบครับ แต่ผมเห็นในแววตาแม่ต้อยเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท