Gotoknow Forum 2009 (4): World Cafe


World Cafe

ผมได้รับติดต่อจากทางผู้จัดทำ gotoknow เมื่อประมาณมกราหรือกุมภา เรื่อง gotoknow forum ครั้งที่หนึ่ง และทางคณะฯอยากจะนำกิจกรรม World Cafe มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างมือ bloggers ทั้งหลาย ประมาณ 160-180 คน ให้ผมมาเป็นที่ปรึกษาเพราะพอดีทราบว่าผมเคยทำกิจกรรมนี้มาบ้าง

Theme ของงานนี้มีว่า Knowledge Divide, Digital Divide ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำของความรู้ เป็น theme ที่น่าสนใจและสำคัญต่อสังคมมาก ผมนำไปคิดใคร่ครวญอยู่นานถึงที่มาที่ไป ทำไมเราจึงมี knowledge divide และ digital divide นั้นเกิดขึ้นตอนไหน เพราะเหตุใด คิดไปคิดมาสุดท้ายก็หนีไม่พ้นเรื่อง The Source ที่มาของสรรพสิ่งต่างๆ

อะไรคือแรงบันดาลใจ แรงกระตุ้น ให้คนแสวงหาความรู้?

คนในปัจจุบัน "อยากรู้" แล้วหาความรู้ไม่ได้ หรือว่า "ไม่อยากจะรู้" หรือ "ไม่รู้ว่าตนเองควรจะอยากรู้อะไร?" คำถามเหล่านี้วกวนเวียนอยู่ในศีรษะ คำตอบจะนำมาซึ่งการแก้ไขที่เหมาะสม

หรือบางที...

บางคำถามก็อาจจะรอคำตอบไม่ได้ แต่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ แล้วสังเกต สังเกต สังเกต ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง แก้ไขไปเรื่อยๆ

เช่น "การเรียน การสอน ศีลธรรม จริยธรรม ทำให้คนเป็นคนดีได้หรือไม่?" หรือ

"คนเราควรเรียนหนังสือหรือไม่?"

เพราะถ้ารอคำตอบที่ "แน่นอน ชัดเจน" แล้วค่อยทำ อาจจะสายเกินไปแล้วก็ได้

แรงบันดาลใจเป็นแหล่งที่มาของพลังงานที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหลักการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ (adult learners หรือ Andragogy) เราจะสนใจเฉพาะสิ่งที่มี impact ต่ออะไรที่เราอยากจะเป็น อยากจะรู้ สำหรับเด็กอาจจะต้องการการชี้นำบางประการเพื่อการอยู่รอด สิ่งที่จำเป็นที่จะอยู่ร่วม แต่ในผู้ใหญ่นั้น เราจะมีอะไรที่จัดลำดับความสำคัญไว้แล้ว การเรียนอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ สิ่งที่เราเรียน สอดคล้องกับวิถีความต้องการการเรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นจะมาบอกว่าควรจะเรียน ควรจะรู้

นอกจากนี้ ผู้ใหญ่อาจจะมีการปรับตัวกับสถานการณ์ที่ตนงุ่มง่าม เรียนรู้ใหม่ ได้ไม่ดีเท่ากับเด็กๆ ดังนั้นพื้นที่ปลอดภัยก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยกว่า (ถ้าไม่มากกว่า) การจัดประสบการณ์การเรียนให้เด็กเลย สถานการณ์ที่ปลอดภัยก็คือ ที่ที่ไม่มี judgmental attitude การด่วนตัดสินคุณค่าของคน ที่ที่ผ่อนคลาย ที่ที่มีความเป็นมิตร ความรัก ความเมตตากรุณา ความเข้าอกเข้าใจ และความเคารพซึ่งกันและกัน

การเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากความเคร่งเครียด ตึงเครียด คุกคาม เป็นการใช้พลังสมองระดับ gamma คือ brain wave ที่เร็วเสียยิ่งกว่าคลื่น beta เสียอีก ณัฐฬส วังวิญญูเรียกชื่อเล่นๆว่า "ปัญญาหมาจนตรอก" ซึ่งอาศัยแรงผลักระดับ instinct เพื่อการอยู่รอดมาใช้ พวกที่ฝึกคอมมานโด การรบประชิด หรือ crisis management อาจจะต้องมีทักษะที่ว่านี้ แต่ในสภาวะทั่วๆไป เราจะไม่จำเป็นต้องตกอยู่ในสภาพหมาจนตรอกตลอดเวลาเพื่อจะเรียน

ที่นี้ด้วยเหตุผลประหลาดบางประการ การเรียนรู้แบบบีบคั้น ที่เราพบในกองฝึกทหาร กลับถูกนำมาใช้ในห้องเรียนทั่วไป ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ว่าไปตั้งแต่สภาพห้อง (ที่บางทีก็เหมือน interrogation มากกว่าห้องเรียน) สภาพภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน นักศึกษาแพทย์เดินไปเดินมาบนวอร์ด มี mentality ที่ระดับป้องกันตัว ระดับดูแลความปลอดภัยตัวเองเป็นหลัก ไม่ผ่อนคลายเลย ก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะมีเครื่องมือเครื่องไม้ทันสมัยแค่ไหนตั้งอยู่เบื้องหน้า แต่อี้จิงที่สอดประสานของบริบทในการเรียน ก็เป็นสิ่งสำคัญ

ในกิจกรรม World Cafe ที่จะจัด เรามีสมาชิกที่การันตีคุณภาพ เพราะมาจาก CoP กันเรียกว่าทั้งร้อยเปอร์เซนต์ ฉะนั้นประเด็นปัญหาว่าจะไม่มีเรื่องมาเล่าก็ตกไป ไม่ต้องเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่ละคนก็ดูกระเหี้ยนกระหือรือที่จะพูด จะคุย จะแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว

เหลือแต่ที่จะเตรียมก็คือ การเตรียมฟังอย่างลึกซึ้ง เท่านั้นเอง

สินค้าตัวอย่างผู้เข้าร่วม World Cafe bloggers ระดับสุดคะนึงกว่าโหลคน

  

Stand-by Me เพลงไตเติ้ลนำเข้ากิจกรรม World Cafe

อาจารย์ขจิตละลายพฤติกรรมให้พวกเราก่อนโดยกิจกรรม "ปมมนุษย์" ที่น่าสนใจคือผมพึ่งกลับจากทำ workshop จิตตปัญญาเวชศึกษาให้นักศึกษาแพทย์ ม.วลัยลักษณ์เมื่อสองสามวันก่อน และเราก็ทำปมมนุษย์เหมือนกัน รายละเอียดการทำอาจจะต่างกันเล็กน้อย แต่ concept ที่มีการใช้ฐานกาย ฐานใจ และฐานความคิด กับการนำ momemtum ออกไปสู่การเปลี่ยน theme หรือการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปัญหา ก็ยังชัดเจน (และสนุกสนาน) เหมือนกัน

ผมจึงฉวยโอกาสรับลูกต่อจากอาจารย์ขจิตมาเลยทันที ก่อนอื่นต้องลดคลื่น beta wave ลงไปอยู่ alpha (ผ่อนคลายก่อน) โดยการนำสมาธิเข้าไปอยู่กับอวัยวะของเราสิบนาที สงสัยว่าผู้เข้าร่วมคงจะเหนื่อยจากกิจกรรมนิดหน่อย พอให้นั่งนิ่งๆก็เข้าฌาน จมดิ่ง เงียบกริบลงได้ในพริบตาอย่างมหัศจรรย์ หลายๆคนดูท่าจะคุ้นเคยกับการนั่งสมาธิมาไม่น้อยด้วย

ผมต่อด้วย clip stand-by me ของอัลบัม Play for Change  เพราะรู้สึกมีหลายๆสิ่งหลายๆอย่างตรงกับความหมายในเพลงดี ต่อด้วย One Love

สามคำถาม

  • จากประสบการณ์ตรงของแต่ละคน มีความรู้เรื่องอะไรที่เป็นแรงบันดาลใจ ที่ทำให้ท่านได้ทุ่มเท กำลังกาย กำลังใจ อย่างเต็มที่ที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ เพราะอะไร มีความหมายอย่างไร และลงท้ายได้ทำอะไรไปบ้างในการที่จะได้ความรู้มา

  • จากประสบการณ์ตรงของแต่ละคน คิดว่าในองค์กรของตนเองเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจ ควรจะมีเครื่องมือ หรือวิธีแสวงหา รวบรวมองค์ความรู้ การบริหารจัดการความรู้ ให้พรรณาทั้งที่ควรจะมี (ถ้ายังไม่มี) อยากจะมี ใฝ่ฝันว่าถ้ามีแล้วจะสุดยอด หรือที่มีแล้วจะให้มีการใช้อย่างไร

  • จากที่ได้สนทนามาทั้งหมด คิดว่าถ้ากลับบ้านไป ไปทำงาน จะทำอะไรเป็นสิ่งแรก ในอาทิตย์หรือสองอาทิตย์นี้ เพื่อให้องค์กร หน่วยงาน ของตน เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ หรือการใช้เครืองมือ หรือมีการบริหารความรู้ที่ดี อย่างที่เราฝันไว้ในรอบสอง

การถามสามคำถามนี้ เป็น reverse route โดยเริ่มจากฐานคิด ลงมาฐานใจ และสัญญาภาคปฏิบัติคือฐานกาย ทั้งหมดเชื่อมโยงต่อเนื่องไม่แบ่งเด็ดขาดออกจากกันทั้งสามฐาน แต่มีเด่นในแต่ละฐาน ในแต่ละ phase ของคำถาม

ที่น่ายินดีก็คือ เมื่อเข้ากลุ่มเริ่มสนทนา เสียงรวมของห้องออกเป็น buzzy bee ไม่เอะอะโฉ่งฉ่าง แสดงว่าแต่ละโต๊ะ ไม่แย่งกันพูด และฟังกันอย่างสุนทรีย์ เสียงรวมจึงออกมาได้ homogenous และอบอุ่น เจ้าหน้าที่จาก Usable Lab ก็ช่วยกันปรนเปรออาหารการกิน ชา กาแฟ ผลไม้ ไม่ขาดสาย เป็นการดำเนินประสานงานระดับเทพจริงๆ กระดาษ flip chart ที่ให้ไว้ตามโต๊ะ ถูกขีดเขียนวาดกันไม่หยุดยั้ง ซึ่งต่อไปทีมงานก็จะต้องมา "ถอดรหัส" Da Vinci ว่าองค์ความรู้ที่ผุดปรากฏ ณ ปัจจุบันนี้ มีอะไรกันบ้าง

การใช้ oil pastel หรือการวาดรูป วาด diagram จะช่วยการใช้สมองซีกขวา สร้างสรรค์ และจินตนาการ เกิดความสวยงามและสุนทรีย์ ทำให้จะมีโอกาสเกิด impact ต่อพฤติกรรมได้มากกว่า impact ลงบนสมองซีกซ้าย หรือ logic ตรรกะ เพียงอย่างเดียว

ใน World Cafe นั้นหัวใจคือการสนทนาเอา tacit knowledge ออกจาก CoP ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ ฉะนั้น อะไรๆที่ serious เคร่งเครียดนั้น ให้คิดให้ดีก่อนว่าจำเป็นแค่ไหน ถ้าหยวนๆกันได้ก็ค่อยว่ากันทีหลัง ประเภทประกาศล่วงหน้าว่าทุกคน ทุกโต๊ะ ต้องมี official final report ภายในวัน สองวัน ภายหลัง meeting หรืออะไรทำนองเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดปัญหา คิดอะไรไม่ค่อยออก พูดอะไรก็สื่อไม่ได้ดี

บทสรุปของ World Cafe นั้นยากที่จะสรุป เพราะข้อมูลของแต่ละโต๊ะ แต่ละคนที่จะถูกกลั่นกรองเข้ากับประสบการณ์เก่าของคนอ่าน คนฟังอีกที ของคนกระทำเองก็ตาม ยังรับรู้แตกต่างกันไปได้เยอะทีเดียว การทำ World Cafe อาจจะไม่เหมาะกับปัญหาเร่งด่วน เป็นตาย ที่ว่าต้องได้ script ต้องได้ protocol แต่ที่จะมีคือการตกผลึก crytallization ของความคิด บางคนอาจจะได้เป็น prototyping ที่จะนำไปปฏิบัติ เป็นเค้า เป็นเงาลางๆ ของใครของมัน

ทั้งนี้จะทำ World Cafe แบบหวัง products ก็ย่อมได้ แต่คงจะต้องมีกลุ่มพิเศษที่เป็น facilitator และการเลือกผู้เข้าร่วม​(ทั้งหมด) อาจจะเป็นคนในทีมงานที่เกี่ยวข้อง flow ของ energy คงแตกต่างอยู่บ้างแต่ก็พอจะคงไว้ซึ่งความผ่อนคลาย informal ได้ แต่ละรอบอาจจะเพิ่มเวลายาวนานกว่านี้ (รอบละชั่วโมงก็ยังได้ ถ้าคิดว่าเป็นประเด็นที่ต้องเจาะลึก และตรงกับแรงบันดาลใจของคนส่วนใหญ่ที่มาร่วม เพราะ 20-30 นาทีนั้น บางทีก็พูดได้แค่คนละรอบสองรอบเท่านั้น) เวลาอาจจะใช้ทั้งวันทั้งคืน หรือแม้กระทั่ง 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับการหล่อเลี้ยงสภาวะลื่นไหลของการสนทนา การเก็บเกี่ยว (harvesting) ก็คงจะทำไปเรื่อยๆ

ส่วนคนทำนั้น มีความสุขมากทีเดียวครับผม

หมายเลขบันทึก: 264003เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

จองอ่านนะคะ ...อาจารย์กลับมาจากต่างประเทศเเล้วใช่มั๊ยคะ หรือว่ามาเยี่ยมบ้านเฉยๆ

คุณแก้วP ครับ

ดีใจด้วยครับที่ชอบ เห็นตอนแรกได้รับมอบหมายให้เป็น fa รู้สึกเกร็งๆใช่ไหมครับ เอาแบบสบายๆดีกว่านิ

สวัสดีครับคุณหมอ สามคำถามนั่งอยู่โต๊ะได้ยินมั่ง ไม่ได้ยินมั่ง(ไม่ใช่คุณหมอเสียงเบา แต่เป็นเรา(ผม)หูเบาเสียงครับ ได้คำถามชัดเจนวันนี้ ตอบผ่านบันทึกอีกทีครับท่าน

อ.หมอสกลคะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่ทำให้ World Cafe มีชีวิตในงานครั้งนี้

เบื้องหลังความสำเร็จของกิจกรรม World Cafe

ขอบคุณค่ะ ^_^

มาฟ้องสกลว่า

  • พอนายพูดว่า เป็นการแลกเปลี่ยนโดยอิสระ ไม่มีการอัดเทปใดๆทั้งสิ้น น้องสี่ก็ยื่น recorder มาให้ผมพอดี

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบคุณที่แนะนำ สิ่งใหม่ สำหรับผม ครับ ขอบคุณจริงๆ

ฮึ ฮึ ผมบอกไปหลายครั้งแล้วครับว่า อย่าไปเน้นที่ contents ตอนพูด ถ้าจะเอาอะไร อาจจะเอาที่กลายเป็น note หรือเป็นรูป เป็น diagram จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน "หัวใจ" มาแล้วครั้งหนึ่ง ส่วน raw materials เป็นวัตถุดิบเท่านั้น ของดีอาจจะอยู่ที่วิธีเล่า อาการคนเล่า อาการที่ได้รับแรงบันดาลใจขณะเล่าเรื่อง ฯลฯ พวกนั้นมากกว่า

เดี๋ยวพูดไปอย่างนี้ คราวหน้าอาจจะมีคนเอา camcorder มาอัดแทน!!! ฮึ ฮึ

ประทับใจและขอบคุณกับสิ่งดีใน world cafe' ค่ะ

อาจารย์ขา สิ่งที่อาจารย์สรุปเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

หนูขอเวลาในการนั่งอ่านนานๆให้เข้าใจเเละเก็บเกี่ยวความรู้ตรงนี้เต็มที่โดยการขออนุญาตปริ๊นเอาไปอ่านและเก็บไว้ในแฟ้มความรู้ ค่ะ

  • สวัสดีคะ คุณ Phoenix
  • บรรยากาศดีมากคะ
  • กิจกรรมนี้ดีคะ
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ไม่มีขีดจำกัดจริงๆ
  • ทำให้เรามีมุมมองที่ดีขึ้น พร้อมกับมีกระจกสะท้อนให้เห็นตัวเรา
  • แล้วจะแวะมาอ่านบ่อยๆ
  • ขอบคุณมากคะ สำหรับบทความ

ขอบคุณมากครับอาจารย์หมอ

ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม...

แต่ก็เหมือนได้เข้าไปร่วมเช่นเดียวกันครับ

เจริญพร อ.หมอสกล

วันนี้เข้ามาอ่านบล็อกของอาจารย์หมอ และดูคลิปวีดีโอด้วย

ขอบคุณอาจารย์ท่นำสิ่งดี ๆ มาเล่าค่ะ ประทับใจมากๆ มากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เคยร่วมกิจกรรมนี้กับ พรพ.ครั้งหนึ่ง
  • ตอนนี้ลืมเลือนไปแล้ว
  • อยากนำมาใช้กับที่ทำงานจังค่ะ
  • ขอติดตามบันทึกอาจารย์ไปเรื่อยคงพอจะได้แนวคิดค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

คนในปัจจุบัน "อยากรู้" แล้วหาความรู้ไม่ได้ หรือว่า "ไม่อยากจะรู้" หรือ "ไม่รู้ว่าตนเองควรจะอยากรู้อะไร?" คำถามเหล่านี้วกวนเวียนอยู่ในศีรษะ คำตอบจะนำมาซึ่งการแก้ไขที่เหมาะส

สวัสดีค่ะคุณหมอ
เช้านี้พอว่างหน่อย เลยมาไล่อ่านบันทึกต่างๆค่ะ...และบันทึกนี้ ก็ดีมากๆนะคะ...
ส่วนตัวเอง ถ้าเกิดความ อยากรู้เรื่องอะไรจริงๆ  ก็คงหาทาง  หาความรู้ จนได้ อย่างรีบด่วน แต่ถ้า อยากรู้เหมือนกัน แต่ไม่รีบนัก ก็รอโอกาสเหมาะๆ เพราะเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า  ต้องทำก่อน แต่บางเรื่อง เกิดคำถามขึ้นมาในใจเหมือนกันค่ะ แต่ ก็คิดว่า แล้วจะอยากรู้ไปทำไม บางที ก้เสียเวลาไปค้นคว้า แต่เมื่อ รู้แล้ว ก็ไม่คุ้มค่าอะไรกับตัวเองและผู้อื่น ก้ไม่อยากจะรู้ ค่ะ ขอผ่าน...
คือ สรุปว่า ตัวเองรู้ตัวว่า ควรจะอยากกรู้อะไร และไม่อยากรู้อะไร น่ะค่ะ 

สวัสดีครับ ทุกๆท่าน

สาเหตุหนึ่งสำหรับ "เสน่ห์" ของ World Cafe ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา คำถาม คำตอบ เท่านั้น แต่อยู่ที่ "relationship" ที่ผลิดอกงอกงาม ณ ขณะทำกิจกรรม เป็นอะไรที่หาไม่ได้ใน lecture หรือ บรรยาย

การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ที่มี impact ต่อชีวิต ต่อพฤติกรรม จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกี่ยวข้องกับ "ความสัมพันธ์" มนุษย์เราหยิบยืมพลังชีวิตจากกันและกันมาโดยตลอด การเรียนนั้นก็เช่นเดียวกัน ไม่เพียงแต่หยิบยืมเรื่องราว แต่หยิบยืมความสุข ความทุกข์ ความปิติ ความภาคภูมิใจ ความเศร้า ความท้อแท้ ทั้งหมดทำให้เกิดชีวิตชีวา ชีวิตที่มีความหมายด้วย

การสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีเสน่ห์ เพราะปัจจัย​ "ชีวิตแท้ที่อยู่ในการเรียน" ฉะนี้เอง

สวัสดีครับ อาจารย์

มาอ่านบันทึกนี้ทำให้เข้าใจกระบวนการ World Cafe มาก ๆ ขึ้นไปอีกระดับครับ รู้ว่าควรใช้กับสถานการณ์หรือเป้าหมายใด เวลาใด ใคร เพื่ออะไร ต้องเลือกให้สัมพันธ์กัน

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ..บังเอิญผ่านเข้ามาเห็น..คำถามจากWorld Cafe..ประสพการณ์การเรียนรู้(นอกกรอบ)ของตัวเอง..มักจะเกิดจากความอยาก(อยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน อยากทำ)นี้เป็นฐานเมื่อรู้เมื่อเรียนเมื่อได้มา(สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มาจากการบังคับด้วยกฏเกณฑ์ด้วยเวลาด้วยสภาพบังคับทางเศษฐกิจ)จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่ตนและผู้อื่น(ความสุดยอดของจุดปราถนาของแต่ละคนจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อการจัดการองค์ประกอบ)การจะทำหรือไม่ทำจึงเป็นวงกว้างดังความฝันของแต่ละบุคคลที่จะไปให้ถึงฝันนั้นๆ(อัตตา)แต่ละบุคคลน้อยมากแค่ไหนเป็นสากลในสิ่งแวดล้อม...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณน้องด๊อกเตอร์ขจิต ชวนให้มาอ่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ที่นำมาบันทึก......... ดีใจค่ะ.. ก็ช่วยเปิดมุมมองวิธีคิด..ได้เพิ่มอีกนะคะ..ทั้งๆที่ผ่านกิจกรรมแบบนี้มา 2-3 ครั้ง แล้ว ความสวยงามของผลที่ได้รับมีความแตกต่างกัน..น่าศึกษาเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท