Gotoknow Forum 2009 (5): What should have done...


What should have done... and Things that impress

ในที่สุด ก็มาถึงการทบทวน นึกย้อน และสะท้อน สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วออกมาเป็นสิ่งที่อยากให้เกิด (แต่ไม่ได้เกิด หรือเกิดแล้วแต่ยังไม่สะใจ) เพื่อให้ครบถ้วนกระบวนความการเรียนรู้

  1. วัดดอน คูเต่า เป็น highlight ของงานวันแรก ซึ่งผมคิดว่าหลายๆคนน่าจะรู้สึกเหมือนๆกันว่าน้อยไปนิด มีอะไรที่อยากจะเรียน อยากจะรู้ อีกมากมาย ถ้าได้ dialogue อีกสักครึ่งวันกับคุณลุง คุณป้าที่อุตส่าห์มานั่งสลอน จะเกิดความอิ่มเอมปรีดาสุดจะหาเปรียบเทียบได้ ตอนที่ท่านทอง คุณสวัสดิ์เชิญๆขุนพลของชุมชนมานั้น หมายมั่นปั้นมือเอาไว้หลายคนว่าจะเข้าไปจับเข่า แต่ก็ไม่มีเวลา สมมติถ้าเรามีเวลาอีกสักสามชั่วโมง เราอาจจะทำกลุ่มย่อยที่มีไข่แดงคือชาวบ้าน เราไปล้อมดูดซับจากท่านกัน หลังจากนั้นการทำ AAR จะยิ่งทรงพลัง มีรายละเอียดมากขึ้น และเปิดโอกาสให้เราเป็นผู้ให้ ผู้เติม ผู้เสนอแนะแก่ชุมชนได้ด้วย เป็น mutual benefit จากการเยี่ยมเยียน
  2. สถานที่
    • มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง
    • จุดแข็งก็คือ ผมชอบวิวห้องนี้มากเลย ตอนกลางวันอาจจะร้อน แต่ตอนบ่ายๆ เย็นๆ พึ่งเห็นว่าเราได้วิวรายล้อมด้วยภูเขา มองไปไกลสุดลูกหูลูกตา เป็นห้อง theta ที่ทำกิจกรรมสมาธิ สร้างสรรค์ หรือค้นหาภายในตนได้อย่างดี (แต่บางคนอาจจะไม่ยอมตัดกิจกรรมบันเทิงภาคกลางคืน)
    • จุดอ่อนก็คือ ความยาวเรียวของห้อง ทำให้ media อาจจะสื่อได้ไม่ทัดเทียมกันทั่่วห้อง เสียงอาจจะไม่มีปัญหา แต่พวก video clip ข้างหลังอาจจะมองอะไรไม่เห็นเลย เวลามีกิจกรรมเวที ข้างหลังก็อาจจะถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วม ถ้าจะแก้ไข อาจจะต้องลดกิจกรรมหน้าเวทีลง แต่เน้นกิจกรรมกระจายมากขึ้่น หรือมีโทรทัศน์จอใหญ่เสริมตรงกลางห้องและท้ายห้อง
  3. เวลา: โลภอ่ะ อยากได้เยอะๆ จริงๆแล้วหลายๆคนเดินทางมาไกลไม่น้อยเลย หนึ่งคืนสองวันอาจจะน้อยไปนิดสำหรับคนที่ไม่มี extra night มาให้ได้ชื่นชมพื้นที่บ้าง นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนความรู้แล้ว การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเห็นพื้นที่ การทัศนศึกษา อาจจะเป็นอีก highlight ในการเรียนรู่้ จัดวันทัศนศึกษาให้จำเพาะ เพื่อเวลามีงานรวม คนจะได้ไม่ต้องลังเลและเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
  4. รูปแบบ
    • World Cafe ค่อนข้างเหมาะอยู่แล้วในการมีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายแบบนี้ แต่ก็อาจจะตั้งคำถามไม่โดนใจคนทั้งหมด เพราะยากที่คนจะสนใจเหมือนๆกัน
    • Open Space Technology (OST) ของ Harrison Owen เป็นอีกเทคนิกที่คล้ายๆกัน และถ้าจัดกับกลุ่ม GotoKnow นี่น่าจะ work OST ต่างจาก World Cafe คือ ผู้เข้าร่วมเป็นคนตั้งกลุ่ม ตั้งประเด็นเอง เสร็จแล้วทุกคนหาห้องหับ สถานที่ ใต้ต้นไม้ ห้องย่อย คุยกัน ใครหมดเรื่องก็เปลี่ยนกลุ่ม เปลี่ยนประเด็น ใช้เวลาเยอะกว่า (2 วันครึ่ง หรือมากกว่า) ใช้สถานที่มากกว่า อาศัยคุณภาพผู้เข้าร่วมกำหนดกระแสกิจกรรม
    • Fish Bowl ถ้ามีประเด็นพิเศษ ประเด็นหลัก หรือมีวิทยากรพิเศษ การใช้ fish bowl ก็น่าสนใจและมี interactive ดี สรุปแล้ว เวลาคนเยอะและหลากหลาย กิจกรรมอะไรที่ใช้ควรจะ open เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความคิด ของคนทั้งหมดได้ contribute ต่อสาธารณะได้
  5. การเตรียมตัวเตรียมใจ อธิษฐาน
    • ผมอยากจะขอชมเชยทีมผู้จัด ที่มีใจ มีทักษะ ความสามารถพิเศษ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มี will หรือ เจตจำนงความมุ่งมั่นในการผลักดันงานครั้งนี้ แต่ละคนมี determination ชัดเจนผลักดันในการทำงาน ทำให้งานตื่นเต้น งานสนุก
    • ผมได้รับเกียรติมาเป็นที่ปรึกษาและผู้ดำเนินงาน World Cafe มีการติดต่อกับคุณอัญชลีและทีมงานมาหลายครั้ง ตั้งแต่ยังไม่กลับมาจาก Australia จนกลับมาก็ไม่มีเวลามาจับเข่าคุยกัน ที่จริงคิดว่าผู้จัดจะสนุกและรับรู้งานอีกแบบหนึ่ง ถ้ามีการ meditate ก่อนสักเล็กน้อย
      • กิจกรรมประเภท World Cafe หรือ Open Space Technology เป็นกิจกรรม "ล้วง" tacit knowledge ซึ่งมักจะพ่วงห้อยเอาบุคลิกส่วนตัว คุณค่าปัจเจกไปด้วย ความไว้วางใจและความผ่อนคลาย เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆๆๆ อาจจะรวมไปถึง "ความมีศรัทธาในความตั้งใจดี" หรือ Intention ด้วย
      • เมื่อจิตตก เพราะความไม่แน่ใจ ความคาดหวัง การมี KPI หรืออะไรที่เรา "คาด" ว่าจะเกิด มันจะมากับความเกร็ง และความกังวล ตรงนี้เราทำอะไรก็ได้ที่ทำให้เราเอง relax และสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้่ก็คือ ถ้าเรามอบความไว่้วางใจกับผู้เข้าร่วมงาน และเราศิโรราบกับปรากฏการณ์ใดๆที่กำลังจะเกิดขึ้น ว่าล้วนเป็นบทเรียน เราก็จะผ่อนคลายลงได้
      • มีคนกล่าวว่า "ไม่มีความล้มเหลว ไม่มีความสำเร็จ มีเพียงแค่ประสบการณ์ การเรียนรู้" เท่านั้น กิจกรรม World Cafe นั้นทำได้หลาย styles หลายรูปแบบ ทั้งแต่ strictly structured, semi-structured จนค่อยๆกลายเป็น open space ในที่สุด เราต้องการ "พุทธิปััญญา" พุทธิ คือ space คือพื้นที่ว่าง ที่คนทดลองได้ กล้าได้ โดยไม่ต้องกลัว ต้องเกร็ง ว่าจะทำผิดทำถูก
หมายเลขบันทึก: 264155เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ใจจริง
  • ผมอยากคุยกับหลวงพ่อ อยากคุยกับชาวบ้าน
  • พยายามให้พูดให้ได้มากที่สุด
  • เลยถามคำถามนำ ฮ่าๆๆ
  • ถ้าได้จับเข่าคุยกันคงดี
  • เสียดายห้องประชุมมีเสาตรงกลาง เลยบังคนหลายๆๆคน
  • เคยทำ  Fish Bowl ถ้ามีประเด็นพิเศษ แล้วได้ความรู้มากครับ แต่ต้องนั่งกับพื้นน่าจะสนุกกว่า
  • ขอชมคุณหมอในการจัด world cafe สะกดทุกๆๆคนให้นิ่งได้
  • ตั้งแต่เคยใช้ระฆังมา
  • ระฆังคุณหมอดังกังวาลมาก
  • ชื่นชมทีมงานทุกๆๆท่านครับ

ผมชอบนั่งกับพื้นเหมือนกันครับ ที่หน่วยผม (palliative care unit) ซื้อ set หมอนขวานชนิดมีที่นั่งพับสองท่อนมาจากอีสาน นั่งนอนเอกเขนกได้ เอามาใช้เวลาประชุมหน่วย นั่งปุ๊บก็ alpha mode ขึ้นเลยทันที ไม่ต้องเสียเวลาจัดโต๊ะ เก้าอี้ด้วย

ระฆังศักดิ์สิทธิ์ ฝากเขาซื้อมาจากวัดเซ็นในญี่ปุ่นครับ เป็นโลหะผสม เปราะนะครับ ตกพื้นนี่แตกเลย เสียงดังกังวาลเกือบนาทีทีเดียว

Ans211422 
        ได้ความรู้จาก trip นี้หลากหลาย..ขอบคุณค่ะคุณหมอ....

"การเตรียมตัวเตรียมใจ อธิษฐาน" ชอบตรงนี้มาก คือมีความเห็นส่วนตัวว่าในการที่เราจะทำอะไร ถ้าก่อนจะเริ่มเราสงบใจลงอธิษฐาน มันจะเกิดสมาธิ และปัญญา รวมถึงเรียกสติมารวมได้อย่างครบถ้วนว่าเรากำลังจะทำอะไรต่อจากนี้ แบบที่อาจารย์ทำนั้นก็ดีค่ะ คนที่ร่วมงานหยุดวุ่นวาย หันมาสู่ความสงบ เตรียมพร้อมเตรียมใจเข้าสู่รายการต่อไป ไม่งั้นบรรยากาศเวลาคนมาเยอะๆ มักจะอื้ออึง ไม่เกิดสมาธิ ยิ่งถ้ามีกิจกรรมสนุกสนานก่อนหน้า สติมันจะยังเตลิดอยู่ ประมาณว่ามันค้าง talk talk talk เซ็งแซ่ ส่วนคนนำรายการเองและทีมงานก็ควรมีเวลาสงบใจด้วยกันก่อนจะไปนำคนอื่นเหมือนกัน จะเป็นการรวบรวมพลังที่ดีมาก : )

เรื่องนี้หาคนแชร์ยากค่ะ ถ้าไม่เข้าใจจะหาว่าเราบ้า ทำไรประหลาด ^ ^ แต่ตัวเองร่วมงานประชุมใหญ่ๆ ทางจิตวิญญาณและศาสนาบ่อย ทำให้รู้ว่ามันดีจริงๆ นะแบบนี้ เก็บมาได้ทุกเม็ดเพราะใจมันสงบ

"Success of an intervention depends on the interior conditions of the intervenor."

William O'Brien, CEO of Hanover Insurance Company

สำหรับ CEO หรือพวกที่มี Awaken Mind จะเห็นความสำคัญของการ "เตรียมตัว เตรียมใจ" เป็นเรื่องใหญ่มาก Joseph Jaworski ที่อยู่ในทีมของ Peter Senge ก็บอกว่า "The most important duration is within the few hours before the start of work." ต้องมีการ "เตรียมตัว เตรียมใจ หรือ อธิษฐาน" ตั้งจิตสมาธิให้ดีเสียก่อน เป็นต้นทุนที่สำคัญมากๆครับ และใช้ในการเรียนรู้ได้ดีจริงๆ

ตอนแรกที่ได้รับการติดต่อจากผู้จัดให้มาช่วยในกลุ่มกิจกรรม world cafe ได้เข้ามาศึกษาก่อนล่วงหน้าเล็กน้อย มองว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้ เมื่อได้เข้ามาร่วมกิจกรรมแบบสบายๆ ในครั้งแรก จึงขอเป็น host ให้กลุ่ม เพราะไหนๆก็มาตั้งไกล น่าจะทำตัวให้เกิดประโยชน์บ้าง  แต่อาจจะงงๆเล็กน้อยว่าเราจะสรุปประเด็นอย่างไรให้กระชับในสิ่งที่ทุกคนเล่าเรื่อง

อาจารย์เป็นผู้พาทำกิจกรรม ทำให้ประทับใจมาก

อยากทราบว่า ถ้าเรานำกิจกรรมนี้มาใช้ ควรเริ่มด้วยพาทำจินตนาการก่อนไหมคะ 

คุณแก้ว Pครับ

คงจะมีวิธีสรุปประเด็นมากมายหลายแบบ

แต่สำหรับผมเอง ผมอยากให้ทุกคน รวมทั้ง fa หรือ ว่าที่ host มีความผ่อนคลาย และ open mind, open heart จริงๆ อย่าไปกังวลเรื่องครบ ไม่ครบ (บางคนอาจจะถึงกับ interrupt คนพูด เพราะจดไม่ทัน และฟังไม่ทัน...เพราะมัวแต่จด) เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่จดก็เป็นเพียงแค่ contents ไม่ใช่ประโยชน์จริงๆที่คนกำลังจะได้ ประโยชน์จริงๆนั้น จะต้องไปถูกกลั่นกรอง ถูกโยงใยไปกับ interior conditions ของคนฟังที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะโดนใจที่ยุทธวิธี บางคนอาจจะประทับใจที่ sensing ความรู้สึก หรือมีแม้กระทั่งประทับใจวิธีพูด อวจนภาษาของคนที่กำลังเล่าอย่างมีความสุข

สิ่งเหล่านี้อาจจะหลุดหายไป ถ้าเราไปมัว focus แต่ contents เท่านั้น และน่าเสียดายอย่างย่ิง

โดยเฉพาะที่จะหลุดหายไป ถ้านั่งจด นั่ง record ก็คือ bonding ระหว่างผู้ฟังและผู้รับ การสบสายตา หรือการสัมผัสตัว สัมผัสมือในบางบริบท ถ้าการสนทนานั้นลงไปถึงระดับ I in You หรือ I in Now

หน้าที่ที่มี host คอยเล่าเรื่อง จึงไม่ได้เน้นที่ความครบ แต่ให้ "เล่าเรื่องที่ประทับใจ" หนึ่งหรือสองเรื่องก็พอ เพราะการเล่าเรื่องประทับใจ จะเชื่อมต่อหัวใจของกลุ่มเดิม เข้ากับสมาชิกกลุ่มใหม่ เป็นโยงใยสายสัมพันธ์ของเรื่องเล่าเร้าพลังที่กำลังถูกเติมต่อด้วยคลื่นของเรื่องราวชุดใหม่

การเตรียมตัวสำหรับกิจกรรมประเภทนี้ ใช้อะไรก็ได้ที่เปิดสมองซีกขวา เช่น การระบายสี วาดรูป นั่งสมาธิ หรือแม้กระทั่ง bodyscan นั่งนอนสมาธิ สมองซีกขวาจะช่วยการสื่อสารด้วยหัวใจและอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้นครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ดีใจมากค่ะ..ที่มีโอกาสดี ๆได้ฝึกกิจกรรมจากอาจารย์
  • ได้ทดลองนำมาใช้กับเด็ก ๆ บ้างแล้วนะคะ  ประชุมกันว่าจะใช้ทั้งโรงเรียนค่ะ  ทั้งครูและเด็ก
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ครูคิมP ครับ

กับเด็กๆน่าจะสนุก เพราะหัวใจบริสุทธิ์ เปิดกว้าง เรื่องเล่าก็จะไร้เดียงสา ปรุงแต่งน้อย (กว่าพวกผู้ใหญ่!!)

  • ด้วยความตั้งใจอย่างมากครับท่านอาจารย์ ในการร่วมงาน GotoKnow Forum ครั้งที่ 1 นี้ ว่าจะได้เรียนรู้กระบวนการ World Cafe จากอาจารย์
  • เคยผ่านตาบ้างในบันทึกของท่านสมาชิก แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติจริงครับ ก็จะลองฝึกใช้ดูครับ
  • วันนั้นพยายามสังเกตว่าอาจารย์ทำอะไรบ้าง
  • มีประเด็นสับสนนิด ๆ ในการตั้งคำถามในแต่ละรอบครับและความเชื่อมโยงเป็นอย่างไรครับ รวมถึงบทบาทของ Host ต้องนำเสนอประเด็นชุดเดิมแก่ผู้มาใหม่แล้วต่อยอดเรื่องเดียวกันนั้นหรือเปล่าครับ
  • จะคอยเข้ามารับคำตอบครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับ อ.ชาญวิทย์ P

เรื่องการตั้งคำถามนี่ อธิบายยากครับ สำหรับผมแล้วมันเป็นปนๆกันระหว่างศาสตร์กับศิลป์ รวมไปถึงวัตถุประสงค์ หรือ theme ของงาน ว่ามี agenda จำเพาะ หรือเป็น OD (organization development) เพื่อความสามัคคี สร้างสรรค์ หรือว่ามีโจทย์ขององค์กรที่ต้องการจะแก้

อย่างของคราวนี้ เป็นการรวมตัวจากสารทิศ ต่างอาชีพ ต่างพื้นเพ มีใจเรียนรู้เป็น common values ผมอาศัยตรงนี้บวกกับทฤษฎีสมองสามชั้น ฐานกาย ฐานความคิด ฐานกาย มาปรับเป็นคำถามสามระลอก

เนื่องจากผู้เข้าร่วมพึ่งทำ "ฐานกาย" มาจากกิจกรรม อ.ขจิต สมองกำลังอยู่ใน beta แก่ๆ (มี alpha ปน เพราะสนุก แต่ค่อนไปทาง alert มากกว่า) ผมเลยพยายามเน้นฐานหัวใจมากเป็นพิเศษ ตั้งแต่การทำสมาธิ การอยู่กับอวัยวะตนเอง เพื่อฉวยโอกาสที่คนกำลังหอบเหนื่อย เอากายเป็นตัวตั้งและทำให้เกิดความนิ่ง สงบ ในการสังเกต และเริ่มผ่อนคลาย ตามด้วยบทเพลง Standby Me เพื่อเปิด I in You และเน้นไปด้านความสัมพันธ์

คำถามแรกจึงใช้เป็นฐานใจ คือ ถามเรื่องแรงบันดาลใจ

เหลือสองฐาน คือ ฐานความคิด และฐานกาย ส่วนใหญ่ถ้าไม่จำเพาะเจาะจง ผมจะใช้คำถามสุดท้ายเป็นฐานกาย (จะทำอะไร จะพูดอะไร จะปฏิบัติเยี่ยงไร เป็นอธิษฐาน เป็นสัญญา ที่ออกเป็นรูปธรรม)

คำถามที่สองจึงต่อด้วย "ฐานความคิด จินตนาการ" เอาแรงบันดาลใจจากโจทย์ที่หนึ่งเป็นต้นทุน กระตุ้นให้หาวิธีแก้ปัญหา หาวิธีใหม่ๆ มองมุมใหม่ๆในการแก้ปัญหา

บทบาท host นั้น ไม่ได้เน้นที่การ carry contents ครับ แต่เป็นการสร้างบรรยากาศมีคนต้อนรับ มีแขก สำหรับรอบต่อไป มันอบอุ่นดี และให้เล่าก็เพียง "เรื่องประทับใจ" ไม่ได้ให้เล่าทั้งหมด ซึ่งจะเกิดแรงกดดันแก่ host โดยใช่เหตุ เพราะยังไงๆ ตัวที่เป็น knowledge มันไม่ได้อยู่ที่ contents เนื้อหาอย่างเดียว เรื่องราวที่ประทับใจ มันจะมีแรงหัวใจมาเกี่ยวข้อง ก็เป็นการรับแขกที่นุ่มนวล และด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ อาจจะเป็นเรื่องของตัวเองที่พึ่งเล่าไปก็ยังได้ ถ้ามันเป็น highlight ในสมองของเราจริงๆ ณ ขณะนั้น

Disclaimer: นี่เป็น World Cafe ที่ผมตีความเอาเองจากที่อ่าน และที่ได้ทำมา ผนวกกับความรู้ที่ได้จากการทำ workshop น่ะครับ อาจารย์มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะมี version อื่นๆ ตามความเหมาะสม ตามบริบท ที่ยิ่งดีไปกว่านี้ก็ได้

อ้อ ...ลืมแชร์ไปเรื่องค่ะ คือเป็น host แต่โดนขุดจากผู้เข้าร่วมกลุ่มบางท่าน พยายามจะแงะ แซะกระบวนการ แนวคิด วิธีการต่างๆ และสรุปเป็นข้อๆ กลับไปให้ได้ interupt ตลอด รู้สึกเครียดมากช่วงหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะผู้เข้าร่วมยังไม่เก็ต และตั้งเป้ามาจากบ้านด้วยส่วนหนึ่งว่าจะต้องได้ข้อมูลกลับไปให้ได้ แบบนั้นเครียดค่ะ

ดึกแล้วขอระบายแล้วกันนะคะ คือส่วนตัวไม่ค่อยรู้จักกระบวนการพวกนี้ว่าต้องมี 1, 2, 3 อะไร การไปครั้งนี้ตัวเองได้แนวคิดหลายอย่างกลับมาและคิดจะทำอะไรหลายๆ อย่างสำหรับองค์กรและชีวิตส่วนตัว โดยไม่ได้จดอะไรกลับมาสักอย่างเพราะไม่ชอบจดเป็นทุนเดิม แต่ข้อมูลที่ได้รับมันวนเวียนอยู่ในหัวเองเพราะตั้งใจฟัง บางอย่างก็ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจ บางเรื่องก็แค่ทำให้เราเห็นอะไรกว้างขึ้น หรือบางครั้งก็แค่รับฟังเฉยๆ แต่ก็ฟัง

...สงสัยอย่างว่าหน่วยงานที่ต้องการทำ KM นี่คนที่รับหน้าที่เขาวางข้อแม้มาตายตัวเลยหรือคะว่าต้องอย่างงั้นอย่างงี้ ตัวเองคิดว่า KM มันปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก เพราะฉะนั้นถ้าทำไรแล้วดี ได้ผลก็นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน มันดีกว่าว่าที่จะมากำหนดว่า 1-10 คืออะไร อาจจะเป็นเพราะระบบการศึกษาบ้านเรามันสอนให้คนเป็นอย่างนั้น เวลาจะทำอะไรต้องมี pattern ทุกอย่างก็เป็นได้ พอมาเจอแบบฟรีสไตล์ให้เปิดทางความคิดเลยมึน วันนั้นเกิดมีความไม่สุนทรีย์ขึ้นเพราะถูกคาดคั้นพอประมาณจากบางท่าน แบบว่า host จำเป็น (รู้ก่อนล่วงหน้า 1 นาที) กลายเป็นผู้ที่ต้อง carry contents เพราะผู้ร่วมกลุ่ม need และโดนล้วงตับไปถึงเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ต้องการแชร์ พยายามข่มอารมณ์และปรับจิตใจอย่างเร่งด่วน เพราะกลัวจะทำเอางานแตก คือถ้าเป็นนิสัยและอารมณ์ปกติก่อนทำสมาธินี่จะลุกขึ้นบอกประมาณว่า "เจ้นี่...ไรนักหนา อยากได้สรุปตายตัวแบบนั้นก็ไปซื้อที่เซเว่นไป เดี๋ยวจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินกลับบ้านให้ไปซื้อแถวบ้านโน่น" 555 ขอระบายที่คาใจไว้เท่านี้ค่ะ

คุณ Little Jazz  Pครับ

ฮึ ฮึ อย่างนี้ต้องมอง retrospective ว่าบทเรียน (สำหรับตัวเรา) ไม่ใช่เรื่องที่คุยแล้วล่ะครับ แต่คือการทดสอบเรื่อง unconditional love ดูสิว่าอารมณ์เราจะถูกกวนให้ขุ่นได้ไหม

แน่นอนมีคนคาดหวัง และจริงๆก็ไม่ผิดอะไร ในโลก (ของเขา) จริงๆที่อยู่ ก็อยู่อย่างนั้นมาตลอด คือเป็นโลกของ expertise เป็นโลก how to 

คือการเรียนการสอนนี้ มันเริ่มมาตั้งแต่ไปดูว่าที่ดีๆ เขาทำอะไรกัน (Do what) เป็นการจดบันทึก copy เลียนแบบ ในยุคต้นของการเรียนเป็นแบบนั้น ต่อมาเข้ายุคกลาง เป็นโลกของทำอย่างไรกัน (Do how) มี guidelines มี protocol มี ฯลฯ มากมาย

จนภายหลังเริ่มมีคนสังเกต เอ... เราก็ซื้อกระดาษ ภู่กัน วิธีวาด ระบาย แบบปิคาสโซ แบบแวนโกะ ทำไมมันออกมาเป็นปิศาจโซ่่ แวนก๊วยแทนละหว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนขอไปสังเกต zen master artist ท่านหนึ่ง ว่าท่านทำงานอย่างไร ท่านก็ไม่ว่าอะไร นั่งมองกาน้ำชาเฉยๆ ทอดหุ่ยไปเรื่อยๆอยู่หลายวัน จู่ๆ ก็ลุกพรวดพราดสะบันภู่กันจุ่มหมึก ได้ภาพวาด masterpiece ออกมาในพริบตา

คนจึงเร่ิมสนใจ "The Source" หรือ "ที่มา แรงบันดาลใจ" ของงานที่ระดับโลก

โลกของ How to ยังคงอยู่กับเราไปอีกนานครับ จุดแข็งคือ มัน (ดูเหมือน) ถ่ายทอดได้ชัดเจน เป็นโลกยุคฟิสิกส์ของนิวโตเนียน (Newtonian Physics) ที่มีสมการเชิงเดี่ยวกำหนด กำหนดแรง กำหนดวัตถุ เสร็จแล้วมันการันตีจะไปอย่างที่แรงกระทำแน่นอน โลกของ Quantum หรือโลกของ "เหตุปัจจัย" (อิทัปปัจจยตา) นั้นซับซ้อน และดูเหมือนจะควบคุมไม่ได้ ไม่มีสัญญิงสัญญาว่าทำอย่างไรแล้วจะเกิดยังไง คนก็ไม่ค่อยชอบกัน

ปัญหาก็คือ เราเองถ้าตกลงจะมองให้เห็นทั้งสองโลก เราก็ต้องดูแลสภาวะจิตของเราเองด้วย อย่าให้จิตตก เมื่อมีเหตุการณ์ที่ "ไม่ได้ดั่งใจ" มักจะมาเป็นบททดสอบว่า เราเชื่อ ศรัทธา และทำอย่างที่เราบอกว่าเราเชื่อ เราศรัทธาหรือไม่ ยิ่งเวลาที่ถึงเวลายกระดับจิต มันก็เหมือนสอบ final นั้นแหละครับ ข้อสอบจะยิ่งท้าทาย ยิ่งยาก

ดังนั้นสุนทรีย์จึงไม่สามารถเกิดได้อัตโนมัติโดยการแจกโบรชัวร์ แผ่นพับห้านาทีก่อนเริ่มงาน เมื่อคิดว่าเราแต่ละคนมีความคุ้นชินมาเป็นสิบๆปี มันก็ค่อยเป็นค่อยไป แต่ผมเชื่อ (เป็นต้นทุน) อยู่ว่า ถ้าเมื่อถึงเวลาธัมมะจัดสรร ในบริบทที่เราพอคุมได้ direct experience จะสามารถชี้นำและเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนทัศน์ได้ คิดอย่างนี้ งานกระบวนกร งานครู งานแพทย์ ที่ต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงค่อยไม่น่าเบื่อ แต่น่าตื่นเต้น เร้าใจ และน่าสนใจตลอดเวลา

  • เรียน ท่านอาจารย์หมอ ครับ
  • ผมได้อ่านที่ท่านอาจารย์หมออธิบายจากคำถามของผมแล้ว ทำให้ค่อย ๆ สว่างมากขึ้นครับ
  • แต่ก็ยังมีที่ต้องเรียนรู้อีกมากครับแล้วจะเข้ามาเรียนรู้ในบันทึกของอาจารย์เรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มเติมต่อไป
  • การวิเคราะห์การตั้งคำถามของผมต่อ ๆ ไป คงง่ายขึ้นเมื่อจะจัดเวที ถึงแม้นจะยังไม่ใช้กระบวนการ World Cafe แต่จะใช้ 3 ฐานที่อาจารย์ชี้แนวคิดให้ไปปรับใช้ครับ
  • ขอบพระคุณอย่างสูงที่อธิบายให้ด้วยความตั้งใจครับ
  • ในประเด็นแลกเปลี่ยนของท่าน Little Jazz ผมตัดมาตอนหนึ่งว่า"พยายามจะแงะ แซะกระบวนการ แนวคิด วิธีการต่างๆ และสรุปเป็นข้อๆ กลับไปให้ได้" ผมก็เจออยู่บ่อย ๆ เหมือนกันครับ(เวทีอื่นไม่ใช่เวที GotoKnow Forum ครั้งที่ 1) ส่วนใหญ่ทุกคนต้องการกระบวนการสำเร็จ และผลลัพธ์ เพื่อใช้เลยประมาณนั้นครับ ต้องใช้เวลากับเขาพอสมควร

                                        ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ

                                                 ชาญวิทย์-นครศรีฯ

เก็ตค่ะ ไม่ขุ่นไม่เคือง และเข้าใจระบบ how to ว่าหลายคนยังติดยึดอยู่ในเรื่องแบบนี้ ยังก้าวข้ามไม่พ้นเพราะยังขาดประสบการณ์และความรู้ ถ้ามองในแง่ดีคือต่อไปเมื่อคนกลุ่มนี้ดูคนอื่นจนรู้ว่าจะทำอย่างไรก็อาจจะเริ่มเปลี่ยนจุดมองไปสู่การหาแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกและใหญ่กว่า

เราเปลี่ยนใครไม่ได้ต้องเริ่มจากภายในตัวเรา หลังจากกลับจากงานก็ครุ่นคิดตลอด และอยากทำอะไรหลายอย่าง แรงบันดาลใจนี่สำคัญมาก นำไปสู่การเริ่มต้นของหลายสิ่ง ภาวะตอนนี้เลยอยู่ใน mode ของชาครึ่งถ้วย พร้อมจะรับสิ่งที่เติม หรือเทสิ่งที่มีให้คนอื่น เมื่อใจเปิดก็มีสิ่งดีๆ ตามมาในชีวิตทันที อย่างวันนี้แต่เช้าก็มีคนโทรมาปลุกเพื่อขอความช่วยเหลือ ปกติถ้าเสาร์เช้าโทรมาปลุกแล้วขอให้ทำโน่นทำนี่ก็อาจจะไม่ response เพราะหงุดหงิดและง่วง แต่ช่วงนี้ใจสบายมากและมีสิ่งที่คิดอยู่ในใจก็เลยตอบสนองในแบบ positive กับคำขอ รู้สึกขอบคุณเขาที่ไว้ใจและให้โอกาสเราได้ช่วย ลองอ่านเรื่องสุดท้ายดูค่ะ Journal ขอบคุณอาจารย์ที่สละเวลาตอบเม้นท์แลกเปลี่ยนในวันหยุด (ตื่นเช้าจริงเรย)   : )

ความรู้หลายระดับมันก็มีที่ใช้ของมันอยู่ ขอเพียงเป็นประโยชน์ก็ใช้ได้นะครับ เดี๋ยวจะติดแต่ความรู้แบบใหม่ เลยทิ้งแบบเดิม

ในการฝึกฝนเส้นทางของผม คำถามสำคัญกว่าคำตอบ เพราะคำถาม โดยเฉพาะคำถามที่ดี มักจะนำมาซึ่ง action และการเปลี่ยนแปลง ส่วนคำตอบบางทีก็สิ้นสุดอยู่แค่นั้น สำเร็จรูป แต่อาจจะไม่ได้เตรียมตัวเราให้เผชิญกับอนาคตอันไม่แน่นอน กับคำถามที่ยังไม่มีใครตอบมาก่อน

สิ่งสำคัญก็คือ "แรงผลักดัน ความอยากรู้" นั่นคือต้นทุนการเรียน การศึกษา แม้ว่าจะเป็นการแสวงหาวิธี แสวงหาคำตอบแบบสิ้นสุด แต่เรามองเห็นได้ว่าก็มีแรงผลักดันอันบริสุทธิ์ เราก็ไม่ต้องขุ่นข้อง และน่าจะหล่อเลี้ยง energy นี้ไว้ หล่อเลี้ยงให้เติบโตงอกงาม

อ.หมอค่ะ

สี่ขอขอบพระคุณอาจารย์หมอมากค่ะ กระบวนการ world cafe คงไม่เป็นที่ประทับใจหลายๆ ท่านได้มากเท่านี้หากสี่ต้องมาเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมนี้เองค่ะ แม้ยอมรับตามตรงว่าอาจจะกลุ้มเล็กน้อยกับงานชิ้นต่อไป(รวบรวมเป็นหนังสือ) แต่ไม่เป็นไรค่ะ คิดว่าน่าจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมค่ะ

เสียดายเพียงอย่างเดียวก็คือ เสียดายที่ไม่ได้ลงไปทำกิจกรรมนี้ด้วยตนเองค่ะ เพราะกลายสภาพเป็นเด็กเสริฟ์ชั่วคราว แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ะที่ได้เห็นกระบวนการนี้ในวงกว้าง

แต่ยังหวังว่าครั้งหน้าจะกลายเป็นผู้เข้าร่วมด้วยค่ะ

สำหรับสี่ขณะนี้สนใจกระบวนการ Open Space Technology (OST) ที่อาจารย์เขียนไว้ค่ะ เพราะพิจารณาจากหลายๆ อย่างแล้ววิธีการนี้เหมาะกับสมาชิกใน GotoKnow อย่างที่อาจารย์ว่าค่ะ โดยเฉพาะเหมาะกับผู้ที่เปิดใจยากค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท