จิตตปัญญาเวชศึกษา 112: อภิชาตศิษย์ 3


อภิชาตศิษย์ 3

ผมเคยเขียนเรื่อง "อภิชาตศิษย์" ไว้ต่างกรรม ต่างวาระ สองตอน คือตอนหนึ่งและตอนสอง แม้จะมีเรื่องราวที่แตกต่างกัน แต่ก็เกิดขึ้นในกิจกรรมเดียวกัน คือการเรียนการสอน Health Promotion หรือการสร้างเสริมสุขภาพ ระหว่างที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่สี่ปฏิบัติงานใน block pre- and postoperative care (การดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด) สำหรับเรื่องคราวนี้ก็เกิดขึ้นในกิจกรรมที่ว่านี้เช่นเดียวกัน

คราวนี้เนื่องจากมีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น มาทีนึงกว่า 50 คน เราเลยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม จากเดิมแค่ 4 กลุ่ม ผมเลยได้มีโอกาสฟังเรื่องราวกลุ่มละ 6 เรื่องแทนที่จะเป็น 4 เรื่อง เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่ว่าเมื่อเราเปิดโอกาสให้นักศึกษาลองเข้าไปทำความเข้าใจคนไข้ในมิติลึกอย่างเต็มที่แล้ว นักศึกษาเราได้แสดงศักยภาพทั้งด้านมิติการเป็นแพทย์ และมิติอื่นๆได้อย่างน่าทึ่งแทบจะตลอดเวลา

ต้นมังคุด

เรื่องที่หนึ่ง ป้าสำลีกับต้นมังคุด

เริ่มต้นด้วย video clip (home-made) มีคุณป้าคนหนึ่งเดินอยู่ในสวน แบกเอาบันไดเหล็กมาหนึ่งบันได วางลงไปที่โคนต้นไม้ท่ามกลางกองใบไม้ แล้วก็ไต่ขึ้นไป เพื่อจะเด็ดลูกมังคุด สักประเดี๋ยวบันไดก็โอนเอน ในที่สุดก็ล้มครืนลงมา คุณป้า (แสดงโดย นศพ.) ลงมานอนจุกอยู่บนพื้น จนสักครู่ก็มีคนมาพบและนำส่งโรงพยาบาล

ปรากฏว่าน้องๆ นศพ.ได้เข้าไปสัมภาษณ์กับคุณป้าสำลีหลายครั้ง จนในที่สุดได้ขออนุญาตคุณป้าขอสัมภาษณ์และถ่าย video clip ไว้ด้วย มาประกอบการนำเสนอว่าในมุมมองของคุณป้าสำลี ความเจ็บป่วยครั้งนี้เกิดจากอะไร มีผลกระทบเช่นไรต่อตัวแก และจากประสบการณ์ครั้งนี้ แกจะนำไปกลับไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไรบ้าง ออกมาเป็นเสียง สีหน้า ท่าทาง ชัดเจนแก่บรรดาเพื่อนๆที่นั่งฟังด้วยกัน

คุณป้าสำลีมีลูกชายโตแล้ว ทำงานที่กรุงเทพฯ ตัวป้าเองเป็นนักสู้ (ไม่งั้นไม่มาปีนต้นมังคุดตอนอายุหกสิบกว่าๆแบบนี้) การปีนต้นมังคุดเป็น "ศีล" หรือเป็น "ปกติ (norm) ของแก ฉะนั้นเวลาเราถามว่าทำไมไม่ใช้กระบอกไผ่เหล่าปลายเป็นสามแฉกช่วยสอย แกบอกว่าเก็บมังคุดด้วยมือมันนุ่มนวล ผลจะสวยกว่า คุณภาพดีกว่า ส่วนที่ลูกชายต้องมาดูแลแกที่บ้าน แกไม่ชอบ เพราะเป็นภาระ

น้องๆนศพ.กลุ่มนี้ก็วิพากษ์ให้ฟังว่า พวกเขาคิดว่าคุณป้าคงจะไม่ยอมเปลี่ยนวิธีเก็บมังคุดง่ายๆ เพราะฟังจากน้ำเสียงของป้าแล้ว พร้อมเมื่อไร แกคงจะกลับสู่วงการปีนต้นมังคุดอีกแน่ๆ ส่วนลูกๆที่ต้องมาดูแลนั้น เต็มใจอยู่แล้ว ที่จริงเป็นโอกาสที่หายากด้วยซ้ำที่จะได้ปรนนิบัติรับใช้ป้าสำลีบ้าง เนื่องจากคุณป้าเป็นหญิงแกร่ง ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ใครมาช่วย มาทำอะไรบ่อยนัก เราอาจจะช่วยพูดให้คุณป้าสำลีเข้าใจความรู้สึกของลูกหลานที่อยากมาดูแล ว่าไม่ใช่เรื่องเป็นภาระ แต่เขาอยากทำ ส่วนเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุณป้าสำลีบอกว่า อาจจะเป็นเพราะบันไดไม่มั่นคง วางบนกองใบไม้เลยลื่นไถล แกยังคิดว่ายังปีนไหวอยู่ แต่ก็พิจารณาเรื่องการใช้เครื่องมืออื่นช่วย (เพราะแกมีกระดูกข้อมือหักคราวนี้ ทำให้ใช้มือไม่ถนัดแล้ว) ก็จะยอมให้คนมาช่วยดูแลสวนบ้างจนกว่าจะหายดี

หลังจากนั้น น้องๆ นศพ.ก็นำเสนอวิธีแก้ไข ป้องกัน ตามหลัก health promotion ต่อไป แต่ที่ผมรู้สึกทึ่งก็คือ การที่น้องเขาสามารถสังเกตท่าที แววตา อาการคุณป้า และสามารถเข้าใจในระบบความคิด ความรู้สึก และไม่ด่วนตัดสินว่าเรารู้อะไรดีกว่าเขาในเรื่องสุขภาพ แต่ให้ไปทำความเข้าใจในกระบวนทัศน์ และสุขภาวะของคนไข้และครอบครัวก่อน ถ้ามีหลักเช่นนี้เป็นพื้นฐาน ผมคิดว่าน้องๆนศพ.มีความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพอย่างลึกซึ้งหนักแน่นมากทีเดียว และสามารถจะ empower คนไข้ในบริบทมุมมองของคนไข้เอง ไม่ยัดเยียด ไม่สั่งสอน แต่ไปหล่อเลี้ยงช่วยเหลือ และเข้าไปฟังคนไข้อย่างลึกซึ้งจริงๆ

ร้านน้ำชา

ชาชัก และแต่เตี้ยม ร้านกู หาดใหญ่

เรื่องที่สอง ลุงเหมกับร้านน้ำชา

ลุงเหมเป็นชาวหาดใหญ่ขนานแท้ คือตอนเช้าจะขี่รถเครื่อง (รถมอเตอร์ไซด์) เข้าเมืองมาร้านน้ำชาแต่เตี้ยมที่มีอยู่หลายเจ้า ตอนประมาณหัวรุ่ง เพื่อมากินอาหารเช้าสุขภาพ (แต่เตี้ยมนานาชนิด หนักและอยู่ท้อง กับน้้ำชาจีนตั้งกาบนเตาถ่าน วางข้างๆโต๊ะพร้อมถ้วยชาตะไลเล็กๆตามจำนวนสมาชิก)และข้อสำคัญคือเปิดสภาชา (ไม่ใช่สภากาแฟ) กับเพื่อนๆ ทำมาเป็นนิจศีลจนอายุเข้า 60 กว่าจะ 70 ปี แต่เช้านี้ไม่เหมือนเดิม เพราะตอนคุณลุงยืนอยู่ที่ข้างๆรถตนเองหน้าร้านนำ้ชา จู่ๆก็มีรถยนต์มาจากไหนไม่ทราบ พุ่งเข้ามาชนจากทางด้านหลัง คุณลุงเหมหมดสติไปทันที มารู้สึกตัวที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ปรากฏว่าลุงเหมบาดเจ็บมากพอสมควรทีเดียว มีเลือดลมคั่งค้างในปอดพร้อมกับกระดูกซี่โครงหัก ต้องใส่สายระบายเข้าที่ช่องอก ไม่งั้นปอดจะขยายออกไม่ได้ หายใจจะแน่นติดขัด และยังมีกระดูกกระเดี้ยวหักตรงนั้นตรงนี้อีก

น้องๆนศพ.กลุ่มนี้เล่าให้เราฟังว่าลุงเหมแกเดือดร้อนเป็นทุกข์จากอุบัติเหตุครั้งนี้เยอะมากทีเดียว สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณลุงคือ ความเป็นอิสระที่จะไปไหนมาไหนด้วยตัวเองหายไปหมดเลยจากการที่ต้องมานอนโรงพยาบาล ตอนคุณลุงเหมฟื้นมาใหม่ๆ แกก็บอกพยาบาลกับหมอว่า แกคลับคล้ายคลับคลาว่ามีคนหยิบกระเป๋าตังค์แกไป แต่จำไม่ได้ว่าใครและเอาไปไว้ที่ไหน หรือหยิบไปตอนไหนก็ลางๆเลือนๆ ส่วนท่อระบายลมเลือดที่ช่องปอดนี่ก็รำคาญมาก อยากจะให้เอาออก แต่พยาบาลก็บอกแกว่าเอาออกยังไม่ได้เพราะอันตราย

ลุงเหมเป็นคนจีน (น้อง นศพ.บอกว่าเป็นจีนแคะ เพราะได้ยินแกเรียกตัวเองว่า "งาย" แปลว่า "ฉัน" ในจีนแคะ) แกเลยพูดกับพยาบาลและพวกทีมหมอๆไม่ค่อยเข้าใจแจ่มแจ้ง น้องนักเรียนแพทย์บอกว่าการที่แกสื่อสารลำบาก และจากการที่เจ็บป่วยทั้งหมด ลุงเหมรู้สึกว่าอิสรภาพที่เคยมีมันหายไปหมดเลย และเครียด หงุดหงิดมากๆ เรียกร้องอะไร ทำอะไร ก็ขัดใจไปหมด จนในที่สุดมีครั้งหนึ่งที่ลุงเหมไม่พอใจมากๆเข้า แกเลยดึงสายท่อระบายที่ช่องอกออกเอง จนพยาบาลหมอญาติๆตกอกตกใจกันไปตามๆกัน โชคดีที่ไม่เป็นอะไร แต่ก็ทำให้คนรอบๆข้างรวมทั้งลุงเหมเองด้วยเครียดไปพักใหญ่

น้องนักเรียนแพทย์ได้ชี้ประเด็นสำคัญของผลกระทบความเจ็บป่วยในมุมมองที่น่าสนใจ การเจ็บป่วยนั้น คนไข้จะรู้สึกถูก "แยก" ออกจากสังคมเดิม ยิ่งถ้าเดิมเป็นคนชอบสังคมด้วยแล้ว อย่างคุณลุงเหมนี่ การไม่ได้เข้าสังสรรค์ สภาน้ำชา จิบชากินแต่เตี้ยมรับอรุณ เป็นอะไรที่เป็น "ทุกข์" เสียยิ่งไปกว่าการมีเลือด มีลม ออกมาเพ่นพ่านในช่องปอด ที่พวกเราๆหมอ พยาบาล มองเป็น "เรื่องใหญ่" ของแก

มีน้องนศพ.กลุ่มนี้ที่พอดีพูดจีนได้บ้าง สงสารแก ก็เลยเข้าไปพูดคุยด้วย เพราะหลังจากที่ลุงเหมดึงท่อออกเอง ดูๆก็เกิด "รังสี" ความไม่ลงรอยกันระหว่างลุงเหมกับทีมรักษาพยาบาล ลุงเหมถูกมองคล้ายๆกับจะเป็น "difficult patient" หรือ "คนไข้เจ้าปัญหา" ไป แกยิ่งทุกข์มากขึ้น เพราะนอกเหนือจากแกทำอะไรไม่ได้แล้ว แกยังถูก "ไม่เข้าใจ" (ถ้าไม่ใช่ "เข้าใจผิด") เข้าไปอีกกระทงหนึ่ง พอน้องคนนี้ (นศพ.บุญสม) เข้าไปพูดคุย แกก็เหมือนกับเห็นแสงสว่างรำไรท่ามกลางความมืดมน อารมณ์คุณลุงก็ดีขึ้น น้องบุญสมสนิทสนมกับลุงมากขึ้น จนถึงกับแม่้จะลงกองจากแผนกอุบัติเหตุไปอยู่แผนกอื่นของกองศัลย์ ก็ยังสัญญาและมาเยี่ยมเยียนคุณลุงทุกวันจนคุณลุงกลับบ้านได้

มองย้อนกลับไป ที่คุณลุงเหมโกรธเรื่องที่แกจำได้ว่ามีคนหยิบกระเป๋าสตางค์ไปนั้น ที่จริงที่แกโกรธ อาจจะไม่ได้โกรธมากเรื่องกระเป๋าสตางค์หาย แต่น่าจะโกรธเพราะ "ไม่มีใครฟังแก" เท่าที่ควร พวกเราเก่งเรื่อง fact-finding เมื่อรับรู้เรื่องราว เราก็จะวิเคราะห์แยกแยะ contents เนื้อหาออกเป็นส่วนๆเพื่อหาทางแก้ไข แต่เราไม่ค่อยรับรู้เรื่อง "อารมณ์ความรู้สึก" ที่มากับ contents เนื้อหานั้นสักเท่าไหร่ บางทีเราก็เลยเผอเรอหมกมุ่นกับ solution หรือวิธีแก้ปัญหา จนลืมเรื่อง compassion หรือจิตเมตตา กรุณา ที่คนเล่าเรื่องกำลังทุกข์อยู่ ลืมแสดงความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานและ background ของความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ ระหว่างโรงพยาบาลและครอบครัวไปอย่างน่าเสียดาย

ผมบอกกับน้องบุญสมในห้อง conference นั้นว่า "บางทีสิ่งที่น้องทำลงไป น้องได้ช่วยรักษา reputation ชื่อเสียง และจรรยาบรรณของโรงพยาบาลของเราเอาไว้ก็เป็นได้ และผมขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย"

นี่คืออภิชาตศิษย์ ที่คนเป็นครู ช่างมีอภิสิทธิ์ในการได้มาพบปะ เจอะเจอ มองเห็นต้นกล้าที่ทำกำลังงอกงามเติบโต ให้ประโยชน์แก่คนในอนาคตต่อไป

เป็นน้ำทิพย์ชะโลมใจสำหรับคนเป็นครูโดยแท้

หมายเลขบันทึก: 294219เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ชื่นใจกับอาจารย์ด้วยค่ะ

ให้กำลังใจในการถ่ายทอดความเป็นครูดีๆของอาจารย์ด้วยนะคะ

ขอแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลสุดคะนึงครับ

มาแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลครับ พบว่าการรักษาไม่ง่ายอย่างที่คิด มีเรื่องของจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มาชื่นชมครูแพทย์และนักศึกษาแพทย์ครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรโยมอาจารย์หมอ

  • ขออนุโมทนากับรางวัลสุดคะนึง
  • ประทับใจที่โยมอาจารย์หมอขีดเขียนเรื่องราวทางนามธรรมจิตใจให้อ่านกันได้ด้วยภาษาที่เรียบง่ายเข้าใจง่าย
  • ไม่ง่ายนักหรอกที่นักวิชาการจะถ่ายทอดทฤษฏีแห้ง ๆ ให้ชาวบ้านรู้เรื่อง
  • ขอให้มีพลังทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อไป

เจริญพร

สวัสดี ครับ อาจารย์

มาร่วมแสดงความยินดีกับ บันทึกทรงคุณค่า ที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้เป็นประโยชน์ แก่สังคมอุดมปัญญา แห่งนี้ ครับ

ด้วยความเคารพ

สวัสดีครับพี่อัจฉรา

ขอบพระคุณครับที่มาเยี่ยมเยียน งานของบำราศนราดูรก็ยังเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่น้องๆหมอทุกๆรุ่นที่ผมมีโอกาสเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นใน รพ.ให้ฟังเสมอเช่นกันครับ

สวัสดีครับอ.ประพนธ์

ชอบพระคุณครับ เข้าใจว่าเราจะได้พบกันอีก face to face เร็วๆนี้ใช่ไหมครับที่ มิราเคิลแกรนด์

สวัสดีครับ อ.ขจิตที่รักเคารพ

ยากแต่คุ้มค่าที่จะทำนะครับ ขอบพระคุณครับ

คุณ kumfun ขอบพระคุณครับ

นมัสการท่านมหาแลครับผม

เป็นพระคุณครับผม ขอรับเป็นแรงบันดาลใจและมอบอุทิศให้ครูทุกท่านทั้งตามอาชีพและตามการปฏิบัติต่อไปครับ

สวัสดีครับ

คุณแสงแห่งความดี อาจารย์จารุวัจน์ และคุณสุดสายป่าน ขอขอบพระคุณครับผม

  • อาจารย์นกไฟที่คมคายเสมอ
  • ไม่ได้แวะมาหานานแล้ว
  • เมื่อเที่ยงนี้้ได้แวะมา
  • แล้วได้คำตอบอะไรบางอย่างเกี่ยวกับคนๆหนึ่ง
  • .......
  • คำนี้จึงแวะมาเพื่อขอบคุณ
  • มาขออนุญาตลิงค์เรื่องของอาจารย์ไปที่นี่ด้วย
  • .......
  • ขอบคุณค่ะ

มาแสดงความยินดีด้วยค่ะ

พี่หมอเจ๊ Pครับ

ตามไปอ่านเรื่องราว รู้สึกทึ่งมากครับ เลยเขียนต่อไว้ (ยาวนิดหน่อยครับ) ขอบพระคุณที่ต่อยอดได้อย่างไม่คาดฝันมาก่อนครับ

กราบสวัสดีค่ะ ได้อ่านเรืองราว"จิตตปัญญา"ที่เป็นการพัฒนาปัญญาจากบันทีกของท่านมาตลอด หนูขอกราบคารวะแสดงความชื่นชมในรางวัลที่ชาวเรามอบให้ด้วยค่ะ

สวัสดีครับ คุณครูแมว P

ยินดีต้อนรับเพื่อนร่วมวงการครูครับ เราเป็นสังฆะแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากกันและกันตลอดเวลา (และขอให้ตลอดไป) ครับ

  • แวะมาอีกทีค่ะ
  • ฝากขอบคุณน้องนศพ.ด้วยนะคะ
  • เมื่อซื่อตรงกับตัวเองพี่ก็พบว่า
  • ที่ "ไม่ฟังเท่าที่ควร" ก็เป็นอย่างที่น้องว่าจริงๆเชียว
  • ..........
  • มัวแต่หาวิธีช่วยเธอ หาวิธีแก้ปัญหาเรื่องงานให้เธอ จนลืมแสดงความเห็นอกเห็นใจ แสดงความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานและ background ของความสัมพันธ์ระหว่างกันไปจริงๆ
  • ..........
  • ความก้าวร้าวที่ได้พบเจอทำให้มีแต่คนแหยงกับอารมณ์ของเธอ
  • จนคนลืมวางอุเบกขา ให้สามารถใช้เมตตา กรุณาของตัวไปซะนี่
  • ..........
  • ขอบคุณที่ทำให้เห็นแสงสว่างในการแก้ปัญหาค่ะ

จะไม่ลืมไปเล่าให้น้องบุญสมเขาฟังทันทีที่มีโอกาสครับ พ่ีหมอเจ๊

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท