นิราศซิดนีย์ 41: The Overture of The Finale


การที่คนเหล่านี้ทำงานในแวดวงนี้ แต่ไม่ได้ใช้ mortality หรือการตายเป็นความล้มเหลว ไม่ได้ใช้ survival หรือการอยู่รอด เป็นความสำเร็จ ด้วยสาเหตุบางประการทำให้ "นิยามของความสำเร็จ" เกิดการ shift และเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรบางอย่าง ที่ส่งผลไปถึงการใช้ชีิวิต การมองชีวิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

The Overture of The Finale

เมื่อมีการเดินทาง ก็จะมีการสิ้นสุดการเดินทางหรือถึงที่หมายเป็นเรื่องธรรมดา ผมเขียนนิราศซิดนีย์เป็นบันทึกประสบการณ์การไปดูงาน Palliative care ที่ประเทศออสเตรเลียระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม 2009 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่ได้ไปประสบพบเห็น แม้ว่าจะกลับมาแล้ว อะไรหลายๆอย่างที่ยังไม่ได้บันทึกก็ยังคุกรุ่นให้ครุ่นคิด จึงเห็นเป็นการอันควรที่จะทำบันทึกให้สมบูรณ์ในที่สุด

การเดินทางไปดูงานนั้น หมายความว่าเราออกจากบริบทคุ้นเคย ไปยังที่ที่มีความแตกต่าง ซึ่งลำพังแค่ความแตกต่างอย่างเดียว ก็คุ้มค่าที่จะเกิดการเรียนรู้แล้ว แต่ถ้าความแตกต่างนั้น ยังเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้สิ่งที่เราเคยแค่คิดแค่ฝัน แค่อยากจะให้เกิด แล้วปรากฏว่ามีคนกระทำได้ในทางปฏิบัติจริงๆ ยิ่งเป็นการดูงานที่มีความหมายอย่างยิ่ง ผมเคยได้รับโอกาสแบบที่ว่านี้ตอนเดินทางไปดูงานมูลนิธิพุทธฉือจี้เมื่อสงกรานต์ที่แล้ว และสามารถพูดได้อีกเช่นกันสำหรับการดูงานที่ซิดนีย์ในช่วงสงกรานต์ปีนี้

24-28 กันยายนที่ผ่านมานี้ ผมไปเข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Hospice and Palliative Care Conference ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมทุกสองปีของกลุ่มองค์กรนานาชาติในเขตพื้นที่เอเชียแปซิฟิก ปีนี้ชื่อ theme ของงานคือ Together! เน้นเรื่องความสำคัญของความหลากหลายของวัฒนธรรมในการดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิต งานประชุมครั้งนี้จัดที่เมือง Perth ฝั่งค่อนมาทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเดินทางกลับมาที่ประเทศนี้อีกครั้งหลังจากกลับมาเมืองไทยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่แล้ว

พิธีเปิดงานพร้อมธงชาติกว่าสามสิบประเทศและตัวแทน

Senator หลุยส์ แพรท จากรัฐ western Australia ตัวแทนภาครัฐบาลออสเตรเลีย

Professor Margaret O'Conner ประธานสมาคมฮอสพิสประเทศออสเตรเลีย (Palliative Care Australia )

สถานที่ประชุมคือ Perth Convention Exhibition Centre ริมแม่น้ำสวอน มี Pre-conference master-class 1 วัน และงานประชุม 4 วันเต็มๆ โปรแกรมแน่นเอียดเต็มห้อง Riverside Theatre ซึ่งจุคนได้ 2000 คน และห้องแยกย่อยอีก 10 ห้องทุกวัน ปรากฏว่ามีคนลงทะเบียนเข้าร่วมงานในครั้งนี้ 1250 คน ซึ่งหนึ่งในสามเป็น candidates มาจากนอกประเทศออสเตรเลียจากทุกสาระทิศในเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งแขกรับเชิญจากสหรัฐอเมริกาอย่าง Professor Stephen Connor จากไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรได้แก่ Professor Sheila Payne และ Dr. Bee Wee ที่เป็น speaker คนแรกสำหรับ Hinohara lecture ในงานประชุมครั้งที่ 8 นี้ (Dr Hinohara เป็น visionary ที่ก่อตั้ง Asia-Pacific Hospice Network ขึ้นมา)

palliative care ได้เข้าและเจริญเติบโตขึ้นในประเทศออสเตรเลียกว่า 20 ปีแล้ว ด้วยความมุ่งมั่นของกลุ่ม palliative care physicians และ caregivers และ hospice personels ทำจนกระทั่งประชาชนชาวออสเตรเลียมองเห็นประโยชน์และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต จนกระทั่งเกิดแรงกดดันขึ้นไปยังรัฐบาลและนักการเมืองว่า palliative care เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน และการได้รับ palliative care หรือการดูแลในช่วงสุดท้ายของชีวิตแบบบูรณาการจะต้องอยู่ในนโยบายสาธารณสุขของประเทศ มีความสำคัญไม่แพ้เรื่องเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และการสาธารณูปโภคเลยทีเดียว

Overall Theme: Cultural connections for quality care at the end of life (วัฒนธรรมเชื่อมโยงเพื่อคุณภาพของการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต) และสำหรับสามวันก็มีประเด็นย่อย ได้แก่

  • Palliative care for different populations การดูแลสำหรับกลุ่มประชากรที่แตกต่างหลากหลาย เนื่องจากประเทศออสเตรเลียเอง ก็เป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมากอพยพมาอยู่อาศัย ทั้งต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ การดูแลโดยใช้ multi-cultural approach จึงมีความสำคัญอย่างมาก
  • Present and Future: Challenges and Opportunities in Palliative care สถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างของสถานการณ์ในปัจจุบันของ palliative care ในประเทศต่างๆ และแนวโน้มในอนาคต
  • Growing workforce in palliative care การบริหาร จัดการ และสนับสนุนกลุ่มผู้ทำงานใน palliative care จากรัฐ จากส่วนเอกชน ชุมชนและสังคม

แต่โดยส่วนตัวแล้ว ที่เป็น highlight สำหรับผมเองก็คือ โอกาสที่จะได้เจอะเจอเครือข่ายผู้ให้การดูแล palliative care จากที่ต่างๆ หลายคนเจอกันมาหลายต่อหลายครั้งและสนิทสนมเป็นมิตรสหายกัน หลายคนที่กำลังจะเป็นเพื่อนใหม่ หลายคนที่ในอนาคตเราอาจจะได้มาทำงานร่วมกัน ทั้งหมดมีรสนิยมมุมมองและสนใจร่วมคือเรื่องราวของชีวิตในช่วงสุดท้ายเป็นงานที่เรามุ่งมั่นว่า นี่แหละคือคุณค่าของชีวิตของเรา เป็นงานที่ worthwhile ที่เราจะนำมาใช้เป็นวิถีดำเนินชีวิตของพวกเรา

Dr Rosalie Shaw แม่บุญธรรมทางวิชาชีพของผม ผู้เป็นแรงบันดาลใจ และเป็น "มารดาของ palliative care" สำหรับหลายต่อหลายประเทศในเอเชีย

ในงาน Gala dinner ทุกคนเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน มีความสุข เพื่อชีวิตอันมีคุณภาพ พวกเราต้องเห็นและใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเสียก่อน จึงจะไปช่วยคนอื่นได้

ถ้าหากจะถามความเห็นส่วนตัวของผม ผมรู้สึกเสมอว่างานประชุม palliative care จะค่อนข้างแตกต่างจากงานประชุมวิชาการทางการแพทย์อื่นๆที่ผมเคยเข้ามา บรรยากาศจะค่อนข้างผ่อนคลาย มีความสนุก คนที่มาร่วมดูจะมี profile จำเพาะที่แตกต่างจากวงการแพทย์สาขาอื่นๆ ตอนแรกคิดว่าเป็นเพราะเรามีคนจากสาขาอื่นๆ อาทิ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร มาร่วมงานด้วย แต่ปรากฏว่า บรรดาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญที่มา ต่างก็มี "ความต่าง" อย่างบอกไม่ถูกในบุคลิก ความสนใจ และท่าทาง ผมเดาเอาว่าการที่คนเหล่านี้ทำงานในแวดวงนี้ แต่ไม่ได้ใช้ mortality หรือการตายเป็นความล้มเหลว ไม่ได้ใช้ survival หรือการอยู่รอด เป็นความสำเร็จ ด้วยสาเหตุบางประการทำให้ "นิยามของความสำเร็จ" เกิดการ shift และเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรบางอย่าง ที่ส่งผลไปถึงการใช้ชีิวิต การมองชีวิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

หมายเลขบันทึก: 302696เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับอาจารย์สกล

เห็นรูป Shaw กับอาจารย์เต็มไปด้วยรอยยิ้มก็รู้สึกได้ถึงความสุขใน และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ ประโยค high light

ทำอย่างไรถึงจะ Think Global Act Local ได้ครับอาจารย์

สวัสดีครับ พี่นงนาทครับ

ยังไม่จบนะครับ ยังมีต่ออีกไม่ทราบกี่ตอน โปรดติดตามครับผม

อยากให้โรจน์ได้มาร่วมงาน และรับทราบบรรยากาศด้วยตนเอง

เดือน พ.ย.นี้ ทีม APHN จะมาจัด intensive course ให้พวกเราอีกครั้งหนึ่งครับ

สวัสดีครับ คุณหมอสีอิฐP

สิ่งที่เราทุกคนทำ จะมีผล very local คือต่อตัวเราเองก่อนเสมอครับ ผมเองคิดว่าเรา "เป็น" สิ่งที่เราทำ และเราเป็นอะไร ก็จะส่งผลไปยังคนรอบข้าง ได้แก่ครอบครัว คนใกล้ชิดไปด้วยเสมอ

เดี๋ยวนี้เราไม่สามารถจะแยก local ออกจาก global หรือ global ออกจาก local ได้ชัดเจน global warming ที่อลาสกาก็มีผลกระทบต่อคนที่ฟิลิปปินส์ ที่นาหม่อม ที่ซามัว สิ่งที่เราทำกันในประเทศไทย ออสเตรเลีย หรืออเมริกา เรามีผลต่อ "นิเวศ" ที่เราต่างก็อาศัยร่วมกันอยู่

สิ่งที่อาจจะช่วยได้ก็คือ contemplate ให้เห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ไม่แยกแยะ แต่บูรณาการ เริ่มจากงานประจำ จากกิจวัตร ออกไปสู่ระบบ ในที่สุดก็อาจจะเกิด Think and act global and local ได้กระมังครับ

อาจารย์คิดว่าอย่างไรครับ

สนใจครับอาจารย์...MS pal จัดหรือเปล่าครับ

ขอโทษทีครับ..MS pcare 0จัดหรือเปล่าครับ

แล้วจัดที่ไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท