OM ในระบบสุขภาพปฐมภูมิ 4: ความท้าทายเชิงผลลัพธ์


ความท้าทายเชิงผลลัพธ์

ตอนที่พวกเราช่วยๆกันเขียน OM ของสันทรายในครั้งนี้่ ไม่ได้ทำตามลำดับที่ผมเคยไปเรียนมาจาก สคส. workshop ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มจาก vision & mission ของ "เรา" (คือใครก็ตามที่จะเป็นคนดำเนินการแผนนี้) แต่กลายเป็นว่า "เรา" (ในที่นี้คือ สภ.อ.) ไปรวบรวมหากลุ่ม direct partners มาก่อน คือ ไปดูมาว่าในพื้นที่ของเรามีกลุ่มอะไร formed ขึ้นมากันบ้าง แล้วเอามาทำกัน

ก็ไม่ได้ว่าอะไร เป็นไงเป็นกันอยู่แล้ว ถือหลัก OM ต้องลองทำครับ ถึงจะรู้

ปัญหาอยู่ที่ตอนเขียน outcome challenges หรือความท้าทายเชิงผลลัพธ์ (บางท่านจะแปลว่าผลลัพธ์ที่ท้าทายก็ได้ แต่อาจารย์ทัศนีย์ ท่านเป็นครูภาษาอังกฤษ แนะนำว่า เขาแปลเอาตัวหลังเป็นหลัก) นั้น ก็เกิด "อาการ" ขึ้นมาทันที

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มต่่างๆที่เรามีนั้น สิ่งแรกๆที่จะต้องทำก็คือ เขาฝันอย่างที่เราฝัน หรือเราฝันร่วมกับเขาหรือไม่? เพราะถ้าตรงนี้ไม่ได้จูนกันให้ดีแต่แรกเริ่มแล้ว so-called direct partners ของเราอาจจะไม่ได้ฝันร่วมกับเราเลย ในที่สุด ก็จะ doom ไปสู่ความแตกแยก แยกทางกันเดินในที่สุด

อาทิ บางกลุุ่มอาจจะตั้งขึ้นมาเพื่อหากำไร เป็น profit-making union หรือสหพันธ์ผู้ค้าขายอะไรก็ตาม ตรงนี้เราจะต้องดูดีๆ ไม่งั้น เราเองฝันว่าเขาจะต้องค้าขายเพื่อสุขภาวะของอำเภอ แต่ปรากฏว่าเขาตั้งกลุ่มเพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองสร้างกำแพงราคาของ อย่างนี้เรียกว่าคนละเรื่องเดียวกันตั้งแต่ที่มาเลยทีเดียว

และบางทีด้วยความคุ้นชิน และคิดว่าถ้าเรารู้แล้ว คนอื่นก็น่าจะเข้าใจเหมือนๆกัน มีตัวอย่างใน workshop นี้

กลุ่มนึงบอกชื่อกลุ่มว่าเป็นกลุ่ม "แม่บ้าน" แล้วก็ตั้ง outcome challenges ว่่า "ทำอาหารได้ถูกหลักอนามัยและมีประโยชน์" เท่านั้นแหละ เพื่อนๆก็รุมชำแหละกันเมามัน มีคนบอกว่า "อะไรกันเธอ เห็นแม่บ้านทำหน้าที่แค่ทำกับข้าวเท่านั้นเองเรอะ" "เออ... ดิฉันว่า แม่บ้านก็มีความฝันอย่างอื่นๆนะคะ เป็นแม่ที่ดี เป็นคนที่มีประโยชน์ต่อสังคม ไม่ใช่อยู่แต่ในครัวนะคะ" ฯลฯ

เกือบเละครับ

ที่จริงเข้าใจผิด เพราะเขาหมายถึง "กลุ่มสตรีแม่บ้าน" ที่อำเภอนี้มีกลุ่มนี้รวมตัวกัน เพื่อทำอาหารงานเลี้ยงใหญ่ๆของชุมชน เช่น งานบุญ งานวัด งานแต่งงาน อะไรแบบนี้ "แม่บ้าน" เป็นคำจำเพาะ ไม่ใช่คำทั่วๆไป และกลุ่มนี้มารวมกันเพราะกิจกรรมทำอาหารอย่างเดียว (ตอนนี้) ก็เลยมี outcome challenges ออกมาแบบนั้น

กระนั้นก็ตาม เวลาจะทำ OM จริงๆ เราคงจะต้องไปถาม direct partners ของเราก่อนอยู่ดี ว่าที่มารวมกันเนี่ย อยากจะทำอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัยกันจริงๆไหม หรือมารวมกันเพื่อจะหาสูตรอาหารอร่อยๆ หา package อาหารหลากหลาย ฯลฯ หลายต่อหลายเหตุผล เราไม่ควรจะไปตั้งเอาเองว่ากลุ่มนี้สำเร็จแล้วจะต้องทำอย่างนี้ได้ อย่างโน้นได้ แต่เป็นฝันของเขา (เราอาจจะมีสิทธิ "โน้มน้าว" แต่ถ้าทำได้แค่นั้น นี่ก็จะกลายเป็น strategic partners ไป ไม่ใช่ direct partners เพราะเป้าหมายหลักที่มีกลุ่ม ไม่ได้เป็นเรื่องอะไรที่เราอยากจะทำสักกะหน่อย แค่มาเฉียดๆเท่านั้น)

อย่างกลุ่ม "สว." (ผู้สูงอายุ) ก็เช่นกัน เราจะไปช่วยเขา ก็คิดกันเสร็จสรรพว่า เออ..นะ สว.จะต้องมาสอนประสบการณ์ มาแนะนำชีวิต จะต้องมารำกระบี่กระบอง พอถามไปว่า เออ.. แล้วมี สว.บางท่านอยากอยู่กับบ้านเฉยๆ เราจะไปทำอะไรท่านไหม? หรือถ้าท่านไม่อยากจะออกมาสอน ออกมาพูด เราจะไปทำอะไรท่านไหน? ความฝันของ direct partners จึงจะต้องมาจากความคิด ความรู้สึก ความเห็นชอบของเขาเอง

นอกเหนือจากกับดักที่เราไปเขียนฝันให้คนอื่นเขา ก่อนจะไปถามเขาก่อน ยังมีอีกเรื่องก็คือ เขียน outcome challenges แต่ออกมาเป็น "กิจกรรม" ไปซะ

นี่เป็นความเคยชินเก่าๆ เวลาเราเขียนโครงการ เขียนเสร็จมันจะต้องมีกิจกรรม และกิจกรรมนี้กลายเป็น "เป้าหมาย" ไปซะ ยิ่งตอนออกมาเป็น progress markers ยิ่งชัด กลุ่มแรก expect to see ก็จะต้องมีสัมมนา มีอบรม มี workshop ฯลฯ กลุ่มสอง like to see ก็จะมีเครือข่าย เขียนแป๊บเดียวเสร็จ แป๊บเดียวจบ (จบเห่!!)

outcome challenges จะต้องเป็น direct partners ของเรา ถ้าเมือไร "เปลี่ยน" เป็นแบบนี้ล่ะก็ ความฝันของเราจะสำเร็จ หรือใกล้จะสำเร็จแน่ๆ ฉะนั้น ไอ้ตัวกิจกรรม ไม่ว่าจะไปร่วมอบรม ร่วมสัมมนา ร่วมประชุม ร่วมลงชื่อนั้น ไม่ได้เป็น "พฤติกรรมที่พึงปราถนา" เลย เป็นแค่วิธีการ กลยุทธ์เท่านั้น เราต้อง "ชัด" ว่าเรา (และเขา) อยากจะได้อะไร มีพฤติกรรมเช่นไร เช่น อบรมเสร็จแล้ว ต่อไปนี้อาสาสมัครสามารถฟังได้อย่างลึกซึ้ง มีพฤติกรรมที่เห็นแก่ส่วนรวม เช่น มีงานบุญครั้งไหน ก็กุลีกุจอไปช่วย ไปทำงาน

อย่าลืม "พฤติกรรม ความสัมพันธ์ และศักยภาพ" ของ OM

หมายเลขบันทึก: 372752เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราถูกปลูกฝังการทำงานแบบสำเร็จรูปเสียจนเคยชินครับ อาจารย์

ใช่ค่ะ..กับดักเต็มไปหมด

ระวังแล้วก็ยังเจอ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท