PLACEBO: I Shall Please


สินค้าตัวไหนก็ไม่ได้ประกวดคุณภาพกันสักเท่าไหร่ มองดูดีๆ จะเป็นการขาย placebo กันทั้งนั้น

 Placebo (Latin)

c.1225, name given to the rite of Vespers of the Office of the Dead, so called from the opening of the first antiphon, "I will please the Lord in the land of the living" (Psalm cxiv:9), from L. placebo "I shall please," future indic. of placere "to please" (see please). Medical sense is first recorded 1785, "a medicine given more to please than to benefit the patient."

Online Etymology Dictionary, © 2001 Douglas Harper

ในสมัยหนึ่ง เราจะบอกว่ายาตัวนี้ได้ผลจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพราะผลทางอ้อม เช่น หมอเป็นคนให้ หรือ ความเชื่อ หรือ ศรัทธา ฯลฯ เราก็จะให้คนไข้ลองกินยาตัวทดลอง และ "ยาหลอก" หรือ placebo โดยที่ไม่บอกคนไข้ว่าจริงๆแล้วเขาได้ยาตัวไหน ผลที่ work ถ้ายาตัวนั้นมีฤทธิ์ต่ออาการนั้นๆจริงๆ ก็จะแสดงออกมาให้เห็นแตกต่างจากยาหลอกอย่างเห็นได้ชัด

ที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าจะมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ทางสถิติ) ระหว่างกลุ่มยาจริง และยาหลอก จะมีคนไข้ในกลุ่มยาหลอกเสมอที่บอกผลว่ายาหลอกก็ work เหมือนกัน เพียงแต่น้อยกว่าเท่านั้น เราก็มักจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า placebo effect

Placebo effect ก็คือ การแสดงผลที่สนใจ ทั้งๆที่ตัวกระตุ้นที่แท้จริงไม่มี แต่เพียงคนไข้ "เชื่อว่ามี" เช่น เชื่อว่าได้ยา เชื่อหมอ เชื่อในชื่อเสียง ของคน ของสถานที่ ของ ฯลฯ ความเชื่อ หรือ ถ้าจากรากศัพท์ latin ของคำนี้ คือ PLEASE เป็น track ของอารมณ์ ของอะไรสักอย่างที่ส่งผลต่อการแปลผลความรู้สึกได้

เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องเล่าประเภททหารก่อนออกศึก เข้ามารับของขลังปลุกเศก จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ บางคนคาดเอว คาดหัว คาดแขน ก่อนไปรบ มีของขลังแล้วก็มีความเชื่อ ความมั่นใจ ความกล้าหาญ เพิ่มมากขึ้น มีทหารอยู่คนหนึ่งหยิบตะกรุดเล็กเข้าปาก อม แล้วก็ไปลงสนามรบ ตอนประจันบาญก็รู้สึกขึ้นมาว่าตะกรุดในปากเต้นเร่าดั่งมีชีวิต ก็รู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ก็บุกตะลุยอย่างไม่กลัวตาย จนข้าศึกถอยร่นไปหมด ใครๆก็เข้ามาชมภายหลังว่ากล้าอะไรหยั่งนี้ ทหารก็ยิ้ม บ้วนตะกรุดเสกออกมา ปรากฏว่าเป็นลูกปาดตัวเล็กๆ กระโดดหนีไป

หรือเรื่องประเภทที่ความเชื่อนำเอาพลังแฝงเร้นออกมาได้ เช่น บ้านไฟไหม้คนแบกตุ่มหนี (ทำไมต้องเป็นตุ่มทุกที ทุกเรื่องสิน่า) แบกตู้เย็น แบกทีวีวิ่งตัวปลิว แต่พอเพลิงดับ ยกก็ยกไม่ขึ้น อย่างนี้จะเกี่ยวกับ placebo หรือไม่ก็ไม่ทราบได้

เรื่องเล่าของ placebo ก็มีร้ายๆ เหมือนกัน กาลครั้งหนึ่งในโรงพยาบาล เคยมีคนไข้โรคเรื้อรัง เจ็บปวดอยู่นั่นแล้ว ขอยาๆ ทั้งวัน หมอพยาบาลคิดว่าอ้อนหมอ อ้อนพยาบาล เรียกร้องความสนใจ เพื่อการพิสูจน์ ครั้งต่อไปพอขอยาแก้ปวดฉีด ก้เลยฉีดน้ำกลั่นให้ แต่บอกว่าเป็นยาจริงๆ แก้ปวด ปรากฏว่าคนไข้ก็เลิกขอไป ก็คุยกันลับหลังกันใหญ่ว่า นี่ไงๆ ไม่ได้เจ็บจริงสักกะหน่อย ฉีดน้ำกลั่น (placebo) ก็หาย practice แบบนี้ในปัจจุบันถือว่าเป็น malpractice และผิดจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างร้ายแรง เพราะ ตั้งแต่ 1. โกหกคนไข้ 2. เอาสัจจของวิชาชีพไปเดิมพัน อย่างไม่มีความรับผิดชอบ 3. ละเมิดความไว้วางใจ ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ 4. ไม่มีเจตนาจะรักษา ทั้งๆที่เป็นสัจจาปฏิญาณ

กระนั้น placebo effect ก็ยังไม่ได้สูญหายไปจาก practice จริงๆจังๆ ในทุกๆวงการ เดี๋ยวนี้ในการโฆษณายิ่งชัดเจน ใช้นำหอมยี่ห้อนี้คุณจะเป็นหนุ่มสำอางค์ ใช้มือถือยี่ห้อนี้คุณจะเป็นสาวทรงเสน่ห์ ใช้แชมพูญี่ห้อนี้เหมือนดาราคนนี้ ใครๆก็จะแยกไม่ออกเลยว่าเป็นคุณหรือเป็นดารากันแน่ที่นั่งหน้าเป๋อเหลออยู่ตรงนี้ แต่คนเรา (หรือลูกค้า) ก็ยินยอมแต่ดดยดีที่จะถูก placebo effect หรือ จะถูก please ให้มี fantasy เล็กๆ สักกระผีกนึง พอดีใจว่าฉันมีหนึ่งอวัยวะที่เหมือนดาราสาว (โดย sacrifice ปัญญาตนเองไปก็ไม่เป็นไร) ในตลาดขายของตอนนี้ สินค้าตัวไหนก็ไม่ได้ประกวดคุณภาพกันสักเท่าไหร่ มองดูดีๆ จะเป็นการขาย placebo กันทั้งนั้น

 

คำสำคัญ (Tags): #placebo#to please#ยาหลอก
หมายเลขบันทึก: 80993เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ

         ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่น่าสนใจ

         ผมเคยอ่านเรื่อง Placebo Effect ครั้งแรกจากหนังสือ มหัศจรรย์ทางจิต ของหลวงวิจิตรวาทการ ตอนนั้นยังเด็กมาก ก็เลยทึ่งไม่น้อยเลย

         อยากเรียนถามคุณหมอว่า

  • ปรากฏการณ์นี้มีคำอธิบายที่แสดงกลไกทางจิตวิทยา/สรีรวิทยา ไหมครับ?
  • ในการพัฒนายาชนิดใหม่ขึ้นมาในปัจจุบัน ยังมีการใช้ Placebo Effect  ในการศึกษาอยู่อีกหรือไม่ครับ?

         ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อ.บัญชา

ยังมีการใช้ placebo อยู่ครับ เพราะเป็นวิธีเดียวที่เราจะสามารถมั่นใจว่า effect ของยาใหม่ ไม่ได้เกิดจาก psychological effect

คำถามที่หนึ่งนั้นมี collateral evidence มากมายหลายอย่างครับ ว่ากลไกทางจิตใจ ความเครียด หรือความสมบูรณ์ทางจิตใจ มีความเชื่อมโยงกับการทำงานของร่างกาย ตั้งแต่ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เคยมีการศึกษา effect ของ sleep deprivation ใน แพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม พบว่าคนนอนน้อยมีผลกระทบต่อการขยับตัวของเม็ดโลหิตขาว ที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน อย่างมีนัยสำคัญ และยังมี paper ทำนองนี้อื่นๆอีกมากครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์phoenix

           อาจารย์เขียนดีมากเลยค่ะ แฮะแฮะ แต่ตามอ่านไม่ค่อยทันเลย เรื่องนี้สนุกดี

           จะว่าไปแล้ว placebo effect อาจเกี่ยวกับพลังจิตได้เหมือนกันนะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์หมอ Phoenix

        ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ  ผมคงจะไปค้นคว้าต่อ และอาจกลับมาพร้อมคำถามเพิ่มเติมครับ

 

เรื่องของ จิตใจ กำลังจะเป็น new science ที่คนสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ

อย่างที่คุณหมออนิศราว่ามา สิ่งที่เราเรียก "พลังจิต" นั้น มีอะไรหลายๆอย่างที่ modern science ยังไม่เข้าใจ ในหนังสือของพี่หมอวิธาน ฐานะวุฑฒ์ ได้มีรวบรวมบทความไว้หลาย reference พูดถึง "ประสาทสัมผัส" อีกแบบหนึ่งนอกเหนือจากทั้ง 5 senses เช่นในการทดลอง "คนมองจากด้านหลัง" ของ Sheldrake (Seven Experiments That Could Change The World) ที่จากการทดลองกว่า 20,000 ราย คนเราสามารรถ "บอก" ว่าถูกมองข้างหลังได้ถูกต้องเป็นจำนวนมาก

บางที Placebo ทำอะไรมากกว่าที่เราเคยคิด ผมแห่งความเชื่อ ความศรัทธา ทำอะไรๆหลายๆอย่างกับ sensation ของมนุษย์ เช่น เทศกาลหลายๆที่ที่คนผู้ศรัทธามีการทรมานตนเอง เอาอาวุธทำร้ายตนเองได้อย่างไม่รู้สึกเจ็บปวด ฯลฯ

 อาจารย์บัญชาครับ

ที่จริงผมคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้เท่าไรนัก แต่ยืนยันได้บางส่วนว่าคนไข้ของเราหลายๆคนที่ จิตใจ มีผลต่อสุขภาพนั้นเป็นเรื่องจริง และเป็นไปทั้งบวกและลบ สภาพจิตที่ไม่ดีสามารถทำให้คนทุกข์ทรมานกว่าโรค และสภาพจิตอีกแบบก็ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งๆที่ ก็มีทั้งสองแบบครับ

สวัสดีครับอาจารย์ เรื่องที่อาจารย์เขียนสนุกมากเลยครับ เรื่อง Placebo effect นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับจิตครับ จริงๆแล้วถ้าอาจารย์สนใจเรื่องนี้ มีเรื่องหนึ่งนี่เกี่ยวข้องและน่าสนใจไม่แพ้กัน คือเรื่อง BIas และ Frame ที่เราน้อยครั้งมากที่จะรู้ว่ามันมีอยู่เวลาเราตัดสินใจครับ

Placebo effect อาจจะเรียกได้ว่าเป็น bias ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า confirmation trap ครับ คือคนเราพยายามที่จะหาข้อพิสูจน์ยืนยันกับความเชื่อของตัวเอง ยกตัวอย่างง่ายๆก็เหมือนคนไปดูหมอมาครับ คนส่วนมากจะคิดว่าหมอแม่น มีสองสาเหตุที่คนเช่นนี้ครับ หนึ่งคือหมอพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เจาะจง เช่นว่าหมู่นี้คุณดูท่าทางโชคร้าย แต่ไอ้ความที่เราคิดว่าหมอแม่นอยู่แล้ว หรือต้องการให้หมอนั้นแม่นด้วย ก็ยาวเลยครับ จริงด้วยแหมช่วงนี้หมากัด ทะเลาะกับแฟน ฯลฯ หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือหมอดูนั้นพูดถึงเหตุการล่วงหน้าที่ไม่เจาะจง เหมือนกันครับ เราพยายามหาเหตุการจริงมายืนยันอยู่แล้ว มันก็เลยดูเหมือนหมอดูแม่นไปเลย

ถ้าเทียบกันแล้ว Placebo effect นั้นก็จะคล้ายกันในลักษณะที่ว่า คุณต้องการที่จะหายจากการเจ็บปวด คุณเชื่อไปแล้วว่า ถ้าได้ยาคุณจะหาย ดังนั้นการได้รับยา แม้ว่าจะเป็นยาเก๊ ก็ตาม มันทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ครับ

เรื่องยกตุ่มนั้น ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของกลไกสมองครับโดยตรงนะครับ แหมผมเองก็คงไม่บังอาจเอามะพร้าวห้าวมาขายสวยซะด้วย เพราะตัวเองนั้นเรื่องขีววิทยา โยนทิ้งไปตั้งแต่ขึ้นมัธยมปลายแล้ว แต่ท่าที่ผมทราบ สมองมี 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนสืบพันธุ์ และการอยู่รอด (ผมจำอันนี้เป็นภาษาอังกฤษได้อันเดียว เรียกว่า Reptilian) ส่วนที่สองควบคุมด้านอารมณ์ครับแล้วส่วนที่สามควบคุมด้านตรรกะ การพิจารณาใช้เหตุผล ตอนไฟไหม้ด้วยสัญชาติญาณการอยู่รอดครับ อะไรที่เราคิดว่าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเราทำได้ทุกอย่างครับ แล้วน้ำนี่สำคัญต่อการดำรงชีวิตมากที่สุดไม่ใช่หรอครับ  

สวัสดีครับคุณไปอ่านหนังสือ (ชื่อเท่ห์มากครับ)

เดี๋ยวนี้คำว่า จิต มีมากมายหลายความหมายจนเรา take for grant ว่าเรากำลังพูดเรื่องเดียวกันไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

neurophysiologist, astrologist, biologist, psychologist, priest, layman, etc มีนิยาม ความหมายของคำๆนี้ไม่เหมือนกันเลยครับ

เวลาทำวิจัยแล้วใช้ placebo ในปัจจุบัน เราต้องขออนุญาตเจ้าตัวก่อน และเขา "ต้องทราบ" ด้วยว่าเขามีโอกาสเท่าๆกันที่จะ ได้ / ไม่ได้ ยา คือมียาจริงกับยาหลอก ทั้งนี้เพื่อที่จะลด psychological effect เรื่องมั่นใจว่าได้ยาแน่ๆออกไป กลายเป็น 50/50 หรือ 30/100 อะไรทำนองนั้นแทน

คนปกติถามเอาดื้อๆว่า "อะไรสำคัญต่อการดำรงชีวิตมากที่สุด" ยังตอบไม่ได้ หรือตอบไม่เหมือนเดิมทุกทีเลยครับ ถ้าจะบอกว่า "น้ำ" สำคัญ แล้ว "อากาศ" ไม่สำคัญหว่าหรือ?

พวก biologist และ behavior scienstist จะไม่ค่อยพอใจถ้าเราพูดเหมือนกับว่า "เข้าใจ" สัตว์ species อื่นๆยังกะรู้จริง เช่น หมาป่าเจ้าเล่ห์ สิงโตใจเหี้ยม หมอซื่อสัตย์ แมลงวัน blah blah blah เพียงแต่เรา แปลเป็นภาษาที่เราคุ้นเคย เอาเองทั้งสิ้นครับ

 

กราบถามอาจารย์นิดนึงครับ

อาจารย์ครับแล้วจิตกับสมองนั้น ทางการแพทย์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้างครับ

"คนปกติถามเอาดื้อๆว่า "อะไรสำคัญต่อการดำรงชีวิตมากที่สุด" ยังตอบไม่ได้ หรือตอบไม่เหมือนเดิมทุกทีเลยครับ ถ้าจะบอกว่า "น้ำ" สำคัญ แล้ว "อากาศ" ไม่สำคัญหว่าหรือ?"

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ได้กรุณาให้ข้อท้วงติงมา จริงๆแล้วผมมองว่า สิ่งจำเป็นมากที่สุดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ เพราะผมว่าสถานการณ์เปลี่ยน การตัดสินใจคงเปลี่ยนเหมือนกันครับ

สวัสดีครับ คุณไปอ่านหนังสือ

คนเรานั้นถ้าเปรียบเสมือนเซลล์ๆหนึ่ง เราก็จะมีส่วนที่เป็น cell membrane หรือเปลือกผิว และส่วนในเซลล์ที่เป็นอวัยวะภายใน เป็นที่อยู่ของของดีๆที่เราเก็บไว้ในโน้นบ้าง ในนี้บ้าง เวลามีสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เราก็จะมีการตอบสนองไป บางอย่างเป็น automatic บางอย่างก็ผ่านการกลั่นกรองคิด คิดตื้น คิดลึก

เปลือกหรือพื้นผิวของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนเดิมตลอดเวลาหรอกนะครับ ราบเรียบเป็นผิวลูกปิงปองบ้าง ขรุขระแบบผิวดวงจันทร์บ้าง บางทีบางจุดมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ด้วยซ้ำไป การสะท้อนจากผิวก็จะแปรตามสภาพพื้นผิวนี้

แต่ถ้าเราปล่อยให้สิ่งเร้า จม ลงไปในเซลล์ ให้ของดีๆต่างๆ จากประสบการณ์เก่าๆ ความทรงจำเก่าๆ ได้ทำงาน สิ่งที่เราสะท้อนเรื่องเดิมออกไป อาจจะไม่เหมือนกับเวลามันสะท้อนจากผิวอย่างสิ้นเชิงก็ยังได้

ดังนั้นเวลาเราบอกว่า "สิ่งจำเป็นมากที่สุดขึ้นอยู่กับสถานการณ์" นั้น ในแง่หนึ่งก็ถูกต้องครับ บริบทต่างๆมีผลต่อการกระทำ การคิด การตัดสินใจ แต่ปัจจัยภายใน ว่าคนๆนั้นได้ฝึกให้อวัยวะภายใน ประสบการณ์ ความทรงจำ ความคิด มีส่วนเกี่ยวข้องเวลาสะท้อนมากน้อยแค่ไหน บางทีสถานการณ์หลายๆสถานการณ์ก็จะถูกแก้แบบอารมณ์บ้าง แบบเหตุผลบ้าง แบบพื้นผิวบ้าง หรือแบบลึกซึ้งบ้าง ก็ได้นะครับ

ในทางการแพทย์เอง เรื่องจิต และสมอง เกี่ยวกันมากน้อยแค่ไหน คงจะ generalize ให้เหมือนๆกันทุกหมอไม่ได้แหละครับ แต่เราเห็นพ้องต้องกันว่า คุณภาพชีวิตที่เป็นองค์รวมนั้น มีกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จริงๆ

แต่ละมิติ แต่ละคนก็จะมีมุมมองต่างๆกันไปแหละครับ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ unique จะทำให้เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะบอกเป็นของกลุ่มอาชีพได้ว่า อาชีพอะไรคิดอะไรอยู่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท