พลิกฟื้นท้องถิ่น ด้วยพลังชุมชน กับ "ชาวบ้านชาวเมือง"


เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนเคยสงสัยว่าทำไมตามร้านค้า ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมันแถบอำเภอพุทธมณฑล มีกล่องไม้ที่ดูแล้วเหมือนเป็นกล่องสำหรับใส่เอกสาร วารสารอะไรประมาณนั้นวางอยู่ตามมุมใดมุมหนึ่งของร้าน หรือของปั๊มน้ำมัน เมื่อสังเกตหน้ากล่องจะมีสติกเกอร์แปะอยู่หน้ากล่องว่า ชาวบ้านบาวเมือง บอกข่าวประชาคมพุทธมณฑล แต่ไม่เคยได้เห็นตัวเล่มเลย นึกสงสัยอยู่ ๒ ข้อว่า วารสารมีคุณค่า ชาวบ้านให้ความสนใจจึงหยิบนำไปอ่านจนหมดกล่อง ผลิตกันไม่ทัน หรือไม่ก็เป็นวารสารออกตามใจบรรณาธิการ ...

จนเมื่อดิฉันเรียนหนังสือเกือบจะจบได้เริ่มกลับมาทำงาน ดิฉันก็ได้พบกับต้นตอของจดหมายข่าวฉบับที่ว่า อ้าวที่มาของ ชาวบ้านชาวเมือง นั้นอยู่ใกล้ตัวมาก ชนิดที่เค้าเปรียบกันว่าถ้าเป็นงูคงโดนฉกไปแล้ว ก็เพราะมันเป็นผลงานของท่านอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ในฐานะบรรณาธิการและคณะทำงานของท่านจากโครงการวิจัยฯ นั่นเอง ..

จนมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ทำงานมีการสังคายนาห้องเก็บเอกสารจึงได้พบกับจดหมายข่าว ชาวบ้านชาวเมือง นี้อีกครั้ง จึงได้หยิบอ่าน พินิจพิเคราะห์ดูแล้ว เห็นถึงความตั้งอกตั้งใจของทีมบรรณาธิการทีมนี้มากๆ คะ

บรรณาธิการบริหาร : รศ.ดร.เนาวรัตน์  พลายน้อย
บรรณาธิการ : วิรัตน์  คำศรีจันทร์
วิศวกรความคิด : วิษณุ  ศรีทะวงศ์
กองบรรณาธิการ :  เยาวรี  เจริญสวัสดิ์ | ภัทรพร  กีรติวิทโยฬส | กานต์  จันทวงษ์ |  พีระศักดิ์  รัตนะ | สมศรี  ศิริขวัญชัย | ประภาพร  ประพันธา

ที่ดิฉันมีอยู่ในมือคือ ๓ ฉบับ เป็นปีที่ ๔ เข้าไปแล้ว ของปีพ.ศ.๒๕๔๕ .. ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ถือวารสารทั้ง ๓ ฉบับไปนั่งคุยกับอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ที่คณะสังคมฯ ม.มหิดล ทำให้ได้ความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการทำงานในการพิมพ์ ชาวบ้านชาวเมือง และความผูกพันกับคณะทำงานของท่าน ..

และเริ่มรู้สึกเสียดายไปกับจดหมายข่าว ชาวบ้านชาวเมือง เป็นอย่างมาก แค่ได้เห็นคำโปรยบนหน้าวารสารแต่ละฉบับ ....

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ เดือนมีนาคม ๒๕๔๕
ฉบับบานเช้า :
การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสังคมไทย (กับการพัฒนาหลักสูตรและวิธีเรียนรู้ในท้องถิ่นพุทธมณฑล โดยพหุพาคี)

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๕
ฉบับเบิกบานมีชีวิตชีวา : ประเทศชาติไม่มีทางพัฒนา ถ้าประชาชนไม่มีคุณภาพ
(กับ Workshop พลังสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนชุดโครงการร่วมสร้างชีวิตชีวาพุทธมณฑล)

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓ เดือนธันวาคม ๒๕๔๕
ฉบับบานไม่รู้โรย ส่งท้ายปีเก่า ตอนรับปีใหม่ :
เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า (กับการวิจัยและพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล)

เนื้อหาภายในเล่มยิ่งทำให้รู้สึกเสียดายที่ ชาวบ้านชาวเมือง ได้หยุดพิมพ์ไปแล้วเกือบ ๑๐ ปี ซึ่งได้คุยกับอาจารย์วิรัตน์อยู่ว่าจะเป็นไปได้ไหมที่ ชาวบ้านชาวเมือง จะกลับมาอีกครั้งเพื่อบอกกล่าวเล่าขาน Update สิ่งดีๆ ให้กับชาวพุทธมณฑล ..

ตอนหนึ่งของบทพูดคุยจากบรรณาธิการที่สื่อสารให้ชาวพุทธมณฑลใน Civic cafe คุยกับ บ.ก. ฉบับหนึ่งของวารสาร ชาวบ้านชาวเมือง ......

ดอกไม้จะเบ่งบาน มันก็พร้อมที่จะบาน
ตรงกันข้าม ดอกไม้ที่ไม่คิดจะเบ่งบาน ถึงท้ายที่สุดก็ต้องถึงวันอับเฉาและโรยลา มนุษย์ก็เช่นกัน ความดีงามเป็นเรื่องที่จะต้องบ่มเพาะ ถ้าไม่รู้จักบ่มเพาะ ไม่หว่านเมล็ดความดีงามลงในชีวิต มันก็ยาที่จะงอก และตัวของเรานั่นเอง เป็นเหตุปัจจัยให้สัมพันธ์กับการงอกของมัน

 

หมายเลขบันทึก: 395461เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ตามมาดูกอง บก ก่อนนะครับ ฝีมือจริงๆๆ

  • เลยพลอยตื่นเต้นไปด้วยครับ ผมก็คิดถึงงานชุดนี้มากอยู่เสมอๆครับ ไม่ใช่เพียงที่ตัวงาน แต่กับกลุ่มคนที่พานพบผ่านงานในครั้งกระโน้น มันเป็นมากกว่าการทำงานเลยทีเดียว
  • ผมมีอันต้องเร่รอนไปโน่นนี่ไปหลายรอบ ทั้งย้ายบ้านออกจากมหาวิทยาลัย ย้ายที่พัก กระทั่งซื้อที่พักของตนเองแล้ว ก็วางแผนตนเองหันเหออกจากเมืองหลวงไปอยู่ต่างจังหวัด ที่สุดก็ย้ายที่ทำงานก่อนอออกไปอยู่ต่างจังหวัดจริงๆ ข้อมูลทำงานและข้อมูลชีวิตกระเซ็นกระสาย กระจายไปคนละทิศละทาง
  • งานชุดนี้ผมยังคงฝากไว้สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนที่ทำงานเดิมของผมน่ะครับ โชคดีที่พรรคพวกยังเมตตาและเอื้อเฟื้อไม่ทิ้งขว้างไปเสีย
  • หลายคนที่เห็นชื่อนั้น ตอนนี้ได้กระจายออกไปทำงานให้กับสังคมที่สำคัญๆทั้งนั้นครับ
  • เด็กๆในรูปก็เติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันหมดแล้ว พวกเรากำลังจะตามลงไปถอดบทเรียนของชุมชนในทุกมิติอีกรอบครับ
  • อาจารย์ณัฐพัชร์นำเรื่องนี้มาอวดกัน ทำให้ผมนึกถึงความตั้งใจอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเล็กๆเกี่ยวกับเด็กๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญที่สุดเพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นไปในชีวิตของเด็กๆและครอบครัว-ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งผมได้เผชิญและแก้ปัญหาร่วมกับเขา แต่เรื่องนี้ละเอียดอ่อนต่อเด็กๆและผู้คนที่เกี่ยวข้อง ผมจึงให้ความสำคัญแก่คนและชุมชนไว้ก่อน โดยตั้งใจว่าเมื่อเด็กๆโตและรับผิดชอบตนเองได้แน่นอนแล้ว ผมจึงจะนำมาเล่าเก็บไว้ให้เป็นการเรียนรู้สำหรับนักวิจัยชุมชนและคนทำงานกับชาวบ้าน
  • เมื่อสองปีก่อน ซึ่งหมายความว่าผ่านไปกว่า ๑๐ ปีแล้ว ผมได้แอบไปมองหลังคาบ้านเด็ก เพราะมีคนมาพูดถึงให้ผมได้ทราบว่า เด็กพี่น้องคู่หนึ่งที่ผมกำลังกล่าวถึงนี้ได้บวชแล้ว ผมตื้นตันใจจนบอกไม่ถูกและตั้งใจว่าสักวันหนึ่งจะไปเยี่ยมครอบครัวเขาและเขียนถึง
  • อาจารย์ณัฐพัชร์ทำให้ผมรำลึกถึงเรื่องนี้ และได้ความดีใจที่ได้เห็นเรื่องราวเก่าๆ เรื่องพวกนี้พวกเรากลุ่มทำวิจัยกลุ่มหนึ่งต้องการทำประสบการณ์ต่อสังคมด้วยกันกับชุมชนผ่านการทำงานเชิงพื้นที่หลายอย่างน่ะครับ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปเร็วและซับซ้อน รวมทั้งชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัยที่มีจุลสารดังที่เห็นนี้เป็นเครื่องมือทำงานอย่างหนึ่งด้วย สักวันหนึ่งก็เชื่อว่าจะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเขียนงานและเล่าใหม่ให้เห็นเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับสังคมได้แจ่มชัดมากยิ่งๆขึ้น
  • ขอบคุณหลายเด้ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิต : บรรณาธิการแวะมาพูดคุยด้วยตัวเองเลยค่ะ เห็นด้วยคะ แต่ละท่านฝีมือทั้งนั้น อีกทั้งคณะที่ปรึกษาก็ระดับผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นคะ ชาวบ้านชาวเมือง จึงไม่ธรรมดาค่ะ =)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.วิรัตน์ :

  • เห็นประเด็นการทำงานในช่วงนั้นแล้วต้องบอกว่าทึ่งค่ะอาจารย์ เพราะบางหัวข้อนั้นืถือว่ายังเป็นประเด็น hot ในปัจจุบันอยู่เลยคะ ..
  • น่าสนใจคะน่าสนใจ กับคณะทำงานทุกท่าน อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และยังเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาปริญญาโท-เอก ได้ร่วมทำงานและนำผลงานการวิจัยฯ มาเสนอ ได้เขียนบทความ ถือว่าเป็นการเปิดเวทีร่วมทั้งให้ชาวบ้าน ครู-นักเรียนจากโรงเรียนในอำเภอพุทธมณฑลเข้ามาใช้พื้นที่นี้ร่วมกัน
  • เป็นจุลสารที่ไม่หนักจนเกินไป เสียดายคะ เห็นรายชื่อสมาชิกของจุลสารแล้วอุ่นหนาฝาคั่งมากคะ หลายๆ ท่านก็คงเสียดายเหมือนกันคะ ..

สวัสดีค่ะ

อ่านหนังสือจบแล้วค่ะ นอนต่ออีก  ๑ ม้วน  ออกไปเดินเล่นนอกบ้านมา ๑ รอบ

อ่านบันทึกนี้ขอเก็บคำโดนใจจากหนังสือมาฝากเพื่อเป็นกำลังใจนะคะ

"ทัศนคติที่ดีต่อชีวิตทำให้ใครคนหนึ่งประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้ายตลอดเวลา"

ว่าแล้วก็ขอตัวไปเขียนบันทึกใหม่ก่อนนะคะ

สวัสดีค่ะ

อยู่พุทธมลฑลมาตั้งแต่ถนนพุทธมลฑลสาย 4 เป็นถนนเล็กๆลาดยาง รถต้องวิ่งสวนทางกัน ตอนนั้นมีต้นราชพฤกษ์เต็มสองข้างทางค่ะ เวลาออกดอกเหลืองเต็มต้น สองฝั่งถนนงดงามมาก

เดี๋ยวนี้เป็นถนนแปดเลน ต้นไม้หายหมด น่าเสียดายเหมือนกันค่ะ

สวัสดีคะ พี่ครูคิม

  • โดนใจคะ นี่ก็เพิ่งอ่าน "ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย" ของท่าน ว.วชิรเมธี ไปคะ ทำให้เข้าใจได้ว่า คนที่คิดเชิงบวกทุกข์มักน้อยลงสุขยิ่งมากขึ้น หล่ะค่ะ ..
  • เป็นกำลังใจให้พี่ครูคิมเช่นกันนะคะ =)

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ

แค่เห็นชื่อท่านบก. ก็ฟันธงได้เลยค่ะว่า ต้องแจ๋ว แบบไม่ต้องมี่น้ำจิ้ม สุขสันต์วันผ่อนพักนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ณัฐรดา : นึกภาพต้นต้นราชพฤกษ์เต็มสองฝั่งถนนของถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไม่ออกเลยค่ะ น่าเสียดายนะคะ แต่ตอนนี้ต้นราชพฤกษก็มาเบ่งบานเหลืองอร่ามเต็มสองฝั่งของถนนอุทยาน (อักษะ) แล้วหล่ะคะ =

สวัสดีค่ะ น้องpoo : แหม๋ มาช่วยคอนเฟิร์มสรรพคุณกันขนาดนี้ ท่านบก.คงยิ้มแก้มปริคะ =) มีความสุขมากๆ ในวันฝนตก เอ่อ วันหยุดพักผ่อนเช่นกันคะ =o)

 

  • เอาภาพกิจกรรมเด็กๆๆมาฝาก
  • พับผีเสื้อ ระบายสี
  • Large_nomnangs8 
  • Large_nomnangs10 
  • Large_nomnangs13 

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิต ที่นำภาพกิจกรรมของเด็กๆ มาฝาก เห็นผีเสื้อของเด็กแล้ว น่ารักจัง สีสรรสดใสเชียว เด็กๆ คงมีความสุขกับกิจกรรมของอาจารย์ =)

หายป่วยแล้วหรือยังครับ ต้องดูแลสุขภาพดีๆๆครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิต : ตอนนี้อาการดีขึ้นมากแล้วหล่ะค่ะ ขอบพระคุณนะค่ะที่ถามไถ่และเป็นห่วงกัน อาจารย์ก็ทำงานหนักมาก วันก่อนโน้นที่พบปะกันอาการไม่สบายของอาจารย์ยังไม่ดีเลยนะค่ะ แต่ซาบซึ่งใจค่ะที่อาจารย์ และพี่ครูอ้อยเล็กเดินทางมาเยี่ยมเยียนชาวศาลายาค่ะ อาจารย์ก็พักผ่อนบ้างนะค่ะ =)

สวัสดีค่ะ

เพิ่งแวะมาเยี่ยม เลยทราบจากความเห็น อ. ขจิตว่าป่วย

หายไวๆนะคะ เอากำลังใจมาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ณัฐรดา :

  • ร่างกายแข็งแรงดีแล้วหล่ะค่ะ เหลือแต่จิตยังไม่แข็ง แฮ่ =o)
  • ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ =)

สวัสดีครับ ผมตามท่านอาจารย์ ดร.ขจิต มาจนถึงบล็อกที่ดีไม่แน่ใจครับว่า เป็นชาวราชบุรี และเป็นญาติกับคุณครูวิยะดา ทองคำ หรือเปล่าครับ?ดีใจครับที่มีบล็อกศิลปะสำหรับครูได้เรียนรู้..ขอบคุณมากครับ อ.ขจิต ที่ไปแวะ ทำให้มาเจอคุณครูณัฐพันธ์..

ดูเถอะอารามดีใจ เลยพิมพ์ชื่อผิด จะแก้ก็ไม่ทัน ขออภัยให้คนแก่ด้วยนะครับ คุณครูณัฐพัชร์..

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต :

  • ได้เลยค่ะ ถ้ามีโอกาสไปช่วยคุณครูอีกจะรีบชวนอาจารย์เป็นคนแรกเล๊ยยยย
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขกับวันแรกของการทำงานในสัปดาห์นี้นะค่ะ =)

สวัสดีค่ะ คุณลุงรักชาติราชบุรี

  • คุณครูวิยดา ทองคำ ท่านเป็นคุณอาแท้ๆ ค่ะ เห็นชื่อ ลุงรักชาติราชบุรี คงไม่ต้องถามเลย เป็นชาวราชบุรีแน่ๆ  รู็จักคุณอาวิยดา ด้วยหรือค่ะ เป็นเพื่อนของคุณอาวิยดา หรือเปล่าค่ะเนี่ยะ จะได้ไปบอกเล่าให้คุณอาได้ฟังหน่ะค่ะ ..
  • ดูจากบันทึกของคุณลุงรักชาติราชบุรี คงจะเป็นปรมาจารย์ทางด้านภาษาไทย ดีจังค่ะพาเด็กเยาวชนเรียนรู้รักษ์ภาษาไทย ..
  • ยินดีที่ได้รู้จักคุณครูลุงรักชาติราชบุรี นะคะ

ป้าเหมียวนึกว่าจะได้อ่านชาวบ้านชาวเมือง ที่แท้เป็นอดีตไปซะแระ...แค่พาดหัว ก็น่าหามาอ่านแล้ว..ว

ตอนเนี่ยฝนฟ้าไม่เต็มใจให้เข้าพื้นที่ได้แต่เตรียมตัวเตรียมใจรอลมหนาวมาเมื่อไรก็ลุยงานต่อ..

สวัสดีคะ คุณป้าเหมียว

  • ชาวบ้านชาวเมือง จะกลายเป็นตำนานไปหรือไม่คงต้องรอดูต่อไปคะ ..
  • อยากให้จุลสาร ชาวบ้านชาวเมือง ได้กลับมาโลดแล่น มีชีวิตชีวาเติมพลังให้กับชาวพุทธมณฑลอีกครั้งคะ ที่จริงให้กับคณะทำงานด้วยหล่ะคะ เพราะฟังจากที่ท่านอาจารย์วิรัตน์เล่าให้ฟังแล้ว รู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขไปด้วยกับบรรยากาศการทำงานที่มีทั้งเหนื่อยและสนุกคะ ..
  • รอให้เคลียร์งานต่างๆ เพื่อให้สมองปลอดโปร่งมากกว่านี้เถอะคะ เราอาจจะได้เห็น ชาวบ้านชาวเมือง กันอีกครั้งคะ ..
  • ปลายฝนต้นหนาวแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้คุณป้าเหมียว ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ =)

ได้เห็นจดหมายข่าว

และคนที่ยังเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ที่พวกเราได้ร่วมกัน

จุดแรงบันดาลใจทางปัญญาร่วมกันเมื่อ 10 กว่าปีก่อน

แล้วก็แอบอมยิ้มภูมิใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไปครับ

10 กว่าปีผ่านไป ไว้เหมือนว่ามันเพิ่งจะเกิดมาเมื่อวานนี้เอง

คิดถึงพี่วิรัตน์และบรรดาพรรคพวกที่ทำงานที่พุทธมณฑล

จดหมายข่าว แต่ละฉบับ คือรอยเท้า ที่เราก้าวย่าง

ท่ามกลางความยากลำบากนานับประการในยุคนั้น

 

ด้วยความเคารพรัก

วิษณุ ศรีทะวงศ์

สวัสดีครับตุ้ย (คุณวิษณุ ศรีทะวงศ์) วิศวกรความคิด ฉบับ ชาวบ้านชาวเมือง

  • ของเค้ามีคุณค่า จะอยู่ที่ไหนใครพบเจอก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอแหละตุ้ยน๊า =)
  • ได้คุยกับอาจารย์วิรัตน์อยู่เหมือนกันว่าอยากให้ ชาวบ้านชาวเมือง กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง จะเป็นไปได้ไหมหนอ ซึ่งเป็นคำถามอยู่ ว่าเราจะมีแรง มีกำลัง และจะทำได้ดีเหมือนทีมทำงานในชุดแรกไหมหนอออ ...
  • สนใจกลับมาทำอีกครั้งมั๊ยครับตุ้ยครับ =)

ผมคิดว่า หากจะทำสมัยนี้ เรื่องเทคนิค คงไม่ยาก

เพราะมีเครื่องมือเยอะครับ โดยเฉพาะ Facebook ที่อาจเป็นช่องทางในการ

หลอมรวมผู้คน ได้ง่าย ไว และได้เห็นสิ่งที่แต่ละคนในพื้นที่ทำได้มากขึ้น

ส่วนสารที่แปลง ค่อยย่อยมาลง สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับชาวบ้านได้อีกชั้นหนึ่ง

สำคัญคือ การหาคนที่มีไฟ

และมีแรงบันดาลใจใหม่ๆ มาทำ

ซึ่งสิ่งที่ทำ ก็ยังทันสมัยอยู่ดีครับ ไม่มีล้าสมัย

ในเ่รื่องการทำให้บ้านเมืองดี ผู้คนรักกันไว้วางใจกัน

และการกระจายอำนาจสู่ เทศบาล/อบต.

ก็น่าจะมีกิจกรรมสร้างสรรค์ลงไปสร้างสีสันได้มาก

ท่ามกลางการเติบโตของเมืองแห่งการศึกษา

ที่เราได้เคย วาดภาพอนาคตไว้เมื่อสิบปีก่อน

เอาสิครับ เอาใจช่วยและถ้ามีอะไรให้ช่วยก็ยินดีครับบ

ผมคิดว่า บัวกับหนูนาคงดีใจ

ที่จะได้กลับมาวิ่งเล่นอีกครั้ง โลดแล่นไปบนท้องถิ่น

พร้อมกับแวะไปดูหนังที่โลตัส ศาลายา

กินขนมเ้ค้กอร่อยๆ ที่ ต้นกก...........

ตุ้ย

  • สวัสดีครับตุ้ย ..
  • การกระจายอำนาจสู่น้ำมือใครที่เราไม่อาจคาดเดาได้ และไม่สามารถมั่นใจกับอำนาจนั่นๆ เมื่อไหร่นะอำนาจจะอยู่ในมือประชาชนจริงๆ ชาวบ้านตาดำๆ สามารถลุกขึ้นต่อรองได้อย่างสมศักดิ์ศรี ..
  • CSR - USR มองว่ามหาวิทยาลัย นักวิชาการคงไม่ได้นิ่งนอนใจ คงเห็นความสำคัญของการพัฒนาชุมชนภายในและภายนอก แต่ก็ขอให้ช่วยกันทำงานให้เต็มที่อย่างจริงจังซะที ..
  • อ่านที่ตุ้ยเขียนมองเห็นหนูนาวิ่งเล่นอยู่ตรงหน้าเลยเชียว ..
  • ขอบคุณนะครับที่ยังแวะมาทักทายกัน ..
  • ขอบพระคุณอาจารย์ลำดวน และอาจารย์ภานุวัฒน์นะคะสำหรับดอกไม้เป็นกำลังใจค่ะ =)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท