เล่าขาน มอญ/เม็ง/รามัญ


 

                                        ถ่ายภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
                                        กล้อง : Canon Powershot S5IS Ultrasonic

ผู้หาญกล้าสร้าง "หมู่บ้านประวัติศาสตร์มอญ" : พระครูอาทรพิพัฒนโกศล
อำเภอบางปะอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 เล่าขาน มอญ/เม็ง/รามัญ  

มีโอกาสได้กราบนมัสการพระอาจารย์สุทัศน์ (พระครูอาทรพิพัฒนโกศล) เจ้าอาวาส แห่งวัดทองบ่อ พระนครศรีอยุธยา ป้าภูมิ (ชาวไทยเชื้อสายมอญ) อาโปย (ชาวมอญ) (อาโปยในภาษามอญแปลว่า "เณร") เพื่อขอสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของชุมชนมอญ พระนครศรีอยุธยา และนำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดทองบ่อและศูนย์ศึกษาชุมชนชาวมอญ

อาโปย บอกว่า เดิมหากเรียกพวกเขาว่า "มอญ" จะไม่พอใจ เหมือนกับชาวจีน ที่ไม่ชอบให้ใครไปเรียกเขาว่า "เจ๊ก" จึงควรเรียกพวกเราว่า "รามัญ" แต่พระอาจารย์สุทัศน์บอกว่า “ชอบให้คนอื่นเรียกอาจารย์ว่า มอญ สะใจดี ทำให้เราได้สำนึกถึงความเป็นมอญมากขึ้น”

เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ ได้กล่าวถึงคนมอญสองฝั่งริมปิง ทำให้ได้ทราบว่าคนมอญมิได้อาศัยอยู่แต่เฉพาะภาคกลางเท่านั้น อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แต่มอญทางตอนเหนือจะถูกเรียกกันว่า “เม็ง” ซึ่งในอดีตหากพูดคำว่าเม็งแก่ชาวมอญจะถือว่าเป็นการดูถูก ......

------------------------------------------------------------------
(๑) เสียงรามัญ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑๙ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๒
(๒) เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ, บันทึกจากท้องถิ่น มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ๒๕๕๒ : ๑๗

 

หมายเลขบันทึก: 314340เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (62)
  • สมัยก่อนเคยสอนแถวๆๆกาญจนบุรี
  • มีชาวรามัญมากเลย
  • เสียดายพูดได้น้อยมาก
  • แต่สาวรามัญสวยนะครับ(ฟันธง...)
  1. กลุ่มชาติพันธุ์คือความหลากหลาย ความงดงาม ของสังคมและวัฒนธรรม ดุจดังดอกไม้หลากสีที่ถูกร้อยเป็นมาลัยก่อเกิดความงาม ....
  2. ขอบคุณผู้นำพาวิถี และความงดงามชุมชนชาวมอญให้ได้เรียนรู้ และให้สำนึกถึง "ค่า" ของภูมิแห่งชุมชนไทย.....
  3. หนุ่มเชื้อสายมอญก็หล่อครับ .....[อดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน]
  • นั่นแน่..อ.ขจิตไปติดใจสาวรามัญคนไหนหนอ...
  • ไม่ว่าสืบเชื้อสายมาจากไหน
  • ตอนนี้เราคนไทยด้วยกันทั้งนั้นค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต ฝอยทอง

  • อาจารย์ไปติดใจสาวรามัญ เลยนึกเสียดายที่พูดภาษารามัญได้น้อยงั้นเหรอค่ะ อิอิ
  • ที่จริงแถวนครปฐม มีชาวรามัญอยู่หลายร้อยหลังคาเรือนเลยนะค่ะ แล้วสาวรามัญแถวๆ นั้นสวยไหมค่ะ ....
  • เริ่มฝึกพูดภาษารามัญอีกครั้งได้แล้วค่ะ ^^

มาอ่านความรู้ค่ะ เพิ่งได้ยิน เม็ง .. ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณช้างน้อยมอมแมม

  • อัตตลักษณ์ของความเป็นมอญ เห็นเมื่อใดเรายังสามารถบอกได้ว่านี่คือมอญ ...
  • แต่เสียดาย แผ่นดินมอญ หายไป ภาษา และวัฒนธรรมมอญในบางชุมชนเริ่มจะเหือดหายไปเช่นเดียวกัน ...
  • พระอาจารย์สุทัศน์ กำลังพยายามนำสิ่งเหล่านี้กลับมาในชุมชนมอญ พระนครศรีอยุธยาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำ "โหน่" หรือ "ธง" หรือ "ตุง" กับ ประเพณีการแห่โหน่ ...
  •                      
  • งานบุญต่างๆ การแต่งกายแบบชาวมอญขนานแท้ หรือแม้แต่ภาษามอญ ที่คนรุ่นหลัง (แม้หลังอายุ ๕๐ ปี) ก็พูดภาษามอญไม่ได้เสียแล้ว
  • เค้าบอกว่า "เรียนไปทำไม ภาษามอญเค้าไม่ใช้กันแล้ว" พระอาจารย์สุทัศน์บอกว่า "เพราะมันไม่ใช่ภาษาสากล คนจึงไม่อยากเรียน หันไปเรียนภาษาจีน ญี่ปุ่นดีกว่า"
  • พระอาจารย์เคยแม้กระทั่ง ตบรางวัลเป็นสตางค์ ๕ บาทให้กับเด็กในชุมชนถ้าพวกเขาสามารถสวดมนต์ (นะโม ตะสะฯ) เป็นภาษามอญได้ก่อนไปโรงเรียน ....
  • ๑๕ พรรษากับความพยายามของพระอาจารย์สุทัศน์ที่พยายามสร้างหมู่บ้านประวัติศาสตร์มอญ ที่พระนครศรีอยุธยาให้จงได้ .....

 

สวัสดีค่ะ คุณพิชชา

แวะมาแซวข้ามฟากไปถึงอาจารย์ขจิตเลยนะค่ะนั่น ^^

สวัสดีค่ะ

มาอ่านเรื่องเล่าค่ะ

>_*

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมชม

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณpoo

  • "เม็ง" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือมานานแล้วค่ะ ทั้งที่ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
  • แต่เม็งที่สันป่าตองถูกคนเมืองหรือคนท้องถิ่นกลืนกินเอกลักษณ์ทางภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไปซะเยอะแล้วหล่ะค่ะ ...
  • พวกเค้าจึงพยายามรักษาประเพณีและวัฒนธรรมเอาไว้ให้ดีที่สุดค่ะ ...

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา 

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยือนเสมอๆ ติดตามกันเหมือนเป็นแฟนคลับเลยนะค่ะ ^^

ยินดี และขอบคุณที่แวะมานะค่ะ คุณต้นเฟิร์น

ได้ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์มาก ๒ เรื่องเลยนะครับ แรกเลยคือเพิ่งทราบว่า มอญ เป็นการเรียกที่ชาวรามัญเขารู้สึกไม่ดี และเรื่องที่สองคือ เม็ง เป็นการเรียกมอญรามัญของคนทางเหนือ แถวบ้านผมมีเมียผู้ใหญ่และถือว่าเป็นญาติพี่น้องกันชื่อ เม็ง เดิมนั้นคิดว่าเป็นคำในภาษาจีน ประเดี๋ยวกลับบ้านต้องลองถามดูว่ามีพื้นเพเป็นคนรามัญหรือเปล่า

แวะมาเยี่ยมครับ

ผมมีพระอุปัชฌาย์ เป็นรามัญครับ

คร้ังหนึ่ง จ.ตาก มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นรามัญทั้ง ๒ รูป ทั้ง เจ้าคณะธรรมยุติ และเจ้าคณะมหานิกาย

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  • อาโปย ยังบอกอีกว่า "ตอนเข้ามาเมืองไทยใหม่ๆ ไม่กล้าพูดภาษามอญกับใคร หรือมีทีท่าให้ใครรู้ว่าเป็นชาวมอญ เพราะกลัวว่าจะโดนดูถูก" ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าคนไทยแสดงท่าทีรังเกียจ หรือด้วยความรู้สึกที่อาโปยเป็นเพียงชนกลุ่มน้อย ... อาโปยก็ให้คำตอบว่า "พอมาอยู่สักพักถึงรู้ว่าคิดมากไปเอง เค้าก็ไม่ได้จะดูถูกเรา"
  • ลองถามเมียผู้ใหญ่ที่บ้านอาจารย์ดูนะค่ะว่าเธอมาจากบ้านกอโชค-บ้านหนองครอบ ตำบลแม่ก๊า ของอำเภอสันป่าตอง หรือเปล่าค่ะ ..

สวัสดีค่ะ หนานเกียรติ

  • ที่จังหวัดตากก็มีชุมชนรามัญด้วยเช่นกันนะค่ะ ด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก เป็นเส้นทางการอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นับเป็นการอพยพของชาวรามัญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในทั้งหมด ๘ ครั้งเลยค่ะ ....
  • ชาวรามัญที่อพยพเข้ามาประเทศไทยมักจะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลไทย และยังได้รับพระราชทานที่ดินในการตั้งหลักแหล่งอีกด้วยค่ะ ...
  • เท่าที่สังเกตุจากหลายๆ แห่ง ชุมชนชาวรามัญที่จะมีกิจกรรม รักษาวัฒนธรรม ประเพณีของเค้าไว้ได้ จุดรวมใจอยู่ที่วัดนี่หล่ะค่ะ ...
  • วัดที่หนานบวชเป็นวัดรามัญรึเปล่าค่ะ?
  • เจ้าคณะทั้ง ๒ ท่านสวดด้วยภาษารามัญรึเปล่าค่ะ?
  • หลวงพ่อวัดทองบ่อ พระอาจารย์สุทัศน์ จากที่พูดภาษารามัญไม่ได้ ท่านพยายามศึกษาจนสามารถพูดและสวดมนต์ ให้ศีล ให้พร อุบาสก อุบาสิกาเป็นภาษารามัญได้เลยค่ะ ท่านบอกว่าตอนนี้เหลือแต่การเขียนค่ะที่ท่านยังพยายามอย่างที่สุด ...

                   

 

                    

 

                   

 

                   

  • อุบาสิกาที่ยังสามารถสวดเป็นภาษารามัญได้ค่ะ ....
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะค่ะหนานฯ
  • หวังว่าคงมีโอกาสอันดีอีกครั้งที่จะได้พบปะกัน หลังจากคราวที่แล้วคาดกันค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ

กุหลาบเสร็จแล้ว โชว์โฉมได้แล้วค่ะ

มีความสุขกับวันศุกร์นะคะ

มาขอบคุณค่ะที่แวะไปเจิมให้

ไปดับ เลยแฮงค์ไปพักนึงแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

  • ดอก Cottage Rose สวยมากเลยค่ะ
  • ในที่สุดก็ได้ยลโฉมซะทีนะค่ะ ... แวะไปดูวิธีการแล้ว คุณณัฐรดาอธิบายได้ละเอียดแลดูง่ายมากค่ะ มือใหม่ก็น่าจะปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น ....
  • ขอบคุณนะค่ะที่แวะเอากุหลาบมามอบให้วันศุกร์วันสุดท้ายของการทำงาน (แต่เอ๊ะ เรามันมนุษย์ที่ทำงานทุกวันนี่น่า) ฮ่า ^^"

สวัสดีค่ะคุณณัฐพัชร์

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

ตอนเด็ก ๆ คนไม่มีรากจำพี่เลี้ยง ที่ช่วยดูแล ทำงานบ้าน เลี้ยงน้องได้ ชื่อ พี่หนูเล็ก เธอบอกว่าเป็นสาวมอญ อยู่จังหวัดราชบุรี (ชักไม่แน่ใจว่าควรใช้คำว่า "มอญ" หรือเปล่าหลังอ่านบันทึกนี้) เป็นสาวที่สวยมาก หน้ารูปไข่ ผมสลวย ตาหวาน และยังจำได้ว่าพี่หนูเล็กสอนภาษามอญบางคำซึ่งคล้าย ๆ ภาษาจีนแต้จิ๋ว เช่นคำว่า โป้ย ... แปลว่า แปด (โป้ย ในภาษาแต้จิ๋ว ก็แปลว่า แปดค่ะ)

ต่อไปจะพยายามใช้คำว่า ชาวรามัญ ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ คุณคนไม่มีราก

  • การเรียกขานคนรามัญแล้ว เท่าที่พูดคุย และอ่านจากหนังสือแล้ว สำหรับ อาโปย ในขณะที่คุยกับเราเค้าก็เรียกกลุ่มชาวรามัญของเค้าเองว่า "มอญ" นะค่ะ
  • ส่วนทางภาคเหนือ ชาวรามัญในบันทึกก็ยังเรียก คนเม็ง ภาษาเม็ง เช่นกันค่ะ ..
  • คิดว่าในปัจจุบันคงสามารถยอมรับได้แล้วกับการเรียกชาวรามัญ ว่า "มอญ" หรือ "เม็ง" แล้วหล่ะค่ะ ..
  • เมื่อหลายปีก่อนได้ไปเยี่ยมคุณพี่ชายที่เป็นอินเทิร์นที่โรงพยาบาลสังขละ จ.กาญจนบุรี (ช่วงนั้นกันดารมากค่ะ ขนาดพี่ชายได้เบี้ยกันดารด้วยหล่ะค่ะ ปัจจุบันไม่มีแล้วค่ะ เพราะได้รับการพัฒนา และทันสมัยขึ้นมาก ทั้งการเดินทาง และการดูแลรักษา)
  • ได้ข้ามฝั่ง ด้วยสะพานไม้ ไปยังวัดวังวิเวการาม แวะกราบนมัสการ "หลวงพ่ออุตตมะ" ด้วยค่ะ (ปัจจุบันได้มรณภาพแล้ว) ชมเจดีย์จำลองแบบ เจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย งดงามค่ะ

                      

  • เดิมหลวงพ่ออุตตมะ เคยเข้ามาประเทศไทยทางจังหวัดเชียงใหม่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดสวนดอก และออกธุดงค์ไปทาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก น่าน กาญจนบุรี
  • ในช่วงเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ หลวงพ่ออุตตมะจึงเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง ผ่านมาทางหมู่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี (ได้เคยไปนับเวลาถอยหลังเพื่อเข้าสู่ปีพศ.ใหม่ที่ ปิล๊อก มาเมื่อต้นปีนี้('๕๒) สวยมากๆ แต่การเดินทางแอบโหด แต่คุ้มค่ะ)

                      

 

                      

  • ชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญที่อพยพเข้ามาเมืองไทยในช่วงนั้น ช่วยหลวงพ่ออุตตมะ สร้างศาลาวัด มาเป็นสำนักสงฆ์ และกลายเป็นวัดวังวิเวการามในปัจจุบันนี่แหละค่ะ

                      

  • สะพานไม้ที่ได้เอ่ยไป เป็นสะพานไม้ที่เก๋มาก เพราะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบของแม่น้ำ ๓ สายด้วยกันคือ ซองกาเลีย บีคลี และรันตี ค่ะ ถ้าจำไม่ผิดชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง เรียกสะพานไม้นี้ว่า "สะพานรวมใจถวายหลวงพ่ออุตตะมะ" ประมาณนี้ค่ะ ^^

                      

  • ได้เห็นวัฒนธรรมทางด้าน ความเป็นอยู่ ความเชื่อ อาหาร และภาษาค่ะ
  • มะเงยละอา ในภาษามอญ แปลว่า "สวัสดี" ค่ะ แวะถามสาวมอญน้อยที่ทาด้วยแป้งทานาคา สีเหลืองนวลบริเวณแก้มทั้ง ๒ ข้าง น่ารักเชียวค่ะ ..

                               

  • เรื่องของภาษามอญ .. อาโปย และป้าภูมิ ได้บอกว่า ภาษามอญกับชาวมอญในเมืองไทยจะยังคงอยู่ และอาจจะมีผู้สามารถฟัง พูด เขียนและอ่านได้มากขึ้นจากความตั้งใจในการรักษาประเพณีวัฒนธรรมเอาไว้ให้ได้ .... แต่ภาษามอญที่อยู่ตามชายแดน ยกตัวอย่างเช่น ชายแดนที่อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี กำลังจะหายไป เพราะชาวมอญแถบนี้พยายามที่จะเรียนรู้ และชอบที่จะพูดภาษาไทย ให้ได้มากกว่าภาษามอญ การแต่งกายก็พยายามให้ทันสมัยมากขึ้น ... (ภาพเด็กๆ ชาวมอญใส่เครื่องแบบพื้นเมืองไปโรงเรียน กับเป้คนเมือง)

                       

 

                      

 

                      

  • (สำหรับรูปภาพ ตอนนี้หายเกลี้ยงไปจาก external drive ค่ะ ภาพเก่าๆ ทั้งเรื่องงาน และการท่องเที่ยวตลอดหลายปีที่ผ่านมาหายหมด กำลังพยายามกู้กลับมาใหม่ กับขอๆ จากพี่ๆ ที่ยังเก็บเอาไว้ได้อยู่ค่ะ ถ้าได้แล้วจะนำมาอวด เวลาเล่าเรื่องจะได้เห็นภาพตามไปด้วยค่ะ ภาพข้างบนได้ดึงมาจากการเคยโพสขึ้นเว็บไว้ในบล๊อคอื่นค่ะ) ^^

ถ่ายภาพโดย :  คุณหญิงกระแตแต้แว้ด
                       ณัฐพัชร์ ทองคำ

ขอแก้ไขคำผิดค่ะ :

หลวงพ่ออุตตะมะ เป็น หลวงพ่ออุตตมะ หรือ พระครูอุดมสิทธาจารย์ สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระราชอุดมมงคล
วัดวังวิเวการาม เป็น วัดวังก์วิเวการาม

สวัสดียามเช้าค่ะ

เฮ้อ จริงอย่างที่ได้ไปเขียนความเห็นไว้ในบันทึกอันตราย อาหารใส่บาตรด้วยล่ะค่ะ

ชีวิตคนเมือง รีบเร่งนะคะ

พระคุณเจ้าเลยพลอยกระทบกระเทือนไปด้วย

มีความสุขกับการทำงานนะคะ

อ้อ

ความเห็นที่ 21 งดงามมากค่ะ

ประมาณ 10 ปีที่แล้ว ที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด มี"มอญ" มาอยู่กันมากครับ มาขุดพลอย พอขุดได้เงิน ก็ส่งเงินกลับครับ บอกว่าจะเอาไปกู้ชาติ ผมสอนหนังสือลูกมอญหลายคนครับ ส่วนใหญ่จะเรียนดี

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณค่ะที่แบ่งปันความรู้
  • ทำให้เข้าใจกับคำว่า  มอญ รามัญ และเม็ง  เพิ่มขึ้นค่ะ
  • จะแนะนำให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้จากบล็อกนี้ค่ะ
  • ตามมา มะเงยละอา
  • ไม่ได้ฝึกนาน ฮ่าๆๆ
  • ที่วัดมอญจะมีรูปหงส์นะครับ
  • เอานกมาฝากฮ่าๆๆๆ
  • นกอะไรเนี่ยฮ่าๆๆ

สวัสดีค่ะ ท่านsmall man

  • เคยได้ยินว่าคนรามัญขยันนะค่ะ อัธยาศัยดีมากๆ น่ารักด้วยอีกตะหาก
  • โดยปกติแล้วคนรามัญเป็นชนที่รักสงบ แต่ต้องมาเจอะเจอกับความบ้าคลั่ง ของพวกบ้าอำนาจ ทำให้สูญเสียบ้านเมือง แผ่นดินเกิด สูญเสียเอกราช ญาติ พี่น้อง ...
  • ความภาคภูมิใจของชาวรามัญ คงต้องเก็บไว้ในใจ ซึ่งเค้าคงมีทุกวินาที ทุกลมหายใจที่อยากจะได้เอกราชกลับคืนมาหล่ะค่ะ ...
  • คนไทยเชื้อสายมอญ เช่น พระอาจารย์สุทัศน์ กล่าวว่า ต่อจากนี้ไป ชีวิตที่เหลือนี้ท่านจะทำ ๓ อย่าง ๑) ฟื้นฟู และอนุรักษ์อัตลักษณ์ของชาวรามัญให้คงอยู่สืบไป ๒) รำลึกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของชาวรามัญที่สร้างเมือง และอารยธรรม ๓) ตอบแทนพระมหากษัตริย์ไทย และแผ่นดินไทย ที่ให้ชาวรามัญได้เข้ามาพักพิง
  • อ่านประวัติศาสตร์คร่าวๆ ของเค้าแล้ว นับถือหัวจิต หัวใจของเค้าเลยค่ะ ..

สวัสดีค่ะ  ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว ปี 32  เคยไปวัดชุมชนชาวมอญแถวพระประแดง  คะ บรรยากาศ ประมาณนี้ เลยค่ะ  อ่านบันทึกแล้วนึกภาพย้อนวัยได้ทันทีค่ะ

 

              ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูคิม

  • ยังมีเรื่องราว ตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวรามัญอีกมากมายค่ะ แวะเข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ นะค่ะ ครูคิม ^^
  • ฝากสวัสดีไปยัง น้องๆ (?) ลูกสาว ลูกชาย ของคุณครูคิม ทุกคนนะจ๊ะ ^^

มะเงยละอา ตอนเช้าค่ะ อาจารย์ขจิต ฝอยทอง

                           

  • ใช่ค่ะ .. ชาวรามัญมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งตำนานเล่าขานเกี่ยวกับหงส์มีแตกต่างไปตามแต่สำนัก ...
  • บางสำนักบอกว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองๆ นึง ทรงเห็นหงส์ ๒ ตัวกำลังเล่นน้ำอยู่ จึงทำนายว่าเมืองนี้จะกลายเป็นมหานคร เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เมืองนี้จึงมีการพัฒนาและกลายเป็นเมือง "หงสาวดี" และมีสัญลักษณ์เป็น หงส์คู่
  • ภาพบน เป็นเจดีย์ที่วัดทองบ่อ ซึ่งพระอาจารย์สุทัศน์ได้สร้างขึ้นตามแบบของ "พระมหาเจดีย์ชเวมอดอร์" ในเมืองหงสาวดี ค่ะ

                           

  • เสาหงส์ และ โหน่ หรือ ตุง หรือ ธง ที่ชาวรามัญเรียกว่า "ธงตะขาบ" ค่ะ
  • .......
  • เอ! ในภาพของอาจารย์นั่น นกอะไรค่ะ? ขอคำตอบด้วยค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ

ทำงานเสร็จหรือยังคะ

ความเห็น 32 งามจังค่ะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณณัฐรดา

  • ยังไม่เรียบร้อยดีค่ะ
  • เมื่อวานเพิ่งบ่นกับท่านอาจารย์ไป แฮ่ ...
  • ลุยงานมาอาทิตย์ ๒ อาทิตย์แล้ว แต่เช็คกันดีๆ งานเพิ่งเสร็จไปซัก ๖๐% เองค่ะ
  • สิ้นเดือน (วันจันทร์) นี้ต้องส่งแล้ว ...
  • ยังมีงานโครงการอีกชิ้นนึงด้วยที่ต้องส่งภายในวันเดียวกัน
  • สิ้นใจแน่คราวนี้ ....
  • ว่าแล้วไปรับกาแฟร้อนๆ ก่อนเริ่มงานใหม่ดีกว่า
  • รับด้วยกันไหมค่ะ ^^

สวัสดียามเช้าค่ะ

อิอิ ตามมาร่วมก๊วนกาแฟละ

อือม์ ,,, หอมกลิ่นทวนบล็อคเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูใหม่ บ้านน้ำจุน

  • ๒๐ ปีแล้วนะค่ะนั่น งั้นในวาระครบรอบ ๒๐ ปีนี้ และใกล้จะเทศกาลปีใหม่แล้ว แวะไปเที่ยว และไปทำบุญที่ วัดทองบ่อ ดีไหมค่ะ ....
  • พระครูอาทรพิพัฒนโกศล (พระอาจารย์สุทัศน์) วัดทองบ่อ ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
  • โทรศัพท์ไปก่อนก็ได้ค่ะ ๐๘-๗๙๐๕-๔๒๖๒
  • เปิดให้เข้าชมเวลา ๐๙.๐๐-๑๙.๐๐ น. หรือเฉพาะวันที่พระอาจารย์ท่านอยู่ที่วัดค่ะ ดังนั้นโทรศัพท์ไปก่อนนะค่ะ ..

แวะมาทักทายค่ะ

เป็นน้องใหม่ และเป็นครูมัธยมคนใหม่ค่ะ

ที่นี่นะคะ

นางในวรรณคดี

 

  • ขอบคุณค่ะ คุณ◕‿◕ นิดหน่อย ◕‿◕ ที่แวะมาทักทายกัน ...
  • ไปแอบดูนางในวรรณคดีสวยๆ มาแล้วค่ะ ^^

มาส่งกำลังใจให้คนที่อยู่ในอาการเดียวกันจ้า...อิ..อิ..

มีเรื่องจริงมาเล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์นะคะ..

รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นนักเขียนฝีมือดีทีเดียว ความคิดก็แสนบรรเจิดเฟื่องฟุ้ง จิตใจดีเือื้ออารีเขาไปทั้งบ้านทั้งเมือง

เธอรับทำงานเขียนจากการสัมภาษณ์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและเธอศรัทธามากเล่มหนึ่ง ในขณะที่เธอมีปัญหาที่ไม่คาดคิดจากงานเรียนและงานชิ้นอื่น 

เธอตั้งใจหาข้อมูลประกอบการเขียน ใช้จินตนาการสร้างตัวละครเล่าเรื่องให้สนุก ชื่อตัวละครแต่ละตัวก็สื่อความหมาย แต่..ถึงวันกำหนดส่ง เธอก็ยังไม่เสร็จ

บ.ก.ก็แสนจะเข้าใจเธอ.. บอกว่าจะรอเธอ ขณะที่คนอื่นที่ร่วมทีมทำหนังสือเซ็ตนั้นเล่มอื่นก็ทำเสร็จกันหมดแล้ว เธอยิ่งเครียด.. เธอบอกว่า..มันเกินคำว่ารู้สึกผิดไปแล้ว ยิ่งทำให้พระที่เธอศรัทธามากด้วย เธอรู้สึกบาปเพิ่มเข้าไปอีก

ในที่สุดเธอตัดสินใจส่งงานคืน บก.พร้อมข้อมูลที่หามาได้ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว เพราะคิดว่าคงทำไม่ได้ คิดไม่ออก รู้สึกผิด เครียด...

แต่...น่าแปลกไหม.. หลังจากคืนงานไป เธอบอกว่า ในหัวเธอก็คิดออกเลยว่าจะเขียนต่อยังไงดี แต่มันก็ช้าไปเสียแล้ว

เธอบอกว่า งานนี้ทำให้เธอเห็นตัวตนของตัวเองมาก เพราะคิดว่าตัวเองต้องทำให้ดี ปล่อยให้ไม่ดีไม่ได้...

ใบไม้ฯ ก็บอกเธอว่า เป็นอาการเดียวกันเลย ยิ่งงานที่อยากทำให้ดี ยิ่งไม่เสร็จซะที เป็นอัตตาของเราล้วน ๆ เป็นอาการกลัวงานไม่ดี ทบทวนลึกลงไป ก็เพราะยึดว่าเป็นงานของตน มันต้องดี...

บทเรียนสอนใจค่ะ... แต่ก็ยังเอาตัวไม่รอด..สิ้นเดือนนี้ใบไม้ฯ ก็มีงานต้องเคลียร์ตรึมเหมือนกัน..

สู้ ๆ นะคะ ทำไปเรื่อย ๆ สักวันมันต้องเสร็จน่า...^__^...

ว่าแล้วก็ไปดีกว่า... ไปปั่นของตัวเองต่อ...

คุณณัฐพัชร์ทำเสร็จแซงหน้าใบไม้ฯ ไปได้เล้ย..ย ไม่ว่ากันอยู่แล้น..น..

วัฒนธรรมเเสดงความหลากหลาย...วิถีความเป็นอยู่...เเสดงความเป็นตัวตนของชาติพันธ์

  • ขอบคุณค่ะ คุณใบไม้ย้อนแสง สำหรับบทเรียนสอนใจ และกำลังใจที่มีมาให้เสมอๆ ^^
  • บางทีก็เป็นแบบนั้นเหมือนกันค่ะ แล้วหลายๆ ครั้งก็ได้บทเรียนมาเกือบจะทุกครั้ง
  • ทำงานบนภาวะความกดดัน บางครั้งก็ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองว่า ทำได้เหมือนกัน (อันนี้ ท่านอาจารย์ และมหาโม่ง คอนเฟิร์ม) ^^
  • จะแซงไม่แซง วันจันทร์หน้ารู้กัน ...
  • แล้วงานที่ผู้หว่านจะได้ไปไหมนี่ ถ้างานนี้ไม่เสร็จ แป่ววว ^^"

มาอีกที..

แต่ละคนภาวะต่างกันค่ะ บางคนสามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้ดี บางคนต้องผ่อนคลายจึงจะทำได้ดี บางคนภาวะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ 

ค้นลงไปให้ลึกอีกนิด มีอีกหลายปัจจัยต้องพิจารณา เช่น แรงจูงใจ การกล้าเผชิญหน้า วินัย ความจริงจัง ความกลัว ความไม่มั่นใจ เป็นงานตามคำสั่งหรืองานที่สร้างสรรค์เอง ฯลฯ  

แต่ละคนต้องทำความรู้จักตัวเอง ซึ่งบางแง่มุมอาจเหมือนหรือต่างจากคนอื่น ใบไม้ฯ ก็กำลังเรียนรู้ตัวเองอยู่เช่นกันค่ะ

แล้วงานที่บ้านผู้หว่านอาจช่วยตอบคำถามในใจได้ ฮ่า ๆ เอิ๊ก ๆ ถ้าไม่ไปเสียดายแย่เลยนะ เอางานไปทำด้วยดีไหมยามพัก... ตัดสินใจเองนะจ๊ะ..

ใบไม้ฯ งานจะเสร็จหรือไม่เสร็จก็ไปแน่ค่ะ ชัวร์ป้าบ...^__^... 

สวัสดีค่ะ

วันนี้ไปร้านเบิกม่านมาแล้ว ภาพวาดอาจารย์วิรัตน์ดูมีชีวิตชีวากว่าในบล็อคอีกนะคะ

ฝากของขบเคี้ยวเล็กๆน้อยๆไว้กับทางร้านค่ะ (ถึงอาจารย์ กับคุณจตุพรด้วย) พรุ่งนี้คงได้เปลี่ยนบรรยากาศกาแฟยามเช้านะคะ

P..พี่ตุ๊กตาไปวันนี้..พรุ่งนี้ครูNu11กับณัชพัชร์จะไปร้านเบิกม่าน..ฝากความคิดถึงถึงพี่อาจารย์วิรัตน์ด้วยนะคะ..ฝากทุกคนเลยที่ไปเจอพี่ดร.วิรัตน์น่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ k-kukiat

  • ตอนนี้อัตลักษณ์ใคร ใครก็หวง ห่วงค่ะ
  • ชาติพันธุ์ทุกกลุ่มก็ต้องการที่จะรักษากันเอาไว้ให้ดีที่สุดค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียนกัน ^^

สวัสดีค่ะ คุณพี่ ใบไม้ย้อนแสง

  • ตอนนี้ก็คาดว่า เสร็จ/ไม่เสร็จ คงไปร่วมกิจกรรมด้วยค่ะ อยากพัก อยากหลุดพ้นในบางอารมณ์มากๆ ค่ะ
  • แล้วป๊ะกันแฮ่มเน้อ ^^

สวัสดีค่ะ คุณ ณัฐรดา และ คุณครู อ้อยเล็ก

  • รับฝากทั้ง ๒ เรื่องค่ะ
  • ทั้งของขบเคี้ยว และ เรื่องที่ฝากความระลึกถึง ถึงอาจารย์วิรัตน์ ค่ะ
  • ^^

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

นึกถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งเลยคือพญาเม็งราย

ไม่ทราบท่านเป็นรามัญ/มอญหรือเปล่า

เคยไปร่วมงานกับพระมอญวัดปรมัยยิกาวาส ที่เกาะเกร็ด ปากเกร็ด นนทบุรี

ตอนสวดมนต์ให้พรภาษาบาลี บทที่ท่องได้ก็ว่าตามท่านไปไม่ได้

สระเอ ฟังได้ว่าเป็นสระ เอีย เช่น ภันเต ก็เป็น ภันเตีย

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

  • เท่าที่อ่านพบจากเอกสารบางส่วน ไม่คิดว่าพระเจ้าเม็งรายมหาราชท่านจะเป็นรามัญนะค่ะ ...
  • พระเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้ซึ่งเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถมาก เคยยกกองทัพไปตีถึงรามัญประเทศ พระองค์ท่านสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ลาว (พระเจ้าลาวเม็ง) แห่งราชวงศ์ลวจักราช และมารดาเป็นชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ้ง ..
  • พระเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เมืองที่ซึ่งยังคงกลิ่ยอายวัฒนธรรมมอญไม่เสื่อมคลาย ...  
  • เมืองเชียงใหม่ หรือ ตำนานเขียนว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” คำว่า นครพิงค์ มาจากชื่อแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ภาษาบาลีเขียนว่า พิงค์  หรือ ระมิง มีความหมายว่า “แม่น้ำของชาวรามัญ” ซึ่งสอดคล้องกับที่จามเทวีวงศ์เรียกชาวลุ่มน้ำปิงว่า “เมงคบุตร” ดังนั้น แม่น้ำปิง หรือ แม่ระมิง คือ แม่น้ำที่ชาวมอญหรือเมงอาศัยอยู่นั่นเอง

                   

  • ภาพด้านบนเป็นภาพ คัมภีร์งาช้างอักษรรามัญโบราญ เป็นสมบัติอันล้ำค่าของวัดทองบ่อ พระนครศรียุธยา ซึ่งพระสงฆ์รามัญนำติดตัวมาด้วยในช่วงอพยพเข้าสู่ประเทศไทยค่ะ
  • บทสวดมนต์ภาษารามัญ ในปัจจุบันการเขียนบทสวดเป็นภาษารามัญแทบจะไม่มีแล้ว กลายเป็นเขียนบทสวดเป็นภาษาไทยสำเนียงรามัญ (คล้ายๆ เขียนแบบคาราโอเกะ) .. แต่ยังคงมีชุมชนรามัญบางแห่งที่พยายามอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีโดยจัดให้มีการแข่งขันสวดมนต์ภาษาบาลีสำเนียงรามัญขึ้น เช่นที่ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ค่ะ ...

-----------------------------------------------------------------
(๑)สุกัญญา เบานิด, ตามรอยอดีตเมงมอญนครพิงค์ จากหริภุญชัยสู่เวียงกุมกาม อ้างอิงจาก http://blogazine.prachatai.com/user/ong/post/630   วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

(๒)รังสรรค์ เตชะปัญโญ, ตำนานเมืองเชียงใหม่ อ้างอิงจาก http://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=93   วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

ฉันเป็นชาวมอญ อ.ลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ที่บ้านเราไม่เคยอายเลยที่จะเรียกเราว่ามอญ ที่นี่ยังมีชาวมอญอยู่เยอะแต่เสียดายที่คนรุ่นหลังพูดภาษามอญได้น้อยลง อยากจะอนุรักษ์ภาษามอญให้อยู่ไปนานๆ เคยอ่านประวัติของมอญแล้วทำให้มีความภูมิใจที่เป็นมอญ เพราะในอดีตมอญมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง เก่งในเรื่องการทำเกษตรกรรมและการชลประทานมาก โดยนิสัยคนมอญชอบทำบุญมากๆ ที่บ้านเวลาวันพระคนแก่ก็จะไปวัด และวันพระจะไม่ฆ่าสัตว์ เช่นปลาที่ทำเป็นอาหาร หรือหาปลามาเป็นอาหาร ปัจจุบันยังทำเช่นนี้อยู่

สวัสดีค่ะ คุณสมัย อู่อ้น 

  • ดีใจ และยินดีมากๆ ค่ะที่ ชาวมอญ ได้แวะเข้ามาเยือนในบันทึกนี้ค่ะ ..
  • พระอาจารย์สุทัศน์ เจ้าอาวาส แห่งวัดทองบ่อ ท่านก็พยายามทุกวิถีทางที่จะดึงเอาวัฒนธรรมของชาวมอญที่กำลังจะสูญหายไปมาไว้ที่วัดทองบ่อเท่าที่กำลังของท่านพอจะทำได้ และเป็นไปได้ค่ะ
  • พระอาจารย์ท่านเล่าให้ฟังว่ากำลังค้นหาผู้ที่สามารถทำพิธีบวช หรือพิธีกรรมในงานบุญต่างๆ แบบมอญแท้ๆ เพื่อจะอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานชาวมอญได้รู้จักรัก ภูมิใจ และซาบซึ้งกับประเพณีวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ของตนเองให้ได้มากที่สุดค่ะ ..
  • ท่านใช้เนื้อที่ของวัดที่พอมีอยู่ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ตามที่ชาวมอญนิยมปลูกไว้สำหรับทำอาหาร ให้ได้มากชนิดที่สุดค่ะ ..
  • พระอาจารย์บอกว่าท่านเป็นเหมือน มอญกลับใจ จากที่ท่านไม่เคยรู้จักประเพณีวัฒนธรรมมอญ ไม่รู้ประวัติศาสตร์มอญ ไม่เข้าใจภาษามอญเลย จนปัจจุบันนี้ท่านศึกษาประวัติศาสตร์จากเอกสารเท่าที่ท่านพอจะหามาศึกษาได้ และพอที่ พูด(สวดมนต์) อ่าน และเขียนภาษามอญได้  แต่การเขียนภาษามอญ โดยเฉพาะอักษรมอญโบราณ ที่พระอาจารย์ท่านกำลังศึกษาอยู่ค่ะ ..
  • แล้วแวะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนกันอีกนะค่ะ คุณสมัย ...
เด็กรามัญวัดนำ้วนปทุม

ดีคับแวะมาทักทายผมก็เชื้อมอญบ้านนำ้วน(วัดนำ้วนปทุมทานี)พูดมอญได้นิดหน่อยแต่ได้ไม่หมดเดี๋ยวนี้คนที่พูดภาษารามัญได้

มีน้อนคนแล้วคับแถวบ้านผม(รอบบริเวณวัด)พูดมอญได้ไม่ถึง30คนบางคนพูดไม่พูดบางคนฟังออกแต่พูดไม่ได้แตก็ยังคงรักษา

ประเพณีไว้ได้ดีชาวมอญปทุมนั้นกระจายไปทั่วทั้งจ.ปทุมที่วัดนำ้วนก็ยังมีพระพอสวดมอญได้ไม่5องเป็นที่หน้าเสียดายว่าเสียงสวดมนต์

เป็นภาษามอญนั้นไพเราะมากคับทั้งทำวัตรเช้าเย็น12ตำนานและบทสวดอภิธรรมมอญเดี๋ยวนี้เริ่มหมดไม่มีไคนสวดถ้าหยากรู้ปะเพณีมอญ

แอดมาหาพมได้คับ

สวัสดีคะ คุณเด็กรามัญวัดนำ้วนปทุม

  • แวะมาร่วม ๒ เดือนแล้วนะคะเนี่ยะ หลงหูหลงตาไปได้อย่างไร
  • ชาวรามัญบริเวณรอบๆ วัดทองบ่อที่สามารถพูดภาษามอญได้ก็มีน้อยมากเต็มที เด็กรุ่นใหม่ หรือนับคนอายุ ๕๐ ปีลงมาก็ไม่สามารถจะพูดได้แล้ว ซึ่งเค้าบอกว่าภาษามอญเป็นภาษาที่ตายแล้ว ไม่รู้จะเรียนไปเพื่ออะไร ..
  • ที่วัดทองบ่อ ก็มีพระอาจารย์สุทัศน์ สามารถท่องบทสวดภาษามอญได้อยู่องค์เดียวเองคะ ซึ่งท่านพยายามศึกษาทั้งอ่าน ทั้งเขียน และพยายามรักษาประเพณีของชาวรามัญไว้ให้ได้มากที่สุดเช่นกันคะ .. ในวันที่ไปพบหลวงพ่อ เป็นวันพระเลยได้มีโอกาสฟังสวดในภาษามอญด้วยคะ ..
  • ขอบคุณ คุณเด็กรามัญวัดนำ้วนปทุม นะคะที่แวะมาพูดคุยกัน ..

เณรในภาษามอญ จริง ๆ เรียกว่า "ฮาเปย" ค่ะ

สวัสดีคะ คุณหลานมอญ

  • คิดว่า อาโปย (ที่เข้าใจว่าออกเสียงแบบนั้น) คงจะออกเสียงแบบที่คุณหลานมอญบอกคือ ฮาเปย แต่ดิฉันคงฟังเพี๊ยนไปเองหน่ะคะ เพราะอาโปย สำเนียงภาษาไทยแกคือประมาณไม่ค่อยชัดหน่ะคะ ..
  • ขอบคุณ คุณหลานมอญ มากๆ คะที่ช่วยบอกคำที่ถูกต้องคะ ..

ถ้าจะหาพิธีกรรมในงานบุญต่างๆ แบบมอญแท้ๆ เพื่อจะอนุรักษ์ไว้ละก็ ขอแนะนำแถวบ้านดิฉันเลยค่ะ ลองไปที่วัดทิพพาวาส อำเภอลำปลาทิว เขตลาดกระบัง เพราะแถบนี้จะมีชาวมอญอยู่มาก วัดทิพพาวาส ก็เป็นวัดมอญ และในอำเภอลำปลาทิว เขตลาดกระบังจะเป็นคนมอญแทบทั้งหมด ยังพอมีพิธีกรรมแบบมอญอยู่ แต่ปัจจุบัน อาจจะทำกันน้อย เนื่องจากพิธีกรรมของชาวมอญค่อนข้างยุ่งยาก ปราณีต ต้องใช้เวลา ที่บ้านเมื่อก่อนจัดกัน เช่น งานบวช, เล่นสะบ้า-สงกรานต์, งานศพ ฯลฯ

  • น่าสนใจยิ่งเลยคะ พิธีกรรม งานบุญที่เป็นอัตตลักษณ์ของชาวมอญ อาจารย์สุทัศน์พยายามอย่างยิ่งที่จะนำกลับมาสู่หมู่บ้านอีกครั้ง ซึ่งหลวงพ่อบอกอยู่ว่าถึงจะยากแต่ก็จะพยายามอย่างที่สุด ..
  • เมื่อเดือนก่อนสอนหนังสือเสร็จขับรถกลับกรุงเทพฯ ก็แวะกราบนมัสการหลวงพ่ออีกครั้ง เพื่อถวาย(คืน)หนังสือ เอกสารที่ได้ยืมหลวงพ่อมาเขียนบันทึกบทความต่างๆ ท่านก็คุยถึงเรื่องราวในความพยายามอนุรักษ์งานบุญอีกครั้ง และกำลังตรวจดูพื้นที่เพื่อจะเพาะต้นไม้ผล พืช ผักต่างๆ ที่ชาวมอญสามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร หรือรับประทานเล่นกัน ที่เป็นอาหารอันเป็นอัตตลักษณ์เฉพาะของชาวมอญ ซึ่งก็หายากพอควร หลวงพ่อกล่าว ..
  • หลวงพ่อพาเดินไปดูพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของวัดทองบ่อ ซึ่งได้ยกขึ้นอีกครั้ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าตอนนี้พอที่จะหลบน้ำเหนือที่กำลังจะบ่ามาในครั้งนี้ได้หรือไม่นะคะ น่าเป็นห่วงข้าวของต่างๆ ของชาวมอญ ..
  • ขอบคุณนะคะ (ไม่ทราบชื่อ) ที่แวะมาบอกข่าวเรื่องวัดทิพพาวาส ที่ลาดกระบัง มีโอกาสจะแวะไปเยี่ยมชมชาวมอญที่นั่นคะ ..

สวัสดีครับ ผมคนมอญคนหนึ่งบ้านอยู่ ลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กทม บ้านเดียวกับคุณสมัย อู่อ้น ได้ศึกษาภาษมอญตลอดเวลา ผมพูดมอญได้ครับ ตายายเป็นมอญครับ ผมพูดมอญตุั้งแต่เด็ก เมื่อบวชเป็นพระก็สวดมนต์เป็นภาษามอญ แต่ที่น่าเสียดาย มีพระที่สวดมอญได้เพียง 4 องค์ นอกนั้นเป็นสำเนียงมอญแปลงหมด อ้อลืมบอกไปว่าวัดที่บ้านผม ชื่อ วัดทิพพาวาส แผ่ย์เกรองย์ตุ่นย์ แปลเป็นไทยว่า วัดคลองลำกอไผ่ ใข่ไหมคุณสมัย คุณสมัยไปทำบุญที่วัดคงจะเห็น หลวงตาที่นั่งองค์สุดท้ายนั่นแหละผมละตอนนี้ลาสิกขาออกมาแล้ว ผมมีความคิดอยู่ว่าจะทำ เวปไฃด์ ของวัดทิพพาวาส จุดมุ่งหมายเพื่อจะประชาสัมพันธ์วัดให้ประชาชนรอบนอกได้รู้จักและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการรักาษาบทสวดมนต์ภาษามอญไว ชึ่งได้เคยกราบเรียนท่านเจ้าอาวาสไว้แล้ว คิดว่าคงไม่นานเกินรอนะครับ จะใช้ชือว่า [email protected] ถ้าคุณสมัยมีเวลาเรามาช่ายกันครับ เพื่อชุมชน และวัดบ้านเราครับ โทร ของผม 084 9332106 ครับ

สวัสดีค่ะ คุณเทพ วิไลจันทร์

  • หวังว่าคุณสมัย อู่อ้น จะแวะเวียนเข้ามาได้พบกับข้อความที่คุณเทพได้ฝากไว้นะค่ะ
  • ยินดีมากๆ ค่ะมีส่วนช่วยเชื่อมประสานให้กับชาวมอญทุกท่านผ่านบล๊อคนี้ค่ะ ..
  • ขอให้รักษาภาษาบทสวดภาษามอญไว้ให้ได้นะค่ะ =)

สวัสดี คุณเทพ

ดีใจนะที่ได้เจอคนบ้านเดี่ยวกันและทำบุญวัดเดียวกัน ก็ขอให้รักษาภาษามอญวัฒนธรรมไว้นานๆนะ ที่ฉันเขามาที่เว็บนี้

เพราะสนใจและมีความสงสัยความเป็นมาของคนมอญว่า สมัย ดั้งเดิมก่อนที่จะหนีมาประเทศไทย แสดงว่า ประเทศมอญคงมี

ความเจริญรุ่งเรืองมากๆ เพราะมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง และมีขนมธรรมเนียมประเพณีอันดีงามมาก่อน

สวัสดีค่ะ คุณเทพ, คุณสมัย : ตั้งใจไว้ว่าเร็วๆ นี้จะไปกราบนมัสการท่านพระครู ที่วัดทองบ่อ พระนครศรีอยุธยาอีกครั้งค่ะ เข้าใจว่าหลงเสน่ห์วัฒนธรรมของชาวรามัญอย่างยิ่งค่ะ ^^

จะมีใครมาตอบคำถามให้หนูไหมหน้อ หนูมีแฟนเป็นหนุ่มมอญอะ อยากรู้จังว่านิสัย คนมอญเจ้าชู้ไหม รักจริงไหมอะ รอคำตอบอยู่นา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท