หัวใจ..KM. ...อยู่ตรงนี้ น้องจิ..ครูพิสูจน์..รู้ไหม


หัวใจ KM. อยู่ตรงนี้


                        

            ใกล้วันที่ผมและน้องจิจะต้องไปเป็นวิทยากรจำเป็น..ร่วมเสวนาเพื่อจุดประกาย KM. แก่ผู้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ
จัดการความรู้พัฒนาทีมปฏิบัติการ ของสพท.สพ.๒ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม เป็นนักบริหาร นักวิจัย นักวางแผน ครูผู้นำการพัฒนาการเรียนการสอน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ทุกคนเป็นสุดยอดของผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน เป็นบุคลากรผู้มีความสามารถ มีประสบการณ์โชกโชน แล้วผมกับน้องจิจะเอาอะไร..ไปจุดประกายให้ท่าน...เพราะพวกท่าน..ก็ไฟแรง..แซง...ตลอดกันทั้งสิ้น...ผมกับน้องจิเกรงว่า..จะไปดับประกายของท่านเสียอีก...นี่คือความกดดันและความวิตกกังวล..ของเรา
     หัวข้อเสวนาที่เราจะพูดเราจะพูดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีเสมือนคือ Blog to Blog เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ ผมกลัวว่า จะพูดไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์จึง ไปหยิบหนังสือ รายงานการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรแกนนำนักจัดการความรู้ ของสพฐ.มาอ่าน ว่า..ไอ้ที่เราทำมามันเข้าหลักเข้าเกณฑ์อะไรกับเขาหรือเปล่า...ท่านผู้อ่านและพี่น้องชาวgotoknow ลองติดตามดูนะครับ
     หน้า ๔๕ ของหนังสือเล่มนี้เขาเขียนเรื่อง KM. and Blog เขาบอกว่า
   "หัวใจของการจัดการความรู้(KM.) คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้"
         ดังนั้นบทบาทที่สำคัญขององค์กร (ถ้าเป็นองค์กรที่ผมสังกัดเบื้องต้นคือโรงเรียนบางลี่วิทยา สูงขึ้นมา คือสพท.สพ.๒)จะต้องจัดพื้นที่ หรือเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และพื้นที่หรือเวทีนี้มีอยู่ ๒ รูปแบบ ก็คือ
   ๑. พื้นที่จริง คือเป็นพื้นที่ที่คนได้มาเห็นหน้าเห็นตากันจริง ที่เรียกว่า Face to Face เขายังแยกย่อยเป็น ๒ ลักษณะ คือ
     ๑.๑ พื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานประจำวัน อย่างเช่นที่โรงเรียนจัดประชุมกันบ่อยๆนั่นเอง เช่นประชุมประจำเดือน ประชุมกลุ่มสาระฯหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ประชุมครูเวรประจำสัปดาห์ ประชุมผู้กำกับลูกเสือ เป็นต้น
     ๑.๒ พื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวาระพิเศษ เช่นตลาดนัดความรู้ งานซิมโปเซียมของสพท.สพ.๒ เป็นต้น
   ๒. พื้นที่เสมือน คือพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ผ่านทางสื่อ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น อีเมล์ เว็บไซต์ เว็บบล็อก ที่เรียกว่า Blog to Blog
    เรื่องที่สพท.สพ.๒ ให้ผมกับน้องจิเสวนา ก็คงเป็นเรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนพื้นที่เสมือน  Blog to Blog นี่เอง ว่าพวกเราประสบความสำเร็จหรือได้รับประโยชน์อย่างไร อย่างของผมคงยังเรียก Best Practice ไม่ได้ แต่ถ้าเทียบกับน้องจิ ผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของน้องจิ ผมว่าเป็น Best Practice ที่ผมจะต้องไปเรียนรู้ เพราะบันทึกของน้องจิมีคนเข้ามาอ่านมากกว่าของผมหลายเท่าตัวและมีผู้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างถิ่น ต่างที่ ต่างสาขา อาชีพ ต่างประสบการณ์ มากมายกว่าของผม ทั้งๆที่ผมเป็นคนสอน
ให้น้องจิ สร้างบล็อก เขียนบันทึก นี่แสดงว่าน้องจิ ต้องมีเทคนิค มี How to ที่ครูพิสูจน์ต้องไปเรียนรู้
      คำว่า blog(บล็อก) เหมือนคำสนธิแบบฝรั่ง มาจากคำว่า Web log (เว็บ บล็อก)web คือใยแมงมุม log คือบันทึก แปลตรงๆก็คือ บันทึกบนเว็บ หรือบันทึกบนเครือข่ายใยแมงมุม
     บล็อก ก็จึงเป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ที่เปรียบเหมือนสมุดบันทึกบนเว็บ บางคนก็มีสมุดบันทึกหลายเล่ม เช่นครูอ้อย มีหลายบล็อก ครูพิสูจน์มี ๒ บล็อกคือ ภูมิปัญญาภาษาไทย กับ เรียนรู้อนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน น้องจิ มี ๑ บล็อก ชื่อ มันสมองเด็ก
    แล้ว บล็อก และ การเขียนบล็อก มีประโยชน์และวิธีการอย่างไร คอยติดตามต่อไปนะครับ ตอนนี้ผมมีภารกิจ..นัดกับลุงเอกไว้ที่หน้าอำเภออู่ทอง วันนี้(๑๐ พ.ค.๒๕๕๑)ลุงเอกจะพานักศึกษาปริญญาโทไปศึกษานอกสถานที่แถวๆศรีประจันต์..ผมกับน้องจิจะตามไปด้วย

หมายเลขบันทึก: 181520เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 06:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ครูพิสูจนืเจ้าค่ะ น้องจินั่งรอจนหลับแล้วค่ะ เร็วเร๊ว ตื่นเต้นจะได้กอดลุงเอก กับ ป้าจุ๋ม แม่หมูอีกรอบ คิคิ 555++

ครูพิสูจน์กำลังรับประทานอาหารเช้าอยู่ค่ะ

ลุงเอกกำลังเดินทางไปไปอู่ทอง  นัดพบครูพิสูจน์ ป้าจุ๋ม  ป้าหมู  น้องจิและเหล่า นศ. ป.โท สวนสุนันทาที่ลุงเอกสอน  ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  แถมนัดกันเจอหน้าบ้านครูประจักษ์ครับ

ครูพิสูจน์ครับ เรารู้หลักเอาไว้ดี  บางคนเก่งมากเลยหลักการ  เขียนไว้บานเลยไม่มีคนอ่าน  บางคนสอน KM  แต่กลายเป็น Kem M คือยังใจเค็ม  ไม่มีคนมาหาหรอกเพราะไม่เปิดใจ  รู้ตำราแต่ใจไม่เปิด เพราะไม่รู้ชีวิตจริง  แถมไม่ทำเป็นธรรมชาติ  ให้เป็นวิถีชีวิต

น้องจิใช้ชีวิตแบบธรรมชาติ  การตลาดเลยดี  เราลองไปดูนักสอน KM ในบล็อกยังทำงานแบบลูกกรอก  มีแต่ Kem M ไม่ไปไหนหรอกครับ เพราะหัวใจมีแต่เกลือ  ขี้สนิมเกาะจึงไม่เปิด  งัดเท่าไรก็ไม่เปิด

สวัสดีครับอาจารย์พิสูน์

ชอบที่ลุงเอก Comment จังเลยครับ

ปฏิบัติภารกิจราบริ่น นะครับ

,,,,,,,,,,,, ชัยภูมิ 07.40น.

  • นัดพบกันแต่เช้า
  • ฮ่าๆๆ
  • ดีใจด้วย ครบทีมเลยใช่ไหม
  • blog เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดการความรู้ ซึ่งยังมีเครื่องมือตัวอื่นอีกครับ
  • ท่านอาจารย์หมอประเวศ มีทฤษฎี ตัวนี้ครับ
  • ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายหรือคนเข้าถึงกัน

ครูพิสูจน์คะ อยากให้โค้ชข้อความของลุงเอก ไปถ่ายทอดให้พวกเราฟังด้วย ยอดเยี่ยมจริงๆ ฝากบอกท่านด้วย ว่าเราขออนุญาต

ขอบคุณ..ลุงเอก ข้อคิด ความเห็นของลุงเอก...ทำให้ผมได้เรื่องที่จะนำไปเล่าให้ผู้เข้าประชุมฟังแล้วครับ..ขอบคุณ

ขอบคุณ..อ.จารุวัจน์ มากครับ ที่แวะมาเยี่ยม ผมก็ได้แวะไปชื่นชมที่บันทึกของอาจารย์..แล้วครับ

ขอบคุณ คุณสมนึก เที่ยวไกลเหมือนกันนะครับ..ผมก็ชอบที่ ลุงเอกให้ข้อคิดเห็นมาครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต สำหรับ

โครงสร้างแห่งความสุขและความสร้างสรรค์

ทุกวันนี้ ทุกคนถูกทำให้รู้สึกว่าไร้ศักยภาพ และไร้ศักดิ์ศรี เพราะว่าโครงสร้างอำนาจและโครงสร้างเงิน องค์กรต่างๆ ในสังคมล้วนเป็นองค์กรอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางการเมือง ทางราชการ ทางการศึกษา ทางธุรกิจ และทางศาสนา นอกจากนั้น ยังมีโครงสร้างอำนาจเงินที่กดทับคนทั้งหมด ในโครงสร้างอำนาจนี้ก่อให้เกิดความบีบคั้น ความไร้ศักยภาพ ความหงุดหงิดรำคาญใจ และความรู้สึกสิ้นหวัง (hopelessness) ทั้งหมดล้วนทำลายสุขภาพจิต ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักยภาพแห่งความสร้างสรรค์

INN เป็นโครงสร้างที่ทำให้หลุดจากความบีบคั้นดังกล่าว ไปสู่ความสุขและความสร้างสรรค์

I = Individual หรือ ปัจเจกบุคคล

แต่ละคนมีคุณค่า มีศักด์ศรี และมีศักยภาพ เราต้องตั้งใจของเราไว้ให้ดี มีความเพียรอันบริสุทธ์ มีความสุขจากการแสวงหา ความรู้และการทำความดี เราอย่าติดอยู่ในยศศักดิ์ อัครฐานหรือตำแหน่งอันเป็น “รูปแบบ” (form) ต้องไปสู่แก่นสัจจะ คือความเป็นมนุษย์ ของแต่ละคน คนแต่ละคนถ้ามีศักดิ์ศรี และทำดีจะมีผลมาก ถ้าเราระลึกรู้อย่างนี้จะประสบอิสรภาพ ความสุข และความสร้างสรรค์

N = Nodes หรือ กลุ่ม

คน ๔–๕ คน หรือ ๗–๘ คน ที่ถูกจริตกัน ควรมารวมกลุ่มด้วยความสมัครใจ สมาชิกอาจข้ามสาขาและข้ามองค์กร สมาชิกกลุ่มพบปะกันบ่อยๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ชวนกันทำอะไรที่สร้างสรรค์เมื่อรวมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จะมีความสุขและความสร้างสรรค์เหลือหลาย ความเป็นกลุ่ม และความหลุดพ้นจากการบีบคั้นที่ดำรงอยู่ในองค์อำนาจทางดิ่ง ควรมีกลุ่มอันหลากหลายให้เต็มสังคม คนคนหนึ่งอาจเป็นสมาชิกได้หลายกลุ่มตามความสมัครใจ

N = Networkt หรือ เครือข่าย

ปัจเจกบุคคล (I) ก็ตาม กลุ่ม (N) ก็ตาม ควรเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับบุคคล หรือกลุ่มอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ละคนแต่ละกลุ่ม อาจเป็นสมาชิกของหลายเครือข่ายตามความสมัครใจ

INN หรือ บุคคล – กลุ่ม – เครือข่าย จะเป็นโครงสร้างที่ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร ทุกคนและทุกกลุ่มเข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีการเรียนรู้ร่วมกัน โครงสร้างอย่างนี้จะมีความสุขความสร้างสรรค์ เป็นโครงสร้างที่มีจิตวิญญาณ และมีพลังที่จะเยียวยาโลกที่เจ็บป่วย

ขอบคุณ หัวหน้าลำดวน ที่แนะนำครับ ผมจะปฏิบัติตามคำแนะนำครับ

เรียน ลุงเอก

ผมขออนุญาตนำข้อคิดความเห็นในบันทึกนี้ ไปเผยแพร่ ให้ผู้เข้าประชุมนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ

  • ขออนุญาติร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ้คุณ พิสูจน์
  • ลุงเอก ทำให้เข้าใจมากขึ้น ทีเดียวคะ

ขอบคุณ ก้ามปู ที่มาร่วมเรียนรู้ ยินดีมากครับ

ขอบคุณ ลุงเอก ขอบคุณทุกอย่างที่ลุงเอกให้พวกเรา ความรู้ ข้อคิด และประสบการณ์อันมีค่าครับ และอีกหลายๆสิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท