เริ่มสับสัน...กับคำศัพท์..ในพจนานุกรมคำใหม่.เล่ม ๑ ของราชบัณฑิตยสถาน


เริ่มสับสัน...กับคำศัพท์..ในพจนานุกรมคำใหม่.

เล่ม ๑ ของราชบัณฑิตยสถาน

     ผมซื้อหนังสือพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มา ๑ เล่ม เพื่อศึกษาคำใหม่ ดูไปดูมาเริ่มสับสน...เพราะคำว่าพจนานุกรม ..ก็ต้องนำไปอ้างอิงได้...ในเรื่องคำศัพท์ที่เป็นคำคะนองของวัยรุ่นผมไม่ติดใจ..แต่พอมาถึงคำทับศัพท์....ผมเริ่มสับสน...ว่าจะนำมาใช้ได้ไหม...ในภาษาทั่วไป

    ผมไปเปิดเทียบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ บางคำก็ตรงกัน เช่น คำว่าแฟชั่นเขียนเหมือนกันทั้ง ๒ ฉบับ แต่พอถึงคำว่า(e-mail) อีเมล์ คำนี้เป็นคำคะนอง หรือเป็นคำที่ทับศัพท์ เพราะเห็นราชบัณฑิตยสถานใช้ว่า อีเมล(ในเรื่องศัพท์บัญญัติ) แต่ไม่มีในพจนานุกรมฉบับ ๒๕๔๒

   ผมเดาว่า อีเมล์ คงเป็นภาษาคะนอง เหมือนแอ๊บแบ๊ว เด็กแว้น กิ๊ก ถ้าใช้เป็นทางการคงต้องใช้ อีเมล อย่างนี้ใช่ไหมครับ...แต่ผมใช้คำ อีเมล์ ไปหลายครั้งแล้ว...ในศัพท์ทางการที่ทับศัพท์จาก e-mail(ซึ่งบัญญัติศัพท์ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) ผมคงผิดอีกแล้ว..ใช่ไหมครับ..ผมสับสนจริงๆ

คำสำคัญ (Tags): #อีเมล์ - อีเมล
หมายเลขบันทึก: 188236เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

ถูกเป็น..ครูเชี่ยวชาญ...ใช่ไหมครับครูโย่ง..ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกัน

สวัสดี่ค่ะอาจารย์พิสูจน์

  • มิมเขียน อีเมล มาตลอดค่ะ ตกลงว่าเขียนอย่างไรถูกกันแน่ค่ะ
  • คิดว่าตัวเองเขียนถูกแล้วนะคะ
  • มาสับสนด้วยคนค่ะ อิอิ

ขอบคุณ ครูมิม อีเมล น่าจะถูก เพราะเห็นมีผู้รู้เปรียบเทียบ คำผิดคำถูกไว้ว่า อีเมล์ ผิด อีเมล ถูก และราชบัณฑิตยสถาน ก็เขียน อีเมล แต่ในพจนานุกรมคำใหม่ ของราชบัณฑิตยสถาน..คงถือว่าคำ อีเมล์ เป็นคำใหม่ พวกคำคะนองมากกว่า(ลองเปิดดูหน้า ๑๖๖ คำสุดท้ายของหน้าครับ ถ้ามี)

ครูพิสูจน์ครับ

ห้ามพูดว่าอีเมล ครับ

มันเป็นคำหยาบคายครับ

ต้องพูดว่า คุณเมล

อิอิ

แจ้งอาจารย์พิสูจน์ครับ

ตามบันทึกของน้องมะปรางเปรี้ยว :  แนะนำบันทึก คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด

 

ผมได้แจ้งข้อมูลให้อาจารย์ได้ทราบจากความคิดเห็นที่ 6

 

P

6. Wasawat Deemarn
เมื่อ ส. 14 มิ.ย. 2551 @ 10:33
700146 [ลบ]

เรียน ท่านอาจารย์ พิสูจน์ ผ่านบันทึกของน้อง มะปรางเปรี้ยว

ตามข้อสงสัยเกี่ยวกับคำว่า e-mail จะเขียนว่า อีเมล หรือ อีเมล์ นั้น

ผมได้ไปทดลองค้นจาก "ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิต ฉบับออนไลน์" ที่ http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php

พบคำว่า e-mail อยู่พจนานุกรมสองเล่มคือ คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ใช้คำว่า "อีเมล" ทั้งสองเล่ม ครับ

แต่ไม่แน่ใจว่า หลักฐานพอหรือเปล่า จึงเดินไปหยิบ "พจนานุกรมอังกฤษ - ไทย" ฉบับทันสมัยของ SE-ED ดู ก็ยังพบคำว่า e-mail เขียนภาษาไทย "อีเมล" ไม่มีการันต์ เช่นกันครับ

แต่อย่างไรก็ตาม ขอเป็นการค้นเบื้องต้นก่อนนะครับ ยังไงเดี๋ยวผมจะไปค้นคว้าหาอีกครั้งหนึ่ง

ขอบคุณครับ :)

 

และตามมาด้วยความคิดเห็นที่ 8

 

P

8. Wasawat Deemarn
เมื่อ ส. 14 มิ.ย. 2551 @ 14:03
700335 [ลบ]

เรียน ท่านอาจารย์ พิสูจน์ ผ่านบันทึกของน้อง มะปรางเปรี้ยว รอบที่ 2

ผมไปเดินร้านหนังสือมาครับวันนี้

"พจนานุกรมคำใหม่" เขียนคำว่า e-mail เป็น อีเมล์ จริง ๆ ด้วยครับ

ในขณะที่เล่มอื่น ๆ ยังคงเป็น อีเมล ไม่มีการันต์ ครับ

จะหาข้อมูลต่อไป ครับ แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผมสอนด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์นั้น ผมก็ยังใช้คำว่า "อีเมล" ไม่มีการันต์ ครับ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ขอบคุณครับ

 

++++++++++++++++++++++++++++++++

 

555 ... จึงแจ้งให้อาจารย์ได้ทราบความก้าวหน้าในการค้นหาคำตอบครับ แต่อย่างไรก็ตามนั้น ... เดี๋ยวคงจะมีผู้รู้มาแจ้งให้อาจารย์ทราบอีกทีหนึ่งครับ หวังว่า นะครับ :)

 

ขอบคุณ คุณ Wasawat มากครับ...วันนี้ได้ความรู้มากทีเดียว...ผมว่าถ้าใช้เป็นทางการก็น่าจะเป็นอีเมล...เพราะอ้างอิงไว้หลายที่...ขอบคุณอีกครั้งที่นำสิ่งดีๆมีความรู้มาให้ครับ

ครูโย่งครับ...เดี๋ยวนี้นอกจากอีเมล...แล้วยังมี...อีกหลาย อี เลยครับ ถ้าเรียกคุณเมล มีดอีโต้ ก็ต้องเรียก มีดคุณโต้ ป้ากับปู่กู้คุณจู้...ใช่ไหมครูโย่ง..พวกสัตว์..ก็จะต้องเรียกคุณเห็น...เพราะดีครับ

ผมไม่กล้าสรุปว่าอาจารย์ใช้ผิดดอกครับ เพราะพจนานุกรมคำใหม่ไม่ใช่พจนานุกรมคำผิด มากไปกว่านั้นคำที่ถูกก็ไม่จำเป็นต้องมีคำเดียว. คำใหม่หากอยู่รอดไปได้ ก็คงได้ไปอยู่ในพจนานุกรมเล่มใหญ่.

อีเมล์คงต่างจากแด็กแว้นอยู่บ้าง. อีเมลเป็นของใหม่ เมื่อเทียบกับรถจักรยานยนต์ ครก และโทรเลข. ของใหม่ก็มักจะมาคู่กับคำใหม่กระมัง แม้จะคะนองหรือไม่ก็ตาม ...

ถ้าหากว่าเขียนอีเมล ผมก็ต้องออกเสียงว่า "อี-เมน" จึงจะถูกต้องใช่หรือเปล่าครับ?

ไม่รู้จะใช้อย่างไรเหมือนกันค่ะ แต่ใช้คะว่าอีเมล์มาตลอดค่ะ..ต่อไปจะใช้ e-mail แทนไปเลยดีกว่าค่ะ อิอิ

พจนานุกรมคำใหม่ แสดงวิวัฒนาการของภาษา แต่ไม่ได้บอกว่าคำที่บรรจุอยู่ในนี้เป็นศัพท์มาตรฐานนะครับ อีเมล กบ อีเมล์ เราอาจเข้าใจได้ว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ถ้าจะค้นคำในฐานข้อมูล หรือค้นด้วย search engine ก็ดูว่าจะเป็นคนละคำ ยกเว้นว่าจะมีพจนานุกรมคำพ้อง (thesaurus)

พจนานุกรมคำใหม่ตามที่เขียนไว้ในคำนำ/คำชี้แจง เน้นไปที่การทำความหมายขอคำที่เกิดใหม่ให้ชัดเจนครับ

ขอยืนยันใช้อีเมลจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประกาศออกมาชัดเจนค่ะ การันต์ทำให้พยัญชนะที่ถูกกำกับไว้ไม่ออกเสียง ถ้าว่ากันตามหลักภาษา อีเมล์ แบบมีการันต์จะกลายเป็นออกเสียงว่า "อีเม"

E-mail บางท่านเลียนเสียงมาเป็นไทยๆ ว่า อีแมว

เมื่อพิจารณา อีแมว เป็นอิตถีลิงค์ (เพศหญิง) ถ้าจะยืมศัพท์บาลีมาใช้ น่าจะใช้ว่า มัชชารี (แมวตัวเมีย)

ขอเสนอความเห็นว่าใน Gotoknow น่าจะใช้คำว่า มัชชารี แทนคำว่า E-mail

ถ้าชาว Gotoknow ใช้กันมาก แล้วมีผู้นำไปใช้กันเยอะ จนกระทั้งติดตลาด ก็อาจได้รับการบรรจุไว้ในพจนานุกรม...

เจริญพร

ขอบคุณ วีร์ ไม่ได้คุยกันนานแล้ว...เหตุผลของ วีร์ แสดงความเป็นนักภาษาที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างดี อีเมล เป็นคำทับศัพท์ หลักการอ่านคำทับศัพท์ ผมก็ไม่เชี่ยวชาญ เคยพบในหนังสือหลักภาษา ว่าอ่านได้ ๒ ลักษณะ คือ๑.อ่านตามรูปคำที่ปรากฏในภาษาเรา เช่น อีเมล อ่านว่า อี-เมน เพราะ ตัว ล เป็นตัวสะกดในแม่ กน ๒.อ่านตามสำเนียง ของภาษาเดิม คือภาษาอังกฤษ ที่ออกเสียง e-mail เขาออกอย่างไรก็ออกตามเขา เขาลงท้ายด้วยตัว L เสียง L ท้ายพยางค์ก็ออกไปตามนั้น

นี่ผมจำเขามานะครับ...ผมไม่ได้เก่งกาจอะไรเลย ครับ

สวัสดีค่ะครูพิสูจน์

อ่านหลายๆความคิดเห็นแล้ว เริ่มสับสนตามค่ะ จะใช้อันไหนดี อิอิ

เริ่มสับสนเหมือนกัน แต่ปกติ ใช้คำว่า อีเมล อยู่ค่ะ

ขอบคุณ ดร.กมลวัลย์ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผมก็ใช้คำ อีเมล์ เพราะไปเปิดพจนานุกรมคำใหม่..เลยใช้ตาม..พอมาอ่านศัพท์คอมพิวเตอร์ ของราชบัณฑิตยสถาน ผมก็ต้องเชื่อ...แต่อยากได้คำอธิบาย..จากผู้รู้..จะได้ไปอธิบายต่อ...ถ้าไม่แน่ใจก็คงต้องยกศัพท์มาใช้โดยตรง แต่กลัวเด็กๆอ่านไม่รู้เรื่อง บางทีก็ต้องถอดเป็นอักษรไทยครับ...ซึ่งผมก็นั่งอ่านหลักการทับศัพท์อยู่มียาวตั้ง สิบกว่าหน้า..จำไม่หมดเหมือนกัน

ขอบคุณ ลุงคอนดักเตอร์ (ถอดอย่างนี้ถูกไหมครับ)บันทึกนี้ได้ความรู้และแนวคิดที่เป็นประโยชน์จริงๆครับ...เราคงได้อ่านแนวคิดอีกหลายท่านครับ

ขอบคุณ Little Jazz ครับ ตอนนี้ มี ๒ อี แล้วครับ อีเมน กับ อีเม น่าสนุกนะครับ คนเก่งภาษา ได้มาแสดงความคิดเห็นกัน...สุดท้ายเราน่าจะถามราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญด้านภาษากันนะครับ..ตอนนี้อภิปรายกันก่อน..แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้เต็มที่ครับ

กราบนมัสการ ท่านมหา ด้วยความขอบคุณยิ่ง ที่ท่านเมตตามาร่วมแสดงความคิดเห็นกับบันทึกของผม...ศัพท์บัญญัติของท่านน่าสนใจทีเดียวนะครับ

ขอบคุณ กล้วยแขก...นี่แหละการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีคุณค่า..เราได้เห็นแนวคิดที่หลากหลายทำให้โลกเรากว้าง...ขึ้น

สวัสดีครับ ครูพิสูจน์

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • ด้วยความคิดฮอด เด้อ
  • ขอบคุณหลาย ๆ ครับ

ขอบคุณ คุณพี่ศศินันท์ ชักสนุกกับคำนี้แล้วซี...จริงๆราชบัณฑิตยสถาน..ท่านก็คงมีหลักการทับศัพท์ของท่านอยู่แล้ว....เมื่อใดจะใช้ ไม่ใช้ ไม้ทัณฑฆาต และใช้อย่างไร..แต่เผอิญ คำนี้มีการใช้ ๒ อย่าง อีเมล์ เมื่อไปอยู่ในพจนานุกรมคำใหม่ ผมจึงตีความเอาว่า เขียนไปตามที่คนในสังคมพูด อาจจะไม่ใช่ภาษา ที่เป็นมาตรฐาน ผมเรียกว่าคำคะนอง เมื่อพจนานุกรมคำใหม่มีคำนี้ เมื่อเรานำไปใช้จึงต้องระวัง ผมจึงคิดว่า อีเมล ใช้อย่างเป็นทางการ อีเมล์ ก็ใช้อย่างที่ในสังคม เรียก เอาเป็นว่ารู้ว่าความหมายเดียวกัน ใช้ให้ถูกที่คงจะเป็นอย่างนี้ครับ...ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้อะไรมากนัก...เขียนผิดๆถูกๆอยู่เหมือนกัน...แต่เผอิญคำนี้มันสะดุดตา..ครับ

ขอบคุณ ครูโย่ง ของครูโย่ง คุณเมล หรือ คุณเมล์ ครับ

แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมครับ ... อาจารย์ พิสูจน์

ลองเปิดอ่านดูนะครับอาจารย์ :)

ป.ล. ตามบันทึกของผม คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด นั้น ผมได้เพิ่มเติม รายชื่อคณะกรรมการบัญญัติศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ได้บัญญัติศัพท์คำเหล่านี้เอาไว้ครับ

พ่อจ๋า สวัสดีค่ะ

สบายดีไหมค่ะ สอนอย่าใช้เสียงมากนะค่ะ เด็กคนไหนไม่ฟังก็ไปตบมันเลย 555++ เริ่มโหดร้าย คิดถึงพ่อค่ะ ตอนนี้หนูกำลังรอเรียนวิชา โลกสารสนเทศอยู่ค่ะ กลุ้มนิดหน่อย เนื่องจากมีเรื่องไม่สบายใจเกี่ยวกับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งหนูคิดว่าหนูผิด แต่อาสิทธิรักษ์บอกว่า อย่าเอามาใส่ใจเลย เรื่องเล็กน้อย แต่ก็เศร้าใจอยู่ดี เมื่อทำให้เพื่อนเครียดอ่ะ แงๆๆ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

ขอบคุณ คุณ Wasawat อย่างมากๆเลยครับที่พยายาม...หาข้อมูลแหล่งความรู้มาให้พวกเรา...คราวนี้คงจะได้ข้อสรุปกันแล้วนะครับ...ว่าถ้าจะทับศัพท์ e-mail ต้องเขียน อีเมล นะครับ เพราะราชบัณฑิตยสถานท่านไขปัญหานี้ไว้แล้ว หลักฐานแน่นหนาเชียวครับ

อาเมน!

สวัสดีครับอาจารย์แวะมาอ่านและลงชื่อไว้นะครับ

  • อ่านทุกความคิดเห็น
  • ได้ความรู้ และแนวคิด ไปเต็มๆ
  • ขอบคุณ อาเมล เอ้ย...อีเมล

น้องจิ....อย่าหวั่นไหวกับโลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ มันจะมีหมุนเวียน สลับ สับเปลี่ยนกันเสมอ...ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด...มีกตัญญู กตเวที เป็นหลักยึด...แล้วหนูจะประสบความสำเร็จ..และเป็นคนดีตลอดไป..ในเรื่องการทำงาน..ก็ยึด อิทธบาทสี่ ฉันทะ (ไม่ชอบก็พยายามชอบหน่อย) วิริยะ(ขยันอยู่แล้ว) จิตตะ(ฝักใฝ่ จดจ่ออยู่แล้ว) วิมังสา (ไตร่ตรองใคร่ครวญสักหน่อย) จะสำเร็จแน่จ้ะ

ขอบคุณ กวี ที่ชื่อ กวิน มากครับ ที่ร่วมกันศึกษา..คำไทยครับ

ขอบคุณ หัวหน้าลำดวน..ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้อยู่เสมอครับ

สมชื่อครูพิสูจน์จริงเลยนะครับ...

 

วันก่อนผมคุยกับมุสลิมท่านนึงจากคูเวตมาดูงาน...หลังจากคุยกันเรื่องปรัชญาทางศาสนาตามสมควร...ผมถามเขาว่าหัวใจสำคัญของมุสลิมคืออะไร...

เขาบอกว่าคัมภีร์อัลกุรอ่าน(ถ้าดูในพจนานุกรมคงเขียนผิดแน่...อิอิ)

 

เขาคุยให้ฟังว่าทุกเรื่องในอัลกุรอ่านเป็นความจริงทั้งหมด(ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากไตรปิฎกของพุทธกระมัง)ซึ่งเขียนเป็นภาษาอารบิก...

 

ผมเลยถามว่าคำแปลเป็นภาษาอื่น...ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปหรือไม่...

 

เขาบอกว่า...เป็นเช่นนั้นแน่นอน...

แวะมาเคารพ เยี่ยม ครูพิสูจน์

ครูภูมิปัญญาของไทย ด้วยความเคารพ

รักษษสุขภาพด้วยครับ

คนหน้าตาดีเป็นห่วง อิอิ

ขอบคุณ คุณขำ ที่มาช่วยต่อยอดความรู้ให้พวกเราครับ...ได้ความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น...มากเลยครับ

ขอบคุณครูโย่ง เป็นญาติกับน้องจิ...อีกคนแล้ว..เพราะหน้าตาดี

ผมก็มั่วๆ ไปตามเรื่องตามราว ... บางทีผมก็อ่านตามที่เขียนจริงๆ ไป "เดอะ-มอน" ส่ง "อี-เมน" เพื่อนก็ขำเสียอีก ขำไม่เท่าไหร่บางทีก็ไม่เข้าใจไปเลย -_-'

สวัสดีครับ

คำศัพท์ใหม่ๆ บางทีท่านราชบัณฑิตคงจะงงๆ เหมือนกัน (แล้วไฉนท่านพิสูจน์ถึงจะไม่งง อิๆ)

เรื่องทับศัพท์เป็นปัญหามากครับ เพราะมีการใช้ศัพท์ต่างประเทศมาก ขณะเดียวกัน เราก็ได้ยินสำเนียงต่างประเทศมาก แต่ก็ยังคุ้นเคยกับแนวการทับศัพท์แบบเดิม

วันก่อนสอนนักเรียน ป.6 ในข้อสอบยังใช้ "บักเตรี" อยู่ พอมัธยม เป็น "แบคทีเรีย" อีก

ขอบคุณ วีร์ มีประสบการณ์ดีๆมาเล่ากันสนุกๆแต่ได้แง่คิดครับ

ขอบคุณ อ.ธวัชชัย ที่มาร่วมต่อยอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ

ข้อมูลไม่ทั่วถึง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท