การบริหารจิตและการเจริญปัญญา๑


การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การบริหารจิต ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิตจะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

 

การมีสุขภาพดีนั้นจะต้องประกอบไปด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ การพักผ่อนร่างกายอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เรียกว่า การบริหารร่างกาย ร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

  จิตของเราก็เช่นเดียวกัน ในวันหนึ่ง ๆ เราคิดเรื่องต่าง ๆ มากมาย จิตย่อมจะเหนื่อยล้า หากไม่ได้มีการบำรุงรักษาหรือบริหารจิตของเราให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ จิตจะอ่อนแอ หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบตัวได้ง่าย เช่น บางคนจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาจนเกินเหตุ เมื่ออยู่ในอาการตกใจ ดีใจ เสียใจ โกรธหรือเกิดความอยากได้ เพราะจิตใจอ่อนแอ ขุ่นมัว

  การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การบริหารจิต ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิตจะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง

  การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ การฝึกสติควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำโดยระลึกอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด

  การทำสมาธิ คือ การฝึกควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะหยุดทำสมาธิ

         


 

ประโยชน์ของการทำจิตใจให้ผ่องใส มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของนักเรียน ดังนี้

  ๑. ทำให้เรียนหนังสือดีขึ้น เพราะจิตมีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน ใจจึงจดจ่ออยู่กับการเรียนก่อให้เกิดปัญญา เป็นสัมมาทิฎฐิ

  ๒. สุขภาพดี เพราะจิตใจผ่องใสเบิกบาน ร่างกายก็จะสดชื่นไปด้วย

  ๓. บุคลิกภาพดี เมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นสะอาด จิตใจปลอดโปร่งผ่องใส มีความมั่นคงในอารมณ์ เชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้มีบุคลิกภาพที่ดี

  เมื่อได้เห็นประโยชน์แล้ว ทุกคนควรฝึกจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสจนสามารถเป็นพื้นฐานในการพัฒนาปัญญาต่อไป และจะทำให้ตนเองประสบกับความสุขความเจริญในชีวิต

  การฝึกจิตให้มั่นคงแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่ปฏิบัตินี้ คือ การบริหารจิตและเจริญปัญญา

  การพัฒนาจิตให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว และบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ จะต้องบำเพ็ญภาวนาทางจิต ที่เรียกว่า "สมาธิ" หมายถึง จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง ซึ่งมีวิธีที่หลากหลาย เช่น การนั่ง การยืน การเดิน และการนอน ซึ่งก่อนที่จะปฏิบัติสมาธินั้น ทุกคนควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

๑. สวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

  การสวดมนต์ไหว้พระ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จิตมีสมาธิ

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว ๓ จบ)

คำบูชาพระรัตนตรัย

  อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ

  อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

  อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทสวดบูชาพระรัตนตรัย

  อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับแล้วซึ่งกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

  พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

  สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว

  ธัมมัง นะมัสสามิ.  ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

  สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว

  สังฆัง นะมามิ.  ข้าพเจ้านมัสการพระสงฆ์ (กราบ)


 

 วิธีนั่งสมาธิ

 ผู้บำเพ็ญสมาธิควรนั่งขัดสมาธิราบ คือ ให้ขาขวาทับขาซ้าย และมือขวาทับมือซ้ายวางมือหงายไว้บนหน้าตัก ตั้งตัวตรงมองทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๒ ศอกแล้วหลับตา มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ กำหนดลมหายใจเข้าออก พร้อมกับระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นหลัก

คำบริกรรมขณะบำเพ็ญสมาธิ

 ขณะลมหายใจเข้านึกถึงพระพุทธคุณ ว่า "พุท"

 ขณะลมหายใจออกนึกถึงพระพุทธคุณ ว่า " โธ"

 ขณะบำเพ็ญสมาธิ พึงมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ ให้กำหนดลมหายใจเข้าออกและระลึกถึงพระพุทธคุณควบคู่กันไปก่อนจะเลิกบำเพ็ญสมาธิให้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง เมื่อนั่งสมาธิเสร็จแล้วให้แผ่เมตตาและกรวดน้ำทุกครั้ง

การแผ่เมตตา

 การแผ่เมตตาเป็นการส่งความปรารถนาดีให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้อยู่เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ยากลำบาก

บทแผ่เมตตา

 สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

 อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

 อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

 อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย

 สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


 

 

 บทกรวดน้ำย่อ

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย.  ขอผลแห่งบุญกุศลนี้ จงมีแก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีความสุขเถิด  (กราบ ๓ ครั้ง)

ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา

  ๑. ทำให้จิตใจสงบสุขผ่องใสไม่ขุ่นมัว ความจำดีสมองปลอดโปร่ง

  ๒. เรียนหนังสือได้อย่างมีความสุข สามารถเข้าใจบทเรียนได้ตลอด

  ๓. รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด

  ๔. สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

  ๕. จิตที่เป็นสุข จิตสงบสะอาด ผ่องใส พร้อมที่จะใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 ฝึกการยืน เดิน นั่ง และนอนอย่างมีสติ

  การฝึกให้มีสติในการเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามมารยาทที่งดงามและปลอดภัยโดยไม่เกิดอุบัติเหตุนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากนักเรียนมักจะประสบอุบัติเหตุบ่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดสตินั่นเอง

 ฝึกการยืนอย่างมีสติ

  ๑. ยืนตัวตรง

  ๒. มือขวากุมมือซ้าย

  ๓. ก้มหน้าลงพองามแล้วหลับตา

  ๔. ภาวนาในใจว่า พุท-โธ- พุท -โธ

  (หายใจเข้า ให้กำหนดว่า "พุท" หายใจออก ให้กำหนดว่า "โธ")

  ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้งจนเกิดความชำนาญ

 ฝึกการเดินอย่างมีสติ

  ก่อนที่จะเปลี่ยนอิริยาบถจากยืนเป็นเดิน เราควรกำหนดจิตใจเมื่อจะเปลี่ยนอิริยาบถ ดังนี้

  ระลึกถึงการยืน ภาวนาว่า ยืนหนอ

  ระลึกถึงการเปลี่ยนจากยืนเป็นเดิน ภาวนาว่า อยากเดินหนอ

  ระลึกถึงการเดิน ภาวนาว่า เดินหนอ

  ๑. ยืนตรง ยกมือซ้ายพร้อมกับภาวนาช้า ๆ ว่า ยกหนอ- มาหนอ - วางหนอ (วางมือซ้ายไว้ที่หน้าท้อง) ยกมือขวาพร้อมกับภาวนาช้า ๆ ว่า ยกหนอ - มาหนอ - วางหนอ (วางมือขวาทับข้อมือซ้ายแล้วใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือรวบข้อมือซ้ายไว้)

  ๒. กำหนดในใจว่า "อยากเดินหนอ" ๓ ครั้ง

  ๓. การเดินกำหนดรู้ ๓ ระยะ โดยใช้องค์ภาวนาว่า

  ขวา- ยกหนอ- ย่างหนอ -เหยียบหนอ

  ซ้าย -ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ

  ยกหนอ ยกเท้านั้นลอยขึ้นไปข้างหลัง 

  ย่างหนอ เลื่อนเท้าที่ยกไปข้างหน้าช้า ๆ แล้วนิ่ง 

  เหยียบหนอ 

 


หมายเลขบันทึก: 213808เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

นมัสการค่ะ

มาน้อมรับธรรมะค่ะ

สาธุ

P

  • อนุโมทนาสาธุ
  • กับโยม คนไม่มีราก

ขออนุญาตคัดลอกบทสวดบางฉบับันะ  เจ้าค่ะ

ขอกระบขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ

P

  • อนุโมทนาสาธุกับโยมยอดฉัตร
  • บุญรักษา

นมัสการครับ  

       ผมถูกจริตตรงประเด็นนี้ครับ

การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ การฝึกสติควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำโดยระลึกอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด

- กราบนัสการพระอาจารย์

- ขออนุญาตพระอาจารย์ นำบล๊อกของอาจารย์เข้าแพลนเน็ตนะครับ

- เพื่อให้ตัวกระผมและคนรอบข้างได้อ่านธรรมะ เข้าใจถึงธรรมะผ่านเครือข่าย

P

  • อนุโมทนาสาธุกับโยม ผอ.
  • บุญรักษา

P

  • อนุโมทนาสาธุกับโยม คน 3 ค.
  • บุญรักษา

ขอก๊อปปี้ไปหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ธรรมรักษาโยม99

อนุโมทนาสาธุ

นมัสการค่ะ

มาอ่านอีกครั้ง

ขออนุญาตกราบเรียนถามท่านด้วยความเคารพค่ะว่า...เกิดความสงสัยว่าในขณะที่นั่งสมาธินั้น ... จำเป็นที่จะต้องนั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย และมือขวาทับมือซ้ายเท่านั้นหรือไม่คะ...เพราะอะไร

สาธุค่ะ

ความจริงสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ส่วนการนั่งเพื่อที่จะทำให้จิต

เกิดความตั้งมั่นหรือความสงบนั้นก็เป็น วิธีการหนึ่งในหลายวิธีของผู้ปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมทำสมาธิของพุทธนั้น ปฏิบัติตามมรรคทั้ง

๗ องค์ซึ่งเป็นตัวเหตุ มรรคองค์ที่ ๘ เป็นตัวผล    ส่วนการนั่งนั้นท่านกำหนดให้นั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย เรียกว่านั่งคู้บัลลังค์ ทำให้การนั่งมีฐานที่มั่นคง จะนั่งไ่ด้ตามกำหนดที่เราตั้งใจ ซึ่งก็ไม่ได้กำหนดตายตัว แล้วแต่ สภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติ หากสุขภาพไม่ดี

ร่างกายไม่เอื้ออำนวยก็ใช้อิริยาบถตามเหมาะควร จะนอนทำก็ได้ ไม่ผิดอะไร การนั่งเพื่อจะทำให้เกิดความสงบ ที่คนส่วนใจเข้าใจว่านั่งสมาธิ

นั้นความจริงไม่ใช่หลักเอกของพุทธ ของพุทธต้องปฏิบัืติตามอาริยมรรค

มีองค์แปด เริ่มจาก..สัมมาทิฏฐิ (ความเห็น) สัมมาวายามะ (ความพยายาม) สัมมาสติ(ความรู้ตัว)  (สัมมา=ความถูกต้อง,ถูกถ้วน)สามองค์นี้้้เป็นตัวแวดล้อมขับเคลื่ิอนเกื้อหนุนให้   สัมมาสังกัปปะ(ความคิด)  สัมมาวาจา (คำพูด)

สัมมากัมมันตะ(การงาน) สัมมาอาชีวะ(อาชีพ)ให้ ถูกตรงเป็นสัมมา(ถูกถ้วน-เหมาะควร )ยิ่งขึ้นๆตามลำดับของศีลที่เราตั้งใจสมาทานปฏิบัติ 

จนส่งผลให้เกิด ผลคือความตั้งมั่นของจิต คือสมาธิ แล้วจะเกิดปํญญา

(ความรู้ตามเหตุตามผลที่เราทำมา) ส่วนการนั่งนั้นก็มีประโยชน์หากเข้าใจถูกต้อง ใช้นั่งทบทวนพฤติกรรมของเราที่ผ่านมา เรียกว่าใช้สติหยั่งรู้อดีต ตรวจทาน กาย วาจา ใจ ของเรา ว่าผิดพลาดบกพร่องตรงไหน จะได้ปรับแก้ไขได้ หรือจะใช้นั่งเพื่อการพักผ่อนก็จะดีเยี่ยม เพื่อเสริมพลังจิตให้แข็งแรง  ..ธรรมรักษา

นมัสการค่ะ

มาอ่านคำตอบที่ท่านเมตตาตอบให้อย่างละเอียดเพิ่มพูนปัญญาค่ะ

และโดยส่วนตัวคนไม่มีรากจะใช้การนั่งสมาธิเพื่อ...ทบทวนพฤติกรรมของเราที่ผ่านมา เรียกว่าใช้สติหยั่งรู้อดีต ตรวจทาน กาย วาจา ใจ ของเรา ว่าผิดพลาดบกพร่องตรงไหน จะได้ปรับแก้ไขได้

รวมทั้งใช้นั่งเพื่อดูสภาวะจิตค่ะ และผลพลอยได้มักจะเป็นการสามารถระลึกและลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำในวันนั้นด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

สาธุ

ธรรมรักษาโยมคนไม่มีราก

ถูกต้องแล้วละ

อนุโมทนาสาธุ

นมัสการค่ะหลวงพ่อ

นมัสการเจ้าค่า หลวงพ่อ

นมัสการคัฟ

เว็บนี้เป็นเว็บที่ดีมาก

ให้ประโยชน์ต่อผ้ที่มีความทุกข์

ให้ประโยชน์ต่อการเรียน

lสัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

สุดยอด

555+

ดีมากคับ

นมัสการคับ

มาอ่านคำตอบที่ท่านเมตตาตอบให้อย่างละเอียดเพิ่มพูนปัญญาค่ะ

และโดยส่วนตัวคนไม่มีรากจะใช้การนั่งสมาธิเพื่อ...ทบทวนพฤติกรรมของเราที่ผ่านมา เรียกว่าใช้สติหยั่งรู้อดีต ตรวจทาน กาย วาจา ใจ ของเรา ว่าผิดพลาดบกพร่องตรงไหน จะได้ปรับแก้ไขได้

รวมทั้งใช้นั่งเพื่อดูสภาวะจิตค่ะ และผลพลอยได้มักจะเป็นการสามารถระลึกและลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำในวันนั้นด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

สาธุ

5555555+

เนื้อหาดีมาก

ขอคัดลอกไปนะคับ

ขอนำข้อมูลของหลวงพ่อไปทำรายงานนะค่ะ

สาระดีค่ะ

สาธุนะค่ะหลวงพ่อ

นมัสการค่ะ

ขออนุญาตคัดลอกบทความด้วยนะค่ะ

จะเอาไปรายงานหน้าห้องน่ะค่ะ

-/\-

ขออนุญาตกีอบปี้เป็นเนื้อหาความรู้ให้เด็กนำไปปฏิบัติครับ

ขออนุญาตฺคดลอกข้อความนี้ไปสอนเด็กค่ะขอขอบพระคุณมากค่ะ

อยากได้ประวัติของท่านไปทำโครงงานค่ะ เพราะว่าอาจารย์ให้ยกตัวอย่างบุคคลที่บริหารจิตและเจริญปัญญาค่ะ

นิภาพรรณ วงศ์หนองแวง

เป็นวิธีการอธิบายที่เข้าใจได้ง่ายมาก สำหรับผู้เริ่มศึกษา และเริ่มฝึกปฏิบัติอย่างโยม และสามารถนำไปบรรจุลงในการเขียนแผนการสอนเรื่อง การบริการจิตและการเจริญปัญญา ในวิชาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทย ระดับปริญญาตรี ได้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท