คำถาม : ทำไมคนอินเดียถึงเก่ง


ปุจฉา วัสัชชนา

เมื่อวันอาทิตย์ผมได้นิมนต์พระนักศึกษามาฉันเพลที่บ้านพัก ได้สนทนากับพระท่านหลายเรื่อง ในฐานะที่ท่านมาศึกษาอยู่ในอินเดียนานแล้ว เข้าใจประวัติศาสตร์และศาสนาเป็นอย่างดี จึงได้เรียนถามท่านว่า "ทำไมคนอินเดียจึงเก่ง"

คำถามนี้ได้เคยถามหลายคนมาแล้ว มักจะได้รับคำตอบว่าเพราะอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมาก ทำให้มีอัตราคนเก่งเยอะเป็นธรรมดา ผมยังไม่คล้อยตามนักเพราะการที่คนเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนเก่งเยอะเสมอไป ดูอย่างจีน ก็ไม่ได้มีคนเก่งไอที แพทย์หรือวิศวะที่โดดเด่น ในขณะที่ยุโรปบางประเทศมีคนน้อยแต่มีคนเก่งเยอะ

ผมได้คำตอบอีกหลายข้อซึ่งก็ยังต้องค้นคว้ากันต่อไปว่าใช่หรือไม่ เช่น

อินเดียมีอารยธรรมมายาวนาน

อินเดียมีคนมากทำให้มีการแข่งขันกันมาก คนที่ผ่านมาได้จึงต้องเก่ง

อังกฤษมาวางรากฐานด้านการศึกษาทำให้คนอินเดียเก่งภาษา

คนอินเดียชอบคิด ชอบสงสัย ชอบพูดและวิพากษ์วิจารณ์เก่ง

ข้อหลังสุดนี้ ดูจะมีน้ำหนัก พระนักศึกษาบอกว่านิสัยดังกล่าวนี้มีมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว และเพราะนิสัยดังกล่าวทำให้พุทธศาสนาเจริญได้ในดินแดนชมพูทวีปนี้ เพราะคนยอมรับในเหตุในผลที่แตกต่างไปจากเดิมที่มีอยู่ ถ้าคนไม่คิด สงสัยและหาคำตอบ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนาในอินเดียเลย

และด้วยนิสัยที่เป็นอยู่นี้ทำให้คนอินเดียชอบคิดหาคำตอบในเรื่องที่สนใจ พระนักศึกษาท่านบอกว่านักศึกษาอินเดียชอบถกเถียงกันในเรื่องปรัชญา เถียงกันได้น่าดูโดยไม่ได้โกรธเคืองกัน แต่ต้องการคำตอบเท่านั้น

ผมคิดว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะข้อสุดท้าย ทำให้คนอินเดียกลายเป็นคนเก่ง.....แล้วคนไทยล่ะ

ด้วยความปรารถนาดี

ด้วยความปรารถนาดี 

หมายเลขบันทึก: 128933เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
P
สวัสดีค่ะ
ดิฉันคิดว่า...เป็นข้อสุดท้ายที่บอกมา
มีหลักฐานจากการที่มีศาสนา มีความเชื่อ และนิกายต่างๆมากในอินเดีย แสดงว่า คนมีความคิดที่หลากหลาย และพยายามคิดค้นหาคำตอบ
ข้อสอง คือ คนอินเดีย เก่งภาษาอังกฤษ การสื่อสาร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ทำได้มากกว่า
ที่คุณพลเดชบอกว่า..

คนอินเดียชอบคิด ชอบสงสัย ชอบพูดและวิพากษ์วิจารณ์เก่ง

มีน.น.ที่สุด และคนอินเดีย พูดเก่งค่ะ ชอบมีโวหารในการพูดและเขียน ซึ่งบางที ดูเยิ่นเย้อไปหน่อยด้วยซ้ำ

คนไทย เรามีความสุภาพสูง มีความเกรงใจสูง ชอบคิดตามๆกัน แม้ จะไม่เห็นด้วย ก็ไม่กล้าแสดงออก

ซึ่งบางที เราก็คิดต่างได้  และแสดงออกโดยสุภาพได้

ดิฉันเอง จะไม่สนุกในการสนทนา ถ้าใครจะมาคิดอย่างเดียวกับเราหมด อยากให้เขามีมุมอื่น มาแลกเปลี่ยนกันบ้าง ถ้าสุภาพ รับได้อยู่แล้ว

แม้ตัวเองจะยัง ยึดมั่นในความคิดของตัวเองอยู่ แต่ก็สนุกที่จะ หาวิธีมาโน้มน้าว ให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา มากลับเห็นด้วยให้ได้ มันสนุกมากกว่า ที่จะมาฟังอะไรที่เหมือนกับเราหมดทุกอย่าง

ดิฉัน มีประสบการณ์ค้าขายกับคนต่างประเทศ เจอคนเก่งๆมามาก บางครั้ง พูดอะไรไป รู้สึกเหมือน หน้าแตก หมอไม่รับเย็บ แต่ไม่โกรธ กลับรู้สึก ทำไม เราโง่จังนะ

ดิฉันได้ความรู้จากเขามากค่ะ เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก เห็นโลกกว้าง คนมากมาย เราพลอยได้ประเทืองปัญญาไปด้วย  แต่บางครั้ง ก็ภูมิใจเหมือนกัน ที่เรา ไม่เสียรู้คนตะวันตก ที่พยายาม จะหลอกล่อ เราทุกวิถีทาง ให้เราตกหลุม

เช่น ที่เยอรมัน ดิฉันไปขายของให้กับ broker รายใหญ่เจ้าหนึ่ง เขาดีกับดิฉันมาก จนคิดว่า ดีเกินไปหน่อย ตกลงจะซื้อของเรา เป็น 100 contaimersในคราวเดียว ด่วนด้วย

แต่ต้องเซ็นสัญญากันก่อน ดิฉันอ่านทุกข้อ มาสะดุด ข้อสุดท้ายว่า....ถ้าการค้าขายมีปัญหา.....ข้อพิพาท ต้องขึ้นศาลเยอรมัน

ดิฉันไม่เซ็นเลย ดิฉันบอก ต้องขึ้น ศาลไทย

เขาก็ไม่ยอม สุดท้ายดิฉันกลับค่ะ

นึกในใจ เดี๋ยวก็ต้องมาง้อเรา เพราะเขาอยากได้ ของๆเรา

อีก 1เดือนต่อมา เขามาเมืองไทย นัดพบกันที่ ร.ร.เอราวัณ.... เขายอมค่ะ

ดิฉันเลยได้ขายของค่ะ

สรุป คือ เราได้เรียนรู้อะไรจากเขามากก็จริง แต่เราก็ไม่ใด้กินหญ้าค่ะ  ฝรั่ง ชอบเห็นว่า เราไม่ทันเขา

ถึงไม่ชอบเห็น คนไทยเห่อฝรั่ง รู้หรือเปล่า เขาดูถูกเรา จะตาย เห็นว่า เราไม่ทันเขาหรอก

อ้าว นี่พูดเรื่องอะไร?????

นอกเรื่องแล้ว.....ขอโทษ คิดว่า คุยกันนะคะ...อยากแลกเปลี่ยนความเห็นค่ะ

 

อีกนิดค่ะ......คนค้าขาย ดิฉันว่า ยิวเก่งมาก ต่อปากต่อคำกันเป็น3-4 ช.ม. สนุกมาก ต้องยอมรับว่าเขาเก่ง อินเดีย ก็คล้ายๆกับ ยิวตะวันออกนั่นแหละ

ที่NewYork ยิวเยอะมาก และเป็นนักคิด นักศึกษาจริงๆ  อยากให้บ้านเรา เป็นคล้ายๆอย่างนั้นบ้าง


P

ถึงไม่ชอบเห็น คนไทยเห่อฝรั่ง รู้หรือเปล่า เขาดูถูกเรา จะตาย เห็นว่า เราไม่ทันเขาหรอก

น่าสนใจมากครับ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องวรรณะของอินเดีย พระนักศึกษารูปหนึ่งบอกว่า ในช่วงที่พวกอารยันเข้ามาในดินแดนชมพูทวีป เห็นคนพื้นเมืองที่หลากหลายระดับ และพวกอารยัน ด้วยความที่คิดว่าตนเองสูงส่งกว่าจึงแบ่งคนออกตามลักษณะที่เห็น คือวรรณะกษัตริย์คือพวกนักรบ นักปกครองพวกพราหมณ์สอนด้านจิตใจ พวกแพศย์ ได้แก่พ่อค้าและกสิกร และพวกศูทร ได้แก่ชั้นต่ำ ทาสและกรรมกร....เป็นการแบ่งหน้าที่กันในสังคมโดยดูจากวิถีชีวิตและลักษณะรูปลักษณะภายนอก .........ทำให้อินเดียอยู่กับโครงสร้างของสังคมแบบเดิมมาได้จนถึงทุกวันนี้

แต่ประเด็นนี้ทำให้พอจะคิดได้ว่าโลกทุกวันนี้ มีการแบ่งชั้นวรรณะไม่ต่างจากเดิม โดยแบ่งตามความฉลาด ตามการพัฒนา ตามสีผิว ....การเลือกปฏิบัติคือการแบ่งชั้นวรรณะที่ชัดเจน ผลจึงออกมาว่า เขาดูถูกเรา

ผมคิดว่าตรงนี้ อินเดียเป็นประเทศที่คนไม่ยอมเสียเปรียบใคร โดยเฉพาะต่างชาติ ดังนั้นจึงทำอะไรมักจะใช้แบบของเขา ใช้ตรรกะของเขา และไม่แคร์สังคมอื่น แม้จะดูว่าไม่ทันสมัยตามโลกแต่ก็เป็นวิถีแบบอินเดีย คือจนแบบอินเดียและเก่งแบบอินเดีย......

พระนักศึกษาท่านหนึ่งบอกว่า หากโยมอยู่อินเดียไปสักระยะหนึ่งโยมจะหลงรักอินเดีย.......ผมก็ยังคิดไม่ออกว่าจะถึงขนาดนั้นได้อย่างไร ยิ่งมาได้เห็นคำว่า....ยิวก็เหมือนคนอินเดีย.......เอ.......น่าคิดครับ

ด้วยความปรารถนาดี 

สวัสดีอีกทีค่ะ

เข้ามาอ่านคำตอบ และก็ชอบที่คุณพลเดช เขียนว่า...

อินเดียเป็นประเทศที่คนไม่ยอมเสียเปรียบใคร โดยเฉพาะต่างชาติ ดังนั้นจึงทำอะไรมักจะใช้แบบของเขา ใช้ตรรกะของเขา และไม่แคร์สังคมอื่น แม้จะดูว่าไม่ทันสมัยตามโลกแต่ก็เป็นวิถีแบบอินเดีย คือจนแบบอินเดียและเก่งแบบอินเดีย......

คนอินเดียไม่ยอมเสียเปรียบใครหรอก ข้อนี้ ดิฉันประสบมากับตัวเต็มๆค่ะ ถึงไม่ค่อยปลื้มเท่าใด

คนไทย เป็นคนใจกว้าง  สปอร์ท ใจดี  ดิฉันว่า ข้อนี้เป็นข้อดีค่ะ

คนประเทศอื่นรักคนไทย ว่าเป็นคนใจดี เอื้อเฟื้อเผือแผ่ มีน้ำใจ Land of Smiles

ในความเห็นของดิฉัน เราต้องใช้จุดเด่นของเราตรงนี้ อย่างฉลาด เรียกคนมาเที่ยว ให้มากๆ เอาเงินเข้าประเทศให้มากๆ คนของเราจะได้หายจน เพราะ การท่องเที่ยวจะช่วยคนให้มีงานทำ และอยู่อย่างมีความสุข ตามแนวทาง อยู่อย่างพอเพียงของในหลวงของเราค่ะ

เราอาจยังไม่เก่งมาก แต่ขอเป็นคนดี คนน่าคบ ใครๆในโลกก็อยากคบกับเราทั้งนั้น ก่อนก็แล้วกัน

พอดีแล้ว เดี๋ยวจะเก่งเองค่ะ

พูดถึง คนยิว ดิฉันเคย โง่กว่าเขามาแล้ว และนั่น คือบทเรียนค่ะ  แต่เราก็ค้าขายกันมาอีกนานนะคะ และนึกขอบคุณเขาด้วยค่ะ  ที่เป็นครูให้เราทางอ้อม

อ่านสนุกจังค่ะที่คุณพลเดชและคุณพี่ศศินันท์สนทนากัน

ขอเติมในเรื่องการมีอารยธรรมมายาวนาน นะคะ ข้อนี้ในตัวเองอาจไม่จำเป็นว่าจะต้องทำให้คนในปัจจุบันเก่ง แต่คิดว่าการที่เขาภูมิใจในความเป็นชาติที่มีอารยธรรม คงทำให้คนที่ได้รับการศึกษา หรือมีช่องทางที่ปัญญาจะเบ่งบานได้ มีความทั้งภูมิใจและมั่นใจในตัวเองที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ

มีพี่ที่นับถือคนหนึ่งเธอศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างลึกซึ้ง เธอไปอินเดียหลายครั้ง และบอกว่าชอบมาก มีความสุขทุกครั้งที่ไปค่ะ

สวัสดีค่ะ

   ขอตอบคำถามสุดท้าย "แล้วคนไทยล่ะ" คนไทยเก่งสู้เขาได้หรือไม่ เป็นเรื่องของคนอื่นตัดสิน แต่สิ่งที่คนไทยรู้ตัวคือ คนไทยฉลาด มีความยืดหยุ่น มองโลกในแง่ดี เราจะอดทนกับผู้ที่เราคบหา รู้จักแกล้งโง่ เพราะนั่นคือฉลาดกว่า มีอัธยาศัยดี เกื้อกูล คุณสมบัติพื้นๆแค่นี้ คนไทยเราก็สู้เขาได้ สบายมากค่ะ               รักคนไทย

P
แม้จะเห็นด้วยในเรื่องคุณลักษณะของคนไทย และที่ว่าใครๆ ก็อยากคบ ก็จริงครับ แต่ในโลกธุรกิจ โลกการค้าเสรี ที่เปิดกว้าง ผู้ที่เข้มแข็ง ผู้ที่ฉลาดกว่าย่อมเอาเปรียบคนอื่นได้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนว่าการค้าเสรีนั้นเหมือนเขตทะเลหลวงที่ใครแข็งแรงก็มีอำนาจเหนือผู้อื่น หรือเหมือนกับกฏธรรมชาติที่ว่าปลาใหญ่กินปลาเล็ก......
ในเวทีโลกโดยเฉพาะธุรกิจการค้าโลกนั้น คนดีไม่สามารถต่อรองกับคนอื่นได้เลยครับ ต้องเป็นคนที่ทันเล่ห์เหลี่ยมและสามารถป้องกันตัวเองได้
ก็ดังที่บอกว่าน่ะครับว่าเดี๋ยวก็เก่งเอง แต่กว่าจะเก่งต้องมีบทเรียนมานานพอสมควรนะครับ ประสบการณ์ของผมเองก็เช่นกัน คือต้องไม่รู้ก่อนที่จะรู้ ต้อง โง่ก่อนฉลาด หรือต้องเจ็บก่อนที่จะหลบเลี่ยงได้
ผมคิดว่าการเป็นคนดีอย่างเดียว บางครั้งบางเวลาและสถานการณ์ อาจจะไม่สามารถเข้าไปต่อกรกับกลุ่มคนที่ฉลาดและเขี้ยวบางพวกได้ 
ถ้าเราดีและเข้มแข้งด้วย ไม่แคร์คนอื่นบ้าง ก็อาจจะดีนะครับ อย่างบทเรียนที่ยกตัวอย่างให้ทราบน่ะครับ รู้ทันและเห็นความเสียเปรียบจึงรู้ทัน ไม่แคร์ ไม่ได้ก็ไม่เอา และในที่สุดก็กลายเป็นจุดแข็ง
เหมือนกับจะบอกว่า ดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความรู้คือรู้ทันด้วย แหม อย่างไรก็ไม่ออกไปจาก สามห่วง สองเงื่อนไขเลยครับ
สงสัยจังครับว่าอินเดีย คิดไปคิดมาจะเป็นสังคมที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มมานานแล้วนะครับ
ด้วยความปรารถนาดี
P
น่าสนใจครับที่ว่า การที่เขาภูมิใจในความเป็นชาติที่มีอารยธรรม คงทำให้คนที่ได้รับการศึกษา หรือมีช่องทางที่ปัญญาจะเบ่งบานได้ มีความทั้งภูมิใจและมั่นใจในตัวเองที่จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ
คนไทยไม่ค่อยสนใจประวัติศาสตร์ของชาติ อาจทำให้ความภูมิใจไม่มั่นคงเท่าที่ควรนะครับ ไปรับสิ่งต่างๆ จากตะวันตกจนหมด
ผมกำลังเรียนรู้ที่จะรักอินเดียครับ คงต้องใช้เวลา เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะครับ
ด้วยความปรารถนาดี
P
สามห่วง สองเงื่อนไขครับ ไทยสู้โลกได้สบายมาก แต่ปัญหาอยู่ที่มีแต่คนเข้าใจแต่หาคนปฏิบัติได้ไม่มากครับ
ด้วยความปรารถนาดี
 อาวุธที่คนไทยมี นั้นคือการใช้ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ต่อสู้เมื่อไหร่ ก็ชนะ ถ้าคนไทยใช้อาวุธเป็น

เมื่อคืนนี้รายการคุณสุทธิชัย ช่อง 9 หลัง4ทุ่ม เกี่ยวกับทีมICTของไทยไปดูงานที่บังกาลอเกี่ยวกับการผลิตsoftware จากการสัมภาษณ์ คนอินเดียบอกว่าเขาได้เปรียบด้านภาษา และคณิตศาสตร์

เช่น 4x3=12 และเขาจะคิดต่อ..ว่าเขามีขนม 12ชิ้นที่จะแจกให้คนอีก 12คน[ความคิดนี้เขาคงไม่ได้นำมาปฏิบัติจริง]

ถึงเขาจะจนเขามีคนจบวิศว.450000 มากกว่าจำนวนรวมในยุโรป(ประมาณ250000)

เป็นที่ทราบกันว่าprogrammer ควรมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ดี แต่เด็กไทยของเราด้อยมาก ทุกวันนี้เราถึงเป็นผู้ใช้ไม่ใช่ผู้ผลิต

 
ไม่มีรูป
10. daranee
น่าเสียดายจริงๆ ครับ โปรแกรมต่างๆ นั้น ความจริงต้องเริ่มจากการเป็นผู้ใช้ก่อน ก่อนที่จะเป็นผู้ผลิตเองต่อไป คงเคยได้ยินว่าอินเดียค่อนข้างเปิดโอกาสให้คนของเขาได้เรียนรู้โปรแกรมต่างๆ อย่างเสรีมาช่วงหนึ่ง และด้วยความเก่งในเรื่องภาษา ความสนใจ ความฉลาด ทำให้สามารถกลายเป็นผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆ ได้เอง
เด็กไทยก็มีความสามารถเหมือนกัน แต่สนใจเฉพาะในบางเรื่อง เช่นหุ่นยนต์ รู้สึกว่าเก่งไม่แพ้ต่างชาติครับและก็ด้อยในเรื่องภาษา การตลาด เรื่องลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่สามารถก้าวไปสู่ตลาดโลกได้
แต่ผมเชื่อนะครับว่า ความรู้นั้น เรียนทันกันหมด หากมีครูดี มีการวางรากฐานระบบการศึกษาที่ดี......
P

พลเดช วรฉัตร

อ่านบันทึกนี้ และบทสนทนาของท่านทูตกับคุณโยม sasinanda และท่านอื่นๆ ทำให้อยากจะไปอยู่อินเดียเพิ่มขึ้นไปอีก...

อาตมาไม่เคยไปอินเดีย วาดฝันเล่นๆ ว่า ๒-๓ ปี ข้างหน้าอาจไปเรียนต่อที่อินเดีย (ตอนนี้ยังไปไม่ได้) และก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่า จะไปเรียนสันสกฤตหรือปรัชญากันแน่...

ตอนเริ่มรู้จักสันสกฤตก็ตั้งใจไว้ว่า ชีวิตนี้ ถ้าไม่ตายเสียก่อน จะไปเรียนต่อสันสกฤตที่อินเดีย ทำนองว่า ได้ความรู้บ้าง ศึกษาโลกและชีวิตบ้าง ... หนังสือสันสกฤตยังคงเก็บรักษาไว้ สิบกว่าปีแล้ว...

ก็เล่าเล่นๆ ไม่มีอะไร ตามที่เค้าว่า ถ้าใครคุยเรื่องเก่า แสดงว่าคนนั้นรู้สึกว่าแก่แล้ว (...........)

เจริญพร 

P
กราบนมัสการครับ
พระนักศึกษา มหาวิทยาลัยเดลีบอกผมว่า ถ้าโยมอยู่อินเดียไปเรื่อยๆ โยมจะรักอินเดีย......ผมจึงคิดว่าท่านลองติดต่อกับกลุ่มพระนักศึกษา ม.เดลีดูนะครับ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี (พระมหาสายรุ้ง ประธานกลุ่มนักศึกษา[email protected] )
เรื่องภาษาสันสกฤต เมื่อคืนวันที่ 29 สค. 50 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสถึงเรื่องภาษาสันสกฤตมากทีเดียว .....น่าคิดนะครับ
ถ้าจะหาห้องเรียนชีวิตที่ไหนในโลก ผมว่าอินเดียเป็นห้องเรียนที่ดีที่สุดครับ
ถ้าใครคุยเรื่องเก่า แสดงว่าคนนั้นรู้สึกว่าแก่แล้ว แหม ถ้าเช่นนั้นผมก็คงแก่มาตั้งแต่เด็กเลยนะครับ
นมัสการครับ

เห็นด้วยกับคุณพลเดชและคุณศศินันท์ว่าคนอินเดียน่าจะเก่งเพราะเขาช่างคิด ช่างสงสัย ช่างพูด และช่างวิพากษ์วิจารณ์  

คิดว่าที่คุณศศินันท์พูดว่าขอให้ดีก่อน เพราะจริง ๆ แล้ว การเป็นคนดีนั้นยากกว่าการเป็นคนเก่ง  ถ้าหากคนไหนเขาต้องการเป็นคนดีที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้  เขาก็จะพยายามพัฒนาความสามารถของเขา ซึ่งก็ทำให้เขาเก่งขึ้นได้   จริง ๆ ทั้งเราทั้งดีและเก่ง แต่ปล่อยวางได้  ก็จะดีค่ะ  แคร์คนที่ควรแคร์ คนที่เราควรช่วยเหลือ

ส่วนที่คุณพลเดชพูดว่าต้องรู้ทันนั้นก็เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าท้าทาย เพราะใจมนุษย์นั้นยากที่จะหยั่งถึง

 

 

  • ถ้าถามว่าแล้วคนไทยหละ
  • ผมว่ามัวทะเลาะกันเรื่องการเมืองใครผิดใครถูก
  • มัวกินข้าวตนเอง แต่ดม้เรื่องคนอื่น
  • ขอบคุณคุณป้าศศิ ที่ให้ข้อคิดเรื่องคนอินเดีย
  • ผมไปไม่นานไปเที่ยวเลยไม่กล้าวิจารณ์
  • เราไปเจอตรงที่ที่ดีหรือไม่ที่เลวเปิดไว้ไหม
  • ผมกลัวเหมือนการสร้างภาพ

เรียนพลเดช ที่เคารพ

    ดิฉันก็ตามอ่านบล็อกย้อนหลังจึงส่งความเห็นมาช้า แต่คำถามที่ว่าแล้วคนไทยล่ะ? ดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอินเดีย แต่เป็นผู้แสวงหาและเรียนรู้อยู่ มีประสบการณ์บ้างในฐานะนักวิชาการที่ติดต่อกับนักวิชาการด้วยกัน ดิฉันเห็นว่าคนอินเดียเป็นคนไม่ยอมแพ้ต่อความยุ่งยากใดๆ ในการทำงาน และในชีวิต  มีปัญหาต้องสอบถาม โต้เถียง ติดตามเพื่อไม่ให้ใครเอาเปรียบ และไม่กลัวความ "ลำบาก" ในการทำงาน ข้อนี้ดิฉันได้ยินจากปากนัธุรกิจไอทีชาวอินเดียว่าเขาชื่นชมคนจีนที่ "ลุย" ไปข้างหน้า ก้าวข้ามพรมแดนออกไปจับมือกับ "อินเดีย" ทั้งๆ ที่ภาษาอังกฤษของคนจีนก็ได้ดิบดีอะไรเลย แต่คนไทยไม่มีลักษณะนี้ในสายตาเขา เราจะอยู่ตรงไหนของภูมิภาคเอเชีย และของโลก

      คุณลักษณะที่ดีๆ ของเรามีไว้เพียงเพื่อรับแขกนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทยเท่านั้นหรือ ลักษณะเหล่านี้จะนำพาให้เราไปยืนเทียบเคียงกับประเทศใดในโลกในขณะที่ต้องมีการแข่งขันกันได้ไหม มีคนพันธุ์ใหม่ที่กล้าคิดนอกกรอบมากพอไหม หรือเราจะเป็นอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ปล่อยให้อินเดียกับจีนบินข้ามประเทศไทยไปๆ มาๆ โดยเราไม่ยอมปรับเปลี่ยนรุกออกไปสู่โลกข้างนอกอย่างรู้เท่าทันและมีศักดิ์ศรีหรือ???

P 

การเรียนรุ้เกี่ยวกับคนอินเดียจะเป็นประโยชน์กับคนไทยครับเพราะไม่ใช่อื่นไกล เป็นครอบครัวพุทธเดียวกัน มีบิดาองค์เดียวกัน เราไม่ว่าแขกหรือไทยที่เป็นชาวพุทธ ก็เป็นลูกเหมือนกัน

คนอินเดียภูมิใจในความเป็นชนที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ และเชื่อเสมอว่าวันหนึ่งเขาจะเป็นมหาอำนาจ

ไทยเรานั้นมีความสามารถแน่นอนครับแต่ต้องขึ้นรถให้ทันครับ

ขอบคุณครับ

 

P 

ที่น่าสนใจของอินเดียทุกวันนี้คือ เขาไม่สร้างภาพเลยครับ อะไปนอะไร ก็เป็นอย่างนั้น  ที่สกปรก ก็สกปรกกันไป ที่เจริญก็เจริญกันไป เป็นสังคมที่ไม่สร้างภาพและคนไม่มีปมด้อยเรื่องความยากจน

เป็นที่ให้เราเห็นทั้งขาวและดำในที่เดียวกันครับ

ขอบคุณครับ

 

อาจารย์โสภนาครับ

เห็นด้วยครับว่า คนอินเดียเป็นคนไม่ยอมแพ้ต่อความยุ่งยากใดๆ ในการทำงาน และในชีวิต 

และยิ่งเห็นด้วยว่า มีปัญหาต้องสอบถาม โต้เถียง ติดตามเพื่อไม่ให้ใครเอาเปรียบ และไม่กลัวความ "ลำบาก" ในการทำงาน

คนไทยต้องเปลี่ยนจริงๆ ครับ

เมื่อก่อน กลัว คน อินเดียค่ะ มีความรู้สึกไม่วางใจ เวลาอยู่ใกล้ รู้สึก จะไม่น่ารักไปซะทุกอย่าง

   มีตยชัดมาก  คุณแม่อินเดีย เธอมาต่อว่า รุ่น พี่หมอ ที่นับถือด้วยเสียงอันดังมาก ต่อหน้าคนไข้อื่นๆ ว่า ฉีด วัคซีน ตับอักเสบ บีไม่มีประสิทธิภาพให้ลูกเธอ แล้วเธอมาตรวจ พบว่าลูกยังติด ไวรัส บี (ทั้งที่เธอเอามาฉีดสายไป ควรฉีด ตั้งแต่แรกเกิดเพราะ ซักคุณแม่ภายหลังก็พบเป็นพาหะ ) ตอนนั้นได้ยินก็โกรธแทนรุ่นพี่

รู้สึกว่าเธอต้องได้ข้อมูลเพิ่มเชิงจริยธรรม  จึงบอกเธอว่า โชคดี นะ ที่เธอพูด กับคุณหมอ ที่แสนประเสริฐ เช่นนี้ เพราะ เป็นหมอคนอื่นๆ เขาคงไม่อยาก หรือไม่ยอมตรวจรักษาลูกคุณ อีกต่อไป

ผลคือ เขาไม่ตรวจกับหมอ รวิวรรณ อีกต่อไป จริงๆ และ มาทีไร ก็ ขอตรวจกับรุ่นพี่คนเดิม กลายเป็น ติดหนุบหนับกว่าเดิม สงสัยจะกลายเป็นหวังดี ประสงค์ร้ายกับพี่เขา 

พอทำงานกับแพทย์ ต่างชาติ กลับทึ่งในคนอินเดียเหมือน ที่อาจารย์พลเดช อาจารย์ศศินันท์ และ อีกหลายๆท่านที่ให้ความเห็น

เพิ่งพบคุณหมอ อินเดียชาย ชื่อ กุมารรัศมี ในการประชุมนานาชาติ โรคเอดส์ Bangkok symposium เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประทับใจมากค่ะ

เธอว่องไว ภาษาดีมาก แสดงความเห็นเต็มที่ เฉียบคม ไม่ยอมใคร และไม่น้อยหน้าใคร ผลงานวิชาการตรึม  เป็น ร้อยเรื่องในระยะ 2-3 ปี

ได้รับเชิญให้บรรยาย หลาย session ที่ผู้ฟังสนใจมากคือเรื่องที่จัดตั้งศูนย์ รักษาเอดส์ ในอินเดีย ตอนนี้ขยายเป็นสองศูนย์ใหญ่  ที่แรกที่เป็นจุดเริ่มมีผู้ป่วย สองหมื่นคนที่รับยาต้านไวรัสเอดส์อยู่ และรอเริ่มยาอยู่ ห้าพัน

(ตอนฟังต้องร้องโอ้โฮ เพราะเทียบกับที่เชียงราย เรามีผู้รับยา ที่รพ สองพัน ก็ชุลมุน ยุ่งยากมากแล้ว)

ถามเธอว่าเอาเวลาที่ไหนมาทำงานได้ขนาดนี้

เธอตอบว่า เธอมีลูกเล็ก อีก 2 คน และเล่าต่อว่ามันเป็นภาพที่น่าขัน ถ้าเห็น เพราะขณะวิ่ง เล่น เลี้ยงลูกไปด้วย จะเสียบ หูบูลทูธ พูด โทรศัพท์ ไปด้วย  

เธอบอกว่า ส่วนมากจะ วิ่งตลอดเวลา (ในหนังอินเดีย ก็มักเห็นตัวเอกวิ่งตลอดเวลา)

อาจเป็นอีกลักษณะ ของคนอินเดียหรือเปล่า คะ

 

สวัสดีครับ

เรื่องทัศนคติของคนไทยที่มีต่อคนอินเดียหรือแขกนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะผมได้ไปอยู่ที่อินเดียด้วย จึงทำให้ต้องมองมากกว่าคนอื่น

ถ้าผมไปอยุ่อินเดียแล้วมองเหมือนคนไทยทั่วไปก็คงจะอยู่อย่างไม่มีความสุข เพราะคงมีแต่เรื่องให้บ่นได้ทุกวันทุกเรื่อง

แต่เมื่อไปอยู่แล้ว เปิดใจ ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งที่ดี ไม่ดี ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ

อินเดียไม่ได้แย่ไปหมดทุกอย่าง

อินเดียก็มีดีในหลายอย่าง

แขกก็ไม่ได้แย่ไปทุกอย่าง

แขกที่ดีก็มีมาก

ปัญหาจึงอยู่ที่คนมองและจะรู้จักมองให้ลึก มองให้ทะลุหรือไม่

ถ้าจะใช้คำตรงๆ ก็อาจบอกได้ว่า เหมือนกองขยะ ที่ใครเห็นก็บอกว่าไม่น่าดู แต่ใต้กองขยะนั้นมีสิ่งที่มีค่ามากมาย ต้องคุ้ยดูจึงจะเห็นสิ่งเหล่านี้

ผมว่าคนไทยเราน่าจะได้ของดี หากรู้จักดูสิ่งที่ดีของคนอื่นแล้วนำมาปรับใช้ ในขณะเดียวกันต้องรักษาสิ่งที่ดีของตนทีมีด้วย นอกจากนั้น คนไทยคงต้องลดความฟุ้งเฟ้อลงให้มากๆ

อินเดียถึงจะแย่อย่างไรในสายตาของคนทั่วไปแต่ก็ยังดีที่รักษาศาสนา วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ดั่งเดิมเอาไว้ได้

กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการเจริญอย่างช้าๆ ที่เหมาะสมกับวิถีของคนกับการมุ่งพัฒนารวดเร็วอย่างก้าวกระโดด อะไรจะเป็นผลดีต่อสังคมมากกว่ากัน

ผมยืนยันว่าอินเดียเป็นที่ ที่คนไทยจะได้เรียนรู้เรื่องชีวิตได้เป็นอย่างดี

ด้วยความปรารถนาดี

 

 

 

  • ดิฉันเคยไปเสนอผลงานที่เมืองบังกาลอร์
  • ได้รับรางวัลเบสBest Speakers ที Bangalore
  • เป็นการประชุม ACRC 1994 [The 15 th Asian Conferenc on Remote Sensing  November 17-23 , 1994]
  • ดิฉันได้รับมอบหมายให้เป็นทีมงานไปเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจักการประชุม ACRS  1995 ครั้งที่16 ในงาน WORLDTEC H '95ที่มหาวิทยาลับเทคโนโลยีสุรนารี
  • ในครั้งนั้นดิฉันไปเสนอผลงานทางวิชการด้านการใช้ SAR [Side Looking Airborn Radra}  for Land Cover Study in North Eastern Thailand
  • เป็นม้านอกสายตาเขาจัดให้เสนอผลงานช่วงบ่ายเป็น Paper สุดท้าย ทำใจได้คงไม่มีใครมาฟังแน่ๆ โดยเฉพาะคนไทยด้วยกัน
  • พอถึงเวลาแทมไม่เชื่อสายตาคนเริ่มทะยอยเข้ามาจนเต็มและล้นห้องเป็นการเสนอผลงานที่สนุกสนานมาก
  • ดิฉันเข้าใจธรรมชาติของนักวิชาการอินเดียแทนที่จะให้เขาเป็นฝ่ายรุกดิฉันจึงเป็นฝ่านรุกเปิดเกมให้ถามและดิฉันชิงเป็นฝ่ายถามก่อนเรียกเสียงเฮ สนั่นห้อง เล่นเอานักวิชาการอินเดียต้องแย่งกันเข้าคิวถาม ตอนตอบดิฉันจะไม่บอกว่าผิดหรือถูกปรากฏว่าเขาตอบไม่ตรงกับข้อเท็จจริงกันเพราะเขาเชื่อสิ่งที่เห็น พอดิฉันเอาหลักการความจริงคุณสมบัติทางเคมีของน้ำมาบอกก็ถึงบางอ้อกันเป็นแถว เรื่องที่ดิฉันนำเสนอเป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้นและเป็นการศึกษาเบื้องต้นจึงมีเรื่องให้ศึกษาอีกมากมายจึงทำให้ผู้เข้าฟังสนใจและมีคำถามมากมายจนหมดเวลาผู้เข้าฝังขอให้ประธานที่ประชุมต่อเวลาท่านประธานถามดิฉันว่าเห็นด้วยไหม ดิฉันก็เห็นด้วยซิค่ะเป็นโอกาสที่ไม่เกิดขึ้นเลยในชีวิต
  • ดิฉันจึงเป็นที่รู้จักกันชองนักวิชาการในหมู่นักวิชาโลกตะวันและตะวันออกและ Paperไปลงในวาสารของเขา
  • ทำให้ดิฉันรู้จักอินเดียมากขึ้นและประทับใจการพัฒนาประเทศ
  • ดิฉันได้รับเชิญให้เข้าเยี่ยมโรงงานสร้างดาวเทียม เห็นแล้วอึ้งมากในแลป ในโรงงานเต็มไปด้วยเด็กหนุ่มสาวอายุไม่เกิน20ปีเป็นวิศวกรทั้งนั้นจากหลายๆสาขามาทำงานสร้างดาวเทียมและ ระบบบบต่างๆที่ใช้ ตั้งแต่ในยาน ระบบรับส่งข้อมูล ระบบคอบคุมยาน ทั้งภาคผื้นดินและอากาศ ฯลฯ
  • คำตอบจากโปรเฟสเซอร์บอกว่าอินเดียทุ่มเทเรื่องการศึกษาเป็นอันดับแรกๆและบอกว่าประชากรแค่ 5% ที่เป็นหัวกระทิสามารถนำพาประเทศชาติ
  • ดิฉันเห็นคำตอบมากับตาตัวเอง
  • และ SILICON VALLEY OF BANGAROE

น่าสนใจมากครับ

อินเดียทุ่มเทเรื่องการศึกษาเป็นอันดับแรกๆและบอกว่าประชากรแค่ 5% ที่เป็นหัวกระทิสามารถนำพาประเทศชาติ

จะบอกว่าสงสารประเทศไทยได้ไหม เพราะไม่ได้มองการศึกษาเป็นอันดับแรก และไม่รู้จักนำเอาระบบการศึกษาที่ดีในโลกมาใช้กับคนในประเทศ

เป็น 75 ปีที่เราเสียเวลาไปกับการเล่นกันเอง

เป็นรัฐธรรมนูญ 17 ฉบับที่เราเล่นกันเอง

แค่ 5 % ของคนอินเดียที่เป็นหัวกระทิ ก็คือเกือบทั้งหมดของประชากรไทยทั้งประเทศแล้ว

วันก่อนผมพบข่าวว่าไทยนำเข้าสินค้านอกกว่าแสนแสนล้าน ในจำนวนนั้นเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมากมาย

มองดูวิถีชีวิตในเดลีและเมืองต่างๆ ของอินเดียแล้วช่างต่างจากเมืองไทยของเรานัก

ใครคือเจริญ

ใครคือหลงกันแน่

และในช่วงเวลานี้ บ้านเมืองเรากำลังเดินไปข้างหน้าเท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านหรือว่ากำลังทำอะไรอยู่กันแน่

ห่วงหนอครับ

 

 

สมัยเด็กๆกระผมเคยกลัวกลุ่มคนที่เราเรียกเขาว่าแขกขายถั่วหรือขายอื่นๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีวิธีการขายแบบเชิงรุก คือบุกถึงทุกที่ ตอนนั้นกลัวเพราะอะไรบ้างจำไม่ได้ครับพอจะนึกได้คือหน้าตาที่ไม่คุ้นเคย หรืออาจจะเคยได้ฟังผู้ใหญ่พูดด้านลบ แต่ตอนนี้เขาสอนให้กระผมรู้ว่าความพยายามของเขาต่างหากที่น่ากลัวครับจากตอนเด็กๆคิดว่าเขาเป็นคนลำบากในการดำรงชีพแบบมีการแบ่งชนชั้น แต่มาวันนี้เขาพัฒนาตนเองจนกระทั่งเป็นประเทศที่มีคนเก่งหลายด้านเยอะมาก ซึ่งหลายท่านวิเคราะห์ว่าเกิดจากการชอบคิด ชอบสงสัย ชอบวิพากษ์วิจารณ์ กระผมคิดว่าคนไทยก็มีไม่น้อยแต่จะด้วยเหตุผลใดที่มีคนเก่งน้อยก็ต้องมาวิเคราะห์กันอีกหลายๆกระบวน หรืออาจเพราะขาดความกล้าหรืออื่นๆครับ

สวัสดีครับ

ผมคิดว่ามีส่วนครับ ที่ว่าขาดความกล้า

กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะหากเป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง

เรื่องนี้คงต้องโยงถุงคนในครอบครัวด้วยครับ ถ้าจะสอนเด็กๆ ให้กล้าแสดงความคิดเห็น ต้องใช้เหตุผลเป็นหลักและผู้ใหญ่เองก็ต้องยอมรับฟังด้วยหากมีเหตุผล

ความพยายามของแขกในเรื่องต่างๆ นั้น มองได้หลายมุมครับ

เรามองในฐานะที่ถูกกระทำเราก็อาจบอกว่าแขกนั้นเคี่ยว เอาเปรียบ

แต่มองจากแขกเองอาจกำลังเปิดเวทีการเจรจาต่อรอง การต่อสู้ที่ยุติธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์

ถ้าอีกฝ่ายเท่าทัน ก็ไม่มีอะไร เล่นเกมกันได้ อยู่ด้วยกันได้

แต่ถ้าไม่เท่าทันก็คือการได้เปรียบหรือชัยชนะในชีวิต

คนไทย นอกจากเรื่องความกล้าแล้วคงต้องเรียนรู้การต่อสู้ในสังคมระหว่างประเทศด้วยครับ เพราะมีตัวเล่นมากมายเหลือเกิน

หากรู้ทันแบบแขกบ้าง ก็อาจจะไม่เสียเปรียบต่างชาติมากนัก

ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมสนทนา

 

 

 

พี่พลเดช ขอบคุณที่แนะนำให้มาอ่าน กระทู้นี้นะคะ สนุกมากเลยค่ะ ขอสนับสนุนความเห็นของหลายๆ ท่านนะคะ

ของคุณศศินันท์ที่ว่า  "คนไทย เรามีความสุภาพสูง มีความเกรงใจสูง ชอบคิดตามๆกัน แม้ จะไม่เห็นด้วย ก็ไม่กล้าแสดงออก ซึ่งบางที เราก็คิดต่างได้  และแสดงออกโดยสุภาพได้ ดิฉันเอง จะไม่สนุกในการ  สนทนา ถ้าใครจะมาคิดอย่างเดียวกับเราหมด อยากให้เขามีมุมอื่น มาแลกเปลี่ยนกันบ้าง ถ้าสุภาพ รับได้อยู่แล้วแม้ตัวเองจะยัง ยึดมั่นในความคิดของตัวเองอยู่ แต่ก็สนุกที่จะ หาวิธีมาโน้มน้าว ให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา มากลับเห็นด้วยให้ได้ มันสนุกมากกว่า ที่จะมาฟังอะไรที่เหมือนกับเราหมดทุกอย่าง"  อันนี้แณณเห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ รู้สึกเลยค่ะว่าเวลาไปฟังอะไร หรืออยู่ในฟอรั่มที่คนต้องแสดงความเห็นแต่ก็ไม่มีคนแสดงความเห็นที่แตกต่างแต่กลับเห็นคล้อยตามกันไปหมดนี่ ก็ไม่ค่อยน่าสนใจนะคะ แต่ บางครั้งคนไทยยังเคารพ ความอาวุโสอยู่มาก พอเราแสดงความเห็นไป ไม่ว่าจะสุภาพอย่างไร แต่หากพูดตรงๆ แสดงตรงๆ กันแล้วก็จะดูเป็นการก้าวร้าว หากผู้แสดงความเห็นแย้งเด็กกว่า และ คนฟังไม่เปิดใจยอมรับก็จะกลายผู้น้อยเถียงผู้ใหญ่ค่ะ แณณเคยมีประสบการณ์มาด้วยตนเองค่ะ หลังๆ นี่ทำให้มีปัญหาในการทำงานเพราะคนที่ฟัง กลายเป็นมองว่าเราเถียงผู้ใหญ่ค่ะ ก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไปค่ะ ต้องดูกาละเทศะและบุคคลค่ะ ว่า ใครที่เราสามารถคุยด้วยได้ตรงๆ และเป็นคนที่ใจกว้าง เคยร่วมงานกับพี่พลเดช นะคะ ยอมรับเลยค่ะ ว่า เป็นคนสมัยใหม่ หัวก้าวหน้า และไม่มีพิธีรีตอง มีเมตตามาก เห็นอะไรไม่ตรงกัน ไม่เคย มองว่าแณณเถียงเลยค่ะ กลับมองว่าช่วยกันคิด ช่วยกันทำ แบบนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนา ทางความคิดและวิธีการทำงานนะคะ แณณ ก็ใฝ่ฝัน อยากให้สังคมไทย ระบบราชการไทย มีคนแบบพี่พลเดช อยู่เยอะๆ ค่ะ  คนจะได้ไม่ลาออกกันไปเพราะความท้อแท้

 เห็นด้วยอีกเช่นกันที่คุณศศินันท์ว่า เจอคนเก่งๆมามาก บางครั้ง พูดอะไรไป รู้สึกเหมือน หน้าแตก หมอไม่รับเย็บ แต่ไม่โกรธ กลับรู้สึก ทำไม เราโง่จังนะ เพราะบางครั้งเราไม่ได้รู้ หรือเก่งอยู่คนเดียวนะคะ เจอคนเก่งๆ นี่เป็นเครื่องประเทืองปัญญาเรานะคะ แณณก็ไม่โกรธเลยค่ะ เวลา มีคนเห็นแย้งค่ะ ที่จริงชอบค่ะ จะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนางานให้ดีขึ้น

ตอนนี้แณณ ติดตามสามีมาประจำการอยู่ที่บังคลาเทศค่ะ ก็เพิ่งได้ สัมผัสชีวิต และตัวตนของคนที่นี่ กำลังจะเขียนลงเว็บบล็อกของที่นี่เหมือนกันค่ะ

ยินดีกับน้องแณณและบอลนะครับที่ไปอยุ่ที่บังคลาเทศแล้วสนุกกับงาน เริ่มต้นเรียนรู้ ดูเล่นกับงานการทูต

ติดตามสามีไปเรียกว่าเป็น"ฝ่ายใน"  ซึ่งถือว่ามีหน้าที่และมีบทบาทเป็นอย่างมาก ไม่แพ้สามีที่เป็นนักการทูต

ถ้าเราเอาความรู้เป็นหลัก การค้นหาความรู้ให้ถึงที่สุดเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วครับ ดังนั้นการสนทนา การระดมสมอง การมองมุมต่างจึงมีแต่ได้ครับ แต่สังคมไทยคงยังไม่พร้อมนัก

จะรออ่านบล๊อคนักการทูตไทยจากบังคลาเทศนะจ๊ะ

ด้วยความปรารถนาดี

 

ทุกชนชาติก็มีความเก่งในตัวเอง แต่ว่าอยุ่ที่ผู้นำประเทศจะนำพาประเทศไปในหนทางไหน และวางรากฐานให้กับประเทศได้แค่ไหน สำหรับผม คนไทยเก่งครับ แต่วว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความเก่งของตนเองเท่าที่ควร ถ้าเรามีผู้นำเก่งๆ มีวิสัยทัศน์และวางรากฐานทางการศึกษาให้ดี ผมว่าคนไทยไม่แพ้ใครครับ อินเีดียอาจมีคนเก่ง แต่ว่าถ้าในแง่การแข่งขันระหว่างประเทศแล้วก็ไม่เท่าไหร่ครับ สำคัญอยู่ที่นวัตกรรม ประเทศไทยหากสร้างให้สังคมเป็นเสังคมแห่งความคิดสร้างสรรค์ และนำไปใช้ในเชิงแข่งขัน ก็ไม่แพ้ใครครับ

คุณคนไทยครับ

เห็นด้วยเรื่องผู้นำครับ อย่างไรก็ดี โครงสร้างสังคมของเราเอง ที่ควรเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมครอบครัว ศาสนา ระบบการศึกษา การเมือง ประชาธิบปไตย รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็ล้วนส่งเสริมให้คนมีโอกาสและพัฒนาความเก่งมากขึ้น

คนไทยเก่งจริงครับและไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท