รถรางไฟฟ้าบางกอก แสนจะภูมิใจ


เป็นความทรงจำที่น่าประทับใจจริงๆ รถรางในยุคนั้นทำให้สยามเป็นที่เลื่องลือในความเจริญก้าวหน้า และจัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียที่มีความเจริญก้าวหน้าและความโด่ดเด่นมาก

รถรางไฟฟ้าบางกอก            นับย้อนไปร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมืองไทยหรือสยามของเราเคยมีรถรางวิ่งในบางกอกมาแล้ว ชาวสยามรุ่นคุณปู่คุณย่าคุณทวด คงจะจำได้ โดยเฉพาะบริเวณสนามหลวง ท่าพระจันทร์ จะมีรถรางไฟฟ้าวิ่งผ่านไปมา เวลาวิ่งผ่านหน้าวัดพระแก้วคนขับจะสั่นกระดิ่งดังเก๊งๆ ให้คนที่เดินไปเดินมาหลีกทาง...เป็นความทรงจำที่น่าประทับใจจริงๆ รถรางในยุคนั้นทำให้สยามเป็นที่เลื่องลือในความเจริญก้าวหน้า และจัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียที่มีความเจริญก้าวหน้าและความโด่ดเด่นมาก ประวัติความเป็นมาของรถรางในสยามนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าจะมีการค้นคว้า เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบ ในฐานะที่ผู้เขียนได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นตำรับรถรางในยุโรป และมีความเกี่ยวดองกับกิจการรถรางของไทย จึงขอนำข้อมูลส่วนหนึ่งของประวัติรถรางไทยที่ได้รับจากผู้รู้ในเบลเยี่ยมท่านหนึ่งมาเสนอ ประกอบกับรถรางเบลเยี่ยมยังคงเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของชาวเบลเยี่ยม การระลึกถึงกิจการรถรางไทยจึงให้สีสันและจินตนาการที่เป็นรูปธรรมดียิ่ง           รถรางที่วิ่งกันในบางกอกในสมัยดังกล่าวนั้น ตามประวัติรถรางไทยจากหนังสือ The modern tram way เล่มที่ 18 ฉบับที่ 212 ปี .. 1955 ได้ระบุว่าสยามมีรถรางไฟฟ้าวิ่งอยู่ตั้งแต่ปี .. 1893 ซึ่งนับว่าเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้า กิจการรถรางได้ดำเนินกิจการมาจนถึงปี .. 1968 ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป รวมเวลา 75 ปีทีเดียว            ในช่วงปี 1912  กิจการรถรางในสยามอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท Siam Electricity and Cy บริษัทของเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลและดำเนินกิจการด้านไฟฟ้าด้วย กิจการของบริษัทเบลเยี่ยมดังกล่าวเจริญรุ่งเรืองและทำกำไรอย่างงดงาม ว่ากันว่าในบรรดาบริษัทเบลเยี่ยมในเครือที่อยู่ในประเทศต่างๆ บริษัทในสยามมีผลประกอบกิจการที่กำไรมากที่สุด อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร ปี 1932 กิจการรถรางและไฟฟ้าเบลเยี่ยมก็ถูกกระแสชาตินิยมและการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากกิจการรถเมล์ ยังผลให้กิจการรถรางไฟฟ้าต้องสิ้นสุดลงในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงญี่ปุ่นยึดครอง ทั้งที่ระยะเวลาสัมปทานยังมีอยู่ถึง ปี 1949 กิจการรถรางไทยมาสิ้นสุดเมื่อปี 1968 โดยมีกิจการรถเมล์แทนที่           เบลเยี่ยมซึ่งเป็นประเทศผู้นำอุตสาหกรรมรถรางของยุโรปมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในถึงปัจจุบัน รถรางไฟฟ้านับเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญของประเทศ ทำให้การคมนาคมของคนในเมืองต่างๆ สะดวกรวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม          รถรางในเบลเยี่ยมซึ่งถือว่าเป็นต้นฉบับรถรางในไทยนั้น หากใครได้ไปใช้บริการแล้ว ก็จะรู้ว่ามีคุณภาพและประสิทธิภาพที่เป็นหนึ่ง ไม่รองใครในยุโรปและหากจะกล่าวเป็นหนึ่งในโลกก็คงไม่ผิด เพราะบรรดาระบบรถรางไฟฟ้าในประเทศต่างๆ ในโลกในอดีต เช่น ในจีน  อียิปต์ รัสเซียและในยุโรปหลายประเทศ ก็ล้วนเป็นฝีมือของช่างชาวเบลเยี่ยมที่ไปสร้างให้ทั้งนั้น          รถรางในเบลเยี่ยมมีอายุกว่าร้อยปีแล้ว   เป็นต้นกำเนิดของระบบการขนส่งมวลชนในยุโรปก็ว่าได้ เริ่มดำเนินกิจการในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1  โดยการสนับสนุนของกษัตริย์ Leopold  ที่ 2 และได้มีการพัฒนามาโดยตลอดทั้งรูปแบบและเทคโนโลยี จากตู้รถ 4 ล้อตัวตู้ทำด้วยไม้ มีรูปทรงเก่าๆ ลากด้วยม้าหนึ่งตัวหรือสองตัววิ่งช้าๆ รับส่งผู้โดยสารระยะใกล้ๆ จนมาถึงรถตู้เหล็กที่ใช้ไอน้ำ วิ่งบนรางและพัฒนาจนเป็นรถรางที่ใช้เครื่องจักรไฟฟ้าในปัจจุบัน          รถรางไฟฟ้าในเบลเยี่ยมมีรูปทรงทันสมัย มีพลังขับเครื่องยนต์มหาศาล วิ่งได้เร็วเท่ากับรถยนต์ก็มี และวิ่งบนรางได้ทั้งบนดินและใต้ดิน เช่นเดียวกับรถไฟใต้ดิน          กิจการรถรางไฟฟ้าเบลเยี่ยมถือได้ว่าพัฒนาควบคู่มากับการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป การใช้ไฟฟ้าสำหรับรถรางเพราะเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเหมือนกับควันจากท่อไอเสียรถยนต์ จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในเบลเยี่ยม ตามเมืองใหญ่ๆ เช่นบรัสเซลส์เมืองหลวง เมืองท่าที่มีชื่อเสียงเอนเทอเวิร์ป เมืองเกนส์ และเมืองบรูซส์จะมีรถรางเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของเมืองแทบทั้งนั้น สำหรับในบรัสเซลส์ซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น ในปัจจุบันมีรถรางวิ่งร้อยกว่าสาย ทั้งที่วิ่งบนดินและใต้ดินผ่านเมืองและชานเมือง           อัตราค่าโดยสารรถรางมีหลายราคา หลายประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากที่สุด  คือประเภทใช้ขึ้นครั้งเดียว ราคา 50 แฟรงก์ ( 1 แฟรงก์ เท่ากับ 1 บาท) ประเภทใช้ขึ้น 5 ครั้ง ราคา 230 แฟรงก์ ประเภทใช้ขึ้น 10 ครั้ง ราคา 320 แฟรงก์ และประเภทใช้ได้ตลอดทั้งวัน ราคา  125 แฟรงก์  ประเภทตั๋วเดือนราคาเดือนละ 1300 แฟรงก์ นอกจากนั้นมีประเภทตั๋วปี ราคา 9500 แฟรงก์           จะเห็นว่า การแบ่งประเภทค่าโดยสารได้มีการคำณวนอย่างเป็นระบบเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ          สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าเข้าท่าดีเกี่ยวกับค่าโดยสารรถรางในเบลเยี่ยมก็คือ หากท่านซื้อตั๋วโดยสารรถราง ท่านสามารถจะใช้ตั๋วนั้นได้กับระบบสื่อสารมวลชนทั้งระบบได้หมด คือรถราง รถเมล์ และรถไฟฟ้าใต้ดิน และนอกจากนั้น หากท่านซื้อตั๋วแล้วเดินทางไป-กลับภายใน 1 ชม. ท่านสามารถนั่งทั้งรถเมล์ รถรางและรถไฟใต้ดินไป-กลับมากี่ครั้งก็ได้ โดยใช้ตั๋วใบเดิมเพียงใบเดียว           เกี่ยวกับเรื่องระยะเวลาตั๋ว 1 .. ที่ใช้เดินทางได้กี่ครั้งก็ได้นั้น มีเรื่องเล่าว่า มีนายพลเรือชาวไทยผู้หนึ่งมาเที่ยวบรัสเซลส์พร้อมภรรยาและได้ทดลองขึ้นรถรางไปเที่ยว 2 คนโดยซื้อตั๋วแบบ 1 ใบใช้ได้ 10 ครั้ง เมื่อขึ้นรถรางแล้วก็ตอกตั๋วในเครื่องตอกตั๋ว 2 ครั้ง พอขากลับ ด้วยความไม่รู้ก็ได้ใช้ตั๋วเดิมตอกที่เครื่องเช่นเดิม ปรากฎว่า เครื่องไม่รับตอกเพราะยังอยู่ในเวลา 1 ชม. นายพลเรือผู้นี้พยายามตอกหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จก็เลยรู้ว่า หากยังไม่ถึง 1 ชม. ก็ไม่ต้องตอกใหม่ แต่ก็สงสัยต่อไปว่า ในช่วง 1 ชม นี้ หากพาเพื่อนขึ้นรถรางเพิ่มอีก 2 คนเป็น 4 คนโดยจะใช้ตั๋วใบเดิมตอกจะได้หรือไม่อย่างไร  เนื่องจากตอกแล้วเครื่องไม่รับ ทั้งที่ตั๋วยังมีจำนวนครั้งเหลืออยู่ 8 ครั้งพอสำหรับเพื่อนๆ ที่เพิ่มขึ้นมา ตรงนี้จึงเกิดปัญหาที่น่าสงสัยสำหรับพวกเราซึ่งเป็นคนต่างชาติที่ไม่คุ้นเคยกับระบบของรถรางเบลเยี่ยม โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าหากมีนายตรวจขึ้นมาตรวจตั๋ว จะทำอย่างไรกับเพื่อนอีก 2 คนที่เพิ่มขึ้นมา เพราะก็ไม่ได้คิดโกงแต่ตอกตั๋วแล้วแต่เครื่องตอกไม่รับ มิต้องโดนปรับหรอกหรือ          ผู้เขียนยอมรับว่าไม่เคยคิดถึงประเด็นนี้ จึงไปทดลองใช้ตั๋วรถรางดังกล่าวเพื่อจะพิสูจน์ว่าหากเกิดเหตการณ์เช่นนี้จะทำอย่างไร ก็ปรากฎว่าเป็นเช่นที่นายพลไทยตั้งข้อสงสัยจริงๆ ปัญหาที่คิดกันว่าหากเราตอกตั๋วแล้วเครื่องไม่ยอมรับ จะทำอย่างไรหากเกิดมีนายตรวจขึ้นมาตรวจ จะไม่เป็นความผิดหรือ ทั้งนี้สำหรับ 2 คนที่ตอกตั๋วแล้วและเวลาเดินทางยังไม่ครบ 1 ชั่วโมงก็ยังอธิบายได้ แต่ 2 คนที่เพิ่มขึ้นมา โดยจะใช้ตั๋วใบเดียวกัน และยังเหลือที่สำหรับตอกได้อีกถึง 8 ครั้ง แต่ตอกแล้วเครื่องไม่ยอมรับ จะทำอย่างไรนั้น คำตอบที่คิดได้ก็คือสำหรับสองคนที่ขึ้นใหม่คงจะต้องซื้อตั๋วใบใหม่...................... ก็เป็นระบบที่ซับซ้อนและรัดกุมดี           เกี่ยวกับเรื่องรถรางในบรัสเซลส์ มีเกร็ดเล่าให้ฟังอีกนิดหนึ่งว่า คนต่างชาติที่อาศัยในบรัสเซลส์นั้นนับว่ามีมากหลายชาติหลายภาษา โดยเฉพาะคนฟิลิปปินส์ ซึ่งมีจำนวนหลายหมื่นคน กล่าวกันว่าด้วยความที่มีคนฟิลิปปินส์มากนี้เอง ได้มีการกล่าวเปรียบเทียบเป็นคำพูดว่า หากท่านนั่งรถรางในบรัสเซลส์ไม่ว่าคันใดก็ตาม ท่านจะต้องเห็นคนฟิลิปปินส์อยู่ในรถรางนั้นอย่างน้อย 1 คนเสมอไป........อะไรจะขนาดนั้น  ซึ่งเท่าที่เคยใช้บริการรถรางบรัสเซลส์มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ดูเหมือนจะเป็นจริงดังคำกล่าวว่าเสียด้วย           รถรางไฟฟ้าบางกอก... อดีตที่น่าเสียดาย          ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า รถรางไฟฟ้าเบลเยี่ยมนั้นเป็นหนึ่งในโลก เนื่องจากรถรางไฟฟ้าในหลายประเทศที่เกิดขึ้นได้ในอดีตก็มาจากฝีมือช่างชาวเบลเยี่ยมนี่เอง รวมทั้งรถรางไฟฟ้าในบางกอก จากข้อมูลในหนังสือ The modern tram way เล่มที่ 18 ฉบับที่ 212 เดือนสิงหาคม ..1955  ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาซึ่งผู้เขียนได้รับสำเนาจากเจ้าหน้าที่การรถรางแห่งเบลเยี่ยมผู้หนึ่ง ท่านผู้นี้สะสมหนังสือเก่าเกี่ยวกับรถรางและได้กรุณาอนุเคราะห์สำเนาให้ผู้เขียนสนองความอยากรู้อยากเห็น หนังสือดังกล่าวลงเรื่องราวเกี่ยวกับรถรางสมัยเก่าและสมัยใหม่ในสยาม ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังจะขอนำมาถ่ายทอดเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในประวัติศาสตร์และทักท้วงกันในความถูกต้องต่อไป ดังนี้           ................บางกอกเมืองหลวงของสยาม มีระบบรถรางซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ..1893 ซึ่งถือว่าเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในเอเซีย จากดั้งเดิมที่เคยใช้ม้าและลาลากตู้รถ ก็ถูกแทนที่โดยรถตู้ทำด้วยไม้ระบบพลังงานไฟฟ้าขนาดกำลังยี่สิบแรงม้า ระบบไฟฟ้าที่ใช้สำหรบรถรางนี้เป็นระบบที่ดำเนินการโดยบริษัท Short Electric Railway Company เมือง Cleveland ประเทศสหรัฐอเมริกา          บางกอกซึ่งในขณะนั้นมีพลเมืองประมาณเก้าแสนคน มีรถรางถึง 7 สายด้วยกัน โดยวิ่งไปยังจุดต่างดังนี้          1.บางคอแหลม           2.สามเสน           3.ดุสิต           4.บางซื่อ           5.หัวลำโพง           6.สีลม          7.ปทุมวัน          รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง 1/4 ไมล์ รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้ และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน แต่ละคันมี 40 แรงม้า สามารถจุคนได้ 60 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36  คน ที่ยืน 24 คน นอกจากนั้นยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเปิดโล่ง  และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง 5 โบกี้ที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4 แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อน          วันที่ 30 กันยายน ปี ..1968 รถราง 2 สายสุดท้ายของบางกอกถูกยกเลิกไป และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์..................................          นั่นคือเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรถรางไฟฟ้าซึ่งทำให้บางกอกกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญไม่แพ้ประเทศในยุโรปบางประเทศในยุคนั้นทีเดียว เพราะถือเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ดีความเป็นมาของรถรางในบางกอกมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งหนังสือเล่มเดียวกันได้กล่าวไว้ว่า          ............................กำเนิดของรถรางที่ใช้ม้าลากในสยาม ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี .. 1889 และต่อมาได้พัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าซึ่งเริ่มเมื่อปี 1892  ซึ่งในประเด็นนี้ ข้อมูลบางแห่งได้บอกว่ารถรางไฟฟ้าสายแรกของบางกอกนั้น (บางคอแหลม) เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1893 ระยะทางของรถรางทั้งหมด 7 สาย มีความยาวทั้งสิ้น 48.7 กิโลเมตร คือ บางคอแหลม 9.2 กม. สามเสน 11.3 กม. ดุสิต 11.5 กม.

หมายเลขบันทึก: 93271เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ คุณพลเดช วรฉัตร

ขอขอบพระคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟัง ทำให้เห็นภาพมหานครของเราในอดีตว่ามีความเจริญแค่ไหน เป็นประเทศแรกในแถบนี้ที่มีระบบรถราง น่าเสียดายที่เราไม่ได้รักษาไว้ แม้กระทั่งแม่น้ำคูคลองที่สวยงาม ดิฉันได้ยินคุณพ่อเล่าว่าสมัยก่อนท่านสามารถงมกุ้งได้ที่บันไดท่าน้ำ ตอนนี้ดิฉันว่าผลของการพยายามเป็นในสิ่งที่เราไม่ถนัดนั้นกำลังย้อนกลับมาหาเราด้วยราคาที่แพงมากที่เดียว ในรูปของสิ่งแวดล้อมที่เสียไปและเงินลงทุนจำนวนมากเพื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนใต้ดิน เพียงเพราะเราไม่ได้จริงจังกันเรื่องผังเมืองและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้น

เขียนไปเขียนมาจะไม่ค่อยเกี่ยวกับรถรางเสียแล้วค่ะ อย่างไรก็ดีขอขอบพระคุณที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งค่ะ

P  เรียนอาจารย์กมลวัลย์ครับ
ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็น หลายสิ่งหลายอย่างในสยาม ที่น่าภูมิใจ หายไปที่ละอย่างสองอย่าง จนในวันนี้ หวนคิดไปแล้วก็ได้แต่เสียดาย....ที่เราไม่ค่อยจะพัฒนาสิ่งดีๆ ให้คงอยู่ ผิดกับประเทศในยุโรปที่เมื่อร้อยกว่าปีเป็นเช่นไร เขาก็รู้จักรักษาสิ่งดีๆ นั้นให้อยู่มาถึงทุกวันนี้คู่กับการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เรียกว่าเขารู้คุณค่าของอดีต
ด้วยความปรารถนาดีครับ
  • สวัสดีครับท่านพลเดช
  • เวลาผมเห็นรถรางในเยอรมัน ทำให้ผมย้อนถึงอดีตที่เคยเล่าว่ามีการนำไปใช้ที่เมืองไทยด้วย แล้วเค้าใช้ที่เยอรมันคือ รถรางและรถยนต์ เมล์ ก็วิ่งบนทางเดียวกัน ดูแล้วน่ารักที่สุดครับ รวมไปถึงการจัดการที่ดีครับ
  • พอท่าน อาจารย์ กมลวัลย์ พูดถึงในแม่น้ำลำคลองใน กทม. ผมคิดว่า หากเราเอาจริง กู้คืนระบบคูคลองให้ดี บำบัดน้ำให้จริงจัง กู้คืนระบบคลองน้ำใส ใน กทม. แล้วเอาโทษกับคนปล่อยน้ำเสียอย่างจริงจัง จะดีมากๆ เลยครับ แล้วมาฟื้นฟูการขนส่งทางเรือ กทม.จะมีเสน่ห์มากขึ้นนะครับ
  • คนจะหันมาใช้การจราจรทางน้ำมากขึ้น เหมือนหลายๆ เมืองในยุโรป อย่างเมืองบรุกส์ที่ประเทศเบลเยี่ยมก็ยอดเยี่ยมมากๆ เลยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

เรียนคุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ครับ

ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็น ในช่วงที่อยู่ที่เบลเยียม เวลานั่งรถรางไฟฟ้าทีไร อดไม่ได้ที่จะนึกถึงอดีตความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับเบลเยียมทุกครั้ง เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจครับ โดยเฉพาะเจ้าพระยาอภัยราชาซึ่งเป็นที่ปรึกษาใหญ่ของรัชกาลที่ 5 ....ซึ่งทำให้ชีวิตในต่างแดนของผมและครอบครัวช่วงนั้นมีคุณค่าและได้มีโอกาสติดตามรอยอดีตของสยามในหลายเรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ

ด้วยความปรารถนาดี

ขอบคุณครับ ท่านพลเดช

ที่นำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลรถรางไฟฟ้าค่ะ  ขณะนี้ดิฉันศึกษานโยบายที่มีผลกระทบต่อธุรกิจรถไฟฟ้าค่ะ  จึงหาประวัติข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้และขออนุญาตนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาด้วยค่ะ  ขอขอบพระคุณท่านพลเดช  มา ณ  โอกาสนี้ค่ะ

คุณดิวครับ

ยินดีครับ

มีลิงค์พิพิธภัณฑ์รถรางครับ http://www.trammuseumbrussels.be/ มีภาพรถรางให้ดูด้วย

ด้วยความปรารถนาดี

ขอบคุณครับ คุณพลเดช

ผมได้รับเพลงเก่า ๆ น่าจะถึง40 ปีมาแล้ว เกี่ยวกับคนขายตั๋วรถราง บรรยายถึง

บรรยายกาศบนรถรางได้ประทับใจมากซะจนต้องมาศึกษาเรื่องรถรางหลายครั้ง วันนี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับรถรางมาก ขอบคุณมากครับ

เท่าที่จำเนื้อร้องของเพลงได้ เพลงว่าต้นสายอยู่ที่แยกหลักเมือง ไปถึงแยก เอส เอ บี

ค่ารถถ้าจำไม่ผิด 30สตางค์ คิดว่าอาบังคงจะยืนเฉย ๆ เวลาคนเก็บตั๋วขอเก็บค่าโดยสาร

บรรยากาศขึ้นลงก็น่าจะสับสนวุ่นวายและก็มีพวกขโมยล่วงกระเป๋ามานานนมแล้ว

ไม่ทราบว่าคุณพลเดชเคยฟังเพลงนี้มั๊ย ? ไม่รู้ว่าครูเพลงท่านใดร้อง น่าฟังมาก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลในการฟังเพลงนี้

อาเฉียน

กราบสวัสดียามเย็นค่ะ ท่านพลเดช วรฉัตร

  • เผอิฐครูปูได้รับการ tag ความลับจาก พี่ ศน.อ้วน ค่ะ  คือ พี่ ศน.อ้วน เลือกคนที่ตนเองสนใจมา 5 คน และคนเหล่านั้น จะต้องเขียนเรื่องความลับของตัวเอง 5 ข้อ พร้อมทั้ง tag ต่ออีกคนละ 5 คนค่ะ
  • ด้วยความเคารพรักค่ะ ถึงอาจจะไม่ค่อยมีเวลาได้พบปะเสวนากับท่าน แต่ด้วยความรู้น้อย ด้อยปัญญา จึงขอเรียนเชิญท่านพลเดช ให้เกียรติเยี่ยมชม แผนที่ชีวิตครูปู อันเป็น tag ความลับในชีวิตข้อที่ 1 ค่ะ
  • เพราะครูปูเชื่อว่า ผู้เปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้เช่นท่านพลเดช   อาจมอบข้อแนะนำ เพื่อเติมเต็มชีวิตน้อย ๆ ของครูปูได้ค่ะ
  • จึงเรียนเชิญมาด้วยความรัก และเคารพค่ะ
  • กราบขอบพระคุณค่ะ
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ 
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท