บทสรุป “ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (ตอนที่1)


ทำความดีทันทีไม่ต้องรอและไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครเห็นความดีของเรา ...เราเชื่อว่าคุณภาพที่ดีที่สะท้อนถึงคุณภาพสินค้า บริการ กระบวนการ ความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมนี่ เป็นทางสังคมทั้งนั้น

สรุปผลการดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการการทำงานเชิงรุก

“งานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กร” ครั้งที่ 6

“ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4)

เวทีห้องย่อย Happy workplace

ในประเด็น ุณธรรมนำธุรกิจ: หลักคิดสำคัญขององค์กรแห่งความสุข

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2552 เวลา 12.30-16.30 น.

ณ ห้อง MEETING ROOM 12 ฮอลล์ 9  อิมแพค เมืองทองธานี

ผลของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ครั้งที่ 6 วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมเวที ระหว่างเวลา 12.30 – 16.30 น. ได้ดำเนินกิจกรรมตามการออกแบบเวทีที่เตรียมไว้ โดยในช่วงแรกมีการแนะนำตนเองของผู้เข้าร่วมเวทีพอสังเขป หลังจากนั้นเริ่มด้วยวิทยากรกระบวนการ (อ.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง) ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเวทีนำเสนอสิ่งที่ตนเองหรือองค์กรของตนเองได้มีการดำเนินงานอาจมองไปถึงเรื่องของสุขภาวะองค์กรจากเดิมที่คิดว่าหลายองค์กรอาจจะมีความเข้าใจ รับรู้มาบ้างเกี่ยวกับ happy8 ก็เป็นประเด็นหนึ่งกับบางองค์กรอาจจะทำเรื่องของการสร้างคนดีในองค์กร การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างผลผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมหรือการดูแลสวัสดิการของพนักงาน ความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพนักงาน มีหลายอย่างที่ได้ทำกันมาอยากฟังเรื่องราวดี ๆ อย่างนี้และนำเสนอเป็นข้อเสนอหรือน่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อขยายผล โดยมีตัวแทนจากหลายองค์กรที่ร่วมแบ่งปันในช่วงแรกนี้ที่น่าสนใจดังนี้ 

 

“เริ่มจากน้องที่เป็นผู้จัดการเริ่มศึกษาเรื่อง happy8 ก็เข้ามาร่วมก่อนก็เริ่มเรียนรู้ หลายอย่างที่ทำในองค์กรลองเอามา match กับ happy8 ดูก็ตรงกันหลายอย่าง  การดำเนินการที่สร้างให้พนักงานมีจิตสำนึกเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมในเรื่องของการทำงานหรือการมีส่วนร่วม ทาง รพ. ได้จัดทำเป็นหลักปฏิบัติหลักของเรา 10 ข้อ  เรามี vision ที่จะก้าวไปอย่างไร  เรามีพันธกิจที่ว่าจะมีความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์และการให้บริการ แล้วเราจะทำอย่างไรน่าจะมีอะไรที่ชัดเจนให้กับน้อง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  การบริการที่แตกต่างของเราทำให้ รพ. เป็นที่รู้จักกับลูกค้าและเรื่องการดูแลพนักงาน

อันดับแรกต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับความพึงพอใจเมื่อใช้บริการจากเราเนื่องจากเราทำธุรกิจ  เดี๋ยวนี้เราเป็น hostel ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง hospital กับ hotel เมื่อลูกค้ามีความทุกข์มาส่วนใหญ่ลูกค้าที่ไปโรงแรมมาด้วยความสุขและมาเติมให้สุขยิ่งขึ้น  แต่บทบาทของเราคือทำอย่างไรเมื่อเขามาอยู่กับเราแล้วเขาจะมีความสุขกลับไป  เดี๋ยวนี้เป็นยุคของ hospitel กัน นอกจากดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลแล้วการดูแลเรื่อง customer ก็เป็นหลัก   ารวันนี้ระเทศชาติของเรางออก่เป็นธรรมทำให้ิที่คิดว่าทุกท่านความสุขการที่เราจะทำได้พนักงานก็ต้อง happy จึงไปหัวข้อที่สองในเรื่องของพนักงานคือศูนย์กลางและความก้าวหน้า การบริหารของเราเป็นแบบผสมคือนำหลักของการบริหารโรงพยาบาลจากอเมริกามาใช้ มีผู้บริหารระดับสูงที่เป็นชาวต่างชาติก็ลงมาคลุกคลีกับพนักงานเข้ามามีส่วนร่วม  ทุก 3 เดือนก็จะมี town hall meeting ผู้บริหารพบพนักงาน เราส่งเมล์เชิญเป็น open invitation แบบเปิดใครสนใจก็เข้ามาร่วมงาน โดยจะจัดเป็น 3 รอบ/วัน รับพนักงานไม่ได้หมดเพราะพนักงานเรามี 3,200 คนยังไม่รวมแพทย์ เวทีนี้สำหรับพนักงาน ที่จัดสามรอบเพราะเราทำงานเป็นกะ เพื่อรองรับพนักงานของเรารับพนักงานร่วมได้ประมาณ 1,200 คน  เกิดความใกล้ชิดเพราะเป็นเวทีเปิดจริง ๆ ผู้บริหารมาเล่าให้ฟังว่าสามเดือนทำอะไรไปบ้าง สามเดือนข้างหน้าเราจะทำอะไร เราเจอประเด็นใดบ้าง คนอเมริกันพูดอังกฤษก็แปลไทยให้  session ละชั่วโมงครึ่ง ซึ่ง 1 ชม.เป็นการ one way และอีกครึ่ง ชม.ก็ถามสด  มีการ update project ต่าง ๆ ให้พนักงานรับทราบ สุดท้ายเป็นเรื่องของการติดตาม  การประชุมครั้งที่แล้วพนักงานถามอะไรค้างไว้ไม่สามารถตอบได้ คราวนี้หลายอย่างก็มีการดำเนินการก็นำมาชี้แจงพนักงานทราบ

เราจัดครั้งแรกปี 47 ผู้บริหารเครียดมากเพราะเราเปิด open forum ถามสดให้ถามทุกอย่างและถามแห้งคือให้เขียนคำถามมาก่อนซึ่งมีการถามมาเยอะมาก วันจริงคำถามที่ถาม 80% เป็นคำแนะนำเป็นปัญหาที่เขาเห็นว่าลูกค้าได้รับความลำบากอะไรบ้าง เป็นต้น จึงกลายเป็นโครงการต่อเนื่องมาที่เป็นนวัตกรรมเชิงลึกด้วย  เราอยากให้เขามีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะเห็นความตั้งใจและถาวร  การถามสดคึกคักมากเป็นช่วงเวลาที่พนักงานรอคอย

เรามีกระเป๋าให้ผู้จัดการและในกระเป๋ามีบัตร spot rewards คือคุณทำดีได้ทันใด ทุกสามเดือนเราจะทำเป็นโควตาให้ผู้จัดการ สมมติพนักงาน 100 คนในแผนกเขาจะได้ 20 ใบ  เมื่อเขาเห็นลูกน้องทำความดีชมเชยทันที  ผลที่เกิดขึ้นดีมาก แรก ๆ หัวหน้าเกร็งกลัวว่าให้แล้วเกิดความลำเอียง เรามีเกณฑ์กว้าง ๆ ให้เรื่องการช่วยเหลือคนไข้ เพื่อนฝูง แรก ๆ น้องได้รับแต่ไม่เอามาขึ้นรางวัลคือพนักงานได้รับอันนี้แล้วจะมาแลกเป็นคูปองร้านอาหาร ดูหนัง บัตรรถไฟฟ้า มูลค่า 100 บาท

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ staff recognition เป็นการเชิดชูเกียรติพนักงานซึ่งฝ่าย HR เป็นเจ้าภาพ  มี 100 คะแนนสะสมความดี เป็นโครงการที่จ่ายคืนมันเอง pay back by itself  สิ่งที่เกิดขึ้นเขาก็สร้างคุณภาพบริการที่ดีให้กับคนไข้ เพื่อนฝูง และกลับไปเป็นการตอบแทนในรูปของที่เขาจะยิ่งทำความดีมากขึ้น” 

                                                                              

คุณพิบูลย์ ธาระพุทธิ   

ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

รูปแบบข้างต้นนี้ ถ้าทุกแห่งนำไปใช้และสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวมากขึ้นคนที่ทำความดีจะรับรู้ว่าท่านนี้ทำความดี ให้ทำความดีทันทีไม่ต้องรอและไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครเห็นความดีของเรา

  

สำหรับแนวคิดที่สอง ที่จะให้ความสุขกับคนในองค์กรที่ต้องดูแลบริหารจัดการด้านการเงิน และเรื่องที่รัฐต้องเข้ามาสนับสนุน อาจเป็นตัวขององค์กรเองที่ต้องดูแลเรื่องกองทุนที่จะช่วยในการจัดการด้านนี้ให้มีภูมิคุ้มกันที่จะดูแลตัวเอง ดังตัวอย่างของบริษัท สแปนชั่น (ประเทศไทย)จำกัด นำเสนอโดย

ดร. ปรอง กองทรัพย์โต  

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายคุณภาพ

“เราเชื่อว่าคุณภาพที่ดีที่สะท้อนถึงคุณภาพสินค้า บริการ กระบวนการ ความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมนี่ เป็นทางสังคมทั้งนั้น  เราให้ความสำคัญด้านมิติด้านคนเป็นอย่างมาก  ทุกครั้งที่มาผมได้เทคนิคเล็กน้อยกลับไปทุกครั้ง เช่น  เราอยากจะวัดความสุขของคนในองค์กร ก็ได้คำตอบจากเวทีนี้ว่าไม่ต้องวัด ใช้แบบทดสอบของกรมสุขภาพจิต 15 ข้อคุณก็สามารถวัดความสุขของคนในองค์กรได้ทุกอย่างเพราะความสุขของคนเราไม่ใช่ความสุขเฉพาะจากตัวเราเท่านั้นมันคือความสุขของสังคมที่เขาอยู่ทุกวัน นี่เป็นตัวอย่างที่เราได้ 

            มุมมองที่อยากจะแลกเปลี่ยนโดยส่วนใหญ่แล้วในอดีตที่ผ่านมาบริษัทเราได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นแห่งเอเชียสามครั้ง  แต่ความท้าทายของเราเราพบว่าตอนนี้คือสิ่งที่ท้าทายที่สุด  ในอดีตที่ผ่านมาเราเชื่อโครงการที่สร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับพนักงาน เราเชื่อว่าพนักงานควรมีร่างกายที่แข็งแรง รู้จักที่จะดูแลร่างกายตัวเอง เราเชื่อว่าพนักงานจะมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา  พนักงานต้องมีคุณธรรมที่เราเน้นคือรู้จักให้ ซื่อสัตย์และเห็นใจผู้อื่น ตอนนี้พนักงานลดเหลือ 900 คน เราเชื่อว่าเราจะต้องรู้จักอยู่ในสังคมเป็น มี 4 มิติที่เราเน้น คือ ด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจและสังคม  เราทำในรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ สะท้อนว่าคุณมีพฤติกรรมสอดคล้องกับสิ่งเหล่านี้หรือไม่  สิ่งที่เราพบปลายปีที่แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดนหนักที่สุด  เราพบว่าภูมิคุ้มกันที่ให้ไว้เจอรอบนี้โรคแรงมาก  ตอนนี้เราทำการรักษาและเยียวยา  ภูมิคุ้มกันที่ผ่านมาบางส่วนช่วยได้ บางส่วนต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาและเยียวยา  ข้อแตกต่างของรักษาและเยียวยาคือ เยียวยาคุณทำอะไรมากไม่ได้ก็รับฟัง ให้กำลังใจ แต่รักษาเราจะเห็นตัวสะท้อนใน happy8 คือเรื่องการเงิน

            น้องในสายผลิตส่วนใหญ่มีปัญหานี้ มีคนนึงมีบัตรเครดิต 15 ใบ  มีหนี้สินบัตรเครดิตประมาณ 4 แสน  รายได้ไม่ถึงหมื่นต่อเดือนเข้าสู่หนี้นอกระบบต่าง ๆ เรามีโครงการ ชีวิตใหม่ หมายความว่าน้องต้องยอมรับก่อนว่าน้องมีหนี้ก็มาลงทะเบียนบอกเลยว่ามีหนี้เท่าใด  เราก็อบรมเรื่องบัญชีครัวเรือน การใช้เงิน วิธีการดำเนินชีวิตที่ดำเนินอย่างพอเพียง  แล้วเราปรับหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ในระบบบัตรเครดิตอยู่ที่ 8  หนี้นอกระบบอยู่ที่ 10 ต่อเดือน ถ้าเราปรับเข้ามาในระบบก็อยู่ที่ 8 ต่อปีได้ และให้ทำบัญชีครัวเรือนขอตรวจทุก 3 เดือน นี่คือภูมิคุ้มกัน  หลายอันผมก็ต่อยอดมาจากที่นี่

            อยากแชร์ไอเดียอันนึงในแง่ของสมัชชา ผมสงสัยมาตลอดภาวะทางการเงินเราวัดสิ่งของต่าง ๆ ว่าค่าเสื่อมราคา ทุกคนคุ้นเคยกันดี  แล้วคนล่ะคนถูกมองว่าเป็น expense แต่ถ้าคนเราปฏิบัติได้ตามครรลองของสังคมจริง ๆ แล้วควรเป็น appreciation  เราเชื่อว่าการแก้ปัญหาโดยกลุ่มคนจะทำได้ดี ผมเชื่อว่าทุก ๆ โรงงาน  กองทุนต่าง ๆ ที่เราลงมาทำให้ภาคเอกชน ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ให้ได้โดยการเป็น networking เช่น บริษัทผมอาจจะร่วมกับคนนนทบุรี เป็นต้น  ขอฝากเป็นประเด็น”

 

โปรดติดตามต่อไป

หมายเลขบันทึก: 293850เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท