+ข้อคิดในการประเมินคุณภาพอาชีวศึกษา


การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาอาชีวศึกษา

  

จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา จัดโดยสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ได้ฟังการบรรยายพิเศษจาก ดร.พรหมสวัสดิ์  ทิพย์คงคา เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา ณ ขณะนั้น ให้ข้อคิดในการประเมินคุณภาพ  ซึ่งผู้เขียนได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้

 

 

Photobucket
นักศึกษาองค์การฯ จังหวัดพิจิตร

 

การประเมินเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน ทำคนเดียวไม่ได้ และให้คิดว่า เรื่องการประเมินเป็นเรื่องปกติที่จะต้องทำ แต่ก่อนการทำงานในสถานศึกษา ไม่ต้องมีตัวชี้วัด แค่ดูว่า จำนวนผู้เรียนเข้ามาและจบ โดยไม่ต้องมีอะไรมาเป็นตัวประกอบ แต่ในปัจจุบันการทำงานต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วยวัด ต้องมีการนำทฤษฎีช่วยในการประเมิน เช่น  หลักการ PDCA เป็นต้น สถานศึกษาของอาชีวศึกษาบางแห่งที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกนั้น มีปัจจัยหลายอย่างเช่น  ไม่มีข้อมูลให้คณะกรรมการภายนอกประเมิน  ความสามัคคีที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา  กระบวนการทำงานยังติดขัดอยู่ ดังนั้น SAR ของสถานศึกษาผู้บริหารต้องยึดเป็นคัมภีร์ในการปฏิบัติงานว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ดังนั้นต้อง  “ทำเสียก่อนก่อนที่เขาจะมาประเมินเรา” “ให้ประเมินในสิ่งที่ทำ” และ “ทำตามข้อสอบที่เขากำหนด”


การถูกประเมินนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผ่าน แต่ไม่ได้ทำเพื่อพัฒนาหรือเป็นการ Make  จะต้องสร้างจิตสำนึกในกับทุกคนในสถานศึกษา หลายงานของ สอศ. บางครั้งในระยะแรกก็ได้รับความสนใจ แต่หลังจากนั้นก็ทิ้งหรือวาง ทำไม่ต่อเนื่อง เช่น กรณี ISO เป็นต้น อีกเรื่องคือ การทำเพื่อให้ผ่าน โดยไม่ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่


การประกันคุณภาพไม่มีระบบงานที่เชื่อถือกัน ตัวอย่างได้แก่  การนิเทศภายในไม่สามารถเกิดขึ้นในสถานศึกษา ระบบ Supervisor  ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่ได้มีการติดตาม หรือเข้าใจว่า การนิเทศเป็นการมานั่งคอยจับผิดการสอน ไม่ได้คิดว่าเป็นการวางหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดเพื่อให้มีคนอื่นมาดูหรือสังเกต  บางเรื่องยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดตามได้ เช่น การให้หัวหน้าห้องตรวจสอบเพื่อลงลายมือชื่อของผู้สอน  การให้นักการภารโรงมาให้ผู้สอนเซ็นชื่อในชั่วโมงที่สอนตามรายห้องเรียน

 

ผลของการประเมินไม่ได้นำมาปรับปรุง  การทำงานต้องไม่มีจุดสุดท้ายควรจะมีอะไรใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ  และ 5 ขั้นตอนการทำงานของสถานศึกษา ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้เริ่มตั้งแต่วางแผน  ลงมือทำ  มีคนนิเทศติดตาม ประเมินนำเอาผลนั้นมาปรับปรุง  ใส่นวัตกรรมเข้าไป ทำซ้ำ ๆ หลายทีสงสัยก็นำไปวิจัย


จากแนวทางที่อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ให้ไว้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมฯ นั้น ต้องยอมรับว่า เป็นแนวทางที่ผู้บริหารท่านนี้คร่ำหวอดและเข้าใจวัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติหลาย ๆ อย่างของอาชีวศึกษาอย่างถ่องแท้   ทุกข้อของแนวทางหากผู้ทำงานประกันคุณภาพ นั้นคือ ทุกคนในสถานศึกษา จะให้สำเร็จได้นั้น ก็ต้องย้อนกลับไปยังคำพูดเดิมของอดีตเลขาธิการฯ นั้นคือ  “ทำเสียก่อนก่อนที่เขาจะมาประเมินเรา”  “ให้ประเมินในสิ่งที่ทำ” และ “ทำตามข้อสอบที่เขากำหนด”

 

นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์  ศึกษานิเทศก์   เขียนวันที่ 15  มิถุนายน  2553
จากการเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
วันที่ 25-26  พฤษภาคม  2553  โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

หมายเลขบันทึก: 366710เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วย เมื่อมีการประเมินต้องนำผลการประเมินมาปรบปรุง ผู้บริหารต้องมองลึก นึกไกล ใจกว้าง อย่าประเมินเพื่อให้ผ่าน หรือทำแบบผักชีโรยหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท