+มาตรฐาน ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกอาชีวศึกษา รอบที่ 3


มาตรฐาน ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกอาชีวศึกษา รอบที่ 3

 

จากการเข้าร่วมสัมมนาในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้รับฟังเรื่องที่น่าสนใจจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) นายสนอง  อิ่มเอม อดีตผู้บริหารของ สอศ. ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบร่วมกับ สมศ. ท่านได้ให้ความรู้และเสนอแนะแนวทางที่หลายหลายเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษา สำหรับมาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกด้านอาชีวศึกษาใหม่ ซึ่งสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

 

 

Photobucket

บอร์ดและนิทรรศการ 3D วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี

 

 

*มาตรฐานผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษา  มีตัวบ่งชี้ 3 ตัวได้แก่เรื่อง การทำสิ่งประดิษฐ์แล้วเอาไปใช้ในชุมชน ย้อนหลัง 3 ปี สอบผ่านข้อสอบทางวิชาการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ (วี-เน็ต)  ซึ่งจะดูคุณภาพเป็นหลักนั้นคือ 1. มีคุณธรรมจริยธรรม  2. ทักษะการสื่อสาร เทคโนโลยีในด้านภาษา สื่อสารทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 3. มีสมรรถนะตามอาชีพตามสาขาวิชา หากมีสถาบันคุณวุฒิก็จะใช้สถาบันนี้มาจับประเด็นนี้ด้วย  ผู้สำเร็จการศึกษาได้งานทำภายใน 1 ปี รอบนี้ถ้า ปวช. ไปศึกษาต่อ ปวส. นับรวมด้วย แต่ถ้าไปศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรีไม่นับให้  น้ำหนักของมาตรฐานนี้มีถึง 50 เปอร์เซ็นต์

 

 

*มาตรฐานวิจัย นวัตกรรมทางวิชาชีพ ต้องเป็นผลงานในลักษณะ R and D (Research and Develop) เช่น ทำผลงาน คศ. 3 มีรายงานผลการใช้ และจะต้องระบุชัดเจนว่า ได้รับการเผยแพร่ คือ เอกสารนั้นได้รับการพิมพ์เผยแพร่ อาจจะต้องมีหลักฐานไว้ให้ดูด้วย

 

*มาตรฐานบริการวิชาการและวิชาชีพ ต้องมีการออกบริการและส่งเสริมการเรียนรู้ มีศูนย์วิทยบริการ เช่น มีหนังสือตำราเรียน วารสารทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (hardware)  รวมถึงร้อยละบริการธุรกิจที่เกิดจากการบริการ

 

*มาตรฐานที่เกี่ยวข้องตามลักษณะของสถานศึกษา มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมศิลปะประเพณีที่ดีงาม พร้อมกับเรื่องการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา เช่น โรงเรียนสีขาว  ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม

 

*มาตรฐานการบริหารและการพัฒนา ดูที่ผู้สอนได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาหลักสูตร

 

*มาตรฐานการประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน ต้องเป็นการพัฒนา ตรวจสอบ มีการปรับปรุงหรือไม่ และข้อมูลจะต้องทันสมัยถูกต้องน่าเชื่อถือ

 

การตรวจรอบสามนี้ จะมี 2 ระดับคือ  รับรอง  กับ ไม่รับรอง และมาตรฐานนี้ยังไม่นิ่งต้องมีการปรับปรุงแต่คงจะไม่ได้แตกต่างจากนี้เท่าไรนัก

 

การสรุปการบรรยายนี้ เป็นการสรุปแบบย่อความ เนื่องจากวิทยากร ใช้วิธีบรรยายในลักษณะเล่าเรื่อง ผู้เขียนอาจจะตกหล่นในรายละเอียดสำคัญ หากมีข้อความใดผิดพลาดหรือขาดรายละเอียดที่สำคัญก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย...

 

 

นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์  ศึกษานิเทศก์   เขียนวันที่ 16 มิถุนายน  2553
จากการเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
วันที่ 25-26  พฤษภาคม  2553  โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

หมายเลขบันทึก: 366844เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ขออนุญาตออกความเห็นอย่างนี้นะครับ

ผลจากการประเมินรอบ 2 ที่ผ่านมาน่าจะมาเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 อย่างจริงจัง ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ที่ใช้เงิน SP2 ในการพัฒนาอย่างมากมายกันอยู่ในปัจจุบัน แต่การพัฒนาหรือใช้งบประมาณยังน่าจะตอบโจทย์ ที่จะพัฒนาโรงเรียนที่ตำกว่ามาตรฐานหรือต่ำกวาเกณฑ์ว่าจะเร่งพัฒนาปรับปรุงกันอย่างไร ให้สถานศึกษามีคุณภาพใกล้เคียงกันทุกระดับ จะพัฒนาครูอย่างไร พัฒนาโรงเรียนอย่างไร ให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติอันพึงประสงค์แต่แต่ละระดับอย่างแท้จริง ความแตกต่างในการพัฒนาสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับจะดำเนินอย่างไร น่าจะนำผลการประเมินรอบ 2 มาคุยและพัฒนากันเป็กลุ่มๆ จนสามารถขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศไปพร้อมๆกันได้

การประเมินคุณภาพภายนอกของอาชีวศึกษา ในรอบที่ 3

ประเด็นแรก คงต้องปรับตามบริบทของโรงเรียน คือ อาชีวศึกษาที่สังกัด สช. กับ สอศ. ยังมีความแตกต่างกันในการพัฒนาสถานศึกษา ครู และผู้เรียน อีกทั้งความยากง่ายในการจัดการศึกษาทวิภาคี ที่อาชีวของรัฐดำเนินการง่ายกว่าเอกชน ทั้งที่ พรบ.หรือข้อกำหนดแกนกลางให้รัฐและเอกชน ขับเคลื่อนการศึกษาร่วมกันในการพัฒนาประเทศ แต่ในความเป็นจริงยังแตกต่างกันมาก

ประเด็นที่ สอง มาตรฐานของผู้ประเมิน การข้อเสนอแนะ การลงพื้นที่ตรวจของผู้ประเมินและผู้ประเมินอภิมาน ไม่แน่ในว่าน้ำหนักคะแนนเป็นเช่นไร ควรสมดุลหรือต่างกัน จึงอยากให้มาตรฐานของผู้ประเมินทั้ง 2 ส่วน มีมาตรฐานที่ชัดเจนเหมือนกันทุกท่าน ถึงแม้กรรมการตรวจคนละกลุ่มขอให้มาตรฐานเหมือนกัน บางโรงเรียนมีทุกอย่าง ทำทุกอย่าง มากกว่าเกณฑ์ แต่เอกสารไม่ดี ก็จะได้รับคะแนนน้อยกว่าโรงเรียนที่เอกสารดี แต่ไม่ค่อยงานมีอะไร( Make doc.) จะเห็นได้จากเพื่อโรงเรียนด้วยกัน ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. แต่มียอดนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี ได้รับการยอมรับจากชุมชน สังคม กับโรงเรียนที่ผ่าน นักเรียนเข้าใหม่น้อยลงทุกปี แต่ก็ผ่าน ก็เป็นที่น่าสังเกต

ประเด็นที่สาม สำหรับมาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกด้านอาชีวศึกษาใหม่ เข้าใจว่าตอนนี้ฉบับร่าง น่าจะเป็นฉบับจริงเลย ก็เป็นห่วงประเด็น ของ V-Net การเตรียมตัวของโรงเรียน อาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน ยังไม่พร้อมเท่าที่ควรหรือแม้แต่ สทศ.ก็ยังให้แนวไม่ชัดเจน สอศ.ดำเนิการส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมรองรับแล้ว แต่ สช.ที่ดูแลเอกชน ยังนิ่งๆ โรงเรียนก็ยังไม่พร้อมถ้าวัดกันจริงๆ คงลำบาก ส่วนของสมรรถนะอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษาทั่วประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งรัฐและเอกชนหรือยัง สอศ.พัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่สช. 3 ปีที่ผ่านมาอาชีวศึกษาเอกชนศึกษากันเองแล้วแต่โรงเรียนจะมีกำลังในการพัฒนามากน้อยต่างกันไกลมาก เช่นกันกับ R&D ครูยังต้องได้รับการพัฒนาด้านการวิจัยให้หลากหลายและมีเวทีให้นำเสนออย่างเพียงพอที่จะสนับสนุนให้ครูทำวิจัยและนวัตกรรมอย่างจริงจัง ส่วนการประเมินอื่นสถานศึกษาส่วนใหญ่พร้อมรับการประเมินด้วยความตั้งใจและพยายามพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพอยู่แล้ว...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท