*หลักสูตรและตำราอาชีวศึกษา


หลักสูตรอาชีวศึกษาและตำราอาชีวศึกษา

(เรื่อง : นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์*  วันที่ 25 เมษายน  2554)

 

หลักสูตรของอาชีวศึกษา ณ วันนี้ ยังเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2546  มีระยะเวลาของการใช้หลักสูตรเกือบ 10 ปี  ซึ่งก็มีบางหลักสูตรที่เพิ่มเติมอีกหลายสาขาวิชา สาขางานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและท้องถิ่นนั้น ๆ 

 

สำหรับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่พูดคุยกันในวงกว้างจะด้วยเป็นคำที่มาพร้อมกับพรบ.การศึกษา การประกันคุณภาพภายในของสอศ.  และประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (ผู้เขียน)  ก็คงยังใช้ฐานของหลักสูตรเดิมที่มีอยู่  แล้วใช้วิธีการจัดการเพื่อจะให้ได้สมรรถนะของอาชีพ มาด้วยวิธีการที่หลากหลายของแต่ละสถานศึกษา จากนั้นก็นำมาปรับเข้ากับแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน

 

เผอิญว่า ได้ไปพูดคุยกับกลุ่มอาชีพอื่นซึ่งกำลังสนใจจะเข้ามาจัดการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษา แล้วหนึ่งในนั้นก็วิจารณ์หลักสูตรอาชีวศึกษาว่า ล้าสมัยมาก ขณะพูดคุยกันนั้นก็ได้สอบถามที่เห็นว่า ล้าสมัยนั้นคืออย่างไร ซึ่งเราก็อยู่ในฐานะหนึ่งในนั้นได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา จะได้รู้และหากได้มีโอกาสร่วมพัฒนาหลักสูตรในครั้งต่อไป  จะได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวให้กับคณะกรรมการด้วย

 

คำตอบได้รับคือ ตัวแทนของกลุ่มอาชีพก็นำตำราเล่มหนึ่ง จากสำนักพิมพ์หนึ่ง หากเอ่ยชื่อขึ้นมา เข้าใจว่าทุกคนก็ต้องร้องอ๋อ จากนั้นก็เปิดแต่ละหน้าแต่ละบทของตำราเล่มดังกล่าวให้ดูและอ่านให้ฟัง ฟังแล้วก็เห็นพ้องต้องกันว่า  มันล้าสมัยจริง ๆ  


จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ เราไม่ตำหนิหรือกล่าวว่า ไม่ถูกต้องแต่ประการใด  เนื่องจากกลุ่มอาชีพอื่นไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องด้านการศึกษาและเขาก็ออกตัวไว้ว่า เขาไม่เข้าใจหลักสูตรเช่นกัน แต่หันกลับมามองที่ ผู้สอนหรือฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาแห่งนั้น จะเข้าใจไปในทำนองเดียวกันตัวแทนของกลุ่มอาชีพหรือไม่ว่า หลักสูตรกับตำราเป็นเรื่องเดียวกันเหมือนกรณีนี้

การสอนอาชีวศึกษา เป็นการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติจากหลักทฤษฎี การยึดตำราเพียงหนึ่งเล่ม โดยตำรานั้นจะได้มาด้วยโครงการตำราเรียนฟรีหรือวิธีการอื่นใดก็ตาม  จึงเห็นว่า ไม่น่าจะสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของอาชีวศึกษา  ก็พยายามคิดในแง่บวกคือ หากตำราเล่มดังกล่าวมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอก็ยอมรับได้ในระดับหนึ่ง

 

หลักสูตรของอาชีวศึกษา  ส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งคือ รายวิชา ซึ่งหน้าตาประมาณนี้ ตัวอย่างเช่น 

การจัดเก็บเอกสาร
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1.  มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสาร
2.  มีทักษะในการเก็บเอกสารและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3.  มีเจตคติที่ดีต่องานจัดเก็บเอกสาร
มาตรฐานรายวิชา
1.  บอกระบบการจัดเก็บเอกสาร
2.  เก็บเอกสารและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บเอกสาร  คุณสมบัติผู้จัดเก็บ  วัสดุอุปกรณ์  การจัดดัชนี ระบบการจัดเก็บ  การจำแนกเอกสาร  การยืม  การค้น การโอนและการทำงาน

 

จะประกอบด้วยจุดประสงค์รายวิชา  มาตรฐานรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา จากตรงนี้ผู้สอนจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหารายวิชาเพื่อจะทำอย่างไรเมื่อจัดการเรียนการสอนไปแล้วจะต้องเป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชาที่กำหนดไว้


ยกตัวอย่างเช่นวิเคราะห์เนื้อหาจากคำอธิบายรายวิชาเพียงหัวข้อเดียวเรื่อง    วัสดุอุปกรณ์   ถ้ายึดตำราที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้เฉพาะเรื่อง วัสดุ   ก็จะมีรายละเอียดของแฟ้ม กล่องดัชนี บัตรดัชนี ที่เย็บกระดาษ คลิปกระดาษ ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น ทั้ง ๆ ในปัจจุบันวัสดุในการเก็บเอกสารอย่างอื่น เช่น  Thump drive,  Handy drive,  Flash drive   แล้วกล่องดัชนี ยังมีความจำเป็นแค่ไหน สำหรับยุคปัจจุบัน อย่างนี้เป็นต้น


หลักสูตรกับตำรา อาจจะไม่ไปในทิศทางเดียวกัน หากตำรานั้น ไม่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือผู้สอนและฝ่ายวิชาการจะต้องใส่ใจกับ  หลักสูตร  ซึ่งการนิเทศติดตาม การอบรมและพัฒนาผู้สอนจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง  บางครั้งผู้สอนทั้ง ๆ รู้ถึงขั้นตอนและวิธีการแล้วก็ตาม  ก็ยังติดยึดกับตำราเพียงเล่มเดียว ยังขาดการค้นคว้าหาความรู้ซึ่งปัจจุบันเข้าถึงแหล่งค้นคว้าน่าเชื่อถือได้ง่ายกว่าแต่ก่อนโน้น


ดังนั้น  การอ้างเสมอว่า  หลักสูตรล้าสมัย บางส่วนก็มีเป็นความจริงซึ่งจะต้องยอมรับกัน   แต่บางส่วนอาจจะตำหนิหลักสูตรทั้ง ๆ ที่กรอบของจุดประสงค์  มาตรฐานและคำอธิบาย สามารถวิเคราะห์รายละเอียดให้ครอบคลุมได้  ยังไม่นับรวมถึงการจัดการเรียนการสอน  วิธีสอน สื่อการสอน  การประเมินผล ที่ผู้สอนจะล้าสมัยอีกหรือไม่   ความทันสมัยคงไม่ได้หมายความเฉพาะอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้แต่เพียงอย่างเดียว  แต่หากสิ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ได้นำมาพิจารณาประกอบและดำเนินการเลย ก็ควรจะต้องยอมรับตามที่กลุ่มอาชีพเขาบอกนั้นแหละว่า ล้าสมัยจริง ๆ 


อ้างอิง :
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ประเภทวิชาพาณิชยกรรม  พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546)

 

*นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์  ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 25 เมษายน  2554
เขียนจากประสบการณ์ได้พูดคุยกับกลุ่มอาชีพวันที่ 20 เมษายน 2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต้นสังกัด 
การนำข้อความหรือรูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
อีเมลผู้เขียน  [email protected]

หมายเลขบันทึก: 436941เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เป็นผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน ก่อนดำเนินการต้องวิเคราะห์หลักสูตรก่อน และจะหาความรู้จากหลายแหล่ง จึงมีความเห็นเหมือนสถานประกอบการ

การจัดการเรียนการสอนของครูปัจจุบันจึงควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ต้องเพิ่มความขยันอีกมากๆ อย่ายึดตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง

ปัญหาของครูด้านหนึ่งก็คือเรื่องของเวลา Loadสอนมาก งานนโยบาย งานจรเยอะ เป็นไปได้ไหมที่จะมาสนใจวิเคราะห์งานครูอย่างจริงจังสักที

เห็นด้วยกับครูป้อม....ที่ได้กล่าวมา

การทำหลักสูตรในงวดต่อไป ถ้าได้ผู้ที่มีความทันสมัย วิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้ในการจัดทำ มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมคงจะดี

หลักสูตรล้าสมัยในสถานศึกษาสังกัดสอศ (จริง) ไม่อยากแสดงความคิดเห็นต่อค่ะ  ต้องให้สมศ ลงมาตรวจประเมิน และสอบถามผู้เรียนทุกคนตัวต่อตัวจะดีกว่า 

ถูกใจมากเลยสำหรับบทความนี้ เพราะบางกลุ่มอาชีพไม่เคยไปอบรม ประชุมสัมมนา และยิ่งกว่านั้นยังไม่ใช้สื่อ Internet ให้เกิดประโยชน์ ในการค้นคว้า ดูแต่เอกสารหรือตำราฟรี และไม่คิดที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม ผลก็จะเกิดกับนักเรียน นักศึกษา

หลักสูตรของอาชีวศึกษาก็เป็นเหมือนที่ครูป้อมเขียนค่ะ ตามที่พี่ได้ปรึกษาไปหลายครั้งแล้ว

ในเรื่องวิชาซึ่งความเป็นจริงนักเรียน นักศึกษาต้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นับประสาอะไรกับนักเรียน

พี่ทำงาน 25 ปีแล้ว ไม่เคยได้ไปอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพเลขาแม้แต่ครั้งเดียว

พูดถึงหลักสูตรอาชีวศึกษา ก็ใช้มานานแล้วจริง ๆ ค่ะ ถ้าหากว่าได้มีการปรับเปลี่ยนบ้างก็คงดี

ถึงแม้ว่าวิธีการสอนของครูผุ้สอนจะมีการพัฒนาขึ้น เหมือนที่พี่ป้อมว่า การสอนของครูก็มีการให้

นักเรียนได้จัดเก็บเอกสารโดยวิธีที่ทันสมัย แต่หนังสือที่ใช้อยู่ยังล้าสมัยก็เป็นส่วนที่ทำให้มันดู

ล้าสมัยได้จริง ๆ ค่ะ เช่นกันกับวิชาเครื่องใช้สำนักงานที่สังเกตได้ว่าหนังสือยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ

เครื่องอัดสำเนาแบบธรรมดา อยู่ควรมีการปรับเปลี่ยนที่เหมาะสมตามยุคสมัยด้วย แต่ก็เข้าใจ

อยู่ว่าครูผุ้สอนส่วนใหญ่ก็พัฒนาการสอนของตนตามยุคสมัย แต่ไม่ได้แจ้งให้ใคร ๆ ได้ทราบ

แค่นั้นเองค่ะ

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหากับอาชีวศึกษามากเหมือนกันเกี่ยวกับแผนกเลขานุการในตอนนี้คือ

ในภาคใต้ เมื่อเอ่ยชื่อว่า แผนกเลขานุการ จะไม่ค่อยมีนักเรียน หรือผู้ปกครองไม่ค่อยสนับสนุน

ให้เข้าเรียนเท่าไหร่เลย ถ้ามีการปรับเปลี่ยนได้คงจะดีค่ะ ขอบคุณมากที่ให้ข้อมูลนะค่ะ

ที่ว่าล้าสมัย มีความคิดเห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากผู้สอนที่ยึดติดกับรายวิชาที่สอนด้วย บางคนสอนแต่วิชาเดิม ทั้งยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน รวมถึงลักษณะของรายวิชาที่คล้าย ๆ กัน ทำให้เด็กมองภาพรวมของสาขาวิชาว่าน่าเบื่อ จึงเลือกที่จะเรียนสาขาวิชาอื่น

เราน่าจะได้พบปะร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการสัมมนาในแผนกวิชาชีพ เพื่อเพิ่มมุมมองบ้างนะ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา

ไม่มีกิจกรรมในการพัฒนาเกี่ยวกับวิชาชีพเลขานุการเลย และเห็นว่าไม่ควรจะจำกัดว่าจะต้องเป็นสถานศึกษาที่เปิดแผนกเลขานุการ

เพราะก็ยังคงมีคุณครูในสายเลขานุการที่ต้องการทราบความเคลื่อนไหวของวิชาชีพตนเอง ส่วนหลักสูตรก็น่าจะได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพราะมันก็ล้าสมัยจริง ๆ แม้ว่าจะได้พัฒนาปรับปรุงการสอนของตนเองให้ทันสมัยอย่างไรก็ตาม แต่ตัวหลักสูตรมันก็เป็นหลักฐานที่ยังไม่ได้ปรับปรุงตามสมัยแต่อย่างใด

สาเหตุของหลักสูตรสาขาเราไม่ค่อยมีการพัฒนาเนื่องจากเอาคนเก่า ๆ ไปจัดทำหลักสูตรแล้วไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง เสนออะไรมาก็ว่าตามกันไป เลยทำให้การจัดการเรียนการสอนในยุคเก่ากับปัจจุบันจึงไม่เกิดความแตกต่าง เหมือนที่ป้อมยกตัวอย่างเรื่อง วัสดุอุปกรณ์สำนักงานนั้นแหละ และอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของการแข่งขันทักษะย้อนกลับไปแข่งขันพิมพ์ดีดธรรมดา ซึ่งมัีนบ่งบอกถึงความล้าสมัยอย่างเห็นได้ชัดเจน

หลักสูตรล้าสมัยนั่นเป็นเรื่องที่เราอาจจะแก้ไขไม่ได้ตอนนี้ แต่เห็นว่าคำอธิบายรายวิชา มาตรฐานรายวิชา และจุดประสงค์รายวิชาเป็นสิ่งที่ครูต้องศึกษา และสามารถนำความทันสมัยมาใช้เสริมในการเรียนการสอนได้ เพราะฉะนั้น ในความคิดเห็น หากหลักสูตรล้าสมัย ครูสามารถนำความทันสมัยมาให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา อยู่ที่ครูใส่ใจมากน้อยเพียงใด ครูสืบค้นความทันสมัยในวิชาชีพเลขานุการมาให้ผู้เรียนมากน้อยเพียงใด มีบทความและสาระการเรียนรู้ในวิชาชีพเลขานุการมากมายที่สามารถทำให้เด็กเรามีความทันสมัยได้ ดิฉันคิดว่าอยู่ที่ครูมากกว่าหลักสูตร ครูบางคนล้าสมัยมาก แม้แต่ความคิดยังล้าสมัย เห็นผู้เรียนทำชิ้นงานชิ้นหนึ่งคือการประดิษฐ์รูปภาพด้วยเครื่องพิมพ์ดีด สมัยก่อนเมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว เคยเรียนในวิชาพิมพ์ดีดประยุกต์สมัยปวช. สมัยนี้ครูยังเอามาให้เด็กเรียนอีก มองมุมหนึ่งอาจเป็นนวัตกรรม แต่ในความเห็นของดิฉันแล้ว มันล้าสมัยมาก นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของครูประเภทล้าสมัย เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า ในการเชิญครูเข้าร่วมการพัฒนาหลักสูตรส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ใช้ครูคนเดิม ๆ หากใช้ครูคนเดิม ๆ ความคิดก็เดิม ๆ แล้วจะไปเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร สมัยนี้ต้องคิดใหม่ ทำใหม่แล้วค่ะ ลองเชิญครูใหม่ ๆ ไปร่วมทำหลักสูตรบ้างนะค่ะ (ครูที่ไปไม่น่าจะเป็นหัวหน้าแผนกนะค่ะ เพราะก็เป็นคนเดิม ๆ อีกเช่นกัน) คิดว่า สาขาวิชาการเลขานุการคงต้องมีการสัมมนาครูกันบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ขอบคุณค่ะที่ให้โอกาสได้แสดงความคิดเห็น

อ่านบทความของป้อมแล้ว พี่ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับคุณบุปผา หลักสูตรนั้นใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน แต่การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นกับองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนด้วยกัน และเราคงจะต้องช่วยกันพัฒนาอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง ไม่ใช่ที่หลักสูตรอย่างเดียว

ตำราผลิตไม่ทันกับเทคโนโลยีสำนักงานเท่าไร และตำราที่จะซื้อเรียนฟรีก็ไม่อยู่ในรายชื่อสำนักงพิมพ์ที่จัดมาให้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ผู้สอนก็หาสื่อของจริงและสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เศรษฐกิจพอเพียงโดยเรียนทางสื่อออนไลน์ให้นักเรียนเรียนไปพร้อมกับครู

ขอบคุณค่ะ เรื่องหลักสูตรเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันพัฒนา และมีการจัดสัมมนาครูเลขานุการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเลขานุการของสถานประกอบการบ้าง เพื่อนำข้อมุลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรค่ะ

เรียน ครูป้อมคนขยัน

อ่านเรื่องที่ครูป้อมเขียนแล้ว สะท้อนการจัดการศึกษาของอาชีวเป็นอย่างมาก จริงดังที่กล่าว แต่อย่างไรก็ตามหลักสูตรก็ต้องเป็นไปตามหลักสูตร ผมเห็นต่างครับ ว่าครูต้องพัฒนาด้วย ดังตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ที่ครูป้อมกล่าวถึง ต้องอัฟอยู่ตลอดเวลาแล้วเวลาสอนต้องก้าวทันเทคโนโลยีด้วย อีกอย่างครับสถานประกอบการปัจจุบันมีระบบที่ทันสมัยมาก ถ้าจะกล่าวถึงระบบการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เลขาฯ ก็ควรต้องรู้นะครับเพราะเป็นเทคโนโลยี เป็นกระบวนการจัดการที่ทันต่อสถานการณ์มากตีกรอบให้เข้ามาในสำนักงานให้สาว ๆ เลขาฯ ฟังผมว่าไม่ตกยุคแน่ ๆ

ครูอ๊อด

อ่านความคิดเห็นของอาจารย์หลาย ๆ ท่านเพิ่มเติมแล้ววันนี้ก็เลยต้องเข้ามาชี้แจ้งเพิ่มเติม ในส่วนของการอบรมและพัฒนาครูอาจารย์อาชีวศึกษา หลังจากที่การปฏิรูปการศึกษา สอศ. ก็ได้มีการกำหนดภารกิจหน้าที่ของแต่ละสำนักอย่างชัดเจน ในส่วนของการพัฒนาครูอาจารย์เป็นหน้าที่ของสำนักพัฒนาสมรรถนะครู ซึ่งงบประมาณทั้งหมดจะตกอยู่ที่สำนักนี้ แต่ในทางปฏิบัติเขาจะมุ่งแต่เรื่องของอุตสาหกรรม และ IT ไม่ได้จัดการอบรมให้ครอบคลุมทุกประเภทวิชาที่เปิดสอนในสอศ. ซึ่งพี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าอาชีวเราทำไมถึงเป็นอย่างนี้ (มันมีอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือเปล่า) แต่พี่ก็จะพยายามประสานให้อีกในเรื่องของการสัมมนาครูเลขา

อ่านความคิดเห็นของอาจารย์หลาย ๆ ท่านเพิ่มเติมแล้ววันนี้ก็เลยต้องเข้ามาชี้แจ้งเพิ่มเติม ในส่วนของการอบรมและพัฒนาครูอาจารย์อาชีวศึกษา หลังจากที่การปฏิรูปการศึกษา สอศ. ก็ได้มีการกำหนดภารกิจหน้าที่ของแต่ละสำนักอย่างชัดเจน ในส่วนของการพัฒนาครูอาจารย์เป็นหน้าที่ของสำนักพัฒนาสมรรถนะครู ซึ่งงบประมาณทั้งหมดจะตกอยู่ที่สำนักนี้ แต่ในทางปฏิบัติเขาจะมุ่งแต่เรื่องของอุตสาหกรรม และ IT ไม่ได้จัดการอบรมให้ครอบคลุมทุกประเภทวิชาที่เปิดสอนในสอศ. ซึ่งพี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าอาชีวเราทำไมถึงเป็นอย่างนี้ (มันมีอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือเปล่า) แต่พี่ก็จะพยายามประสานให้อีกในเรื่องของการสัมมนาครูเลขา

ขอสนับสนุนครูบุปผา ในเรื่องแนวการสอนที่ครูสามารถเพิ่มเติมได้ และ ขอสนับสนุนครูกุ้งที่จะให้ครูเลขามาพบปก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้มีการสัมมนาในแผนกวิชาชีพบ้าง รวมถึงกรณีที่มีการจัดทำเครื่องมือ หรือหลักสูตรต่างด้านเลขานุการ ให้เสนอ น้องใหม่บ้าง เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ในยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบ้าง ก็จะดี ที่สำคัญ ขอให้กำลังใจครูป้อมมาก ๆ ที่มีเลือดเลขานุการเต็มตัว และคอยเป็นผู้ประสานงานกลางให้เราชาวเลขานุการมีโอกาสทราบข่าวสาร ทำต่อไปน๊ะค๊ะ สู้ ๆ ๆ

สิ่งที่ สอศ. ควรต้องรีบทำคือ

1. รื้อระบบวิ่งเต้นตำแหน่ง

2. สรรหาคนดี คนเก่งมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา

3. จัดแข่งขันทักษะฝีมือ ของ นศ.ในทุกสาขา(เหมือนในอดีต)

4. พัฒนาวิทยาลัยการอาชีพ ให้เป็นคำตอบของชุมชน ท้องถิ่น

5. พัฒนาครูให้ทันกับเทคโนโลยีในสาขาที่สอน

**** เห้นด้วยกับทุกอาจารย์ ในการพัฒนาครูให้ทันกับเทคโนโลยี่ พัฒนาตำรา

- แต่จะเห้นว่า ในส่วนการศึกษาของอาชีวะศึกษา ระดับ ปวส.ในระดับนี้จะเห้นว่าครูจำเป้็นต้องเน้นการให้การศึกษาด้วยวิธี เน้นทฤษฎี และทฤษฎีปฏิบัติมากกว่าการปฏิบัติจริงใน ชม.การฝึก

- สาเหตุหนึ่งและเป็นสาเหตุที่สำคัญ คือสถานศึกษาไม่มีงปประมาณเพียงพอในการจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป้นเครื่องมือหลักในการฝึกปฏิบัติ หรือโปรแกรมจำลองการฝึกการปกิบัติให้เหมือนจริงเช่นเดียวกับสถานประกอบการ หรือ ส่วนราชการที่ต้องการ นศ.ระดับ ปวช.-- ปวส.

- ซึ่งเครื่องช่วยฝึกเหล่านี้ล้าสมัยในขณะนี้ที่สถานศึกษามีอยู่ และเมื่อซื้อเพิ่มเติมเข้ามาก้จะล้าสมัยในระยะเวลาที่รวดเร้วตามการพัมนาของเทคโนโลยี่

- ความเห้นก็คือการสัมนาการศึกษาในระดับนี้ครอบคลุมทุกประเภทวิชาที่เปิดสอน

1. วันแรกรับฟังความเห้นของสถานประกอบการ ส่วนราชการที่ต้องการ แรงงานระดับ ปวส.และ เปรียบเทียบกับรายวิชาที่สอน ทฤษฎีปฏิบัติและเครื่องมือปฎิบัติที่เขามีอยู่ และความน่าจะเป็นของการพัฒนาเครื่องมือของเขา (เพราะถ้าเขาจะซื้อใหม่คงต้องศึกษาเทคโนโลยี่ของบริษัทผู้ผลิตให้ดีกว่าเก่า) จึงควรร่วมมือหรือขอความร่วมมือ

2. ขอความร่วมมือในการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างสถานศึกษากับส่วนราชการทั้งพลเรือนและทหาร -ตำรวจ ใน ชม.ปฏิบัติ และการปฏิบัติภาคสนาม เพื่อร่วมกันก้าวเดินในการพัีฒนาการศึกษาของชาติ - ขอบคุณ

ที่ผมทำนะ

1-เชิญสถานประกอบการ มาร่วมกำหนดสเปคเด็กที่จะจบในแต่ละสาขา ด้านทักษะ ด้านเทคโนโลยี ด้านระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา

2-จัดแผนการเรียน รายวิชาต่างๆไปสู่เป้าหมายที่กำหนด (มีการบูรณาการในแต่ละรายวิชา)

3-ฝ่ายนิเทศติดตามตรวจสอบ และเชิญสถานประกอบการมาร่วมด้วย

4-สอบวัดมาตรฐานวิชาชีพโดยคณะกรรมการและสถานประกอบการ

5-กำหนดเงินเดือน. และสวัสดิการณ์รองรับผู้สอบผ่านมาตรฐาน โดยสถานประกอบการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท