รังสีเทคนิค ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ2552


ตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย

บันทึกนี้ขอทบทวนถึงการ ตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Urinary System โดยการตรวจในระบบนี้แบ่งการตรวจออกเป็นหลายชนิดแต่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการตรวจที่เรียกว่า IVU or Intra-Venous Urography หรือเรียกอีกอย่างว่า IVP (Intra-Venous Pyelography )

ในการตรวจชนิดนี้ต้องเตรียมตัวในคืนวันก่อนทำการตรวจ โดยทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้มตอนเย็น และ ทานยาระบายก่อนนอน และงดน้ำและอาหารจนถึงเช้าวันนัดตรวจ

ข้อห้ามในการตรวจชนิดนี้คือ

  • ผู้ที่แพ้สารไอโอดีน

  • หรือแพ้อาหารทะเล

  • ผู้ที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด

  • และผู้ที่เป็นโรคไต

การตรวจต้องฉีดสารทึบรังสี หรือ ทางการแพทย์เรียกว่า contrast media เข้าทางเส้นเลือดดำเพื่อให้สารทึบรังสีเข้าไปตามเส้นเลือดและไปที่จุดเป้าหมาย คือ ไต กรวยไต ท่อไต และลงมาสู่ท่อปัสสาวะ-กระเพาะปัสสาวะตามลำดับ

ก่อนทำการฉีดสารทึบรังสี ต้อง ทำการ ถ่ายฟิล์ม(scout film) เพื่อดูภายในช่องท้องโดยการถ่ายภาพที่เรียกว่า KUB:(Kidney-Ureter-Bladder)

สิ่งที่บอกเป็นพื้นฐานจากการตรวจท่านี้คือ

1.บอกรูปร่างและตำแหน่งของไต

2. บอกขอบเขตเงาของกระเพาะปัสสาวะ

3. บอกข้อมูลเบื้องต้น เช่น นิ่วบริเวณไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และความผิดปกติอื่นๆ

4. เห็นเงาของแนวกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Psoas muscle

ภาพล่าง ขณะทำการฉีดสารทึบรังสี(สัดส่วนของยาที่ฉีด คือ 1ซีซี ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม )ต้องให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆยาวๆไม่กลืนน้ำลายจะมีอาการร้อนวูบวาบที่ลำคอแล้วจะค่อยๆหายไปภายใน3-5 นาที ........

อาการที่อาจจะเกิดขี้นหลังฉีดสารทึบรังสี คือ

1.Vasomotor effect:Mild Reaction ( Anxiety or Fear) อาจเกิดจาก การกลัวและวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

2.Anaphylactic Reaction :Moderate:true allergic ผู้ป่วยจะแพ้จริง

low BP<80mm Hg, rapid heart>100 bpm

3.Vasovagal Reaction:Sevear Reaction

BP<80mm Hg ,heart rate<50 beats/minute

4. Acute renal failure :Sevear Reaction

the kidney shut down

ข้อควรระวัง.......หลังฉีดสารทึบรังสีต้องสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดแม้การซักถามประวัติการแพ้อาหารทะเลไม่พบก้อาจจะเกิดการแพ้ได้

Basic Imaging Routine จากภาพล่าง

รังสีเทคนิคเป็นผู้ทำการถ่ายภาพหลังฉีดทันที

  • ช่วงเวลา 1-5 นาที เพื่อดูเฉพาะที่ไต(kidney) 2 ข้าง

  • จากภาพล่าง 2 ภาพแรก1-5 นาทีเห็นไตที่มีหินปูนและ ภาพที่แสดงการ ทำงานของไตทั้งสองข้างที่ไม่มีหินปูนจึงมองเห็นการ excret ของสารทึบรังสี

  • หลังจากนั้นถ่ายรูป 10-15 นาทีนอนคว่ำและนอนหงาย (KUB)

  • จากภาพล่างเพื่อดูสารทึบรังสีที่ท่อไต(ureter)

  • และถ่ายภาพเวลา 20-25 นาที ดูสารทึบรังสีที่ท่อไตและในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อสารทึบรังสีเข้าไปอยู่จนเต็มในกระเพาะปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดปัสสาวะ (บางรายอาจจะต้องดื่มน้ำเพิ่มเพื่อให้กระเพราะปัสสาวะมีน้ำเต็มสามารถเห็นรูปร่างชัดเจน)เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะต้องให้ไปห้องน้ำและกลับมาถ่ายภาพหลังจากปัสสาวะ ซึ่งเรียกท่านี้ว่า post voiding

  • ภาพล่าง อาจมีการ สั่งถ่ายฟิล์มเพิ่มหลังจากรังสีแพทย์ได้ตรวจดูฟิล์ม เมื่อสงสัย.....เป็นการถ่ายท่าเอียงอาจจะถ่ายเอียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้

  • ในบางกรณีอาจมีการสั่งถ่ายท่า up right เพื่อดูความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ ดังแสดงในภาพล่าง

  • สิ่งที่สำคัญที่ลืมไม่ได้คือการติด marker บอกเวลาบอกตำแหน่งทั้งด้านซ้ายและขวา.....หลังฉีดต้องจับเวลาเพื่อทำการถ่ายให้ถูกต้องเพราะยาที่ฉีดจะไปตามเส้นเลือดจะแสดงให้เห็นชัดเจนที่จุดต่างๆตามเวลาที่กำหนด ขอให้รังสีเทคนิคโปรด ระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของผู้มารับการตรวจ

    ภาพการตรวจและรายละเอียดบางส่วนที่นำมาทบทวนครั้งนี้ได้จาก หนังสือ Radiographic Positioning and Related Anatomy;Six Edition / Radiology and Imaging; Seventh Edition Volum1 และ Diagnostic Radiology ของคณาจารย์สาขารังสีวินิจฉัย คณะแพทย์รพ.ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล หรือค้นได้ที่ห้องสมุดคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 243339เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดี ครับ

ช่วยให้ได้ทบทวน ครับ

ภาพ Oblique KUB มี artifact บริเวณ Bladder น่าแก้ไข อีกหน่อยครับ

เวลาCM เหลือจากการใช้งาน สามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้หรือเปล่าคะ คือCaseไม่เยอะ

บางครั้งเหลือ 40 cc เสียดาย พยายามหาข้อมูลและสอบถามก็ไม่ได้คำตอบซักที ถามsaleก็บอกว่าไม่ควรเก็บ แต่ก็ยังสงสัยว่าเก็บไม่ได้เลยเหรอซักวันนึง หรือจิ้มเข็มไปแล้วจิ้มอีกได้มั๊ย ช่วยตอบหรือสอบถามเพิ่มเติมให้หน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ต้อมที่มองเห็นและช่วยแนะนำ

ตอบคุณน้อง suthreerat ค่ะ...เรื่องสารทึบรังสีนั้นได้สอบถามผู้รู้มาให้แล้วค่ะแนะนำว่าเมื่อทำการเปิดแล้วถ้าใช้ไม่หมดต้องปิดผนึกอย่างดีเหมือนเดิมเราสามารถเก็บไว้ได้ 4 ชั่วโมงค่ะ..แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้เมื่อเลยเวลาไปก็สามารถนำมาใช้ในการตรวจที่ให้ผู้ป่วยดื่มแทนการฉีดได้ค่ะ.เพื่อเป็นการประหยัดและไม่เกิดโทษค่ะ

ขอบคุณมากมายเลยคร๊าบ คุณพี่

การตรวจ IVP ช่วงบ่ายจะทำกันไหมครับเพราะปกตินัดเช้าตลอด แต่เจ้าหน้าที่เข้ามาให้นัดบ่ายเลยโดยไม่ได้ทำการปรึกษาแพทย์และแพทย์ก็ไม่บอกให้นัด การ นัดเช้ากับบ่ายต่างกันไหมช่วยตอบด้วย

ตอบคุณ samai ค่ะ

-ที่นัดตรวจช่วงเช้าเนื่องจากการเตรียมผู้ป่วยทำได้ง่ายกว่าค่ะ

- เมื่อมีการงดน้ำอาหารไม่ต่ำกว่า 6-8 ชม.ระบบต่างๆจะเคลียร์ไม่มีอะไรมาบดบังส่วนไตและท่อไตที่เราต้องการดูหลังจากฉีดสารทืบรังสี

-ถ้ามีน้ำและอาหารในช่องท้องอาจทำให้คนไข้เพิ่มอาการคลื่นไส้อาเจียนเพิ่มขึ้นเมื่อฉีดสารทึบรังสี

-แต่ถ้าในรายที่จำเป็นต้องทำก็ควรอยู่ในดุลพินิจของรังสีแพทย์ค่ะ

แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทำค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท