โลกแห่งความคิดและความเห็น


นอกจากนั้น สิ่งที่บางครั้งเรามองข้ามหรือเลยไปแบบเส้นผมบังภูเขาคือความเห็นของตัวเองที่ผสมอยู่ในเรื่องราวที่ได้พบตลอดเวลาด้วย

ในแต่ละวัน เราจะต้องผ่านพบความคิดและความเห็นของคนมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของคนในครอบครัว ความเห็นของเพื่อนร่วมงาน ความเห็นของผู้สื่อข่าว ความเห็นของนักการเมือง

สิ่งที่เราควรจะตระหนักเสมอคือสิ่งที่เราได้ยิน ได้เห็น ได้พบนั้น ล้วนแล้วแต่มีเปลือกนอกเป็นความคิด ความเห็นทั้งสิ้น

นอกจากนั้น สิ่งที่บางครั้งเรามองข้ามหรือเลยไปแบบเส้นผมบังภูเขาคือความเห็นของตัวเองที่ผสมอยู่ในเรื่องราวที่ได้พบตลอดเวลาด้วย

เรียกได้ว่าถ้าเรามีสัมมาทิฏฐิก็ดีไป แต่ถ้าไม่รู้ตัวมีมิจฉาทิฏฐิก็คงจะแย่หน่อย เพราะนอกจากตกกับดักความคิดความเห็นของคนรอบตัวแล้ว ยังมาตกกับดักหลุมดำของตัวเองด้วย

ช่วงนี้ได้รับฟังข้อมูลข่าวสาร ความคิดความเห็นมากมาย แต่กลับรู้สึกว่าหาความจริงแท้ไม่ได้ ข้อมูลที่ได้ยินได้พบได้เห็นล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ล่องลอยไปตามกระแสกิเลสของโลก กระแสกิเลสของสังคม

สัจธรรมที่ได้พบมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นก็คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกเรื่องราวที่ได้ผ่านเข้ามาในแต่ละวันเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 231547เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

ไม่แสดงความคิดเห็นแต่เข้ามาอ่านครับ :)

เจริญพร โยมอ.กมลวัลย์

ยุคนี้สมัยนี้แต่ละวันต้องพบเจอกับข้อมูลข่าวสาร

มากมายจนสำลักไม่รู้ว่าอย่างไหนแท้อย่างไหนเท็จ

อย่างที่อาจารย์ว่ามาหากมีสัมมาทิฏฐิก็ดีไป

แต่อาตมาว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นมิจฉาทิฏฐิเสียมากว่า

 

เจริญพร

เรียน ท่านอาจารย์

  • มาเรียนรู้ธรรมจาก "โสดาบัน" ครับ

กราบนมัสการท่านพระปลัด

เห็นด้วยค่ะว่าปัจจุบันความคิดของคนมักเป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่สำคัญคือไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าความคิดนั้นประกอบไปด้วยอวิชชาเป็นส่วนใหญ่ อวิชชาก็นำมาซึ่งทุกข์ ถึงได้เห็นทุกข์ของคนในสังคมกันทุกวันร่ำไปค่ะ น่าสงสารอยู่ทีเดียว

ตอนนี้ก็ลดการรับฟังสิ่งที่ไม่จำเป็นลงไปบ้าง แต่ถ้าดูหรือฟังก็จะพยายามรับข้อมูลข่าวสารด้วยสติ จะได้ไม่ตกกับดักความคิดของตนเองค่ะ

ฝากความรัก และสันติสุข ในวันคริสตสมภพ

 

สวัสดีค่ะคุณเด็กข้างบ้าน ~natadee

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ บอกตัวเองเสมอว่ามีโอกาสดีได้เกิดมามีโอกาสปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องเพียรปฏิบัติกันต่อไปค่ะ ^ ^

ขอบคุณค่ะคุณ ประกาย~natachoei

ขอให้มีความสุขสวัสดีมากๆ เช่นกันนะคะ ^ ^

อาจารย์ กมลวัลย์ ครับ "สัมมาทิฐฐิ" หมายถึง อะไรหรือครับ :) zzzz

ไม่ทราบจริง ๆ ครับ ผมอยู่ห่างวัดมาก ๆ เลยตอนนี้

รบกวนอาจารย์ครับ

สวัสดีค่ะอ.วสวัตฯ

จะให้เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือคะ อิอิื

ลองไปดูมรรค 8 จะมีเรื่องสัมมาทิฏฐิเยอะเลยค่ะ ^ ^

สวัสดีปีใหม่ คุณครูปูและคุณ add เช่นกัน

สุขใจ สุขกาย เสมอนะคะ ^ ^

รอมะพร้าวจากอาจารย์ครับ อิ อิ

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์ :)

การฝึกเอาตัวเรา ออกนอก วง แห่งตัวเรา

แล้วคิด พิจารณา ว่า คน ๆ ที่เรามองดูอยู่(เรา)...

ควรกระทำ ควรคิด ควรมีความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น สิ่งนี้ สิ่งโน้น...ที่ถูกที่ควร อย่างไร

ยากนะคะ

มาสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ อาจารย์

        สวัสดีปีใหม่ 2552 ฮะ   อาจารย์กมลวัลย์

สวัสดีค่ะอ.วสวัตฯ

แวะไปสวัสดีปีใหม่ที่ blog แล้วนะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณหมอภูสุภา

การแยกมาดูแบบนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายค่ะ ^ ^ ที่ตัวเองรู้สึกว่ายากมากๆ คือแยกมาดูได้ตลอดเวลา (มีสติตลอดเวลา)

หลวงปู่ชาบอกเปรียบการมีสติกับคนเลี้ยงควาย ควายมักจะเดินไปกินหญ้าตรงนั้นตรงนี้เสมอ เหมือนกับที่จิตเราจะไปจับกับอารมณ์ความนึกคิดโน่น นี่เสมอ แต่ที่สำคัญคือคนเลี้ยงควายจะต้องไปตามดูควายตัวนั้น (ดูจิต) เมื่อเห็นควายไปเล็มหญ้า ออกนอกลู่นอกทางก็คอยดูคอยกำกับไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เหมือนกับเราตามดูจิต เห็นความนึกคิดและเข้าใจว่ากำลังนึก กำลังคิด เป็นเรื่องจริง เรื่องไม่จริง เป็นความเห็นหรือเป็นอะไร ฯลฯ ทำนองนี้ค่ะ

สวัสดีปีใหม่เช่นกันนะคะ ขอบคุณสำหรับภาพยอดไม้งามๆ ค่ะ ^ ^

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณ seen

ขอบคุณสำหรับภาพดอกไม้งามๆ นะคะ ^ ^

ผู้เข้าชมคนที่ 111 ครับอาจารย์ :) ปีใหม่แล้วครับ

เฮ..ตอนนี้ 120 แล้วค่ะ อ.วสวัตฯ ฮ่าๆๆ

สวัสดีครับ

สัจธรรมที่ได้พบมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นก็คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกเรื่องราวที่ได้ผ่านเข้ามาในแต่ละวันเท่านั้น

...หมายถึงทุกเรื่องที่เข้ามา  แล้วจะเข้าสู่ไตรลักษณ์ในขณะนั้นๆเลยหรือครับอาจารย์

 

...ตอนนี้เหมือนผมยังต้องรู้สึกตามเอาอยู่เลยครับ...

...เพียงกำหนดรู้ว่า เกิด ดับ มาแล้วไป ... เกิด-รู้   สัมผัส-รู้ๆๆ...  ทันบ้าง  ไม่ทันบ้าง... 

...จะพยาม จะเพียรให้มากๆครับ...

 

ขอบพระคุณครับ...

สวัสดีค่ะน้องหมอ

จากคำถามที่ว่า "..หมายถึงทุกเรื่องที่เข้ามา แล้วจะเข้าสู่ไตรลักษณ์ในขณะนั้นๆเลยหรือ" นั้น ...

ถ้าจะให้ประเมินตนเองก็คงต้องบอกว่า เห็นเรื่องต่างๆ เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์จริงๆ แต่จะเห็นได้เร็ว ได้ช้าขนาดไหนนั้น ประเมินไม่ถูกเหมือนกันค่ะ

การที่เราทันบ้าง ไม่ทันบ้างนั้นเป็นปกติค่ะ ผู้ที่"ทัน"ตลอดเวลานั้น คงจะต้องถือว่าท่านสำเร็จแล้ว เราก็ปฏิบัติต่อไป ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ระลึกได้บ้างเป็นบางครั้ง ก็ดีแล้วค่ะ สุดท้ายพี่คิดว่าทุกอย่างจะเป็นธรรมชาิติ ไม่ต้องฝึนทำ ไม่ต้องบังคับคิด แต่จะเป็นไปเองค่ะ ^ ^

ธรรมรักษานะคะ

สวัสดีครับ..

ขอบพระคุณมากครับ  ได้ความกระจ่างมากขึ้น

เพราะผมจำมาครับว่า  ครูอาจารย์ท่านอื่นๆก็สอนเช่นนั้น...

 

ในวิถีแห่งการรู้สึกตัวนั้น

ผมทีผมก็ยังงง  และแยกไม่ออกมากนักครับ

ระหว่างการจงใจรู้  ตั้งใจรู้  และการรู้ไม่ไม่ต้องตั้งใจ หรือจ้องมากนัก

แต่ก็รู้ได้จากอาการที่เกิดตามมาครับ

เข้าใจว่า ถ้าเพ่งจ้อง  ก็จะล้าหรืออึดอัดตามมาครับ(ส่วนมากจะเป็นเช่นนั้น)

 

บางทีก็เพราะว่าต้องคิดในงาน  เราก็อาจจะเหมือนไม่รู้ตัว  หลุดไปอยู่กับเรื่องนั้นๆ

 

แต่ก็เเปลกเหมือนกันครับ

มีบางทีเราก็จะรู้สึกและเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า  ตอนนี้เราทำอะไรอยู่  เรากำลังรู้ตัวหรือเปล่า  เหมือนกับว่ามีคนคอยกำกับไม่ให้เราหลงไปมาก  ไปนาน...

เจ้าความรู้สึกตัวว่าเรากำลังรู้นี้หรือเปล่าครับ  ถ้ามีมากๆ  เรื่อยๆ  ต่อเนื่องก็จะเป็นตัวคอยกำกับ  คอยให้เรารู้ตลอดสาย...  ไม่แน่ใจว่าจิตตัวนี้เป็นจิตผู้รู้หรือเปล่าครับ  หรือว่ายังเป็นจิตที่ปรุงแต่ง  จิตที่คิดอยู่ครับ

สวัสดีค่ะน้องหมอ

การเพ่ง การจ้องดูนั้น พี่รู้สึกว่าเราต้องใช้ตอนเริ่มปฏิบัติ เหมือนเราต้องมีนาฬิกาปลุกคอยปลุกให้เราตื่นจากการหลับไหล ต้องตั้งเวลาไว้ก่อนนอนทุกคืน

แต่พอเราทำสิ่งนั้นเป็นกิจวัตรไปนานๆ เราจะพบว่าเราตื่นก่อนนาฬิกาเล็กน้อยเสมอ เพราะปฏิบัติจนอัตโนมัติด้วยตนเองไปเสียแล้ว (นาฬิกาชีิวิต)

ตอนนี้ก็หมือนกัน ที่น้องรู้สึกคือบางครั้งนาฬิกายังไม่ปลุก ก็เริ่มตื่นรู้เองแล้ว แต่ก็มีบางครั้งที่ยังต้องอาศัยนาฬิกาปลุกอยู่บ้าง หรือมีบางครั้งที่กังวลเรื่องนาฬิกาปลุก ก็เลยตื่นขึ้นมาก่อนนาฬิกา แต่ตื่นเนื่องจากการปรุงแต่ง ไม่ได้ตื่นรู้โดยธรรมชาิติ

ไม่่ว่าจะบังคับตื่น หรือตื่นโดยธรรมชาติ พี่ว่าดีทั้งนั้น เพราะการปฏิบัติธรรมก็คงเหมือนกับในการปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ คือ ถ้าไม่ได้ลองทำ หรือขาดการปฏิบัติไปนานๆ จะทำงานให้ได้ดีนั้นคงยากค่ะ

ตอนนี้มาทางถูกแล้ว ^ ^ ธรรมรักษานะคะ

สวัสดีครับอาจารย์  P กมลวัลย์

 

เข้าใจมากขึ้นจริงๆครับ....

นาฬิกาปลุก  กับจิตที่ตื่นรู้...

 

ตอนนี้มาทางถูกแล้ว ^ ^ ธรรมรักษานะคะ

ขอบพระคุณครับ(^_^)

 

สวัสดีครับ

ความหิวของจิต  ที่อยากจะเสวยอารมณ์ต่างๆ

 เช่นการได้ดูทีวี  ได้รับความเพลิดเพลินใจ

 หรือการที่เราติดในประเด็นต่างๆ  เช่นความที่จิตชอบไหล  ชอบฟุ้งครับ

  เมื่อเรากำหนดรู้บ่อยๆ  แล้ววาง  แม้ตอนแรกเราไม่สามารถออกจากสภาะวะที่มันจมเเช่กับสิ่งที่จิตนั้นชอบได้  แต่มันก็จะสั้นลงเรื่อยๆ  หรือเปล่าครับ

 

  เรื่องของรูป  คือรูปกายที่ละเอียด  หรือรูปที่เราเห็นทางตา

  ถ้าการปฏิบัติไปเรื่อยๆ  จะเห็นรูปนั้นเป็นรูปแบบที่เราสมมุติ  ปรุงแต่ง  หรือว่าจะเห็นเป็นพลังงานที่เคลื่อนไหว  หรือว่าจะมองเป็น ธาติ ดิน น้ำ  ลม  ไฟเลยหรือเปล่าครับ

  คือตอนนี้บางครั้งก็แว๊ปๆ  เรื่องของรูป  ที่ไหลเวียน  เคลื่อนไหล ต่อเนื่อง   บางทีก็เหมือนไม่ได้รู้สึกว่าเราเเล้ว แค่แว๊ปๆๆๆๆๆ  นะครับ ย้ำแว๊ป   ความเเว๊ปนี้ ถ้าทำให้ดีขึ้น  ยาวขึ้น  หรือต่อเนื่องขึ้น

  ก็น่าจะกลายเป็นสภาวะธรรมใหม่  ที่จะเกิดกับจิตเราหรือเปล่าครับ

  แต่ทั้งหมดต้องอาศับการฝึกฝนที่ถูกทาง  ไม่หลงทาง เข้าใจถูก  มีความมุ่งมั่น

  และการมีครูอาจารย์  และกัลยาณมิตร...

 เข้ามาแบ่งปันครับ.............

ปฏิบัติไปเล่นๆ ไม่เครียด ก็ดีครับ เครียดมากก็เพ่ง

สวัสดีค่ะน้องหมอ

เรื่องที่ถามว่า "ความหิวของจิต ที่อยากจะเสวยอารมณ์ต่างๆ..." นั้นของพี่เองจะรู้สึกว่าจะค่อยๆ หมดไป เหมือนกับความอยากในเรื่องต่างๆ มันลดลงไปเอง

อนุมานเอาเองว่าคงเป็นเพราะเห็นอนัตตาของเรื่องต่างๆ ก็เลยรู้ว่าทุกอย่างจะผ่านไป และทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะจิตเราไปจับทำให้มันเกิดขึ้น เช่น เห็นภาพยนตร์สนุก เพลงเพราะ เสียงด่า ฯลฯ จะเห็ฺนได้ืว่า คำขยาย (adjective) นั้นมันเกิดจากจิตไปจับเรื่องนั้นๆ และขยายความ เรื่องนั้นๆ ให้เป็นไปตามความชอบของเรา  

จริงๆ ภาพยนตร์ เพลง เสียงด่า ก็เป็นแค่สิ่งนั้นๆ แต่คนต่างๆ จะเป็นผู้ตัดสินว่า สิ่งนั้นน่าฟัง น่าดู น่าเพลิดเพลินหรือไม่ก็เท่านั้น  แล้วพอคิดว่า สิ่งที่เป็นผู้ตัดสินก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ถูกตัดสินก็ไม่เที่ยง  มันก็เลยหน่ายๆ ไป ไม่ค่อยอยากดูอะไรสักเท่าใดนักค่ะ  คล้ายๆ กับว่ามันเป็นไปเอง ^ ^

สำหรับที่เล่าเรื่อง "ตอนนี้บางครั้งก็แว๊ปๆ  เรื่องของรูป  ที่ไหลเวียน  เคลื่อนไหล ต่อเนื่อง"  นั้น พี่ว่าพี่พอจะเข้าใจ.. แต่พี่เองก็ไม่ได้อะไรต่อเนื่องมากๆ ถึงขนาดนั้น เพียงแต่ถ้าจำเป็นอะไรขึ้นมา .. การระลึกรู้ การมีสติมัน เ้ข้าใจในสภาวะธรรม มันจะเกิดขึ้นเองค่ะ

ธรรมรักษานะคะ

สวัสดีค่ะคุณ Phornphon

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพ่งมากไปก็ไม่ดี

ขอบคุณที่แวะมาให้ความคิดเห็นนะคะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากครับ

..

เดี๋ยวไปทำการบ้านต่อก่อนแล้วจะมาปรึกษาเพิ่มครับ

^_^.....

มีเรื่องราวหนึ่งครับ

เป็นการเห็นตัวเอง  เห็นความไม่ชอบของตนเองที่มีต่อมนุษย์คนหนึ่งครับ

มันเป็นความรู้สึกที่ชัดเจน  พอสมควร  ตอนนี้ก็ได้เพียงกำหนดรู้ครับ

สมัยก่อนอาจจะเคยเล่าให้อาจารย์ฟังว่าตนนั้นติดดีครับ

ไม่ชอบคนที่เอารัดเอาเปรียบกัน.... แต่เราก็ไม่ได้เเสดงออก

เป็นเวลาเป็นปีที่เราสะสมความโกรธเล็ก  ความเกลียดชังคนที่เอาเปรียบเราเล็กๆไว้ในใจ.....

จนไม่คิดว่าเขาเจะเปลี่ยนแปลง..............

แต่ก็ได้ผลครับ  การที่เราพยามทำดี  พยามไม่ตอบโต้อะไร  ใช้การกระทำเป็นตัวอย่าง  เขาได้ซึมซับไป...(หรืออาจจะเพราะเขาโตขึ้นเอง)

 

ทุกวันนี้ผมว่าเพื่อน่วมงานท่านนี้ดีขึ้นเเล้ว ครึ่งหนึ่งจากเดิมครับ

แต่ว่าเจ้าจิตที่เราสะสมมันก็ยังคงอยู่  ทำให้เราเกดความรู้สึกที่ไม่ไว้ใจ  ไม่มั่นใจในบางครั้ง...

 

อันนี้เป็นการเห็น  เห็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นนะครับ

แต่จริงๆผมว่า  เขาก็เป็นครูของเราได้มากครับ

อาจจะเริ่มตั้งแต่  การที่เราได้แสดงความโกรธของเราออกมาลึกๆในใจ  ทำให้เราเห็นได้ชัด   และก็ตัดมันมาเรื่อยๆ....

ได้จากตรงนี้มากเลยทีเดียวครับ

ตอนนี้เหลือเพียงจะเกิดเฉพาะหน้า  แล้วก็ดับลงไป  ไม่อยู่นานเป็นวันเหมือนก่อนครับ......

รู้สึกพอใจบ้างกัยสภาวะที่เกิดขึ้น  เบากว่าเดิมมากครับ

ที่ต้องวุ่นๆกับความโกรธที่ก่อตัวในจิตเรา  บางครั้งก็ทำให้เราสับสน หรือพยามที่จะสลัดออก  เฉใฉ  แต่นั่นไม่ใช่ทางออกเลย

ทางเดียวคือการรู้ทันมัน  แล้วรู้ว่ามันไม่ใช่เรา  มันทุกข์  และเปลี่ยนแปลง  แบบนี้หรือเปล่าครับ

 

....

สวัสดีค่ะน้องหมอ

การที่เราได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตของเรานั้น เป็นเป็นแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งได้เห็นมากเท่าใด ก็จะยิ่งลดทิฏฐิมานะได้มากเท่านั้น

อ.ศิริศักดิ์เคยสอนพี่ว่า อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจเรานั้นมันเหมือนตะกอนในน้ำ ทำให้น้ำขุ่น ไม่ใส ไม่นิ่ง การปฏิบัติธรรม ก็เหมือนกับการช้อนตะกอนออก แรกๆ ก็จะมองเห็นตะกอนก้อนใหญ่ๆ ก่อน แล้วก็หาวิธีก็ช้อนตะกอนใหญ่ๆ ออก แต่ก้อนเล็กๆ ที่เป็นฝุ่นเป็นผงก็ยังคงอยู่ หากไม่ได้ปฎิบัติ ก็คงสะสมรวมกันเป็นก้อนใหญ่ๆ ได้อีก ดังนั้น การที่เราปฎิบัติ ก็จะทำให้เราเห็นตะกอนในใจ และกำจัดตะกอนเหล่านั้นได้ ถ้ามีตะกอนกำลังจะตกลงมาในน้ำอีก ถ้าเรามีสติ ก็จะป้องกันไม่ให้ตะกอนนั้นเข้ามาในใจได้ เหมือนที่น้องบอกว่า "เหลือเพียงจะเกิดเฉพาะหน้า แล้วก็ดับลงไป" ดังนั้น สิ่งที่ทำอยู่ พี่คิดว่ามาถูกทางแล้วค่ะ

แล้วที่ถามว่า "ทางเดียวคือการรู้ทันมัน แล้วรู้ว่ามันไม่ใช่เรา มันทุกข์ และเปลี่ยนแปลง แบบนี้หรือเปล่าครับ" นั้น คำตอบคือ ใช่ค่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าข่ายไตรลักษณ์ทั้งนั้น เมื่อรู้แล้ว เข้าใจแล้ว ก็จะไม่ยึด ไม่เกิดอัตตา แต่เข้าใจว่าทุกอย่างนั้นเป็นอนัตตาทั้งนั้น

ธรรมรักษาค่ะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท