บรรยายการจัดการความรู้ที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก


เป็นบรรยายกาศแห่งความสุข เป็นเวทีระบายสุข ไม่ใช่เวทีระบายทุกข์ ไม่ใช่เวทีเสนอปัญหา ตำหนิ ติเตียน กัน ไม่อย่างนั้นแทนที่จะเป็น สุนทรียสนทนา แต่จะเป็น วิวาทสนทนา ไป
   เมื่อ 20 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ทางเขื่อนภูมิพลโดยคุณกมล ฝ่ายฝึกอบรมเขื่อนภูมิพลได้เชิญผมไปบรรยายให้หัวหน้าแผนกของเขื่อนฯ ณ ห้องประชุมเขื่อนภูมิพล โดยได้ตกลงตารางอบรมกันเป็น 2 ช่วงคือช่วงเช้าเป็นการบรรยายเล่าสู่กันฟังและช่วงบ่ายเป็นการฝึกกิจกรรมกลุ่ม ตามตาราง ข้างล่างนี้

ตารางอบรมการจัดการความรู้เขื่อนภูมิพล

โดยนายแพทย์พิเชฐ  บัญญัติและคณะ

วันที่ 20 กรกฎาคม 2550

 

08.00-08.30   ลงทะเบียน

 

08.30-09.00   พิธีเปิด

 

09.00-10.30   แนวคิดสำคัญของการจัดการความรู้

 

10.30-11.00   พักรับประทานอาหารว่าง

 

11.00-12.00   การนำการจัดการความรู้ลงสู่การปฏิบัติ

 

12.00-13.00   พักรับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00-14.30   ฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยสุนทรียสนทนาและสุนทรียสาธก

 

14.30-14.45   พักรับประทานอาหารว่าง

 

14.45-15.45   ฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยสุนทรียสนทนาและสุนทรียสาธก


15.45-16.30   สรุปบทบาทคุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต ขุมทรัพย์ความรู้และAAR

 

            ขณะพักเบรกการบรรยายในช่วงเช้า ทางผอ.เขื่อน คุณบุญอินทร์ ชื่นเชาวลิต ได้พูดคุยกับผมและคุณกมลว่าอยากให้ทีมงานได้ฟังผมบรรยายให้เต็มเวลา ให้ละเอียดเลย ส่วนการทำกิจกรรมกลุ่มค่อยทำวันหลังดีกว่า เพราะถ้าทำให้หัวหน้าแผนกเห็นภาพชัดเจนในการพัฒนาคนและการจัดการความรู้แล้ว น่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย ผมเองสังเกตผู้เข้าร่วมประชุมแล้วก็คิดว่าช่วงเวลาสั้นๆการทำกลุ่มไม่น่าจะเกิดประโยชน์มากนักเพราะอาจต้องใช้เวลาในการเปิดใจมาก สรุปก็ปรับเปลี่ยนเป็นการบรรยายต่ออีกครึ่งวัน

 

            การบรรยายครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมสนใจมาก ไม่มีคนหลับและที่สำคัญ ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลนั่งฟังอยู่ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ

 

            ตอนจบบรรยายประมาณบ่ายสามโมงเย็น มีคำถามประมาณสองคำถามและมีผู้ฟังท่านหนึ่งยกมือพูดแต่ไม่ได้ถามโดยเป็นการสรุปขุมทรัพย์ความรู้จากที่ผมเล่าให้ฟังได้จำนวนมาก ผมคิดว่าพี่เขาเป็นนักดักจับขุมความรู้ที่ดีคนหนึ่งเลย

 

            ในการบรรยายในครั้งนี้ ผมก็ได้สรุปความคิดสำคัญๆในการจัดการความรู้ได้หลายประเด็น เช่น

 

            คนเล่าต้องกล้าเล่าเรื่องจริง ไม่เวอร์ ไม่กั๊ก คนฟังต้องไม่เบื่อ เพราะแม้จะดูเหมือนกัน แต่หากตั้งใจฟังอาจมีความแตกต่างที่กลายเป็นกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จได้

 

            การแลกเปลี่ยนในครั้งแรกๆ คุณกิจแต่ละคนมักเปิดใจไม่มาก อาจจะยังเกร็ง กลัว เขิน อาย ไม่กล้า ไม่อยากคุย ทำให้สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนยังคงเป็นExplicit ที่เขาจำได้ มากกว่า Tacit ที่เขาใช้ปฏิบัติจริง ทำให้คุณกิจคนอื่นๆที่มานั่งฟังรู้สึกว่าไม่เห็นมีอะไรเลย พูดกันในหลักการทั่วไปที่รู้ๆกันดีอยู่แล้ว ไม่เห็นแตกต่างอะไรเลย ไม่ได้มีอะไรใหม่

 

            คุณกิจต้องอดทน ทนฟังสิ่งที่คนอื่นพูด ยิ่งคุณอำนวย ยิ่งต้องอดทนมากใจจะหลุดออกจากเวทีแลกเปลี่ยนไม่ได้เลย คุณอำนวยต้องจับทุกอย่างที่ดีให้ได้ จับขุมความรู้ จับบรรยายกาศกลุ่ม จับจ้องดูกิริยาของผู้ร่วมกลุ่มว่ารู้สึกอย่างไรกันบ้าง ต้องประเมินให้ออกแล้วแก้สถานการณ์ให้อยู่ในเวทีแห่งความสุข สนุก รื่นรมย์ ผ่อนคลาย สบายๆ แต่ยกเว้นห้ามจับผิด กับ จับจด

 

            การใช้สุนทรียสนทนาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย 4 หลักสำคัญคือพูด ฟัง ถาม เขียน นั่นคือพูดอย่างจริงใจ ฟังอย่างตั้งใจ ถามอย่างซาบซึ้งใจและจดอย่างเข้าใจใส่ใจ เป็นบรรยายกาศแห่งความสุข เป็นเวทีระบายสุข ไม่ใช่เวทีระบายทุกข์ ไม่ใช่เวทีเสนอปัญหา ตำหนิ ติเตียน กัน ไม่อย่างนั้นแทนที่จะเป็น สุนทรียสนทนา แต่จะเป็น วิวาทสนทนา ไป

 

            สำหรับคุณลิขิตนั้น ด้วยความเคยชินกับความเป็นวิชาการเชิงExplicit อาจทำให้คุณกิจหรือคุณลิขิตเลือกจดหรือtake note เฉพาะหลักการ หรือประเด็นที่ตรงกับความรู้เดิมที่ตนเองมี โดยหลุดแทคติคของการปฏิบัติไป คุณอำนวยจึงต้องช่วยดักจับไว้ แล้วนำมากล่าวย้ำให้เห็นภาพ ในขณะแลกเปลี่ยนด้วย

 

            ถ้าบันทึกได้แต่Explicit ที่เขาจำได้ออกมาพอเราอ่านขุมทรัพย์ความรู้แล้ว เรามักนึกภาพไม่ค่อยออกว่าทำอย่างไร มักเห็นเป็นหัวข้อหรือประเด็นกว้างๆ ไม่สื่อถึงความรู้เชิงปฏิบัติ คำถามง่ายๆเพื่อทวนขุมทรัพย์คือมีคำพูดอะไรที่กินใจ เร้าใจ ฟังแล้วปิ๊ง อย่างนี้ใช่เลย เราอยากเอาติดตัวกลับไปใช้ด้วย มีไหม

 
หมายเลขบันทึก: 114667เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท