บทคัดย่อรายงานการพัฒนาครูผู้สอนเด็ก LD


เด็ก LD

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากการศึกษาคู่มือครูการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการเขียนสะกดคำของเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่อง ทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ ที่มีเด็กพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน จำนวน ๑๗๘ คน และเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ จำนวน ๕๖๒ คน

ผลการศึกษาพบว่า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการเขียนสะกดคำของเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

. พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้คู่มือครู การสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จากพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๕ ข้อ ทุกข้อปฏิบัติได้ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะพฤติกรรมการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำ พฤติกรรมมีการตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเขียนของนักเรียนและมีการขยายเครือข่ายสร้างความรู้กับครู บุคลากรในโรงเรียน ด้านการสอนเด็กพิเศษเรียนร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

. พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการเขียนสะกดคำของเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษเรียนร่วม จำนวน ๑๕ ข้อ ทุกข้อปฏิบัติได้ในระดับมากที่สุด โดยพฤติกรรมการเขียนสะกดคำได้ตรงตามเส้นบรรทัดที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

. การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เช่น ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) สร้างสื่อการเรียนรู้และแบบฝึกการเขียนสะกดคำที่หลากหลาย

. แบบฝึกการเขียนสะกดคำ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำแบบฝึก โดยครูจะต้องตรวจสอบความก้าวหน้าการเขียนของนักเรียน อยู่สม่ำเสมอ และให้นักเรียนนำแบบฝึกไปฝึกทำเป็นการบ้าน จะทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในการเขียนมากขึ้น และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ด้านการเขียนสะกดคำมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เด็ก ld
หมายเลขบันทึก: 167648เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
พลพัชร วานิชยาวรกูล

คุญแม่ กำลังเลี้ยงน้องอายุ 4 ขวบครึ่ง น้องไม่พูดเหมือนเด็กทั่วไป คือ น้องจะสื่อสารทางเดียว คือถามอย่างเดียวโดยที่บางครั้ง หรือ ว่าส่วนมากจะไม่ฟังคำตอบและถ้าใครๆถามน้องจะไม่ตอบ นานๆๆๆ จะมีคำตอบทีนึ่ง แต่ว่าน้องเข้าใจคำสรรพและคำสั่งได้ดี และปัญหาของแม่ คือ ตอนนี้น้องตามเกณหน้าจะอยู่อนุบาล 2 แต่ว่าน้องไม่สามารถพูดคุยกับคนรอบข้างเหมือนเด็กทั่วไป และน้องก็ไม่สามารถเขียนหนังสือ คือ ง่ายๆน้องเค้าไม่เรียนหนังสือแบบการประเมินไม่ถูกหมด แต่คุณแม่ก็พาน้องไปเข้าคอส กิจกรรมบำบัด ที่แผนกกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ คุณแม่อยากถามคุณลุงให้สะบายใจว่าคร่าวๆที่คุณลุงได้พอเห็นปัญหาของน้อง คุณลุงคิดว่าโตขึ้น น้องจะปกติเหมือนเด็วทั่วไปได้ไหมครับ

คุณลุงครับตอนนี้คุณแม่ผมย้ายน้องไปเรียนโรงเรียนอนุบาลเล็กๆ โดยโรงเรียนนี้ใช้หลักสุดรการสอนของ วอลดอฟในเครือของโรงเรียนปัญโญทัย คุณลุงคิดว่าดีสำหรับน้องไหมครับ คือว่า โรงเรียนนี้ไม่เน้นการเขียนและอ่านแต่จะเน้นให้เด็กพัฒนาตามธรรมชาติและจินตนาการของตัวเด็กซึ่งไม่เหมือนโรงเรียนเก๋าคืออนุบาลวารีเชียงใหม่ ซึ่งจะเน้นสอนวิชาการมากกว่า

คุณลุงตอบผมด้วยนะครับ แล้ววันหลัง ถ้าผมมีปัญหาอะไร ผมขออนุญาติเขียนจดหมายมาขอความรู้จะคุณลุงอีกนะครับ ขอบพระคุณมากครับ

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเร่งรัดเด็กเกินไปนะครับ เด็กอายุ ๔ ขวบพ่อแม่ก็ตั้งความหวังสูงแล้วเรายังไม่สามารถค้นพบความสามารถที่แท้จริงของเด็กเลยนะครับขอให้ใจเย็นๆ พัฒนาการของคนเราไม่เหมือนกัน

แต่การที่เด็กเข้าใจคำศัพท์สำคัญสื่อสารได้ก็ถือว่าพัฒนาการเป็นไปตามปกติสำหรับเด็กสี่ขวบ เพียงแต่ไม่ค่อยตอบคำถามที่ถาม คำถามอาจเป็นคำถามที่เขาไม่สนใจ ทางที่ดีก็ชวนคุยในสิ่งที่เขาสนใจหรือชอบ เรื่องที่เขาชอบเช่นการ์ตูนที่เป็นฮีโร่ ในใจเขาเขาก็จะสามารถคุยได้ ส่วนการเข้าโรงเรียนจะหลักสูตรใดก็ขึ้นอยู่ว่าอยากให้ลูกเป็นอย่างไร ไม่มทราบว่าตรวจสอบพัฒนาการด้วยแบบประเมินแล้วว่าเด็กบกพร่องด้านใด มีลักษณะพิเศษอย่างไรบ้าง รวมทั้งพฤติกรรมที่ผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตามพยามค้นให้พบความสามารถพิเศษ แล้วพ่อแม่ก็เสริมด้านนั้นจะดีกว่ามุ่งทางวิชาการ ต้องเปลี่ยนแนวคิดว่าเด็กต้องอยู่ในสังคม เราไม่ได้อยู่กับเขานานนัก ทำอย่างไรให้เขามีความสุขในสิ่งที่เขาอยากทำไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน ให้เขาดูแลตัวเองได้ในวัยอันควร เท่าที่เจอเด็กที่ไม่ค่อยพูด(หลานผมเอง)ที่มีลักษณะไม่พูดตั้งแต่เด็กไปโรงเรียนไม่พูด แต่พูดกับแม่ พ่อ หรือพี่บ้าง ตอนนี้เป็นหนุ่มแล้วแต่เลี้ยงดูด้วยความอบอุ่นไม่ได้มุ่งวิชาการเด็กเป็นคนดีช่วยเหลืองานในบ้านดีกว่าเด็กปกติ ไม่ดื่มเหล้าไม่สูบบุรีไม่สร้างปัญหาเลย สำหรับน้องวัยสี่ขวบก็ให้พ่อแม่สังเกตพัฒนาการ เข้าใจเขาและสังเกตความสามารถพิเศษ ส่งเสริมให้ถูกทางถ้าไม่เก่งวิชาการก็ไม่เป็นไรสอนให้เขาเป็นคนดี อยู่ได้ด้วยตนเอง

เอาใจช่วยนะครับเป็นกำลังใจเมื่อไรที่พ่อแม่เข้าใจลูกก็เป็นสิ่งดีแล้วหวังให้เขาเป็นคนดีดีที่สุดครับ ยิ่งคนดีหายากนะตอนนี้ และก็ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสมอครับ ขอให้อดทนและมีกำลังใจนะครับ

พลัชร วานิชยาวรกูล

ขอบคุณคุณลุงมากเลยครับ ม่ผมได้อ่านแล้วชื่นใจมากๆๆเลนครับ ถ้ามีอะไรอีก ผมจะเขียนมาคุยกับคุณลุงอีกนะครับ แม่ผมบอกว่า ต่อไปอาจจะเป็นปัญหาของผมก็ได้นะครับ ผมบอกเลยครับ ผมอายุ 12 ปี ขึ้นม. 1 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ผมเป็นเด็กดุริยางค์ครับ แต่ผมเรียนไม่ค่อยเก่งนะครับ 555+ ขอบคุณมาเลยครับที่ได้คุยกับคุณลุง - -* สวีสดีครับ

ถึง..คุณลุงประจักษ์

ลูกของดิฉันเรียนอยู่ชั้น ป.1 เป็นเด็ก LD โรงเรียนอนุบาลมุกดาหาร อ่านหนังสือได้หน้าลืมหลัง ไม่รู้ตัวสระ แยกเสียงสระไม่ออก ท่องจำได้แม่น แต่ไม่รู้จักคำว่าอ่านว่าอะไร ครูประจำชั้นก็ทราบว่ามีปัญหา LD แต่ไม่ทราบว่าเข้าใจเด็ก LD มากน้อยเพียงใด ลูกเคยโดนครูตีเพราะไม่ยอมเขียนหนังสือ (เห็นรอยไม้เรียวแล้วช้ำใจมากค๋ะ) อยู่ที่บ้านเวลาแม่สอนอ่านได้ เขียนได้ ทำแบบฝึกหัดได้ เพราะแม่จะอ่านให้ฟัง และคอยช่วยเวลาที่ไม่เข้าใจ ไปที่โรงเรียนกลับเหมือนเป็นตัวปัญหาของห้อง ของครู เพราะครูจะโทรรายงานเรื่องลูกดื้อซนไม่ยอมอยู่ในห้องตลอด ดิฉันจะช่วยลูกได้อย่างไรค่ะ มีวิธีสอนเด็ก LD ให้เทียบเท่าเด็กปกติได้ไหมค่ะ (ลูกดิฉันจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี อาศัยความจำดี แต่ไม่ชอบเขียนหนังสือ ) ช่วยด้วยนะค่ะคุณลุงประจักร ขอถามเพิ่มอีกข้อค่ะ ดิฉันมีลูก 3 คน คนโตเป็น LD และน้องอีก 2 คนจะเป็น LD เหมือนกันไหมค่ะ

เข้าใจว่าคงมีการคัดแยกเด็กแล้วนะครับ ตามที่บอกอาจมีปัญหาเรื่องสมาธิสั้นร่วมด้วยแต่เวลาอยู่บ้านกลับดีแสดงว่าที่โรงเรียนอาจมีปัญหาเด็กมากดูแลไม่ทั่วถึงหรือเป็นเพราะไม่เข้าใจเด็ก จริงๆเด็กอาจมีความจำดีและไอคิว สูงซึ่งต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะเหมือนที่คุณแม่ใช้แบบฝึก ปัญหาคือความสนใจสั้น ต้องแก้ปัญหาเรื่องความสนใจด้วยการจัดกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของเด็กว่าเขาสนใจอะไรจริงจังต้องค้นให้พบกิจกรรมที่เขาสนใจจริงๆ การอ่านออกเขียนได้อาจต้องรอความพร้อมทางสายตา ทางสมองไม่ต้องรีบร้อนครับ จัดกิจกรรมอื่นไปก่อนการอ่านเขียนเหมือนคุณแม่ทำถูกแล้ว และอธิบายให้คุณครูรู้นะครับจะได้ช่วยแก้ปัญหาอีกทาง

การที่ลูกซนในห้องเรียนไม่ใช่ปัญหาเพียงแต่ครูต้องจัดกิจกรรมให้เขาอย่างเหมาะสมบางครั้งต้องจัดแยกจากเพื่อนตามความสนใจ การสอนให้เก่งเหมือนเด็กปกติคงลำบากนะครับแต่เขาจะมีความสามารถเฉพาะทางของเขาจึงต้องค้นให้พบและส่งเสริมให้เหมาะสมแล้วเขาจะเป็นอัจฉริยะได้ไม่ต้องคิดมาก ส่วนว่าลูกคนอื่นจะเป็นLD หรือไม่ทางการแพทย์เชื่อว่าขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมครับ แต่แก้ได้ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการที่ดีเหมาะสมและถ้าถึงขั้นรุนแรงก็ต้องให้ยานะครับ ก็ไม่ต้องคิดมากครับเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ช่วยเหลือสังคม รับผิดชอบสังคมทำให้สังคมสงบสุขก็ดีนะครับ ความดียิ่งหายากขึ้นทุกวัน อย่าคิดมากครับขอเพียงเขาเป็นคนดีคือสิ่งที่สังคมกำลังขาด

เป็นกำลังใจนะครับ

ขอบคุณ คุณลุงประจักษ์มากค่ะ ถ้ามีปัญหาจะขอคำปรึกษาใหม่ค๋ะ

สวัสดีค่ะ อ. ลุง ดิฉันเป็นครูสอน ป. 1 มีเด็กคนหนึ่งในห้องเรียนแพทย์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็น LD รู้สึกสงสารน้องค่ะและกำลังหาวิธีที่จะทำแบบเรียนให้น้องอยู่แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ทางบ้านน้องก็ไม่ค่อยมีเวลาให้น้องเลยอยากโทรปรึกษาอาจารย์ค่ะไม่ทราบว่าจะโทรปรึกษาได้มั้ยคะ ดิฉันเป็นครู ร.ร เอกชนค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ลุง ดิฉันพึ่งจะทำหน้าที่สอนเด็ก ld เป็นครั้งแรกดิฉันรู้สึกสงสารเด็กมากค่ะ ไม่ไช่ว่าแกไม่รับเพียงแต่เด็กไม่กล้าที่จะแสดงออกกับเราเท่าไหร่เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดีค่ะ

การสอนเด็กพิเศษ สำคัญที่สุดครูจะต้องรักและมีความเมตตาเป็นตัวตั้ง ความรักและเข้าใจเด็กเป็นสำคัญ

มีเวลา ส่วนวิธีการสอนก้อเป็นไปตามสถาณการณ์ของเด็ก วฺิธีการขึ้นกับความสนใจของเด็กถ้ามีปัญหาการเขียน

ก็เน้นการเขียนด้วยการฝึกบ่อยๆ ให้เน้นการฝึกนะครับ ยิ่งฝึกบ่อยหลากหลายรูปแบบก็ทำให้เด็กชำนาญขึ้น

ถ้าไม่กล้าแสดงออกก็เน้นให้เขาไว้ใจ เช่นการพูดคุยการเล่นด้วย เด็กบางคนอาจเก่งเฉพาะด้านนะครับ

อย่างไรก็เอาใจช่วยนะครับและตั้งใจอดทน เด็กจะดีขึ้นเอง

ดิฉันมีลูกเป็น LD ค่ะคุณลุงอาจารย์ประจักษ์

ได้ขึ้นทะเบียนคนพิการไปแล้ว ส่งเรื่องให้คุณครูประจำชั้นแล้ว ไม่เห็นมีอะไรตอบรับมาให้ดิฉันทราบสักอย่าง (ลูกเรียนโรงเรียนเอกชน) ดิฉันจะต้องไปติดต่อให้ทำแผน IEP ด้วยตัวเองที่ศูนย์การเรียนรู้พิเศษเอง หรือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนค่ะ ตอนนี้สับสนค่ะสงสารลูกค่ะ สอบเก็บคะแนนครั้งนี้ เธอก็ตก ยกเว้นคณิตศาสตร์เท่านั้นที่ไม่ตก อาจารย์ขอคำแนะนำด้วยน่ะค่ะ

การทำแผน IEP เป็นการวางแผนร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองครับไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งแต่โดยทั่วไปครูจะเป็นคนทำแล้วให้ผู้ปกครองลงนามร่วมด้วย หากลูกเมื่อประเมินแล้วเป็นเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ครูกับผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาเด็กอย่างไรตามด้านที่เขาบกพร่องหรือมีความพิการ หรือการจัดหาสื่อการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกันเพราะจะไปสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของเด็กด้วย อย่างไรก็เป็นกำลังใจครับลองปรึกษาหารือกับครูผู้รับผิดชอบดูนะครับ ทำความเข้าใจให้กำลังใจซึ่งกันและกันก็มีหนทางที่จะพัฒนาเด็กได้ครับ

สิ่งแรกที่อาจารย์ต้องทำความเข้าใจก่อนคือต้องรู้จักเด็กว่าเป็นแอลดีด้านใด(ดูจากแบบคัดกรอง ด้านการอ่าน การเขียน หรือการคิดคำนวณ) เมื่อเข้าใจว่าเด็กบกพร่องด้านก็จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)ร่วมกับผู้ปกครอง เท่าที่อาจารย์ถามเข้าใจว่าเป็นเด็กบกพร่องทางด้านการเขียน การสอนมีหลากหลายวิธีจากที่ทดลองและศึกษาเริ่มจากง่ายไปหายากหรือการสอนเขียนจะต้องให้เห็นคำ บอกความหมายของคำ จึงค่อยนำไปสู่การแจกลูกสะกดคำ แล้วเขียนเป็นคำ หรือต้องรู้จัก พยัญชนะ ไปสู่สระ เห็นคำ รู้ความหมายคำ แจกลูก สะกดคำ เขียนเป็นคำ เขียนเป็นประโยค การฝึกต้องฝึกบ่อยๆให้เห็นบ่อยๆ

ครูต้องใจเย็นอดทน เห็นใจนักเรียน ในคติที่ว่า ฝึกซ้ำ ย้ำทวน ต้องใช้เวลา เด็กจะได้เองครับ

ลูกสาวอยู่ ป.6 แล้วยังเขียนหนังสือไม่ถูก และอ่านช้าไม่เหมือนเด็กในวัยเดียวกัน และมีปัญหาทางการคิดเพราะจะคิดช้าคุณลุงช่วยแนะนำด้วยว่าจะแก้ไขหรือรักษาที่ไหนในศรีสะเกษมีไหมคะ กลัวว่าเวลาขึ้นมัธยมจะลำบากมากกว่านี้

ลุงประจักษ์ ลูกชายของดิฉันเป็นเด็ก แอลดี ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลทหารเรือแล้ว และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดกำแพงที่แถวพระราม2 ตอนนี้ลูกชายอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ลูกชายดิฉันจะมีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน หรือการคิดคำนวณ งานไม่ค่อยมีส่ง และในชั่งโมงเรียนก็ไม่ได้อะไรเลย ทางโรงเรียนก็บอกว่าถ้าเรียนไม่ผ่าน 5 วิชาจะให้เด็กตก ลุงประจักษ์ คะ แต่ลูกชายสามารถตอบคำถาม วิชาที่เรียนได้ แต่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน การคำนวณจะยากหน่อย ไม่ทราบว่า มีโรงเรียนที่สอนเด็กแอลดี ระดับมัธยมโดยเฉพาะมีไหมคะ และสอนวิชาชีพ โรงเรียนที่แพงมากดิฉันคงไม่ไหวคะ เพราะไม่ร่ำรวย

ลุงประจักษ์ มีความคิดดีๆ ช่วยแนะนำให้หน่อยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างสูงคะ ทุกวันนี้กลุ่มใจมากๆคะ คุณครูประจำชั้นก็ได้แต่บอกว่า เด็กไม่ทำงานในห้องเรียน และไม่ส่งงาน ดิฉันก้เข้าใจคุณครูเขาคะ จะมาดูลูกชายเราคนเดียวก็ไม่ได้ ในห้องเรียนมีเด็กอีกคนก็เป็นเหมือนกัน แต่คนนี้เป็นหนักกว่ามากคะ จะก้าวร้าวมากๆ และจะชอบโกหก คุณแม่ของเด็กก็กลุ่มใจคะ ไม่ทราบว่าแถวพระราม 2 มีโรงเรียนที่สอนเด็กแอลดีโดยเฉพาะหรือเปล่าคะ

ช่วยตอบมาทางอีเมล์ด่วนมาให้ด้วนได้ไหนคะ

ตอบคุณปรียานุช ดีใจครับที่แม่เข้าใจในสิ่งที่ลูกเป็นและหาทางออกให้ลูกได้ ปกติเด็กไม่เกินประถมจะแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

เพราะเขายังเด็กยังไม่อาย พอโตเข้าเรียนมัธยมความเป็นหนุ่มสาวก็เป็นปัญหาอื่นตามมาทั้งภาวะทางสังคม คนรอบข้างหากไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาเป็นเด็กอาจเสียคนก็เป็นได้ ส่วนที่ว่าให้เด็กตกก็คงเป็นไปตามระเบียบวัดผลของโรงเรียนครับ ขอให้พ่อแม่ติดต่อกับทางโรงเรียนสม่ำเสมอนะครับ คอยติดตามให้กำลังใจเด็กและให้กำลังใจครู สำหรับเด็กที่ก้าวร้าวเรียกว่ามีพฤติกรรมทางอารม บางทีต้องให้ยานะครับต้องหาหมอโดยตรงและให้กิจกรรมร่วมด้วยเช่นเล่นดนตรี วาดภาพ ให้ค้นหาความสามารถเขานะครับแล้วจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศให้เขา สำหรับโรงเรียนก็สาธิตเกษตรศาสตร์ บางเขนนะครับที่เปิดสอนเด็กกลุ่มนี้ และ มศว ครับก็ส่วนอื่นก็เป็นโรงเรียนเรียนร่วม อย่างไรก็ไม่ต้องมุ่งหวังความเป็นเลิศทางวิชาการมากนะครับ เอาว่าหากิจกรรมท่ีเขาสนใจทำ อาจจเป็นอาชีพที่เขาจะประสบผลสำเร็จก็ได้นะครับ ขอแค่ดูแลเขาสม่ำเสมอ ให้กำลังใจ อย่าดุด่าเกินจริงนะครับ ให้เขาสำนึกได่ด้วยตัวเขา เขาเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติก็ได้ งัยก็ให้กำลังใจนะครับ

วลัยลักษณ์ ศรีวงค์

คุณลุงคะอยากลบกวนตอบคำถามหน่อยค่ะพอดีมีเด็กที่ต้องสอนเป้นเด็กป.1กล้ามเนื้อมือเขาไม่ได้เลยให้เขียน1-10ตามรอยประเขายังทำไม่ได้เลยดิฉันเลยให้เขาเขียนตามรอยประ1-10ทั้งไทยและอารบิกแต่พอครูประจำชั้นเขามาเห็นเขาบอกว่าการเขียน1-10ป็นการเรียนของเด้กอนุบาลทำไมไม่ให้เด้กเรียนเลขบวกและลบดิฉันไม่รู้ว่าจะทำยังไงดีต้องทำตามแผนที่เราเขียนหรือว่าทำตามครูประจำชั้นของเด้กคุณลุงช่วยตอบหน่อยนะค่ะขอบคุณค่ะ

อาจารย์การสอนเด็กสิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ ความพร้อม และวุฒิภาวะของเด็ก ความพร้อมมีองค์ประกอบด้านร่างกาย และจิตใจ และพัฒนาการด้านอื่นประกอบเช่นระดับสติปัญญา เด็ก ป.๑ อาจมีปัจจัยหลายอย่างครับที่ทำให้เด็กยังไม่พร้อมเหมือนที่อาจารย์

เข้าใจ คือกล้ามเนื้อมือยังไม่พร้อมควรจะฝึกเรื่องกล้ามเนื้อก่อน เช่นการปั้นดินน้ำมัน ขยุมกระดาษปั้นรูปฝึกระบายสี

โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม ความเป็นระเบียบตามกรอบรูป ให้เขาทำก่อน เมื่อคนเราสามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือได้ค่อยให้เขาฝึกใช้ลากเส้น เขียนตามเส้นประ ต้องอดทนครับ เพราะพัฒนาการเขายังไม่พร้อมด้านนี้ เราสามารถฝึกด้านอื่นก่อนเช่นการพูด

การอ่านเพื่อให้จำได้ตมกิจกรรมที่วางไว้ตามแผน วิธีวัดก็วัดพัฒนาการนะครับ อย่าร่งรัดเด็กจนเกินไป เดียวเขาจะเบื่อ งัยก็พยามเอาใจใส่เด็กและแนะนำผู้ปกครองครับ เพราะผู้บกครองบางคนใจร้อนเอาลูกเข้าก่อนเกณฑ์หรือเกิดปลายปีทำให้อายุเดือนน้อยกว่าเพื่อนมาก เป็นกำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท