โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

เบาหวานในทัศนะของผม (แม่กาษา ตอนที่ 2)


ผมเชื่อว่า "บุคคลากรสาธารณสุขเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค แต่ผู้เชี่ยวชาญในชีวิตของตัวเองคือ ชาวบ้านนั่นเอง"และ"จำเป็นหรือไม่ที่คนไข้ต้องมานั่งเรียนแถวรับยาแล้วรอหมอตรวจ"

ต่อจากตอนที่แล้วครับ ห่างกันนานไปหน่อยเนื่องจากเวลาไม่ค่อยอำนวยครับ+มีเรื่องอื่นที่อยากเขียนมากกว่า ยังไงอ่านความเดิมได้ที่ http://gotoknow.org/blog/primarycare/141613 

ในปีที่ 2 มีผู้ป่วยเบาหวานขอเข้าร่วมโครงการมากขึ้นรวมแล้วประมาณ 20 คน เนื่องจากสะดวกสบาย+การดูแลไม่ตึงเครียด สามารถที่จะมานั่งคุยกันสนุกสนาน มีเพื่อน และมีที่ปรึกษา ผมมอบหมายให้คุณพยาบาลแบ่งกลุ่มเป็นพี่เลี้ยงแบ่งได้ 3 กลุ่มย่อย(กลุ่มละ 7-8 คน) และมีเจ้าหน้าที่ สอ. เป็นผู้ประสาน

กลุ่มใหญ่

คุยกันสบายๆแบบกลุ่มใหญ่กิจกรรมหลากหลาย

exercise     สวนมนต์

เรียนรู้การดูแลตัวเอง

DTX             ดูแล

อ่านสมุด  

ชัดเจนมาก ว่าผู้ป่วยดูแลกันและกันดีขึ้นช่วยกัน check ยาของตัวเอง พลัดกันตรวจ DTX ช่วยกันอ่านสมุดเบาหวาน

กลุ่มย่อยเพื่อดูแลใกล้ชิด

พยาบาลและเจ้าหน้าที่ สอ. เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่มตลอด 1 ปี และ facilitator ส่วนผมก็เดินไปให้กลุ่มปรึกษา ผมให้เวลาแต่ละกลุ่มประมาณ 30 นาที

กลุ่มย่อย    group

เลี้ยงหลาน   เอาหลานมาเลี้ยงก็ได้

คุยกันสบายๆ ไม่มีกฏเกณฑ์อะไรมากมาย ผลที่ได้รับ 1 ปีพบว่าผู้ป่วยมีความสุข เจ้าหน้าที่ก็มีความสุข ผมการควบคุมน้ำตาลดีขึ้น ไม่ค่อยมีขาดนัด ถ้าขาดนัดคนในกลุ่มก็จะช่วยกันตาม

การดูแลโรคเรื้อรังในทัศนะของผม

จริงๆแล้วโครงการนี้เริ่มด้วยเจตนาเพื่อจะรู้จักชีวิตของชาวบ้านที่เราไม่รู้จัก แต่เวลาผ่านไป เกิดการวิวัฒนาการของวิถีการปฏิบัติ

 "จำเป็นหรือไม่ที่คนไข้ต้องมานั่งเรียนแถวรับยาแล้วรอหมอตรวจ"

"จริงหรือไม่ที่คนไข้ไม่มีความรู้ในการดูแลตัวเอง"

และ "จริงหรือไม่ที่บุคคลากรมีความรู้มากกว่าชาวบ้าน"

ผมเชื่อว่า "บุคคลากรสาธาณสุขเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค แต่ผู้เชี่ยวชาญในชีวิตของตัวเองคือ ชาวบ้านนั่นเอง"

ดังนั้นการเรียนรู้+เข้าใจกัน+ปรับวิธีการใหม่ ทำให้ได้ผลการดูแลที่ดีขึ้น

ผมเองคิดว่า หากชาวบ้านดูแลตัวเองได้ดีนั้นเกิดจากตัวตนของเขาเอง เพียงแต่เราไม่ยึดติดวิธีการ และเปิดเวทีการเรียนรู้ แล้วนำความรู้ทางเทคนิคที่มีให้เข้ากับวิถีชีวิตของขาวบ้าน สุดท้ายไม่แค่เป้าหมายสำเร็จ และความสุขยังบังเกิดแก่ทุกฝ่าย

คำสำคัญ (Tags): #กลุ่มเบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 148817เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันก่อนผมก็มีคนไข้มาหาด้วยว่ากลับจากโรงพยาบาลแล้วยังมีอาการเหนื่อย เพลีย คุยไปคุยมาถึงรู้ว่าไม่ได้ฉีดยาที่หมอโรงบาลให้เพราะยิ่งฉีดยิ่งเหนื่อยแต่ก็ไม่กล้าบอกหมอ...กลัวหมอดุ

  • เรื่องเบาหวานนี่มีอะไรอีกหลายอย่างที่หากจัดการคุณภาพการดูแลในรพ.ใหญ่ให้ดี คนไข้จะมีความสุขมาก
  • พี่ว่าส่วนสำคัญของระบบบริการปฐมภูมิ อยู่ที่การช่วยเชื่อมต่ออย่างไรให้คนไข้ได้รับความสุขทั้งจากวิถีชีวิตและอยู่กับโรคได้อย่างสบายใจ
  • ความสำคัญของบริการปฐมภูมิไม่ได้อยู่ที่การทำหน้าที่ตรวจโรคเลย
  • แต่อยู่ที่การไปสร้างความเข้าใจตัวเองให้คนไข้มากกว่า
  • ถ้าคนไข้เข้าใจตัวเอง เขาก็มีความรู้ที่จะปรับตัวเองอยู่แล้ว
  • คนไข้เบาหวานเป็นครูเรานะน้องเอ๋ย
  • เขาไม่ได้เป็นนักเรียนที่มาต้องเข้าแถวรอเราสอนหรอก
  • แต่เราต่างหากที่ไปเกณฑ์เขามาบังคับให้เป็นนักเรียน
  • .....
  • ดีใจด้วยนะคะ ที่กำลังจะมีทายาทอีกคน
  • เป็นพ่อลูกสามที่ทำงานหนักอย่างนี้ อย่าลืมแบ่งเวลาให้ลูกด้วยนะน้อง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท