เหนือวิทยาศาสตร์ ๖


ต่อจาก เหนือวิทยาศาสตร์ ๕


           

          ทีนี้ ขยายความออกไปถึงทิฏฐิ ทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ตาม  ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็ตาม  มันอาศัยสิ่งที่เรียกว่าเวทนา  มันจึงเกิดขึ้นได้  สิ่งที่เรียกว่าทิฏฐินี้  ก็แปลว่า ความเห็น  ความเห็นก็เป็นสังขาร คือมีปัจจัยปรุงแต่ง  ดังนั้นความเห็นจึงเปลี่ยนได้  วันนี้มีความเห็นอย่างนี้  พรุ่งนี้อาจมีความเห็นอย่างอื่น  หรือถูกอบรมสั่งสอนมาในลักษณะหนึ่ง  มันก็มีความเห็นอย่างหนึ่ง  ถ้าถูกอบรมสั่งสอนมาในลักษณะอื่น  มันก็มีความเห็นเป็นอย่างอื่น 

          เราก็ต้องดูไปตั้งแต่ที่มันเห็นชัดๆ ว่า เวทนาเกิดขึ้นทาง ตา หู อะไรก็ตาม  มันทำให้เราเกิดความรู้สึกอันหนึ่งซึ่งมันมีความหมายไปทำนองว่า  นี้คืออะไร?  นี้คืออะไร?  หรือนี้คืออย่างไร?  หนักเข้า  หนักเข้า  มันก็สรุปเป็นความเห็นอันหนึ่งว่า นี้คืออะไร?  นี้คืออะไร?

          มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นเช่นว่า ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วไม่เกิด โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง โลกมีที่สิ้นสุดหรือไม่มีที่สิ่นสุด  มิจฉาทิฏฐิต่างๆ ที่รู้จักชิ่อกันมามากแล้วนั่นแหละ  มิจฉาทิฏฐิ ทั้งหมด ก็มาจากเวทนา หากแต่ว่า มันมาลึก มานาน มาไกล ฉะนั้นเวทนาเป็นสิ่งให้เกิดความรู้สึก ถ้าไม่มีเวทนา  ไม่มีความรู้สึก ที่จะรู้สึกต่ออะไร ว่าอย่างไร อะไร  ว่าอย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 265914เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

แวะมาชื่นชมค่ะ

ดีใจจังค่ะ ที่น้องขนิษฐา แวะมาเยี่ยม : )  : )

เพียงแต่นึกไม่ถึงว่า จะมาเยี่ยม Blog นี้

เพราะ Blog นี้ อาจบันทึกเรื่องที่อ่านเข้าใจยากอยู่สักหน่อยนะคะ

แม้ป็นเรื่องที่คัดลอกมาแบบเพียวๆ  ไม่ได้เขียนขึ้นเอง

แต่ก็คิดว่า มันก็สามารถแสดงตัวตน คนชื่อ dhanarun ได้เหมือนกัน !!!

อย่างไรก็ตาม สิ่งนั้นไม่สำคัญเท่า

ความมีคุณค่าของ "คำสอน" ของท่านพุทธทาส

ที่ดิฉันใช้เป็นไฟส่องทางชีวิต......อ่านไปด้วย  เขียนไปด้วย  ช่วยให้ค่อยๆ คิด ช่วยให้ค่อยๆ เข้าใจ   จนกว่า....สักวัน  อาจได้พบจุดหมายปลายทาง

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท