เคารพ ยอมรับ แยกแยะ


ผู้ใหญ่ยอมรับฟังความคิดของเด็กได้เสมอ แต่เด็กก็ต้องมีความเกรงใจ และเคารพผู้ใหญ่เช่นกัน

 

เมื่อช่วงเย็นได้เขียนบันทึกเรื่อง "การจัดการแบบไม่จัดการ" หลังจากเขียนเสร็จก็ได้นึกประเด็นอื่นๆ หลั่งไหลเข้ามามากมาย ประเ็ด็นเรื่องงาน (เขียน) จบไป แต่ประเด้นเรื่องคนยังไม่จบ

ในฐานะที่เรียนด้านบุึคคลมา ผมถือว่าอะไรที่ทำให้การทำงานมีความสุข Happy Work Place นั้น คือหน้าที่ผม แต่ผมก็ยังไม่เคยได้ทำตามหน้าที่เลยซะที

ตลอดการทำงานที่ผ่านมา 3 ปีในชีวิตผม ผมสนใจเรื่อง "การเคารพ" มากที่สุดครับ แน่นอนวัฒนธรรมคนไทยคือการเกรงใจผู้ใหญ่ ให้เกียรติ น้อบน้อมถ่อมตน จนบางครั้งการจะถึงขั้นการเกิด "เลีย" ก็ว่าได้

ในขณะที่วัฒนธรรมฝรั่งคือการพูดตรงไปตรงมา ผิดคือผิด ถูกคือถูก คุยกับด้วยเหตุผล จนบางครั้ง หรือหลายครั้งอาจจะไม่ได้แบ่งว้านี้่คือเด็กคือผู้ใหญ่ด้วยซ้ำไป

สำหรับองค์กรในประเทศไทย ผมก็ไม่เคยทำการสำรวจหรอกครับ แต่จากความรู้สึกที่รับรู้ได้คือส่วนใหญ่วัฒนธรรมจะถูกกดให้ผู้ใหญ่เป็นคนคิด เด็กๆมักจะไม่ได้คิด ได้แต่ทำตามและเชื่อฟังเท่านั้น แต่ก็ยังบางองค์กรครับ ที่เปิดโอกาสการทำงาน ทำให้เด็กจบใหม่ไฟแรงสามารถเสนอความคิดและร่วมช่วยคิดช่วยทำได้ เรียกว่าคือเป้าหมายของการเรียนในระดับอุดมศึกษาก็ว่าได้

ครั้งนึงที่ผมเคยฝึกงานในโรงงานแห่งหนึ่งใกล้บ้าน เป็นโรงงานผลิตกระป๋องแล้วส่งไปบรรจุอาหารต่อไป ผมไปฝึกงานอยู่ในฝ่ายพัฒนาองค์กร (ฝ่ายบุคคลนั้นแหละ) หน้าที่ของผมคือพิมพ์เอกสาร ถ่ายเอกสาร เดินเอกสาร และอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งงานส่วนใหญ่ไม่เกีั่ยวกับที่เรียนมาเลยด้วยซ้ำ ซึ่งผมก็คิดว่าเด็กฝึกงานส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ แต่เมื่อมองย้อนไปถึงสมัยเรียน รายวิชาต่างๆ ต่างสอนให้เราบริหารงานต่้าง เทคนิคการแก้ปัญหา คำถามคือ แล้วเราไ้ด้ใช้เมื่อไหร่??

ตอบคือ ใช้เมื่อได้ทำงาน แล้วเมื่อคุณได้ืทำงานคุณได้ใช้หรือเปล่า??

หลายคนในหลายองค์กรไม่มีโอกาสได้ใช้ ต้องทำตามวัฒนธรรม มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง  แต่ก็ยังมีในบางองค์กร ทีี่ไม่ได้แบ่งแยกตรงนั้น โดยเฉพาะองค์กรเปิดใหม่ ที่ให้ทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันพัฒนา นั่นละคือโอกาสของคุณที่จะได้ใช้ความรู้ความสามารถตนเองที่ได้ร่ำเรียนมา นำมาใช้ในงานนี่แหละ

วันนี้ ผมได้สัมผัสองค์กรแบบนั้น!

แล้วองค์กรแบบนั้นเกิดอะไรขึ้นในองค์กร องค์กรที่มีแต่คนรุ่นใหม่ไฟแรง บางคนประสบการทำงานเกือบสิบปี บางคน 4-5 ปี 2-3 ปี และเด็กจบใหม่ก็มีเช่นกัน และเมือได้รับการพิจารณาให้เข้ามาทำงานแล้ว ก็พบว่า ที่นี่แหละ คือที่ที่ฉันใฝ่หา ได้คิด ได้ทำ ได้เสนอ ทุกคนมีส่วนร่วม "Team Work" แต่ เราลืมไปหรือเปล่าว่า คุณจะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร คุณก็คือคนไทย วัฒนธรรมคนไทย คือการเคารพกัน ให้เกียรติกัน นับถือกัน อ่อนน้อมถ่อมตน เกรงใจ หลายคำที่พูดมานั้น ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้ แล้วจะกลายไปเป็นสังคมที่เด็กต้องเกรงใจผู้ใหญ่เสมอไป ผู้ใหญ่ยอมรับฟังความคิดของเด็กได้เสมอ แต่เด็กก็ต้องมีความเกรงใจ และเคารพผู้ใหญ่เช่นกัน

พูดถึงเรื่องความเป็นผู้ใหญ่ ผมตีความคำคำนี้ว่า "การเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้วัดกันที่อายุ แต่วัดกันที่การยอมรับและการแยกแยะ คุณสามารถยอมความคิดของผู้อื่นได้แค่ไหน? คุณสามารถยอมรับพฤติกรรมผู้อื่นได้แ่ค่ไหน? คุณสามารถแยกแยะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวได้แค่ไหน? คุณสามารถแยกแยะอารมณ์และเหตุผลได้แค่ไหน? ถ้าคุณยอมรับและแยกแยะได้ ผมว่าคุณได้เป็นผู้ใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่ไม่ได้แปลว่าฉลาด หรือเก่งกว่า นะครับ ต้องแยกแยะด้วยนะ 

ทิ้งท้าย ท้ายทิ้ง

วันนี้ผมขอฝากไว้ 2 คำครับ

"เคารพ" และ "ผู้ใหญ่"

 

สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 318194เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2009 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยคนนะครับ

ผมทำงานครั้งแรกอายุยี่สิบกว่าครับ โดยเพื่อนร่วมงานของผมคือคนวันห้าสิบกว่าหนึ่งคนและคนอายุเจ็ดสิบกว่าอีกหนึ่งคน

ผมกลับรู้สึกว่า เป็นการทำงานที่มีความสุขมาก คนวันเจ็ดสิบกว่าบอกผมว่า เพิ่งมีความสุขกับการทำงานก็ตอนอายุเจ็ดสิบกว่าๆ และท่านก็เรียกตัวเองว่า พี่ตลอด ส่วนผมเรียกท่านว่า ป๋า ฮิฮิ

ผมได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า เอาไฟแรงๆ ของเราไปทำงาน บางทีแทนที่มันจะลุกโชติช่วง มันอาจจะกลายเป็นไฟไหม้ก็ได้ครับ แต่เมื่อไฟได้ผสมกับลมเย็นๆ มันกลับกลายเป็นความร้อนที่พอดิบพอดี

บางทีมันอยู่ที่การเรียนรู้เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นสำคัญ

  • ขอบคุณครับ อ.จารุวัจน์
  • ประเด้นนี้ ผมคิดว่าอยู่ที่ความคิดของคนสำคัญเลยครับ
  • แสดงว่ากรณีคือ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ยินดีที่จะร่วมกันพัฒนาครับ
  • เลยทำให้ ไฟแรงลู่ตามลมเย็นที่สงบนิ่งได้ครับ

สวัสดีค่ะ

- การอ่อนน้อมถ่อมตัว ใช้ได้เสมอค่ะ

- การกล้าคิด กล้าทำ น่าจะใช้กับองค์กรนี้ได้ เพราะทุกคนเปิดใจ รับฟัง

- บางครั้งต้องดูลมบนบ้าง ไม่อย่างนั้น ต้นไม้ใหญ่คงจะไม่ล้มลงมาหรอกนะค่ะ

  • ขอบคุณครับ คุณเพชรน้อย
  • ผมเชื่อเรื่องการอ้อนน้อมจริงๆครับ
  • ส่วนเื่รื่องการกล้าคิด กล้าทำนั้น ยังไม่ค่อยแน่ใจครับ
  • แต่เรื่องการดูลงบนนี่น่าคิดครับ

รับทราบแล้วจ้า อย่าเครียดมากนะพี่ ;)

  • ท่องไว้น้อง หน้าที่ๆ

อันที่จริง เรื่องการเคารพ ไม่จำเป้นต้องไปบังคับกันหรอกน่ะ

ถ้าเราทำตัวดี ก้มีคนเคารพ ตามวัฒนธรรมของคนไทย

จะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ ทำตัวดีๆเป็นแบบอย่างที่ดี ก็มีคนเคารพเอง

ผู้ใหญ่ที่ดีเค้าเป็นกันอย่างไร

วุฒิภาวะคุณมีมากน้อยแค่ไหน

คนเราบางทีก็น่าจะพิจารณาตัวเองในมุมอื่นดูบ้าง

เคยถามคนอื่นรึป่าว ว่าตัวคุณมีอะไรต้องปรับปรุงบ้าง

พร้อมรึยังที่จะยอมรับนิสัยของตัวเอง ว่าในสายตาคนอื่นคุณเป็นคนอย่างไร

อะไรคือคำว่าผู้ใหญ่ อะไรคือคำว่าเคารพ แล้วผู้ใหญ่ที่ควรเคารพเค้ากันเป็นอย่างไร?

  • สวัสดีครับคุณ จำไว้ 
  • IP 124.157.235.72 
  • Lat 13.75 N 
  • Lon 100.51 E ครับ
  • แถวๆ วัดเทพศิรินทร์หรือเปล่าครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
  • อันที่จริง เข้าใจอยู่ว่าตัวเองอาจจะยังทำตัวให้ไ่ม่น่าเคารพ พอ สำหรับในวัยแบบนี้ ประสบการณ์แบบนี้ รวมกับบุคลิกส่วนตัว
  • แต่คำว่า "เคารพ" "กาละเทศะ" กับ "เกรงกลัว" มันก็ต่างกันนะครับ
  • เราสามารถให้ความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่าได้เสมอ 
  • ถามว่าแม่บ้านที่คอยทำความสะอาดให้เรา เราไหว้เขาไม่ได้เหรอ เราพูดเพราะๆกับเขาไม่ได้เหรอ เราช่วยเขาเก็บกวาดไม่ได้เหรอ คิดว่าเขาไม่อยากให้มีคนมาเคารพเหรอครับ อยากนะผมว่า แต่มันก็ยากสำหรับเขา
  • งั้น ถ้ากลับมามองที่ตัวเรา จะต้องทำอย่้างไรละ ถึงจะให้คนมาเคารพ ไม่ใ่ช่มัวแต่มามองว่า ทำไมเขาไม่เคารพเรา 
  • ครับ ทุกอย่างมีสองด้าน
  • ผมเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาเพื่อสื่อว่า เด็กสมัยนี้ กาละเทศะอาจลดน้อยลง
  • และผมก็อยากได้คำแนะนำจากผู้ใหญ่หลายๆท่าน ว่าจะทำอย่างไร ถึงจะให้มีคนมาเคารพครับ 
  • ถ้าการแลกเปลี่ยนตรงนี้ มีแต่คำว่ากล่าว งั้นก็อย่ามาแลกเปลี่ยนเลยครับ
  • มันต้องมีทั้ง "ติ" และ "แนะนำ" ครับ
เป็นบทความที่ให้แง่คิดมาก ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการเรียน เรื่องของการทำงาน และเรื่องเคารพผู้ใหญ่ เพราะเด็กๆ สมัยนี้ ไม่ค่อยมีมารยาท และเป้าหมายให้กับชีวิตให้ตัวเองหรอก นอกจากตามเพื่อน เพราะฉะนั้น ครอบครัวเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุด ที่จะปลูกฝังในเรื่องของความคิด มารยาท และ การกระทำ ทั้งกิริยา วาจา .... ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นี้ด้วยนะคะ ^_^

  •  ขอบคุณครับคุณ Loveheart
  • มันต้องเป็นแรงส่งทั้งสองทางครับ
  • "เรา" ก็ต้องพยายามทำตัวให้น่าเคารพ
  • "น้อง" ก็ต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่ด้วย
  • ไม่รู้เหมือนกันครับว่า จะมองส่วนไหนก่อนดี จะเริ่มที่เราก่อนหรือจะรอให้น้องเคารพเราก่อน 
  • คงต้องเริ่มจากเรานะครับ น่าจะดีที่สุด

คำว่าองค์กร น่าจะใช้คำว่า องค์การ มากกว่านะครับ

  • ขอบคุณครับคุณ KAMO
  • เพิ่งได้ความรู้เรื่องคำๆนี้มาครับ 
  • ต่อไปจะใช้ "องค์การครับ"

ไม่พอใจกัน ทะเลาะกัน มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่อยู่ด้วยกัน

ถ้าอยากอยู่ด้วยกันให้มีความสุข บางทีการปรับตัวก็ใช้ไม่ได้ผลทั้งหมดหรอกกุ้งว่านะ

การรู้จักทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกันน่าจะสำคัญกว่า

ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดีในสายตาคนอื่นหรอก ทุกคนอยากทำให้ดีที่สุด

แต่อย่าลืมว่าเราเป็นมนุษย์ มีด้านมืด ด้านสว่าง

แต่ถ้าเรื่องไหนเห็นว่าเขาควรจะปรับปรุงตัวจริงๆ ก็บอกกันไปเลยตรงๆ คุยกันโดยมีความหวังดีเป็นพื้นฐาน

ีคนฟังก็เปิดใจรับ และคิดให้ได้ว่านี่คือคำแนะนำ คือความหวังดี ไม่ใช่การตำหนิ หรือคิดร้าย

ถ้าจริงใจต่อกัน จะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็คุยกันได้ทั้งนั้นแหละในความคิดกุ้งนะ

"อยากให้ทุกคนรักกัน โลกจะได้สงบสุข"

  • ขอบคุณนางฟ้ากุ้งนะครับ
  • ขอให้โลกสงบสุข
  • อย่างที่คุณกุ้งเสนอแนะมาครับว่าต้องทั้งสองฝ่าย
  • ถ้าฝ่ายหนึ่งคิดดี ทำดี เท่าไร แต่อีกฝ่ายไม่รับ ตั้งท่าไม่รับอย่างเดียว 
  • อย่างไรเสีย ก็ไม่มีทางเข้าใจกันได้หรอกครับ
  • แต่ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ :)

อยากรู้ความหมาย เคารพ ยอมรับ ค่ะพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท