๕๙.สันติสุขสู่เปียงซ้อ


         เริ่มต้นกับเส้นทางใหม่อีกครั้งจากอำเภอเมืองน่านไปอำเภอสันติสุขอีกประมาณ ๕๐ กิโลเมตร  เมื่อข้ามสะพานแม่น้ำน่านที่หน้าโรงพยาบาลน่าน ก่อนที่จะถึงค่ายสุริยพงษ์  เพื่อข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง  เลี้ยวซ้ายผ่านหมู่บ้านไปไม่นานก็เป็นการทดสอบความสามารถในการดำรงสติของหนานเกียรติ  ด้วยความมั่นใจพาพวกเราขึ้นเขาเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาไปตลอดทางผ่านฐานปฏิบัติแสงเพ็ญ อำเภอภูเพียง เข้าสู่บ้านเมืองจัง บ้านหาดเค็ด อาจจะมีบ้านอื่น ๆ อีกแต่เห็นป้ายชัดเจนเพียง ๒ หมู่บ้านนี้

         บรรยากาศเป็นธรรมชาติที่สวยงาม มองเห็นความสงบเงียบ  มีการปลูกต้นป่าขึ้นใหม่เต็มพื้นที่ว่างเปล่า และพบต้นสักสองข้างทางจำนวนมาก รวมทั้งเทือกสวนไร่นาแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความขยันขันแข็งของผู้คนที่นี่ และพบบ้านพักตากอากาศสวยงามน่าสนใจหลายแห่ง บ่งบอกถึงความเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว  หมู่บ้านรายทางที่ผ่านไป  ยังคงยืนยงความเป็นวิถีชีวิตแบบไทย ๆ พื้นบ้านให้มองเห็น คือแต่ละบ้านไม่มีรั้วรอบกั้นเหมือนบ้านในเมือง  แสดงถึงความเป็นอยู่ที่มีความปลอดภัยในทรัพย์สินและความเป็นเครือญาติสูง ถนนบางแห่งได้ถูกซ่อมและตัดใหม่ มีหน้าผาที่เป็นดินสูงชันข้างทาง  วัดโป่งคำ อำเภอสันติสุข  เวลา ๑๔.๓๐ น.

         นับเป็นความรู้สึกว่าได้หลุดโลกไปชั่วขณะที่ได้เห็นบรรยากาศของไร่นาอุดมสมบูรณ์  เห็นวัว ควายอยู่ในทุ่งนา  มีทั้งข้าวโพด  ผักกาด  ถั่วลิสง  และต้นใบยาสูบ  ทำให้นึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาเพียงไม่นานนัก  “ที่ได้มีโอกาสไปอำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย  สองข้างทางมีร้านสตอเบอรี่และน้ำสตอเบอรี่จำหน่าย  ภายหลังที่ทุกคนจอดซื้อของแล้ว  เพื่อนคนหนึ่งหยุดถ่ายภาพต้นใบยาสูบเพราะเธอเข้าใจว่าเป็นต้นสตอเบอรี่นั่นเอง

         ตลอดทางฉันนั่งเบาะหลัง  เปิดกล้องถ่ายรูปไว้พร้อมกดถ่ายภาพตลอดเวลา หากเป็นด้านหน้าจะวางกล้องไว้ที่พนักพิงด้านซ้ายของคนขับ    เป็นการถ่ายภาพจากในรถ ด้วยกล้อง digital canon ixus 95 is  จากเบาะหลังวางกล้องไว้ที่พิงหลังด้านไหล่ซ้ายของคนขับ เมื่อได้จังหวะก็กดได้ภาพดีบ้างไม่ดีบ้าง หากอันไหมไม่ดีสามารถตัดแต่งใหม่ได้  ถ่ายทุกระยะทาง ได้ภาพที่สวยงามของธรรมชาติมามากมาย อยากจะบอกใคร ๆว่าน่านมีเสน่ห์มาก

         แม้ว่าเส้นทางจะคดเคี้ยว แต่ความตั้งใจของพวกเรามุ่งมั่นเป็นเส้นตรง เป้าหมายคือสิ่งที่พวกเราอยากจะทำถ้ามีเวลามากพอ คงจะหยุดรถบันทึกภาพเป็นระยะ ๆ แต่คราวนี้ขอเพียงแค่เก็บภาพประทับใจให้...งดงามอยู่ในหัวใจตลอดไป

          ที่วัดโป่งคำ พวกเราได้เข้าไปกราบพระมหาสมคิด  ซึ่งเคยรู้จักชื่อเสียงเกียรติคุณของพระคุณเจ้ามานานแล้วในฐานะพระภิกษุสงฆ์นักวิจัย  และพระภิกษุสงฆ์นักพัฒนา  จากผลงานการวิจัยของสำนักกองทุนการวิจัย  ทั้งเอกสารเป็นรูปเล่มและแผ่นซีดี  และการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์หลายช่อง ครั้งนี้ได้พบตัวจริงของพระคุณเจ้าและร่องรอยของผลงานการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำสีธรรมชาติจากต้นไม้

          พวกเราขอตัวจากพระคุณเจ้าออกไปหารับประทานอาหารกลางวันที่ร้านค้าในชุมชน  แล้วกลับเข้าไปวัดโป่งคำอีกครั้ง  ระหว่างรอเปลี่ยนพาหนะเป็นรถกระบะ ได้ทราบข้อมูลประดับความรู้ว่าวัดโป่งคำ  ตั้งอยู่ที่ตำบลดู่พงษ์  อำเภอสันติสุข  จังหวัดน่าน  ได้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๔๑  ตามธรรมเนียมของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาว่า  “ หากมีแม่น้ำที่ไหน  มีคนที่นั่น  มีคนที่ไหน  มีชุมชนที่นั่น  มีชุมชนที่ไหน  ต้องมีวัดที่นั่น

           ชาวบ้านได้มาร่วมกันจัดตั้งชุมชนของตนเองให้เป็นหมู่บ้าน  โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโป่งคำ”  เมื่อประมาณพุทธศักราช  ๒๔๔๐  ต่อมาชุมชนบ้านโป่งคำต้องการมีวัดเพื่อให้เป็นที่ทำบุญและประกอบศาสนกิจ  และเพื่อเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน  จึงได้จัดตั้งวัดให้ชื่อว่า “ วัดโป่งคำ”  มีเนื้อที่  ๑๗  ไร่  ๓  งาน  ๕๒  ตารางวาและมีพื้นที่ทางธรณีสงฆ์  ๑  แปลง  รวมทั้งอาคารเสนาสนะประกอบด้วยพระวิหาร  กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิพระภิกษุสามเณร     
          พระครูสุจิณนันทกิจ (พระสมคิด  จรณธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสวัดโป่งคำตั้งแต่ พ.ศ.  ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบันและมีตำแหน่งทางสงฆ์เป็นเจ้าคณะตำบลพงษ์ ซึ่งวัดโป่งคำ ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามวิถีชีวิตและบริบทแวดล้อม สามารถพึ่งพาตนเองได้ได้ โดยได้จัดตั้ง “ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนบ้านโป่งคำ” เพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวมทั้งการแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชน  มีการจัดตั้งกลุ่มการเรียนรู้ต่อไปนี้

         - กลุ่มย้อมผ้าสีธรรมชาติ
         - กลุ่มเพาะเห็ด
         - กลุ่มผู้สูงอายุ  รวมกลุ่มเป็นกลุ่มตีเหล็ก / กลุ่มจักสาน
         - กลุ่มเกษตรอินทรีย์
         - กลุ่มเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         - กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนโป่งคำ
         - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา
         - กลุ่มเครือข่ายแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
            หน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  และองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ  ได้ให้ความร่วมมือต่อยอดทางความคิดและแนวทางการพัฒนา  ชาวบ้านในชุมชนบ้านโป่งคำได้น้อมรับพระราชดำรัส  “ทฤษฏีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  มาเป็นแนวปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ในวิถีชีวิตแบบพอเพียง 

           บรรยากาศอันร่มรื่นภายในวัดคือต้นไม้ขนาดใหญ่มากมาย  สุนัขที่แสนเชื่องท่าทางใจดี  พ่อไก่แม่ไก่ที่ไม่เคยพบเห็นมาเป็นเวลานาน  ดูเหมือนคุ้นเคยกันมานานหยุดยืนจ้องให้ถ่ายภาพ

           สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในบริเวณวัดโป่งคำคือ "ห้องทรงสรง" ภายหลังได้ทราบว่าบริษัท ป.ต.ท.มหาชนจำกัด ได้จัดทำขึ้นถวายเพื่อเชื้อพระวงศ์ในพระบรมวงศานุวงศ์  ที่ได้เคยเสด็จวัดโป่งคำ

            พระคุณเจ้าสมคิด จารณะสัมปันโณและคนขับรถไปส่งพวกเราที่โรงเรียนบ้านเปียงซ้อโดยรถกระบะของวัดโป่งคำ  และฝากรถของเราไว้ที่วัด จากวัดโป่งคำถึงบ้านเปียงซ้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีระยะทางประมาณ ๘๕ กม. แม้ว่าจะเดินทางที่คดเคี้ยว โค้ง  ทั้งลาดและเอียงผ่านภูเขาน้อยใหญ่มาแล้วมากมายแต่ไม่เท่าคราวนี้  แม้ว่าจะนั่งตอนหลังแต่ก็พยายามกดชัตเตอร์ผ่านกระจกตอนคนขับเบรครถ  ได้ภาพดีบ้างเสียบ้าง  แต่ก็ได้ภาพถูกใจมาไม่น้อย

           กว่าจะเป็นบันเป็นเมืองแห่งสันติสุขตามชื่อของอำเภอ  ทำให้คนดี ๆ ต้องเสียเลือดทาแผ่นดินมาแล้วมากมาย เพราะแนวคิดของคนเพียงคนเดียว สู่คนกลุ่มหนึ่งที่หลงผิดนำมาป่วนให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง

          ฉันได้ย้อนเข้าสู่ความคิดกลับไปกว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา  ที่ได้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่เพื่อนฝูง ญาติสนิท คนรักใคร่ ได้จบชีวิตลงที่นี่ ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองจนแผ่นดินชายแดน "ฐานบ้านป่าแลว" ลุกเป็นไฟ เรียกกันว่า ดินแดนสีแดงหรือสีชมพู ฉันนิ่งอึดใจและแผ่เมตตาให้ผู้ล่วงลับ บอกใจในว่า "กำลังจะผ่านมาเพื่อเยี่ยมร่องรอยของท่าน" และฉันเองก็รักผืนแผ่นดินไทยไม่น้อยไปกว่าพวกท่าน  และที่สมรภูมิบ้านป่าแลว  ทำให้เพื่อนรักของฉันคนหนึ่งต้องเป็นหม้ายขันหมากและครองโสดมาจนปัจจุบัน และสำคัญที่สุดได้สูญเสียนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทคุ้นเคยได้พลีชีพ สิ้นสุดตำนานนักรบไทยที่นี่อย่างอาลัย เมื่อวันคริสตมาสที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ ถึงวันคริสตมาสทีไรฉันไม่อยากจะรื่นเริง  เพราะยังคิดถึงการจากไปของเขาเสมอ

        ลักษณะที่ตั้งชุมชนสันติสุขเหมือนแอ่งกระทะ จึงเสียเปรียบทางกลยุทธศาสตร์การรบ ขอขอบคุณเสธแดง พลตรีขัติยะ สวัสดิผล ที่ได้มาทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการฐานบ้านป่าแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ และได้เขียน "คมเสธแดง ตอนศึกแม่จริม ภาค ๗" ให้อ่านเรื่องราวของดินแดนแห่งนี้ ดินแดนแห่ง...สันติสุขในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 422608เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2011 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะพี่ครูคิม

          ตามพี่คิมมาตลอดทางค่ะ  ย้อนรอยอดีตกับดินแดงสีแดงแห่งนี้  ขอสดุดีเหล่า

นักรบที่พลีชีพเพื่อแผ่นดินไทยและนักรบผู้กล้าหาญทุกๆท่านค่ะ

แวะมาอ่านมาชมค่ะ

ภาพสวยจังเลยค่ะพี่คิม ดูท้องฟ้าสดใส หัวใจสดชื่น

ชอบภาพสาวน้อยคนนี้ค่ะ อิ...อิ..อิ...

สวัสดีค่ะน้องKRUDALA

อำเภอสันติสุขมีเพียง ๓ ตำบลและ ๓๑ หมู่บ้านค่ะ แต่พื้นที่อาจกว้างใหญ่มีการทำไร่ทำนากันเยอะค่ะ

อีกกี่บันทึกจะถึงเปียงซ้อ...น้องอย่าลืมมาติดตามอ่านอีกนะคะ

สวัสดีค่ะน้องครูอิงจันทร์ ณ. เรือนปั้นหยา

ชุดนี้แหละ  พอถึงเปียงซ้อทำเอาหนาวสั่นเป็นเจ้าเข้าเลยคะ ความจริงรายละเอียดเกี่ยวกับสันติสุขยังมีอีกให้เล่าอีกนะคะ  แต่พี่คิมตัดตอนให้มันสั้นลงค่ะ

ขอตอนต่อไปอีกนะคะ

สวัสดีครับเกลอ กว่าจะมาเป็น "สันติสุข" ดินแดนความขัดแย้งทางความคิด หากมีมิตรสหายมาช่วยเติมประวัติศาสตร์ให้ได้เรียนรู้คงดีไม่น้อย

สวัสดีค่ะเกลอวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

เรารู้มีหนังสือที่บ้าน ๑๑ เล่มเขียนโดยทหาร แต่พูดไปเสียหาย "อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ" นะคะ  เล่าพอย่อ ๆ ดีกว่า

คงจะเหมือนหมู่บ้านเทอดไทยที่เชียงราย

พอโดนถล่มได้ไม่นาน  ทางรัฐบาลก็จัดการได้เรียบร้อยจนสงบ 

ใหม่ๆประกาศรับทั้งครูใหญ่และครูน้อยไปสอนที่โรงเรียนแถวนั้น  ไม่มีใครสมัครไปเลย

หลังๆมาทราบว่าแย่งกันไปตรึมค่ะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

ไม่ได้หายไปไหน...แต่คิดถึงพี่คิมเสมอคะ

ขอบคุณที่คุณคิมเข้าไปทักทายกัน ขอบคุณ ขอบคุณมาก ๆ

อีกไกล จะถึงเปียงซ้อ..นะครับ

ติดตามครับ วันนี้ประชุมคณะครู ได้ขอบคุณคณะครูที่ร่วมแรงร่วมใจ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก

และประสานงาน จนกิจกรรมสำเร็จลุล่วงด้วยดี

พี่จำครูเกษตร ที่มารายงานตัววันก่อนได้ไหมครับ เมื่อวานนี้ เขาโทรมาลาออก แล้วครับ...

สวัสดีค่ะkrugui Chutima

วันนี้เอาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องเล่าการสู้รบมาอ่าน  ทำให้คิดถึงเพื่อนที่เสียชีวิตค่ะ  จังหวัดทางชายแดนผจญกับเรื่องนี้ทั้งนั้นนะคะ

สวัสดีค่ะน้องครูอรวรรณ

ที่โอเคคิดก็ไม่ได้ไปหลายวันแล้วค่ะ ตอบไม่ไหวค่ะ

หวังว่าน้องคงสบายดีนะคะ  คิดถึงเช่นกันค่ะ  อย่าลืมมาติดตามเรื่องเล่าอีกนะคะ  ยังเหลืออีกยาวค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ

ขอขอบคุณค่ะ เราต้องเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ  พี่คิมขอขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนและทักทายพี่คิมค่ะ

สวัสดีค่ะ ผอ.โจ นาย พรชัย นาชัยเวียง

บันทึกต้องตัดตอน  ความจริงสันติสุขยังมีเรื่องเล่าอีกนะคะ  เอาไว้รวมเล่มค่ะ ยกมาตอนย่อ ๆ ไว้ที่บล็อก ยาวเกินไปจะไม่มีคนอ่านค่ะ

น่าเสียดายนะคะ  ไม่สู้ตั้งแต่แรก  ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณค่ะ  ไม่เป็นไรนะคะ หาใหม่ค่ะ

ตอนนี้โปรโมทไปเยอะแล้วค่ะ

*** ได้แต่ติดตามพี่คิม ..ห่างๆ...เน้ตล่ม และมีงานเร่งเข้ามามากมาย

*** ขอบคุณค่ะสำหรับหนังสือที่พี่ส่งไปให้

*** มีความสุขและพบประสบการณ์ดีๆ ต่อไปนะคะ

ขอให้พี่ครูคิมมีความสุข ดูแลสุขภาพนะครับ..

เก็บภาพสวยๆ มาฝากผู้ติดตามเสมอนะครับ ..

อันที่จริงดินแดนแห่งนี้..ยังมีสิ่งดีๆๆอีกมากมายเสียดายวันนั้นถ้ามาถึงช่วงบ่ายอ่อนๆจะพาพี่คิมและคณะไปแวะเก็บเกี่ยวธรรมชาติตามรายทางที่เราไปไม่ถึงวันนั้น..คิดว่าคงจะเติมเต็มความสงสัยให้พี่คิมได้หายจากความลังเลเมื่อ 20 ปีที่แล้วถึงอย่างไรก็ขอปวารณาตนว่า..วันข้างหน้าถ้ามีโอกาสมาอีกครั้ง...ยินดีต้อนรับพี่คิมและคณะเสมอ...

  • สวัสดีครับ ครูคิม
  • ได้เข้ามาเรียนวิชาสังคมศึกษา ด้วยความสุขใจ
  • ขอบคุณที่เก็บภาพสวย ประทับใจ มากฝากด้วยครับ
  • มีความสุขมากๆ ครับผม

สวัสดีค่ะน้องกิติยา เตชะวรรณวุฒิ

เป็นกำลังใจให้นะคะ ยุงงานแต่อย่าให้ยุ่งใจค่ะ

เรื่องเล่าของเปียงซ้อยังมีอีกมากมายค่ะ จะพยายามเล่าไปเรื่อย ๆนะคะ

ขอขอบคุณที่เข้ามาติดตามค่ะ

สวัสดีค่ะค่ะน้องครูป้อมราชิต สุพร

เดือนหน้านี้จะได้ไปเที่ยวบุรีรัมย์  ไม่ทราบจะได้แวะเยี่ยมน้องครูป้อมไหมนะ  ถ้ามีโอกาสดีคงจะได้แวะไปนะคะ

อย่าลืมมาติดตามชมภาพแอ่นเรื่องเล่าของเปียงซ้ออีกนะคะ

นมัสการพระคุณเจ้า ฯสมคิด จารณธัมโม

กราบขอบพระคุณในความกรุณาพาพวกเราไปส่งที่เปียงซ้อ และน่าเสียดายที่วันกลับไม่ได้กราบลา หากจะอยู่รอก็คงช้าไม่ทันการเจ้าค่ะ

ในโอกาสหน้าคงได้มารับใช้และเรียนรู้กับความงดงามของสันติสุขอีกเจ้าค่ะ

สวัสดีค่ะน้องนาย ฐานิศวร์ ผลเจริญ

ขอขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านเรี่องเล่า

จะพยายามเล่าทุกอย่างที่พบเห็นและเป็นจริง โดยเป็นความเรียงกันไปตามความถนัดแบบนี้ค่ะ

หากอ่านแล้วไม่เข้าใจโปรดถามนะคะ

เจริญพร โยมครูคิม

เข้ามาติดตามอ่านงานของครูและขออนุโมทนาบุญด้วย...สาธุ

อธิบายภาพ:เขียนโดยพระครูโฆสิตธรรมสุนทร(สุรทิน ญาณสุโภ)

 

นมัสการพระคุณเจ้าพระอธิการโชคชัย

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่มาให้ข้อคิดและกำลังใจ  เวลาที่เหลืออยู่ก็จะพยายามรับใช้สังคมเจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท