โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านการพัฒนาระบบข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านการพัฒนาระบบข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สกว

เรื่องเล่าน่าอ่าน


ชาวบ้านก็ทำวิจัยได้

                                                                                               

ประสบการณ์การพัฒนาฐานข้อมูล

             

เรื่องเล่าจาก................แม่ประมวล  เจริญยิ่ง

                นางประมวล เจริญยิ่ง และคณะ  ได้วิจัยโครงการการศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนป่าละหอกกระสัง ตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นและป่าชุมชน ความสัมพันธ์ของป่ากับวิถีชีวิตของคนในชุมชน  ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เพื่อศึกษาบทบาทขององค์ชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าในชุมชน  และเพื่อค้นหาแนวทางในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสร้างสำนึกร่วมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่า พื้นที่การศึกษาเป็นชุมชนที่อยู่รอบเขตป่าชุมชนป่าละหอกกระสัง จำนวน 5 หมู่บ้าน ซึ่งผ่านกระบวนการศึกษาการจัดการป่าแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน  เพื่อนำไปสู่กระบวนการวางแผนพัฒนาและฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืน

                กระบวนการและวิธีการศึกษา    มีอยู่หลายวิธีและหลายขั้นตอน  ดังต่อไปนี้

1.  ชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน

1.1 จัดเวทีชี้แจงโครงการ เชิญกลุ่มเป้าหมายจากทั้ง 5 หมู่บ้านในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ครู นักเรียน พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข เจ้าหน้าที่ป้องกันรักษาป่า พัฒนาชุมชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ และชาวบ้าน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เป้าหมายของโครงการ และกระบวนการดำเนินงาน รวมทั้งกระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ด้วย

1.2 ให้ตัวแทนแต่ละชุมชนเล่าถึงความเป็นมาของชุมชนเท่าที่ทราบพอสังเขป (ในขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการอัดเทป และเก็บประเด็นในการพูดคุยของผู้เข้าร่วมเวที) หลังจากนั้นก็จะค้นหาผู้รู้ของแต่ละชุมชนในเวที เพื่อลงสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึก ในการให้แต่ละหมู่บ้านได้เล่าเรื่องราวของหมู่บ้านทำให้ทราบถึงผู้รู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยซึ่งทีมวิจัยจะต้องตามไปเก็บข้อมูลจากบุคคลเหล่านั้นต่อไป

1.3 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้อาสามาเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน เพื่อเข้าร่วมเป็นทีมศึกษาวิจัยในโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและมีความเข้าใจร่วมกัน

1.4 แบ่งบทบาทหน้าที่กันเพื่อเตรียมตัวลงเก็บข้อมูลภาคสนามตามลายแทง ตามแผนงานที่ได้วางไว้ แต่กลุ่มงานต่างๆ ก็ไม่ได้แยกกันโดยสิ้นเชิง ยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ และทำงานร่วมกันตลอดโครงการ ซึ่งทางทีมศึกษาวิจัยได้แบ่งบทบาทกันดังนี้ คือ กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล และทีมที่ทำงานเก็บข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูล

- กลุ่มผู้รู้ในแต่ละเรื่อง เช่น เรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ประวัติป่าชุมชน เรื่องสมุนไพร ต้นไม้ เรื่องแมลง เห็ด ขอบเขตของพื้นที่ป่าชุมชน

- กลุ่มผู้ร่วมให้ข้อมูลเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าจำนวน 150 ครัวเรือน จาก 5 หมู่บ้าน โดยได้จากกลุ่มที่มาเข้าร่วมประชุม และให้ทีมวิจัยแต่ละหมู่บ้านเลือกเก็บข้อมูลจากครอบครัวที่ใช้ประโยชน์โดยตรง

ทีมเก็บข้อมูล

- ทีมเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่ามีจำนวนหมู่บ้านๆ ละ 3 คน โดยใช้แบบสอบเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่าในด้านอาหาร เช่น เห็ด ผัก แมลง สัตว์ การใช้ประโยชน์จากป่าด้านสมุนไพร ด้านไม้ใช้สอย ด้านไม้เชื้อเพลิง     

- ทีมเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชุมชน ใช้การจัดเวทีย่อยโดยให้ผู้เฒ่าผู้แก่กลุ่มที่มากลุ่มแรกๆ เล่าให้ฟังโดยมีการบันทึกเทป ทีมงานช่วยบันทึก(ชาวบ้าน) และช่วยกันถอดเทปออกมาเป็นข้อมูล และเขียนข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทั้งหมด

- ทีมเก็บข้อมูลเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ มีชาวบ้าน ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อสม. อบต.เขาคอก และปราชญ์ชาวบ้านที่รู้เรื่องสมุนไพร พันธุ์ไม้ ขอบเขตป่าชุมชน สัตว์ แมลง และพืชผักต่างๆ รวมทั้งแหล่งกำเนิด ลักษณะของพืชพรรณ เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด นั่นก็คือทุกคนที่เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและชาวบ้านที่มาใช้ประโยชน์จากป่าด้วย

2. สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

                2.1 ประชุมเพื่อสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มเป้าหมายจะประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชนจาก 5 หมู่บ้านที่จะทำการศึกษา กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน ครู นักเรียน พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข เจ้าหน้าที่ป้องกันรักษาป่า พัฒนาชุมชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน ชาวบ้านในห้าชุมชนในเขตพื้นที่การศึกษา

                2.2 ประชุมครั้งที่สองคณะวิจัยได้เชิญที่ปรึกษาโครงการทำความกระจ่างในเรื่องเครื่องมือการทำวิจัย ทีมวิจัยเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องการทำเครื่องมือ เช่น

2.3 ประชุมสร้าง พัฒนา และทำความเข้าใจเรื่องเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับทีมวิจัยและชาวบ้าน

           ก)  เครื่องมือเก็บประวัติศาสตร์ชุมชน

                - การออกแบบการจัดเวที ออกแบบคำถามที่จะใช้ถามในเรื่องของประวัติศาสตร์ชุมชนและประวัติศาสตร์ของป่าว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องถาม การจัดเวทีนั้นเป็นการจัดเวทีให้คนเฒ่า คนแก่ ผู้รู้ได้เล่าเรื่องให้ทีมวิจัยและชาวบ้านที่สนใจฟัง ส่วนทีมวิจัยนั้นทำการบันทึกเทป และมีหน้าที่ช่วยกันตั้งคำถาม และถามเพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้รู้เหล่านั้น

                - เตรียมคำถามที่จะใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและประวัติศาสตร์ป่า

                - ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของป่า ซึ่งได้แก่หลวงพ่อที่วัด กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่เข้ามาอยู่ก่อนในพื้นที่นี้  กลุ่มหมอสมุนไพร กลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากป่าเป็นประจำ

                - กำหนดวันที่ สถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ที่จะจัดเวทีรวมทั้งนัดหมายกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ให้ข้อมูล และทีมวิจัยเพื่อลงไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่มชาวบ้าน เด็กเยาวชนที่สนใจอยากเรียนรู้ด้วย

ข) พัฒนาแบบสอบถามการใช้ประโยชน์จากป่า

-  ออกแบบสอบถามโดยให้ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกันคิด ตามประเด็นที่จะศึกษา เพื่อนำไปถามกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากป่าจำนวน 150 คน  โดยมาจากฐานคิดว่าจำนวนตัวอย่างจะเป็นหนึ่งในสามของจำนวนครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน

- นำแบบสอบถามที่พัฒนาแล้วไปทดลองเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 ครัวเรือน  ซึ่งทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการเก็บข้อมูล ว่าจะเอาข้อมูลไปทำอะไร เก็บข้อมูลแล้วชุมชนและตัวผู้ให้ข้อมูลจะได้ประโยชน์อะไร

ค) ออกแบบการเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของป่าละหอกกระสัง

- เครื่องมือในการเก็บสภาพดิน โดยใช้วิธีการสังเกตลักษณะดินในป่าว่าพื้นที่ดอนดินมีลักษณะเป็นอย่างไร พื้นที่ลุ่มดินเป็นอย่างไร และมีพันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ อาหารป่าอะไรบ้างในบริเวณนั้น

- เครื่องมือเก็บสภาพของพื้นที่ป่า  โดยแบ่งลักษณะป่า 3 ส่วนตามระบบภูมิประเทศของป่า ได้แก่ พื้นที่ดอน พื้นที่ราบ พื้นที่ลุ่ม เก็บว่าพันธุ์ไม้ที่ขึ้นแต่ละพื้นที่ มีความหนาแน่น ความหลากหลายของพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์เป็นอย่างไร

- เครื่องมือนับต้นไม้  โดยการแบ่งพื้นที่ 2,700 ไร่เป็นแปลงย่อย โดยใช้เชือกขึงให้เป็นแปลงเล็กๆ ขนาดหนึ่งไร่ และแปลงย่อยในหนึ่งไร่ออกเป็นล๊อกเล็กอีกโดยดูความหนาแน่นของต้นไม้ และแบ่งกันนับต้นไม้ทุกล๊อกเล็กๆ ในหนึ่งไร่ เมื่อเสร็จแต่ละแปลงให้ทุกคนเอาข้อมูลมารวมกัน 

             - เครื่องมือในการเก็บภูมินิเวศน์น้ำ ศึกษาเส้นทางของน้ำที่ไหลออกจากป่าไปสู่แหล่งที่เป็นลำห้วยในบริเวณโดยรอบของป่า

                 3. การลงมือเก็บข้อมูล

3.1 การเก็บประวัติศาสตร์ชุมชนและประวัติศาสตร์ป่าชุมชน

โดยการจัดเวทีย่อยรายหมู่บ้าน และแบบคำถามที่ได้ช่วยกันคิดมาก่อนแล้ว โดยใช้กลุ่มเป้าหมายจากเวทีชี้แจงโครงการ และกลุ่มผู้รู้ ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้านมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                ในการเก็บข้อมูลในแต่ละหมู่บ้าน มีทีมจากหมู่บ้านมาร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนและช่วยบันทึก โดยมีการอัดเทป ในการจัดเวทีแต่ละหมู่บ้าน หลังจากเก็บข้อมูลแต่ละหมู่บ้านแล้วทีมวิจัยเอาข้อมูลมาคุยกัน เช่น เวทีที่มีการจัดแต่ละครั้งเป็นอย่างไร คนมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน และข้อมูลที่ได้ในแต่ละวันเป็นอย่างไร เจอปัญหาอะไรบ้าง  แล้วจึงวางแผนที่จะไปหมู่บ้านอื่นต่อไป

                หลังจากเก็บข้อมูลเสร็จทุกหมู่บ้านแล้วเชิญทีมวิจัยและผู้ให้ข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อมูลที่ได้มานั้นเป็นอย่างไร ได้ครบหรือไม่ ข้อมูลที่ได้มาใช่หรือไม่ ดูความสัมพันธ์ของข้อมูล และมีการแบ่งประวัติศาสตร์ของชุมชนและป่าชุมชนออกเป็นช่วงเวลา ว่าในแต่ยุคสภาพการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ป่า วิถีชีวิตของผู้คนเป็นอย่างไร

           3.2 เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่า

           โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจของป่าชุมชนที่ชุมชนได้รับตามฤดูกาลนั้น ทางคณะทีมวิจัยได้ใช้เวลาในการศึกษาหนึ่งปีเต็ม ทำการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนนั้นก็จะทำการประชุมรวบรวมข้อมูลในทุกวันที่ 1 ของเดือนจนครบหนึ่งปี เมื่อเก็บข้อมูลครบหนึ่งปีแล้ว ทีมวิจัยเอาข้อมูลของทุกเดือนมารวมกันเป็นข้อมูลการใช้ประโยชน์ทั้งปี ซึ่งดูในเรื่องของมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ชาวบ้านใช้บริโภคและจำหน่าย  เมื่อได้ข้อมูลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จึงได้มีการจัดเวทีให้ชุมชนได้รับรู้ข้อมูลจากการวิจัย ในการจัดเวทีครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านได้เห็นมูลค่าของป่าชุมชน รู้คุณค่าของป่าชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของตนเอง และทำให้เกิดการวางแผนในการฟื้นฟูจัดการป่าต่อไป

3.3 เก็บข้อมูลเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของป่าละหอกกระสัง  

การศึกษาภูมินิเวศน์ป่าชุมชนป่าละหอกกระสัง จำนวน 2,700 ไร่ ได้อาศัยส่วนร่วมจากกลุ่มคนที่หลากหลาย ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นที่ร่วมทำการศึกษา เช่น พรานป่า หมอยาสมุนไพร ผู้รู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ เจ้าหน้าที่ป้องกันรักษาป่า ชุมชนผู้ที่เชี่ยวชาญในพื้นที่ รายละเอียดดังนี้

                3.3.1 วางแผนการทำงาน

        - การวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามช่วงฤดูกาล

        - แยกประเด็นที่ต้องการศึกษาและสามารถศึกษาได้ในช่วงเวลาใด

        - สรรหาผู้รู้และมีความชำนาญในแต่ละเรื่อง เช่น เรื่องแผนที่ป่า / สภาพภูมิประเทศของป่า / ชนิดของพันธุ์ไม้ /  ชนิดสมุนไพร /  ชนิดของสัตว์ป่า /  ชนิดพืชผัก /  ชนิดของเห็ดต่างๆ

        - แบ่งทีมวิจัยออกเป็นทีมๆ ร่วมให้แต่ละทีมมีผู้รู้เป็นหัวหน้าทีมในการสำรวจ

                3.3.2 ลงมือเก็บ

                - ทีมวิจัยร่วมกับผู้รู้สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในแต่ละด้าน เช่น ด้านชนิดพันธุ์ไม้, ด้านพืชสมุนไพร , ด้านชนิดของสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในป่า,  ชนิดของเห็ด เป็นต้น

        - ทำความเข้าใจกับทีมวิจัยกับเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจนเข้าใจตรงกัน

        - จัดกลุ่มผู้สนใจตามประเด็นต่างๆที่กำหนดไว้

        - ลงมือปฎิบัติตามแผน  ในขั้นตอนนี้จะเก็บข้อมูลก่อนว่ามีพันธุ์ไม้กี่ชนิด  พืชสมุนไพรกี่ชนิด สัตว์ที่เจอในขณะศึกษามีกี่ชนิด

        - ผู้รู้เรื่องแผนที่ป่าและสภาพภูมิประเทศป่าจะแบ่งพื้นที่ป่าออกตามลักษณะภูมิประเทศป่า(ออกเป็น       3 ส่วน คือ พื้นที่ดอนจำนวน 500 ไร่, พื้นที่ราบจำนวน 2,000 ไร่, พื้นที่ลุ่มจำนวน 200 ไร่)

        - ทีมวิจัยร่วมกับผู้รู้สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในแต่ละด้าน เช่น ด้านชนิดพันธุ์ไม้, ด้านพืชสมุนไพร , ด้านชนิดของสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในป่า, ชนิดของเห็ด เป็นต้น

        - ทำความเข้าใจกับทีมวิจัยกับเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจนเข้าใจตรงกัน

        - จัดกลุ่มผู้สนใจตามประเด็นต่างๆที่กำหนดไว้

        - ลงมือปฎิบัติตามแผน ในขั้นตอนนี้จะเก็บข้อมูลก่อนว่ามีพันธุ์ไม้กี่ชนิด พืชสมุนไพรกี่ชนิดสัตว์ที่เจอในขณะศึกษามีกี่ชนิด

                3.3.3 แลกเปลี่ยนข้อมูล

        - ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน

        -ให้ผู้ศึกษาร่วมแสดงถึงข้อสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงที่ได้พบเห็นและเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพป่าที่เคยมีข้อมูลในอดีต / ปัจจุบัน   แล้วร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

        -  สรุปผลการศึกษาเบื้องต้น

                3.3.4 วางแผนและปรับปรุงการเก็บข้อมูล         

                - วางแผนเก็บข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ที่กำหนดไว้

        - จัดทำป้ายติดต้นไม้ในป่าเพื่อแสดงพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจนและมีระบบเพิ่มขึ้น โดยแบ่งเป็นแปลงๆ ละประมาณ 1 ตารางไร่ ติดป้ายตามลำดับของแต่ละแปลงไว้ทั้งสี่ด้าน ภายในพื้นที่ 1 ตารางไร่ ก็แบ่งซอยให้แคบลงอีกเป็นแปลงเล็กกว้างประมาณ 5 - 8 วา ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของปริมาณต้นไม้ในแต่ละพื้นที่ ทาสีไว้ตามต้นไม้ในซอยแปลงเล็ก แล้วใช้เชือกขึงตามต้นไม้ที่ป้ายสีทาไว้ แล้วแบ่งกลุ่มๆละ 4 5 คน เข้าศึกษาปริมาณต้นไม้ (นับต้นไม้) เวลานับต้นไม้ของแต่ละกลุ่มนั้นจะมีการตกลงกันก่อนว่าใครจะนับต้นอะไรบ้าง เช่น ใครนับต้นเต็งก็จะนับต้นเต็งจนเสร็จ ถึงจะนับต้นไม้ชนิดอื่นอีกได้ตามที่ตกลงกันไว้ในกลุ่ม ในขั้นตอนนี้คนที่มีหน้าที่วัดพื้นที่ก็จะวัดไปเรื่อยๆ ส่วนคนที่ติดป้ายหรือทาสีก็จะทำไปพร้อมๆกับคนวัดพื้นที่ ส่วนกลุ่มที่เข้าศึกษาปริมาณต้นไม้ก็ตามเข้าไปทีหลัง

        - รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นทุกวันที่ลงปฏิบัติงาน

        - ประชุมรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

        - ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษา  ตลอดจนวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผืนป่าอย่างลงลึก

        - ศึกษาซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะข้อมูลปริมาณต้นกับขนาดของต้นไม้ที่ให้ศึกษาทีมวิจัยเข้าใจไม่ตรงกัน โดยกำหนดขนาดลำต้นของไม้ยืนต้นใหม่จากเดิม   2 3  นิ้ว   เป็น  3 6   นิ้ว เป็นต้นไป

        - ประชุมรวบรวม / วิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง ในการศึกษาครั้งที่สองนี้  ทีมวิจัยมีพัฒนาการในการทำงานดีมากสังเกตจากการศึกษาได้เร็วกว่า และเข้าใจในเครื่องมือดีขึ้น ในเวทีนี้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมจะมีทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชุมชน ครู นักเรียน ภูมิปัญาชาวบ้านหมอยาสมุนไพร  ตลอดจนผู้ที่มีความชำนาญในพื้นที่ป่า

        - บรรยากาศในการเก็บข้อมูล เก็บวันแรกขรุขระ เก็บได้น้อยเพียงประมาณวันละ 4-5 ไร่ เพราะว่ายังไม่มีความชำนาญ และคนเก็บก็ยังไม่คล่อง แต่นานวันเข้าก็สามารถทำได้เร็วขึ้น กลุ่มผู้ชายจะเป็นผู้วัดพื้นที่ป้ายสี ขึงเชือกให้ ส่วนกลุ่มผู้หญิงและเด็กเป็นคนนับต้นไม้

4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

จัดเวทีย่อยรายชุมชน เชิญผู้รู้ ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน พูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชนแต่ละช่วงเวลา แต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งได้มีการจัดเวทีทุกหมู่บ้านในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ บ้านละหอกกระสัง บ้านโคกเศรษฐี บ้านโคกกระนัง บ้านเขาคอกหมู่ 1 และหมู่ 15 โดยการจัดเวียนไปในแต่ละหมู่บ้านโดยให้ทีมวิจัยที่เป็นตัวแทนจาก

หมายเลขบันทึก: 191379เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท