สมรรถภาพทางกาย


สมรรถภาพทางกาย

ชื่อเรื่อง : ชุดอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย 8 ฐานการเรียนรู้

ผู้เผยแพร่ :  นางสาวผุสดี   สมบูรณ์        ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ คศ.3

 

ความสำคัญของปัญหา

           การพัฒนาขีดความสามารถของนักเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องคำนึงถึงสมรรถภาพทางกายในด้านต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  กำลังกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว  รวมทั้งต้องอาศัยทักษะเทคนิคที่ถูกต้องเพื่อเป็นการพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกายให้สมบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นเพื่อตรวจสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนว่าความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ความสามารถทางกลไกการเคลื่อนไหวและการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีความแข็งแรงสมบูรณ์ อยู่ในระดับใด และทราบถึงพื้นฐานว่าควรจะต้องแก้ไขปรับปรุงและสร้างเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับร่างกายในส่วนใดบ้าง เพื่อช่วยให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญของการมี สมรรถภาพทางกายที่ดีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและมีศักยภาพที่จะปรับตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ผู้เผยแพร่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพอนามัยโรงเรียน ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่การสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ได้มีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อให้ทราบสัดส่วน และดูพัฒนาการของการเจริญเติบโตของนักเรียนมีการทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศของคณะกรรมการนานาชาติ  (ICSPFT) ซึ่งประกอบด้วยรายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย  8  รายการ ดังนี้

1.   วิ่ง  50  เมตร ( 50  Meters Sprint )

2.   ยืนกระโดดไกล ( Standing Broad Jump )

3.   แรงบีบมือที่ถนัด ( Hand Grip)

4.   ลุก-นั่ง  30  วินาที  ( 30 Seconds Sit-ups)

5. ดึงข้อ ( Pull – ups ) (สำหรับนักเรียนชาย) และงอแขนห้อยตัว ( Flexed – Arm Hang )  (สำหรับนักเรียนหญิง)

6.   วิ่งเก็บของ ( Shuttle Run )

7.   วิ่งระยะไกล(Distance Run ) 800 เมตร (สำหรับนักเรียนหญิง) 1,000 เมตร (สำหรับนักเรียนชาย)

8.   งอตัวไปข้างหน้า ( Trunk Forward Flexion )

 

เพื่อให้ทราบระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนในแต่ละด้าน โดยเก็บข้อมูลภาคเรียนละ 1 ครั้ง และสรุปผลเป็นรายภาคและรายปี  แต่ประเด็นปัญหาคือโรงเรียนยังไม่มีการแก้ไขนักเรียนที่มีสมรรถภาพทางกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์  จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาและดำเนินการสร้างอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เพื่อให้นักเรียนใช้ในการฝึกและปฏิบัติ เพื่อสร้างเสริมให้นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้นและเพื่อจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในการออกกำลังกายมากขึ้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายและเกิดความพึงพอใจในอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย  เป็นประเด็นที่ผู้เผยแพร่สนใจและใคร่ศึกษา โดยใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้น สามารถฝึกปฏิบัติเดี่ยวหรือกลุ่มทั้งในเวลาและนอกเวลาได้  ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น  ทำเป็น มีการจัดกระบวนการฝึกเพื่อพัฒนาตนเองต่อไป   ซึ่งอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ผลิตนั้น ประกอบด้วย

1. เครื่องมือฝึกสมรรถภาพทางกาย  เพื่อพัฒนาการวิ่ง  50  เมตร

2. เครื่องมือการฝึกสปริงข้อเท้าและการทรงตัว  ขณะยืนกระโดดไกล

3. ท่อเสริมสร้างพลังแรงบีบมือ  ฝึกแรงบีบมือที่ถนัด

4. เตียงสปริงพัฒนากล้ามเนื้อ   ฝึกลุก-นั่ง  30  วินาที 

5. ยืด-หดมหัศจรรย์  ฝึกดึงข้อ

6. พาฉันไปเล่นด้วย   ฝึกวิ่งเก็บของ

7. เชือกกระโดด  ยาว 8 เมตร  ฝึกความอดทนในการวิ่งระยะไกล

8. เตียงสปริงช่วยฉันให้ตัวอ่อน   ฝึกงอตัวไปข้างหน้า

           ทั้งนี้เพราะการฝึกโดยใช้อุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายนั้นช่วยเสริมเป้าหมายการเรียนการสอนของผู้สอนด้านอื่นๆ ได้  กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียน  ซึ่งหากมีผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายและเกิดความพึงพอใจก็จะทำให้ชุดอุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายเพิ่มคุณค่ายิ่งขึ้น และจะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อโรงเรียนอื่นๆ ที่จะนำไปใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนรายวิชาพลศึกษาของผู้สอนได้

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ได้สื่ออุปกรณ์เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ที่มีประสิทธิภาพ

2.  เป็นกิจกรรมทางเลือกนักเรียนที่สามารถใช้เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายได้

3.  ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาสูง โดยใช้วัสดุที่หามีตามท้องถิ่นมาดัดแปลงและปรับปรุงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบสมรรถภาพทางกายได้จริง โดยมีคุณภาพที่สามารถช่วยในการพัฒนาคุณภาพทางสมรรถภาพทางกายของผู้เรียนได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 209256เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ลุ้นอยู่ตั้งนาน
  • ฮ่าๆๆๆ
  • เยี่ยมมากๆๆ
  • ต่อไปพี่ผุสดี
  • จะได้เผยแพร่งานได้
  • เข้าใจว่า
  • ถ้าลงรูปในบันทึกด้วยจะดีมากๆๆๆๆ
  • เอารูปมาฝากพี่ๆ
  • สวัสดีค่ะคุณครูผุสดี
  • มาเขียนบ่อยๆนะคะ
  • สนใจอุปกรณเสริมสร้าง ๘ชุดนี้มาก
  • ครูนำมาเล่าทีละชุด
  • ประกอบภาพ ที่นักเรียนใช้ฝึกด้วยยิ่งดีค่ะ
  • ตามคนหน้าตาดีมาครับ
  • เอารูปมาฝากครับ
  • Page2228
  • เอามาฝากอีก
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

คุณป้า ทำงานได้ยอดเยี่ยมเลยนะ

นักเรียนโรงเรียนบรรหาร 1 มีสุขภาพแข็งแรงถ้วนหน้า

ให้กำลังใจ สู้ๆๆๆๆๆ

มือใหม่หัดลง gotoknow ต้องค่อยๆๆ ขยับ จะลงรูปภาพ แล้วจะเล่าว่าแต่ละฐานว่าเป็นอย่างไรบ้าง หัวหน้า ศน.ลำดวน อดใจรอหน่อยนะค่ะ

ภาคภูมิ รัตนโรจนากุล

เป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจมาก ประยุกต์ได้เท่าทันยุคสมัย

                                                       น่าสนใจครับ

                                                            ภาคภูมิ

เกณฑ์การวัดผลนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ดังรายการดังนี้

1. วิ่ง 50 เมตร ( 50 Meters Sprint )

2. ยืนกระโดดไกล ( Standing Broad Jump )

3. ลุก-นั่ง 30 วินาที ( 30 Seconds Sit-ups)

4. วิ่งเก็บของ ( Shuttle Run ) 10 เมตร

5. วิ่งระยะไกล(Distance Run ) 1200 เมตร

6. งอตัวไปข้างหน้า ( Trunk Forward Flexion )

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับที่ ชั้นหา นหาสมรรถภาพทางกลไกต่างหากนี่ไม่รู้อะไรที่เอามาขึ้นหน้าจอ เนี๊ย ไม่เข้าสักนิดเดียวเยย งงงงงงงงงงง จนโลกจะแตกแยกกันแล้ว ปัดโธ่

สู้ สู้ ค่ะอาจารย์ผุสดี (จากลูกดำเหลือง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท