โครงการ/กิจกรรม : เลขาฯกับการบริหารจัดการ ตอนที่ 1


ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice: CoP)

          สวัสดีค่ะ...ก่อนอื่นต้องขออภัยอย่างสูงค่ะที่ห่างหายไปจากบล็อกเสียหลายเดือน กลับมาครั้งนี้นำโครงการ/กิจกรรมช่วงที่หายไปมาฝากค่ะ

          ครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอโครงการการจัดการความรู้ เรื่อง เรียนรู้การเบิก-จ่ายวัสดุทางทันตกรรมอย่างมืออาชีพ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราคือ ผู้ปฏิบัติงานทางทันตกรรม โดยใช้วิธีการเล่าเรื่อง (Story telling) เป็นการเชิญผู้ที่มีความรู้เรื่องการเบิก-จ่ายวัสดุทางทันตกรรมมาเล่าวิธีการปฏิบัติงานที่ดี แบ่งปันประสบการณ์ให้คนอื่นๆที่สนใจฟัง และครั้งนี้เราได้จัดโครงการการจัดการความรู้ที่มีการนำความรู้เรื่อง ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนโครงการ

          โครงการการจัดการความรู้ เรื่อง เลขาฯกับการบริหารจัดการ เริ่มแรกช่วงเดือน มิถุนายน กันยายน 2551 ซึ่งได้ผลการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งโครงการฯยังมีการจัดต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการจัดให้ครบวงจร PDCA โครงการฯมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เลขานุการฯได้มีเวทีในการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานซึ่งกันและกันและเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงาน การประสานงานและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการคือ กลุ่มเลขานุการผู้บริหารและกลุ่มเลขานุการภาควิชา

          ซึ่งเราได้มีการวางแผนการดำเนินโครงการฯ ให้มีการประชุมแต่ละ CoP อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้มากที่สุด จัดให้มีการ พบปะ พูดคุยถึงเรื่องการปฏิบัติงานประจำวันและนำเสนอภาระงานที่เป็นจุดเด่นของตนเองมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เลขานุการท่านอื่นได้ทราบ ซึ่งหลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันแล้ว พบว่าการปฏิบัติงานมีความเกี่ยวข้องกับหัวหน้างาน / หัวหน้าหน่วยด้วย จึงจัดให้มีการพบปะกัน ระหว่างเลขานุการผู้บริหาร เลขานุการ ภาควิชากับ หัวหน้างาน / หัวหน้าหน่วย เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางการปฏิบัติงานที่สมควรเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีต่อไป

          ซึ่งครั้งแรกที่เราเริ่มจัดเรามองเห็นถึงปัญหา และเห็นว่าเรายังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) เราจึงได้เชิญ คุณวราพร แสงสมพร หัวหน้างานจัดการความรู้ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์  

ลงทะเบียนกันก่อนน่ะค่ะ

คุณวราพร แสงสมพร หัวหน้างานจัดการความรู้ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ผศ.วิภาดา เลิศฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มอบของที่ระลึกให้แก่ คุณวราพร แสงสมพร

ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกหน่อยค่ะ

          ชุมชนนักปฎิบัติ (Community of Practice : CoP) คืออะไร

คือ คนกลุ่มเล็กๆที่มีการรวมตัวกันหรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ

          ลักษณะ CoP

        สนใจเรื่องเดียวกัน

        มุ่งมั่น  และเป้าหมายร่วมกัน

        แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน

        ปฎิสัมพันธ์กันต่อเนื่อง

        เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ 

          CoP ประกอบด้วย

Facilitator ทำหน้าที่จุดประกายความคิด สร้างความกระตือรือร้น สร้างการเชื่อมโยงเป้าหมายระหว่างผู้บริหาร กับ Practitioner จัดเวทีให้คุณกิจนำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนกัน พูดนำกลุ่ม เปิดคำถามเพื่อกระตุ้นความคิด และโยงประเด็น ให้ Practitioner ได้ดูดซับความรู้จากแหล่งที่มีความรู้ที่ดีเลิศ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย กำหนดกติกา ควบคุมประเด็นและเวลา และเชื่อมโยง KM ภายใน /ภายนอก

Practitioner ทำหน้าที่เป็นเจ้าของกิจกรรมจัดการความรู้ร่วมกัน และร่วมกันดำเนินการจัดการความรู้ให้บรรลุเป้าหมาย และเป็นผู้ดำเนินการจัดการความรู้ คือร่วมค้นหา เสาะหา ความรู้ นำมาประยุกต์ใช้ในงาน เมื่อได้ความรู้ใหม่จดบันทึก นำเสนอ เพื่อให้เกิดกระบวนการตีความยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีก

Historian ทำหน้าที่บันทึกเรื่องเล่า ขุมความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายแต่ละชิ้น แก่นความรู้ เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานแต่ละชิ้น

IT Admin ทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ เพื่อให้เกิด การจัดเก็บที่ค้นหาง่าย การแลกเปลี่ยนความรู้ และการติดต่อเชื่อมโยงความรู้ในตัวบุคคล

          ปัจจัยความสำเร็จของ CoP

        ผู้บริหารให้การสนับสนุน  และเปิดโอกาสให้สมาชิกนำแนวปฏิบัติไปใช้ในหน่วยงาน

        ทีมแกนหลักมีความเข้าใจและมี Passion ร่วมกัน

        Facilitator มีกลยุทธ์และทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ  ที่ดี  ความเปิดเผยและความไว้วางใจระหว่างกลุ่ม

        สมาชิกที่มีประสบการณ์มาก มีทัศนคติที่ดี มีความเต็มใจ และมีเทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจ

          นอกจากนี้วิทยากรยังเล่าประสบการณ์ของการเริ่มต้นทำโครงการการจัดการความรู้ โดยนำ CoP เข้ามาดำเนินการจนไปถึงประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ ต้องอาศัย (1) การสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับ (2) การประสานงานของ KM Team (3) การจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ CoP (4) การประสานงานของ CoP ทั่วกลุ่มเป้าหมาย (5) ความรักในองค์กร (6) เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้รับความก้าวหน้า และ (7) มีการพัฒนาสารสนเทศ

          หน่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องขอขอบคุณท่านวิทยากรที่ท่านมาแบ่งปันความรู้ให้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ขอบคุณค่ะ

          ยังไม่จบค่ะ ยังมีกิจกรรมหลังจากที่อบรมให้ความรู้แล้ว สามารถติดตามได้ค่ะ คลิก!!!

หมายเลขบันทึก: 219789เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท