จากลูกท้อสู่ทานตะวัน


10. วัฒนธรรมที่องค์กรพยายามสร้างหากไม่ได้ใช้ สักวันจะหมดไป หากเราใช้ทุกวัน วันละเพียง 3 นาที จะเป็นการก่อให้เกิดจิตเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พร้อมที่จะหยิบยื่นการช่วยเหลือ

เล่าเรื่อง  จากลูกทัอ สู่ทานตะวัน

วันที่: Fri, 1 Aug 2008 10:16:20

เนื่องจากได้รับแจ้งจากผู้ปฏิบัติงานว่า พบปัญหาในการปฏิบัติงานที่ห้องให้เลือดเด็กและ
ห้องฉีดยา well baby หลายประเด็น จึงได้รวบรวมปัญหาจากเจ้าหน้าที่  (เริ่มสอบ
ถาม เมื่อ2 สัปดาห์ก่อน แต่เพิ่งพิมพ์เสร็จ) ส่งมาให้ เพื่อการพัฒนาและทำความเข้าใจกับผู้
ปฏิบัติ งานต่อไป

 

ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานที่ห้องให้เลือดในเวลา

  • - เลือดมาช้า
  • - บางราย On HL มาแล้ว Clot
  • - ไม่ทราบเวลาที่แน่นอนในการรอรับเลือด ของผู้ป่วยที่มาใช้บริการ : ควรมีการบริหารจัดการหรือมีแนวทางที่เป็นรูปธรรม ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ สามารถให้คำอธิบายแก่ผู้ปกครองได้เป็นแนวทางเดียวกัน
  • - ไม่มีแนวทางในการจัดการ ในกรณีผู้ป่วยไม่ได้รับเลือด กรณีไม่มีเลือด หรือG/M ไม่ผ่าน : ควรมีแนวทางและระยะเวลาที่แน่นอนหรือมี Guideline เพื่อยึดปฏิบัติเป็นรูปแบบเดียวกัน
  • - การเตรียมห้อง เพื่อให้เด็กพักโดยเฉพาะ Zone B ค่อนข้างอับ และห้องปิดนานเป็น 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่มีการเปิดห้องให้อากาศระบาย หรือเปิดพัดลม ต้องบอกให้ทำทุกครั้ง
  • - ผู้ป่วยให้เลือดมีการวัดV/ S ก่อนให้เลือด แต่ไม่มีการสื่อให้ Incharge หรือแพทย์ทราบ เมื่อ V/S ผิดปกติ ที่ผ่านมาทำเป็นroutine
  • - เดินมากเพราะกังวลเกี่ยวกับการแพ้ , เลือดหมดเร็วไปเนื่องจากไม่เห็นผู้ป่วย
  • - V/ S ไม่ได้ติดกับผู้ป่วย พยาบาลไม่ทราบจึงทำให้กังวล
  • - เจ้าหน้าที่ขึ้นไปรอ กว่าจะมีเลือดพร้อมผู้ป่วย พร้อมประมาณ 14.00 น.
  • - กลุ่มเด็กโตเป็นนักเรียนมา G/M หลัง 14.00 น. แล้วได้เลือดช้าและมักได้เลือดหลายถุง
  • - เลือดขึ้นมาช้ามากและเลือดมาไม่ต่อเนื่อง ทำให้เจ้าหน้าที่ที่Float ไปเสียเวลารอโดยเปล่าประโยชน์
  • - อุปกรณ์ในรถไม่ค่อยพร้อม พบบ่อย เช่น tube ใส่เลือดไม่มี พลาสเตอร์ยาไม่มี (สืบเนื่องจากบางครั้งคลินิกเด็กส่งอุปกรณ์มาไม่ครบ)
  • - ไม่มี Guideline มาตรฐานการให้เลือด ทั้งจำนวนที่ให้และ Rateที่ให้ได้ (ไม่มีลายลักษณ์อักษร มีแต่คำพูดว่าภาคกุมารฯบอกว่าให้เลือด 15 cc/kg แต่order แพทย์ยังคงเป็น10 cc/kg และRate ในการให้เลือดก็ไม่เป็นไปตาม order แพทย์ยังคง order ให้ใน 4 ชม.)
  • - เด็กและผู้ปกครองแอบเปิดเลือดให้ไหลเร็วบ่อยมาก ฝากคลินิกเด็กเน้นย้ำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย เพราะบางครั้งสภาพห้องให้เลือดทำให้พยาบาลตามดูไม่ทัน
  • - Orderly บางคนทำเฉพาะงานที่ assign แล้วนั่งอยู่กับที่ / นั่งดู TV ไม่ลุกไปช่วยเดินดูผู้ป่วย/ช่วยงานผู้อื่น

 

. ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานที่ห้องให้เลือดนอกเวลา

  • - Case รอเลือด เหลือค้างให้เวรนอกเวลา โดยเฉพาะ Case ที่ต้องให้เลือด 2 ถุง หรือ 3 ถุง กรณีผู้ป่วยมีปัญหา บางครั้งไม่ทราบว่าจะตามแพทย์ท่านใด
  • - สถานที่ไม่เหมาะสม แยกกันอยู่กระจัดกระจาย ไม่สะดวกในการดูแล ; กรณีผู้ป่วยมีความผิดปกติหรือมีอาการฉุกเฉิน อาจเกิดความเสี่ยงกับผู้รับบริการและเป็นการเกิดความเสี่ยงในเรื่องที่ควรป้องกันได้
  • - เลือดที่ได้ไม่มีการกำหนดเวลาได้เลือดที่แน่นอน
  • - ไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนกรณีที่เลือดยังไม่ได้ เช่น เลือดควรได้เวลาเท่าไรที่ห้องให้เลือด บางครั้งผู้ป่วยจะรอให้เลือดให้ได้ แม้ว่าไม่รู้เวลาที่แน่นอนว่าเลือดจะได้เวลาเท่าไร
  • - ต้องปฏิบัติงานเกินเวลา 20.00 น. ลูกเล็กต้องฝาก Nursery แต่ฝากได้ถึง 20.00 น.เท่านั้น à ตรงนี้ถ้าแก้ปัญหาได้จะ Happy ในการทำงานคะ
  • - เลือดมาช้า ทำให้ปิดห้องหลัง 20.00 น. ผู้ป่วยเดินทางลำบาก
  • - การนัดให้เลือดวันถัดไป ถ้าบอกผู้ป่วยหลัง 17.00 น. ค่อนข้างลำบากใจเพราะผู้ป่วยรอมาแล้ว 1 วัน
  • - หากเกิดเหตุฉุกเฉินไป ER ยาก เส้นทางต้องพึ่งลิฟท์ ทำให้ช้า ในขณะที่ระบบตามแพทย์ยังไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรช่วยใส่ Tube เด็กไม่เก่ง แทง IV เปิดเส้นเวลา collopse ไม่ได้ดีและไม่มีตัวช่วยในขณะนั้น ทำให้กังวลและเครียดเวลาอยู่เวร
  • - ไม่มีแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ผู้ป่วยได้เลือดช้าแล้วจะให้กลับบ้าน
  • - ขอแนวทางมาตรฐานในกรณีที่ให้เลือดผู้ป่วยเร็ว ๆ(rateมากๆ)
  • - ได้เลือดช้าในกรณีที่ผู้ป่วยให้เลือด 3 ถุง พบว่าผู้ป่วยเปิดเลือดเองโดยผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ดูไม่ทัน
  • - ควรมีการกำหนดบทบาท Orderly ให้ชัดเจนเพราะไม่ค่อยลุกเดินไปดูผู้ป่วยและไม่ค่อยกระตือรือร้นในการทำงานในบางคน
  • - เจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรไม่ค่อยรับผิดชอบมาขึ้นเวร ทำให้ต้องโทรตามตลอด กรณีที่มาช้าให้โทรให้โทรแจ้งห้องให้เลือดก่อนด้วยและไม่ควรขึ้นไปช้ากว่ากำหนดเกิน 30 นาที
  • - ไม่มีข้อตกลงในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น ห้องให้เลือดให้รับผู้ป่วยถึง 17.30 น.แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดว่า 17.30 น. หมายถึงอะไร เพราะจากปัญหาที่พบ คลินิกเด็กโทรมาบอกว่าได้เลือด 17.40 น.ซึ่งหมายถึงเลือดยังอยู่ที่คลังเลือดต้องให้เจ้าหน้าที่ไปเอาเลือด à ไปให้ พ. OK. เลือด ถึงที่ห้องให้เลือดจริง 18.30 น.ทำให้กว่าจะให้เลือดหมดก็ไปถึง 21.00 น. จนท.อยู่เวรลำบาก
  • - การอยู่เวรหลัง 16.15 น.ไปสามารถกำหนดเวลากลับได้ สร้างความอึดอัด ลำบากใจให้กับคนที่ต้องอยู่เวรอย่างมาก หากเลยเวลาที่มีรถกลับ แล้วกลับไม่ได้จะทำอย่างไร

 

ข้อเสนอ

  • - ทำแนวทางการตามแพทย์เมื่อมีปัญหาช่วงนอกเวลา มีรายชื่อแพทย์ที่สามารถรายงาน case ได้ เมื่อมีปัญหาในวันนั้น พร้อมเบอร์โทร และหมายเลข *
  • - สถานที่ควรจัดให้เป็นลักษณะโถงกว้าง ผู้ให้บริการสามารถมองเห็นผู้รับบริการได้ชัดเจนจากทุกๆจุด
  • - ให้มีการมอบหมายงานให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่เตรียมห้องตรวจ
  • - มีการทบทวนให้ จนท. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการวัดv/s และให้รายงาน inchage ทุกครั้งที่มีค่าเปลี่ยนจากค่าที่ให้ไว้
  • - ควรนำใบบันทึกกิจกรรมพยาบาล ( observe Pt ) มาใช้แทนการใช้เศษกระดาษบันทึก v/s
  • - อยากให้มี ward observe
  • - อยากให้มี Team IV nurse
  • - อยากมี fast tract ไป ER ถ้าแพ้เลือด
  • - กรณีที่เป็นเด็กโตและได้เลือดหลายถุง ควรเริ่มให้เลือดเร็วด้วย
  • - ขอแนวปฏิบัติในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้เลือดของนอกเวลา
  • - ขอมาตรฐานในการให้เลือด -Rate สูงสุดที่ผู้ป่วยรับได้
  • - ขอแนวปฏิบัติในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน
  • - ขอกำหนดเวลา ถ้าหลัง 17.00 น. ควรนัดผู้ป่วยไปวันรุ่งขึ้น
  • - ขอ Incharge เป็นพยาบาลคลินิกเด็กในเวรหลัง 16.00 น.
  • - เมื่อกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่เวรหลัง 16.15 น.นับเป็นจำนวนชั่วโมงทำงานเกินเนื่องจากงานไม่เสร็จ ก็ควรมีเจ้าของคลินิกตัวจริง อยู่รับผิดชอบงานที่เหลือต่อด้วยในทุกเวร เพราะจะได้รายงานปัญหา เพื่อนำไปแก้ไขในการปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีมีผู้ป่วยอยู่เหลือต่อจากเวลาปกติมาก การให้แต่เจ้าหน้าที่คลินิกอื่นอยู่กันเอง ปัญหาก็ไม่เคยได้รับการแก้ไขในระยะยาว ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาในแต่ละเวรเป็นการแก้ปัญหาตามศักยภาพของหัวหน้าเวรในวันนั้นๆ

 

ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานห้องฉีดยา well baby

  • - ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงเช่น ร้องแล้วเขียว,กระดูกหักง่าย ควรมีการเขียน note แจ้งทุกครั้ง ที่ผ่านมา บางครั้งไม่มี note แต่โชคดีมีพยาบาลที่จำเด็กได้อยู่เวร จึงไม่เกิดปัญหา
  • - ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงเช่น ร้องแล้วเขียว,กระดูกหักง่าย ควรให้ฉีดที่คลินิกเด็กเลย (RN OPD เด็กฉีดเอง) เนื่องจากมีแพทย์อยู่ด้วย หากเกิดปัญหาจะได้ช่วยเหลือทัน
  • - เด็กมาถึงห้องฉีดยาช้า บางครั้งต้องรอถึง 16.30 น.หรือ เกือบ 17.00 น.
  • - แพทย์สั่งยาไม่ครบ ญาติต้องไปติดต่อที่คลินิกเด็ก
  • - ไม่มีเวลาที่แน่นอนในการปิดรับบัตรกรณีผู้ปกครองเป็นบุคลากรภายใน บางครั้ง จนท. ห้องฉีดยาต้องรอผู้ป่วยเพียง 1-2 ราย เป็นเวลา 0.5-1 ชม. เพื่อรอฉีดยา
  • - ไม่อยากรับโทรศัพท์ เรื่องงานที่คลินิก ขณะเวร float àสติหาย
  • - อยากให้มี Team เฉพาะ WBC
  • - เด็กมาช้า
  • - ยาวัคซีนเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ตามไม่ทัน ควรมีการ up date เป็นระยะๆ
  • - ไม่กำหนดเวลาในการรับบัตรทำให้เด็กล้นไปฉีดยาหลัง 16.30 น.-17.00 น.
  • - เจ้าหน้าที่เดินบัตรไม่ค่อยรับผิดชอบ ชอบนั่งคุย flow ผู้ป่วยขาดช่วง บางครั้งต้องเตือนให้ส่งเด็กเข้ามาฉีดยา

 

ข้อเสนอแนะ

  • - ควรมีการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการปิดรับบัตร เช่น 15.30 น.หลังจากนั้นก็ไม่ควรรับบัตรอีก เนื่องจากผู้รับบริการต้องไปติดต่ออีก หลายจุด ก่อนรับยามาฉีดและการรับวัคซีน ไม่มีความรีบด่วนสามารถมาติดต่อรับบริการในวันอื่นๆได้
  • - กรณีดังกล่าวในครั้งต่อไป เพราะการให้แต่ จนท.คลินิกอื่นอยู่กันเอง ปัญหาก็ไม่ค่อยได้รับการแก้ไขในระยะยาว เป็นการแก้ปัญหาให้หมดไปในแต่ละเวร ตามศักยภาพของ หน.เวรแต่ละวัน

 

 

Sat, 2 Aug 2008 14:36:22

ขอบคุณมากที่สำรวจปัญหาให้  การแก้ปัญหาอยากให้ทุกคนได้ประโยชน์ และใช้
ฐานคิดเดียวกัน  คงนัดทำความเข้าใจกันอีกครั้ง   หลังจากทีมงานได้หาข้อมูลเพิ่มเติม  

ข้อมูลที่สำรวจมามีหลายประเด็นที่ได้มีการแก้ปัญหาไปแล้ว  บางครั้งเรายังตอบปัญหาที่

เกิดขึ้นในอดีต  หากจะคงปัญหาที่เกิดขึ้นใน2 อาทิตย์ที่ผ่านมาก็ไม่เป็นไร   เพื่อให้เกิดการ

แก้ปัญหาเชิงระบบให้ครบวงจร จึงใคร่ขอสำรวจข้อมูลผู้เกียวข้อง โดยเฉพาะพยาบาลที่ถูก

float  
ในเดือน พ.ค.-ก.ค 2551 เพื่อค้นหาปัญหาเพิ่มเติม ทาง OPD3 จะออกแบบสำรวจ

เพิ่มเติมในส่วนของ OPD2-3   เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจะนัดประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน

       
อาจมีหลายๆประเด็นที่เจ้าหน้าที่มีปัญหาเมื่อถูก float ไปช่วยที่อื่น  เพื่อสร้างขวัญ

และกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน  และพัฒนาระบบการทำงาน  จึงขอสำรวจปัญหาfloat อื่นๆ เพิ่ม

เติมด้วย  จะออกแบบสำรวจหลังจากสภามาตรวจนะคะ

       
สิ่งที่อยากจะขอความอนุเคราะห์เพิ่มเติมคือ  ขอตัวเลขความถี่ของปัญหาแต่ละ

ประเด็น  เพื่อมาประกอบการพิจารณาขนาด  ความสำคัญของปัญหา  ( คิดว่าน่าจะไม่ยุ่ง

ยากน่าจะมีข้อมูลดิบที่สำรวจมาอยู่แล้ว ) เพื่อประโยชน์ในการนำมาพัฒนา  หรือประสาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

       
ในส่วนของคู่มือขั้นตอนการให้เลือด พี่เล็กให้ทำในนามฝ่ายฯซึ่งได้พยายามแก้ไขมา

หลายครั้ง  ฝ่ายได้ประกาศใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 สค51 ขอให้ใช้ชุดนั้น + เพิ่มเติมในคนไข้

เด็กได้สำเนาเอดสารให้ทุกคลินิกแล้ว สำหรับมาตรฐานฉบับเต็มให้ยึดตามมาตรฐานการ

พยาบาล ฝ่ายบริการพยาบาล ฉบับ สค2550   ส่วนคู่มือเฉพาะของคลินิกโรคเลือด ลักษมี

ขอรับไปดำเนินการ  

       
สำหรับคู่มือการฉีดยาWBC  คุณพินทุกำลังดำเนินการ มีอาจารย์พรพิมลเป็นที่ปรึกษา

       
ได้จัดบรรยายเรื่องการฉีดยาWBC  ไปแล้ว 1 ครั้ง  ครั้งที่ 2 ยังไม่ได้กำหนดวัน

       OPD 3
นำระบบการฉีดยาWBC  มาแก้ปัญหาเชิงระบบโดยใช้ lean management   หากสำเร็จจะทำระบบการให้เลือดต่อไป

       
สถานที่ให้เลือดยังเป็นปัญหาของพวกเรามาตลอด  เสนอผู้บริหารมา3-4 ครั้งแล้ว  ยัง

ไม่ถึงลำดับคิวของการแก้ไข  ได้ข่าวว่าชั้น 8 จะถูกทุบเพื่อปรับปรุงอีกแล้ว  พวกเราก็ต้องเร่

ร่อนอีกแล้ว  ปัญหาเรื่องสถานที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระดับนโยบาย  อยู่ในระหว่างการ

หาทางออกร่วมกับผู้บริหาร  

       
ในส่วนที่สามารถแก้ไขได้เลยขอรับไปดำเนินการต่อ  ค่อยรายงานให้ทราบนะคะ  

สืบเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนการให้บริการหลายคลินิก  ทำให้ภาระงานของแต่ละคลินิกมากขึ้น  ประกอบกับมีการปรับเปลี่ยนจุดบริการ และเพิ่มวันให้บริการให้เลือดเด็กโรค เลือด   การปรับกระบวนการให้บริการฉีดยาวัคซีนคลินิกเด็กดี  การเตรียมเปิดศูนย์คัดกรอง โรคระบบทางเดินหายใจ การขยายงานของคลินิกตา  คลินิกนรีเวช ห้องทำแผลฉีดยา คลินิกอายุรกรรม-ศัลยกรรม  ฯลฯ  

 

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  ทางคลินิกและหน่วยผู้ป่วยนอก 3 ไม่ได้นิ่งนอนใจ  ขอบคุณและเข้าใจในทุกๆปัญหา  ขอบคุณทุกๆความเห็น  แม้บางคนไม่ได้แสดงออกมาในบันทึกฉบับนี้  แม้จะฝากมาปากต่อปากจากผู้มีประสบการณ์ทั้งหลาย  สรุปแล้วก็คงเป็นปัญหาคล้ายๆกัน   ทีมงานได้พยายามหาทางออกผ่านหลายๆเส้นทาง   เช่นผ่านผู้บริหาร ผ่านPCT ประชุมกับผู้ตรวจการ  2 ครั้ง  แต่การแก้ปัญหาอาจไม่ทันใจพ่อแม่พี่น้อง ซึ่งเดิมเคยเป็นพันธมิตรต่อเรา   เนื่องจากเรามีปัญหาวิกฤติสายฟ้าแลบที่ต้องย้ายจุดบริการทั้ง 2 จุด   อย่างไรก็ตามบทเรียนครั้งนี้แม้มันจะเจ็บปวดบ้าง     แต่มันก็ผ่านไปแล้ว  พวกเราก็ไม่ได้โดดเดี่ยว ขอบคุณเพื่อนๆหลายคนที่เป็นห่วง คอยให้กำลังใจเสมอมา  คอยถามไถ่ว่า จะไหวหรือ   อยู่กันได้มั๊ย   ถูกบังคับหรือเปล่า   รับมาได้อย่างไร 

ทีมเราก็เลยคิดกันหนัก  ทำอย่างไรให้เพื่อนๆพึงพอใจ  เราคงแก้ปัญหาให้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะไม่ได้แก้จุดที่อยู่ในใจของคนได้  ยากที่จะรู้ใจคนได้จึงได้ร่วมกันค้นหาวิธีปรับระบบงาน  นำเครื่องมือคุณภาพที่หลากหลายที่มีในโลกมาทดลองใช้ดู  เพื่อเป็นโครงการนำร่อง  คงมีทางออกสักทางที่ทำให้คนส่วนใหญ่พึงพอใจ

 

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย
  • 2. สร้างคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย
  • 3. ลดความเครียดให้กับคนทำงาน
  • 4. สร้างความสุข ค่านิยมการให้บริการที่ดีให้กับคนทำงานอย่างยั่งยืน
  • 5. รักษาสัมพันธภาพอันดีงาม ความรัก สามัคคี ที่เราพึงมีต่อกัน

เป้าหมาย

  • 1. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ด้านการจัดเตรียมสถานที่
  • 2. ลดรอบเวลาการให้บริการ
  • 3. ลดระยะทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • 4. ลดการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่
  • 5. ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้า
  • 6. จัดจุดบริการที่คลินิกเด็ก ในเดือนกันยายน 2551
  • 7. ใช้อัตรากำลัง ในกลุ่ม คลินิกเด็ก ผิวหนัง ด่านหน้า อายุรกรรม อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับเจ้าหน้าที่จากคลินิกอื่นๆให้กลับไปทำงานคลินิกเดิมได้

ภายในเดือนพฤศจิกายน 2551

 

กลยุทธ์ / เครื่องมือที่นำมาใช้

  • 1. Lean thinking โดยเข้าไปวิเคราะห์ปัญหาหน้างาน สังเกตการณ์ทำงาน จัดทำแผนที่สายธารแห่งคุณค่า (Value stream mapping),
  • 2. HA / TQA หมวด 5 การพัฒนาบุคลากร การสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากร การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ การพัฒนาความรู้ความสามารถ การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง การพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่OT การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน share vission การสร้างการมีส่วนร่วมด้านความคิด ปัญหา และแนวทางแก้ไข การจัดสวัสดิการที่เหมาะสม
  • 3. TQA หมวด 6 เรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน มีการจัดอบรมให้บุคลากรและฝึกปฏิบัติงาน
  • 4. การจัดการโดยใช้หลัก 5 ส ทั้ง 5 สที่มองเห็นและมองไม่เห็น
  • 5. การปรับอุปสงค์ให้สอดคล้องกับอุปทาน ปรับปริมาณผู้ป่วยให้สอดคล้องกับอัตรากำลัง
  • 6. ใช้ cell concept เน้น one stop service
  • 7. HPH การส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและบุคลากร
  • 8. Empowerment ให้กับทีมงาน
  • 9. สร้างองค์กรให้เป็น Organic organization เป็นองค์แบบมีชีวิต เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีความยึดหยุ่นกับการทำงาน มีการกระจายอำนาจการทำงาน มี Trust ซึ่งกันและกัน
  • 10. Tracer /Rootcuase analysis
  • 11. จัดทำคู่มือ /standard /แนวทางการให้เลือด

   

ผลการดำเนินงาน

  • 1. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ด้านการจัดเตรียมสถานที่
  • 2. ลดรอบเวลาการให้บริการ(ยังไม่มีตัวเลข)
  • 3. ลดระยะทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย(ยังไม่มีตัวเลข)
  • 4. ลดการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่(ยังไม่มีตัวเลข)
  • 5. ลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้า(ยังไม่มีตัวเลข)
  • 6. จัดจุดบริการที่คลินิกเด็ก ในเดือนกันยายน 2551

คลินิกเด็กดี  จัดบริการในวันอังคารเวลา12.30-16.30น

ให้เลือดเด็กโรคเลือดแบ่งเป็น 2 วัน คือวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

  • 7. ใช้อัตรากำลัง ในกลุ่ม คลินิกเด็ก ผิวหนัง ด่านหน้า อายุรกรรม ศูนย์คัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับเจ้าหน้าที่จากคลินิกอื่นๆให้กลับไปทำงานคลินิกเดิมได้ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2551

 

ดังนั้นการบริการให้เลือดเด็กโรคเลือด -ในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี

คลินิกการให้วัคซีนคลินิกเด็กดี-วันอังคาร

คลินิกอายุรกรรมโรคเลือด -วันพุธ   

จะปรับใช้อัตรากำลัง ในกลุ่ม คลินิกเด็ก  ผิวหนัง   ด่านหน้า  อายุรกรรม ศูนย์คัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551  เป็นต้นไป ขอคืนอัตรากำลังกลับคลินิกเดิมทั้งหมด  เพื่อให้คลินิกบริหารจัดการตามความเหมาะสม

 

ขอบคุณเพื่อนๆหลายคนที่เป็นห่วง  แต่ทีมงานจะพยายามทำอย่างดีที่สุด  แม้มิอาจแก้ปัญหาได้ทั้งหมดแต่ก็อยากให้เพื่อนๆรู้ว่ายังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่รอการประสานงาน   แม้ว่า เพื่อนจะไม่สามรถมาช่วยพวกเราได้   เราก็ยังรักเพื่อนๆเหมือนเดิม  ขอเพียงกำลังใจ เห็นใจ ไว้ใจ และเข้าใจ   ก็เกินพอ

 

บทเรียนที่ได้รับ

  • 1. ในยามที่คับขันขอให้เรามีสติ รวบรวมพลัง / ทุน /สินทรัพย์ทั้งหมดที่มี ในครั้งนี้เรามีเพียงบุคลากร ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดที่เรามี เป็นพลังบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ที่สุดในการแก้ปัญหาครั้งนี้
  • 2. อยู่เคียงข้างพวกเขาเสมอ การลงไปดูสถานการณ์จริง ทำให้เรารู้เงื่อนไขการทำงานหลายอย่าง นำไปสู่การหาทางออกร่วมกัน
  • 3. บทบาทของผู้บริหารต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  • 4. ใช้หลักประชาธิปไตยในการบริหารงาน การใช้หลักเสียงข้างมากก็ควรคำนึงถึงเสียงข้างน้อยซึ่งควรได้รับการแก้ปัญหาด้วย
  • 5. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนต้องใช้ทั้งเวลา ทรัพยากร และเครื่องมือหลายอย่างพร้อมๆกัน
  • 6. บทบาทของผู้บริหารต้องประสานความร่วมมือรอบด้าน ทั้งแนวราบ ทีมคร่อมสายงาน และระดับสูงขึ้นไป
  • 7. ต้องยอมแพ้ในบางโอกาสเพื่อคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพซึ่งนับวันจะหาได้ยาก
  • 8. การยึดหยุ่นถูกมองว่าไม่เข้มแข็งแต่เป็นสิ่งที่ควรทำ
  • 9. การมีทีมงานที่เข้มแข็งและยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีทางออกที่ดีสำหรับพวกเขาเสมอ
  • 10. วัฒนธรรมที่องค์กรพยายามสร้างหากไม่ได้ใช้ สักวันจะหมดไป หากเราใช้ทุกวัน วันละเพียง 3 นาที จะเป็นการก่อให้เกิดจิตเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พร้อมที่จะหยิบยื่นการช่วยเหลือ
  • 11. การหล่อหลอมกล่อมเกลาคนในองค์กรต้องใช้ความอดทน เวลา และความมุ่งมั่นสู่จุดหมาย
  • 12. อย่าเอาปัญหาหน้างานมาสร้างความขัดแย้ง จงนำมาเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • 13. ในยามที่ท้อแท้ ขอมีแค่คนหนึ่ง จะคิดถึงและคอยห่วงใย ในยามที่ชีวิตหม่นหมองร้องไห้ ขอเพียงมีใครปลอบใจสักคน ก็เป็นเพียงบทเพลงที่พวกเราร้องร่วมกันในหลายๆเดือนที่ผ่านมา
  • 14. มาวันนี้เราเปลี่ยนบทเพลงแล้วเป็นเพลง ทานตะวัน

 

ทานตะวัน

       ตะวันส่องใส    แดดฉายลงมา ทาบทาทิวทุ่ง
แผ่วลมผ่านโรย    เหมือนโปรยกลิ่นปรุง   ดอกฟางหอมลอย
         ดอกหญ้าดาว   วับวาวทางเกลื่อน   เหมือนดังหยาดพลอยแตะนิดต้องน้อย  ราวมณีร่วงพรู พัดพรายลงดิน
       จะอยู่แดนไหน  สุดฟ้าแสนไกล   คะนึงถึงถิ่นด้าวแดนแผ่นดิน  ที่เราจากมา   เนิ่นนานแสนนาน
       ดอกหญ้างาม   งดงามดังก่อน   หรือร่อนร่วงรานแดดร้อนดินแล้ง  ลมระงมแผ้วพาน   บ้านนาป่าเขา
        ทุ่มกายทุ่มใจ  เข้าโหมแรงไฟ   หัวใจแรงเร่ายิ่งสร้างยิ่งทำ  ระกำหนักเบา   ดิ้นรนหนทาง
         เจ้ามิ่งขวัญ   ยิ่งวันยิ่งเดือน   ยิ่งเลือนยิ่งรางทอดทิ้งทุ่งร้าง วันและวันผ่านเยือน   เหมือนเดินทางไกล
        ตะวันส่องแสง  สาดแสงลงมา  ทาบทาทางใหม่ร่วมจิตร่วมใจ  ก้าวไปก้าวไป   ฝ่าภัยร้อยพัน
         มิ่งขวัญเอ๋ย หัวใจเรามั่น   เหมือนทานตะวัน   เฉิดแสงแรงฝัน   กลางรวีตะวัน    สีทองส่องใส

 

 

http://www.esnips.com/doc/902c1ee9-7bb8-4489-949f-fd8422b0bee9/01.%20%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F

  เชิญสืบค้นหาเพลง/ฟังเพลงได้นะคะ๑http://www.esnips.com/doc/902c1ee9-7bb8-4489-949f-fd8422b0bee9/01.%20%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F

15     เรียนรู้จักการ Share  ให้และการแบ่งปัน  อย่างมีความสุข  การรู้จักแบ่งปันคนละเรื่องกับการมีมาก  ยังมีอีกหลายคนที่มีมากแล้วไม่แบ่งปัน ซึ่งเราก็เห็นได้จากนักการเมืองมากมายที่ไม่รู้จักการแบ่งปัน  แต่เป็นการอยู่อย่างพอเพียง ให้แล้วเรา-เพื่อนอยู่ได้  เพียงเพื่อให้มีพลังพอให้สู้กับวันใหม่  เพื่อก้าวสู่จุดหมายเดียวกัน  คือ สร้างคุณค่าในงานที่ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย  ภายใต้สร้างสายสัมพันธ์ที่ดี  

                   

 และขอแบ่งปันความสุขมาให้พวกเราชาว OPD -3-IN ONE  ที่รักทุกคน  ด้วยรัก ผูกพัน แบ่งปัน  สานสายใยรัก  เพื่อสร้างสายธารแห่งคุณค่าในงานและชีวิต   ความคิดนี้ไม่เคยเปลี่ยน  ท่านจำลองบอกว่าให้เราดำรงจุดมุ่งหมายเดิม  วิธีการอาจจะแตกต่างกันไป

16     โรงพยาบาลเป็นองค์กรแบบมีชีวิต ไม่ใช่เครื่องจักร  สรรพสิ่งในองค์กรเราล้วนมีชีวิต  ล้วนเป็นธรรมชาติ   ไม่สามารถจัดบริการเข้าในสายพานการผลิตได้เหมือนองค์กรแบบเครื่องจักร  เพราะสิ่งมีชีวิตแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา  เราต้องจัดบริการให้พร้อมรับกับการแปรเปลี่ยนนั้น  และอยู่กับความไม่แน่นอนให้ได้  โดยใช้ความยึดหยุ่นในการทำงาน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • 1. การมีทีมงานที่เข้มแข็ง มีวัฒนธรรมที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีเลือดนักสู้ ไม่หวั่นแม้วันผู้ป่วยมามาก
  • 2. การได้รับความเข้าใจเพื่อน จากผู้บริหาร ทีมคร่อมสายงาน ทีมสนับสนุน
  • 3. การนำปัญหาและข้อเสนอแนะมาเป็นโอกาสทองในการพัฒนา
  • 4. ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการ
หมายเลขบันทึก: 213719เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 02:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โอว...พี่หมีเป็นคุณลิขิตชั้นเยี่ยมเลยค่ะ อ่านติดตามมาตั้งแต่ต้นยังเหนื่อยเลย คนเขียนจะเป็นยังไงเนี่ย น่าดีใจที่ปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบนะคะ เอาใจช่วยให้คลี่คลายและหาทางออกได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้นะคะ ขอให้สู้ๆ และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อผู้รับบริการของเรานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท