วิถีแห่งLEAN กับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ -การบริหารแบบลีน


แม้ว่าเราจะนำแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมมาใช้ในโรงพยาบาล แต่เราไม่สามารถจัดบริการเข้าในสายพานการผลิตได้เหมือนองค์กรแบบเครื่องจักรที่สามารถออกแบบการผลิตได้แน่นอนทั้งรูปแบบและเวลา

อยากให้พี่ช่วยสรุปว่า การบริหารแบบลีน...ทำให้องค์การพยาบาลของ มอ.สู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร

เป็นคำสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากนิสิตจุฬาฯที่ไปดูงานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  อยากให้เล่าประสบการณ์การนำลีนมาปรับใช้ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ บังเอิญเมื่อวานเพิ่งกลับจากสัมมนาที่หมู่เกาะอาดัง-หลีเป๊ะ  ไม่มีเสียง  เนื่องจากนิสิตขอข้อมูลด่วนเพราะต้องนำไป Present ก็เลยต้องเขียนส่งทาง E-mail ซึ่งมีประเด็นที่นิสิตอยากรู้เกี่ยวกับองค์การพยาบาลที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศควรมีลักษณะหรือวัฒนธรรมองค์การอย่างไร ในมุมมองด้านองค์การและมุมมองด้านผู้นำและบุคลากร 


1     มุมมองด้านองค์การ

ในมุมมองของพยาบาลที่นำแนวคิดลีนมาปรับใช้มองว่าองค์การที่มุ่งสู่ความป็นเลิศนั้นต้องเป็นองค์การแบบมีชีวิต (Organic organization) ไม่ใช่เครื่องจักร  สรรพสิ่งในองค์กรเราล้วนมีชีวิต  ล้วนเป็นธรรมชาติ  แม้ว่าเราจะนำแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมมาใช้ในโรงพยาบาล  แต่เราไม่สามารถจัดบริการเข้าในสายพานการผลิตได้เหมือนองค์กรแบบเครื่องจักรที่สามารถออกแบบการผลิตได้แน่นอนทั้งรูปแบบและเวลา และสามารถทำให้เหมือนกันได้ทุกครั้ง  เพราะสิ่งมีชีวิตมีจิตใจ จิตวิญญาณ ความรู้สึก การรับรู้ที่แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา  เราต้องจัดบริการให้พร้อมรับกับการแปรเปลี่ยนนั้น  และอยู่กับความไม่แน่นอนให้ได้  โดยใช้ความยึดหยุ่นในการทำงาน  มีการกระจายอำนาจสูง  ลีนบอกว่าเราจะทำลีนได้ต้องลงไปดูที่หน้างานจริงเท่านั้น ทำให้เราเข้าใจและเห็นใจคนทำงานกับคน  นั่นคือเข้าใจชีวิตมากขึ้น

สิ่งมีชีวิตต้องมีการเรียนรู้จึงจะอยู่รอดได้  จึงจำเป็นต้องสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning  organization )  มีการนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน(Tacit knowledge)มาจัดทำให้เป็นความรู้ที่สัมผัสได้ (Explicit knowledge)  ให้คนอื่นเรียนรู้ได้  มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)  มีการเก็บความรู้ไว้เป็นสินทรัพย์ขององค์การ  นอกจากนั้นแล้วองค์การต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอกจึงจะอยู่รอดได้ ดังนั้นลักษณะขององค์การต้องเป็นระบบเปิด( Open system ) เพื่อนำความรู้และวิทยาการใหม่ๆเข้ามาปรับใช้ในการพัฒนางาน  เป็นองค์การที่พัฒนาตนเองได้

องค์การพยาบาลเป็นองค์การแบบวิชาชีพ (Professional bureaucracy) ควรนำองค์ความรู้ด้านวิชาชีพมาเป็นฐานในการพัฒนาองค์การแบบลีน  บูรณาการลักษณะองค์การต่างๆเข้าด้วยกัน มุ่งสู่เป้าหมายของการบริการอย่างมีคุณภาพ ความปลอดภัยสูงสุด  ส่งมอบบริการได้ทันเวลา ใช้งบประมาณแบบพอเพียง เน้นคุณธรรมจริยธรรม  เน้นคุณค่าในมุมมองของผู้รับบริการ  มีการทบทวนมาตรฐานที่มีอยู่เดิมสามารถลีนได้หรือไม่แต่เป้าหมายยังคงเดิมและดีขึ้นกว่าเดิม

องค์การพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีการบริหารงานสู่ความเป็นเลิศได้เพราะเรามีวัฒนธรรมองค์การที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับการประเมินทั้งจากองค์การภายในด้วยกันเองและจากองค์กรภายนอก  มีอาศัยค่านิยมหลัก 4 ประการคือ การมุ่งเน้นคุณภาพ (quality focus) การมุ่งเน้นผู้รับบริการ (customer focus) การทำงานเป็นทีม (teamwork) จิตสำนึกด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย  (risk and safety awareness)

2     มุมมองด้านผู้นำและบุคลากร

มุมมองด้านผู้นำ  ในการพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืนนั้นต้องพัฒนาทั้งองค์การ เพราะทุกหน่วยมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้กระบวนการไม่ลื่นไหล ดังนั้นผู้นำจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำแนวคิดลงสู่การปฏิบัติ  เป็นผู้นำสมัยใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้นั้น  ต้องมีหลักธรรมาภิบาล(Good governance)

มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล (Vision)

          ให้อำนาจแก่คน (Empowered)  

          จัดคนให้เป็นทีมงาน (Team)  

          จัดให้ทีมงานทำงานด้วยตัวเองได้ (Self-directed group) 

           กระตุ้นทีมงานให้ทำงาน (Motivate) 

           ให้การจูงใจ (Incentive)  ให้ความเชื่อถือ (Accountable)    

ปรับปรุงโครงสร้าง (Reengineer)

          สนับสนุนResources (eg  people, money)

          ให้เวลา ให้ความรู้

           Genchi Gembutsu (เข้าไปดูสถานการณ์จริงให้เห็นด้วยตาตัวเอง)
          Tracking outcomes and taking corrective actions

           จัดเวทีการนำเสนอ

            เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง          

มุมมองด้านบุคลากร  ที่ มอ.ใช้วิธีการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้องค์การไปสู่ความเป็น LEAN อย่างไร

1.      ผู้บริหาร/แกนนำของโรงพยาบาลเข้ารับการอบรม Lean

2.      นำมาบูรณาการกับเครื่องมือคุณภาพอื่นๆ

3.      ผู้บริหารให้ความรู้เรื่อง Lean กับแกนนำของหน่วยงาน/หัวหน้างาน

4.      ประกาศเป็นนโยบาย นำ Lean มาใช้เป็นโครงการพัฒนางานในปีนี้

5.      จัดเวทีการนำเสนอผลงานLean / แลกเปลี่ยนเรียนรู้

6.      คัดเลือกผลงานเพื่อประกวด

7.      จัดหารางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ

8.      จัดหาเวทีเพื่อนำเสนอในระดับประเทศ

หมายเลขบันทึก: 241056เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

- แวะมาเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

- ชอบจังการให้อำนาจแก่คน หากทำได้

สวัสดีคะ

- ทำอย่างไรให้ผู้ปฏิบัติงานมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติงานหรือแนวคิดการพัฒนาใหม่ ๆ อย่างเช่นองค์กรหรือตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียง

- การสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาในผู้ปฏิบัติงานที่มีจำนวนมาก มีวิธีการอย่างไร

- LEAN มีวิธีที่ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท