QC เครื่องเอกซเรย์ด้วย CR ???_Update3


การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่

     เป็นที่น่ายินดีว่า กระแสในเรื่องคุณภาพมาแรง แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานการให้บริการผู้ป่วย ได้ถูกยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างหนึ่งเล็กๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์แบบธรรมดาซึ่งทั้งประเทศมีอยู่หลายพันเครื่อง มีความใส่ใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะเฝ้าระวังและบำรุงรักษาให้มันออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ แต่การกระทำนั้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ได้แก่ เครื่องมือในการทำ QC, วัสดุต่างๆ(ฟิล์ม น้ำยา ฯลฯ) เป็นต้น ค่าใช้จ่ายนี้หลายท่านคิดว่าค่อนข้างสูง อาจจะไม่สามารถชดเชยกับปริมาณฟิล์มเสียที่เกิดขึ้นหากไม่มีการทำ QC โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องปวดหัวกับเรื่องงบประมาณ

     ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาแบบ digital (filmless) เช่น CR (computed radiography) เริ่มเข้ามาใช้ร่วมหรือแทนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่อาจจะยังไม่รวดเร็วมากนัก เพราะมีปัจจัยเรื่องงบประมาณขวางอยู่ พูดง่ายๆว่ายังแพงอยู่สำหรับ รพช.ทุกแห่งจะจัดหามาใช้ (ต่อไปถ้าถูกลงอีกก็ไม่แน่) แต่ รพศ. หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาจพอหาได้

     ขอตั้งข้อสังเกต โดยการตั้งคำถามถึงชาวเราทั้งหลายว่า "การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆครับ ชาวเราคิดว่าอย่างไรในเรื่องนี้ ถ้าทำทดแทนกันได้ จะประหยัดงบประมาณ เพราะเท่าที่เปรียบเท่าค่าใช้จ่ายแบบคร่าวๆเมื่อใช้ฟิล์มเอกซเรย์เทียบกับการใช้ CR พบว่า การใช้ CR มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 8 เท่า น่าสนใจครับ

ความคืบหน้า 

     1.ขณะนี้มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ คือนักศึกษาปริญญาโทรังสีเทคนิค ภาควิชรังสีเทคนิค มหิดล กำลังทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เป้าหมายคือต้องการพิสูจน์ให้ได้ว่า CR ใช้แทนฟิล์มได้หรือไม่ มีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ปรากฏว่า มีผลที่บ่งชี้ว่าเป็นไปได้ แต่การพิสูจน์จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

     ขณะเดียวกัน มีนักศึกษาปริญญาเอก community medicine ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยโดยที่ผมได้เข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษา การวิจัยจะเน้นในเรื่อง cost effectiveness ดังนั้น เมื่อผลออกมาเป็นอย่างไรก็จะนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นระยะๆครับ 

     2.ปัญหาที่กำลังแก้ไขคือ Optical Density Calibration

     กล่าวคือ การใช้ฟิล์มเอกซเรย์ในการควบคุมเครื่องเอกซเรย์นั้นตามมาตรฐาน NCRP no.99 ได้มีกำหนดค่ามาตรฐานไว้แล้วและเป็นการกำหนดเกี่ยวกับค่า OD แต่เมื่อเราใช้ CR ภาพที่ได้จะแสดงเป็นค่า PV (pixel value) ปัญหาจะเกิดทันทีว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า PV มี่ค่าเท่านี้คิดเป็น OD เท่าไร ทั้งนี้เพื่อจะได้นำมาตรฐาน NCRP no.99 เข้ามาจับได้ ขณะนี้ค่อนข้างมั่นใจวิธีการทำ OD calibration แล้วครับ งานนี้ได้ใช้ Digitizer และโปรแกรม ImageJ ช่วยในการคำนวณและทำ profile plot

มานัส มงคลสุข

อ่าน comments 2 ตั้งแต่ 21 เมษายน 2550

อ่าน comments 1 ตั้งแต่ 2 กันยายน 2549

หมายเลขบันทึก: 107382เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน อ.มานัส ที่เคารพ

ตอนนี้ผมทำเรื่อง Focal spot แล้ว โดยใช้ Star test and pin hold ด้วย CR , Single coat and Double coat แล้วจะส่งผลไปให้ดูครับ

สวัสดีครับ อ.ต้อม

ผมได้ลองทำ pilot study ไปแล้วมีปัญหาที่ IP ของ CR มี resolution ต่ำกว่าฟิล์ม ดังนั้นรายการทดสอบใดที่ต้องใช้สมบัติ resolution เข้ามาเกี่ยวข้องจะต้องระมัดระวังสูง ได้แก่ การวัด focal spot

การวัด focal spot ทำได้โดยวิธี (1)pinhole camera, (2)resolution test pattern, (3)star test pattern, (4)slit camera ฯลฯ วิธีที่ต้องใช้สมบัติ resolution คือ วิธี (2) และ (3) เบื้องต้นพบว่าวิธี (2) ใช้ไม่ได้กับ CR แต่วิธี (3) พอเป็นไปได้ แต่ต้องทำด้วยความระวัง

OD เป็นเรื่องใหญ่ครับ เช่น เราใช้ star method ถ้าใช้ฟิล์มก็ต้องเลือกค่า exposure ที่ให้ได้ OD ตามที่มาตรฐานกำหนด (ประมาณ 1.0-1.4 OD) เมื่อใช้ IP แทนฟิล์ม ปัญหาคือ ภาพ CR แสดงค่าเป็น pixel value เราจะทราบได้อย่างไรว่า pixel value สัมพันธ์กับ OD อย่างไร อีกประการหนึ่ง การวัดขนาด focal spot ขนาดใหญ่เราใช้ spoke angle 2 องศาได้ แต่ถ้าเราวัด focal spot ขนาดเล็กเราจำเป็นต้องใช้ spoke angle น้อยกว่า 2 องศาครับ

เรียน อ.มานัส

ตอนนี้ ต้อย กำลังจะนำ CR เข้ามาแทนที่ฟิล์ม แล้วจะลงทั้งระบบ อาจารย์ มีอะไรแนะนำต้อยบ้าง

ตอนนี้เป็นขั้นตอนกรรมการพิจารณษราคาที่จะใช้

ขนิษฐา

แวะมาอ่านสิ่งดีๆค่ะ เพราะเป็นคนหนึ่งที่ถูก เอกซเรย์ บ่อย ขอบคุณค่ะ

ถ้าจะเปลี่ยมมาใช้ CR ลองชำเลืองไปมอง DR อีกสักอย่างสิครับ

ตอนนี้เทรนใน กทม CR เริ่มเอาท์แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท